ความร่วมมือเรื่องเด่น

ลำดับเหตุการณ์ของกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิก

นางรานา ลินน์ เคนเนดี/นักประวัติศาสตร์ประจำกองบัญชาการ

นับตั้งแต่ก่อตั้งใน พ.ศ. 2490 กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกได้เข้าไปมีบทบาทในภูมิภาคนี้อย่างสม่ำเสมอ พร้อมดำเนินกลยุทธ์ในการสร้างพันธมิตรและความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง การตอบสนองของกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกต่อภูมิทัศน์ความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไปในภูมิภาคตลอดระยะเวลาเกือบแปดทศวรรษ แสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ พร้อมพันธมิตรและหุ้นส่วนได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นผ่านการจัดการความขัดแย้ง การตอบสนองต่อภัยพิบัติ การฝึกร่วม และการสร้างความร่วมมือ

2483

  • 1 ม.ค. 2490
    กองบัญชาการประจำภาคพื้นแปซิฟิกก่อตั้งขึ้นโดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เพิร์ลฮาเบอร์ รัฐฮาวาย ทั้งยังมีการจัดตั้งกองบัญชาการภาคพื้นตะวันออกไกลและกองบัญชาการอะแลสกาขึ้นด้วย ขอบเขตความรับผิดชอบของกองบัญชาการประจำภาคพื้นแปซิฟิกครอบคลุมมากกว่า 10 ประเทศอธิปไตยและอาณานิคมอีกหลายแห่ง ศูนย์บัญชาการสูงสุดของกองบัญชาการประจำภาคพื้นแปซิฟิกยังทำหน้าที่บัญชาการกองเรือแปซิฟิกสหรัฐฯ อีกด้วย
  • 25 ก.ค. 2492
    สหรัฐฯ ร่วมกับแคนาดาและหลายประเทศในยุโรปตะวันตก ก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงและการทหารครั้งแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างความมั่นคงร่วมกันในการต่อต้านสหภาพโซเวียต การก่อตั้งนาโตกระตุ้นให้สหภาพโซเวียตสร้างพันธมิตรกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก ซึ่งจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญาวอร์ซอ พ.ศ. 2498
พล.ต. แบล็คเชียร์ เอ็ม. ไบรอัน (ซ้าย) จากสหรัฐฯ แลกเปลี่ยนเอกสารรับรองกับพล.ท. ลี ซังโช แห่งเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ในพิธีเปิดการประชุมคณะกรรมาธิการสงบศึกทางทหาร ที่ห้องประชุมปันมุนจอม ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

2493

  • 25 มิ.ย. 2493
    สงครามเกาหลีเริ่มต้นขึ้นเมื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี หรือ เกาหลีเหนือ รุกรานสาธารณรัฐเกาหลี หรือ เกาหลีใต้ สหรัฐฯ และองค์การสหประชาชาติส่งกองกำลังเข้าสนับสนุนและความช่วยเหลือทางการทหาร
  • 27 ก.ย. 2493
    กลุ่มสนับสนุนและที่ปรึกษาด้านการทหารของสหรัฐฯ เดินทางถึงเวียดนามเพื่อช่วยเหลือฝรั่งเศสในการเอาชนะเวียดมินห์ ซึ่งถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามคอมมิวนิสต์
  • 9 เม.ย. 2494
    ขอบเขตความรับผิดชอบของกองบัญชาการประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกครอบคลุมไปถึงหมู่เกาะมาเรียนาโบนินและหมู่เกาะภูเขาไฟ ซึ่งถูกโอนจากกองบัญชาการตะวันออกไกล ต่อมา คณะเสนาธิการร่วมได้โอนย้ายฟิลิปปินส์ หมู่เกาะเปสกาโดเรส และไต้หวันจากกองบัญชาการตะวันออกไกลไปยังขอบเขตความรับผิดชอบของกองบัญชาการประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิก
  • 30 ส.ค. 2494
    ฟิลิปปินส์และสหรัฐฯ ลงนามในสนธิสัญญาป้องกันร่วมเพื่อสนับสนุนกันและกันในกรณีที่ถูกโจมตีโดยอำนาจจากภายนอก
  • 1 ก.ย. 2494
    ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯ ลงนามในสนธิสัญญาด้านความมั่นคงเพื่อปกป้องภูมิภาคแปซิฟิก
  • 1 ต.ค. 2494
    เกาหลีใต้และสหรัฐฯ ลงนามในสนธิสัญญาป้องกันร่วม เพื่อเสริมสร้างการป้องกันและความมั่นคงร่วมกัน
  • 27 ก.ค. 2496
    ผู้นำองค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น และเกาหลีเหนือลงนามในข้อตกลงสงบศึกสงคราม
    เกาหลีที่ห้องประชุมปันมุนจอม
  • 8 ก.ย. 2497
    ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ลงนามในสนธิสัญญาป้องกันร่วม เพื่อป้องกันการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดตั้งขึ้นในเวลาต่อมาภายในเดือนเดียวกัน
  • ม.ค. 2498
    สหรัฐฯ ส่งความช่วยเหลือโดยตรงยังไซ่ง่อน ประเทศเวียดนามใต้ สหรัฐฯ เสนอที่จะฝึกอบรมกองกำลังเวียดนามใต้
  • 1 พ.ย. 2498
    กองบัญชาการป้องกันร่วมสหรัฐฯ และไต้หวันก่อตั้งขึ้นเพื่อให้การสนับสนุนด้านการวางแผนป้องกันไต้หวันและหมู่เกาะเปสกาโดเรส
  • 1 ก.ค. 2500
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยุบกองบัญชาการตะวันออกไกล และโอนย้ายความรับผิดชอบด้านญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และคาบสมุทรเกาหลีไปยังศูนย์บัญชาการสูงสุดของกองบัญชาการประจำภาคพื้นแปซิฟิก มีการจัดตั้งกองทัพสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้และกองกำลังสหรัฐฯ ในญี่ปุ่นภายใต้ผู้บัญชาการสูงสุดของกองบัญชาการประจำภาคพื้นแปซิฟิก ส่วนกองทัพบกและกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในฮาวายเข้าร่วมกองบัญชาการประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิก
  • 13 ม.ค. 2501
    ศูนย์บัญชาการสูงสุดของกองเรือแปซิฟิกกลายเป็นหน่วยบัญชาการองค์ประกอบแยกต่างหาก
นายดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ (ตรงกลาง) ร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำเนียบขาว กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2503 ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

2503

  • 9 ม.ค. 2503
    ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ลงนามในสนธิสัญญาความร่วมมือและความมั่นคงร่วมกัน โดยตกลงที่จะรักษาและพัฒนาขีดความสามารถในการต่อต้านการโจมตีด้วยอาวุธร่วมกัน
  • พ.ศ. 2504
    โฟล อีเกิล เป็นการฝึกภาคสนามประจำปีที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐฯ โดยจัดขึ้นเพื่อแสดงเจตจำนงในการยับยั้งสงครามบนคาบสมุทรเกาหลี ใน พ.ศ. 2544 โฟล อีเกิล ได้ผสมผสานการฝึกการรับกำลังพล การเตรียมกำลังพล การเคลื่อนย้ายไปยังจุดหมาย และการบูรณาการ ต่อมาใน พ.ศ. 2551 ส่วนของการฝึกการรับกำลังพล การเตรียมกำลังพล การเคลื่อนย้ายไปยังจุดหมาย และการบูรณาการ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น คีย์รีโซลฟ์
  • 8 ก.พ. 2505
    มีการจัดตั้งกองบัญชาการช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯ ในเวียดนามขึ้นในฐานะหน่วยงานรองของศูนย์บัญชาการสูงสุดของกองบัญชาการประจำภาคพื้นแปซิฟิก ซึ่งขยายขอบเขตโครงการให้คำปรึกษาและสนับสนุนของสหรัฐฯ ไปยังกองกำลังเวียดนามใต้
  • 15 พ.ค. 2505
    มีการจัดตั้งกองบัญชาการช่วยเหลือทางทหารสหรัฐฯ ในไทยขึ้นในฐานะหน่วยงานรองของศูนย์บัญชาการสูงสุดของกองบัญชาการประจำภาคพื้นแปซิฟิก เพื่อสนับสนุนกองกำลังไทย
  • 8 มี.ค. 2508
    สหรัฐฯ ส่งกำลังนาวิกโยธินจำนวน 3,500 นายไปยังเวียดนามใต้ เพื่อปกป้องฐานทัพอากาศจากกองกำลังเวียดนามเหนือ
  • 8 ส.ค. 2510
    อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ลงนามในปฏิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน อาเซียนได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้น โดยเพิ่ม บรูไน พม่า (เปลี่ยนชื่อเป็นเมียนมาใน พ.ศ. 2532) กัมพูชา ลาว และเวียดนามใน พ.ศ. 2540 คาดว่าติมอร์-เลสเตจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกใน พ.ศ. 2568
15 ส.ค. 2515
ศูนย์บัญชาการสูงสุดของกองบัญชาการประจำภาคพื้นแปซิฟิกส่งการสนับสนุนทางอากาศ ทางเรือ และนาวิกโยธินสำหรับปฏิบัติการซักโลโล เพื่อช่วยเหลือฟิลิปปินส์หลังเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่

2513

  • พ.ศ. 2514
    จัดการฝึกทางทะเลแบบจัดขึ้นทุกสองปีเป็นครั้งแรก ซึ่งมีชื่อว่า ริมออฟเดอะแปซิฟิก ใน พ.ศ. 2567 มี 29 ประเทศเข้าร่วม บรูไน อินเดีย และจีนเข้าร่วมเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2557 พร้อมกับเรือพยาบาล 2 ลำ ได้แก่ ยูเอสเอ็นเอส เมอร์ซี และ พีแอลเอเอ็น พีซ อาร์ก ใน พ.ศ. 2561 จีนถูกถอนสิทธิ์เข้าร่วมเนื่องจากยังคงสร้างฐานทัพบนเกาะเทียมในทะเลจีนใต้ ใน พ.ศ. 2562 รัฐสภาสหรัฐฯ สั่งห้ามการไม่ให้จีนเข้าร่วมจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  • 7 ส.ค. 2514
    ออสเตรเลีย ฟิจิ นาอูรู นิวซีแลนด์ ซามัว และตองงา จัดตั้งการประชุมแปซิฟิกใต้ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก สมาชิกจะเพิ่มขึ้นเป็น 18 ประเทศ รวมถึง หมู่เกาะคุก เฟรนช์โปลินีเซีย คิริบาส หมู่เกาะมาร์แชลล์ ไมโครนีเซีย นิวแคลิโดเนีย นีอูเอ ปาเลา ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู และวานูอาตู
  • 15 ส.ค. 2515
    ศูนย์บัญชาการสูงสุดของกองบัญชาการประจำภาคพื้นแปซิฟิกส่งการสนับสนุนทางอากาศ ทางเรือ และนาวิกโยธินสำหรับปฏิบัติการซักโลโล เพื่อช่วยเหลือฟิลิปปินส์หลังเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2516
    ขอบเขตความรับผิดชอบของศูนย์บัญชาการสูงสุดของกองบัญชาการประจำภาคพื้นแปซิฟิกครอบคลุมไปถึงอัฟกานิสถาน อินเดีย ปากีสถาน พื้นที่บางส่วนของมหาสมุทรอินเดีย หมู่เกาะอะลูเชียน และมหาสมุทรอาร์กติก
  • 12 ก.พ. 2516
    หลังจากการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคมเพื่อยุติสงครามในเวียดนาม ปฏิบัติการโฮมคัมมิงก็เริ่มต้นขึ้นพร้อมกับการปล่อยตัวเชลยศึกของสหรัฐฯ 591 คนในกรุงฮานอย
  • พ.ศ. 2519
    มีการจัดการฝึกอุลชิ โฟกัส เลนส์ ระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในคาบสมุทรเกาหลี โดยมุ่งเน้นไปที่ความพร้อม ความสามารถในการยับยั้ง และความสามารถด้านกลาโหมของเกาหลีใต้ ใน พ.ศ. 2551 การฝึกเปลี่ยนชื่อเป็น อุลชิ ฟรีดอม การ์เดียน และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อุลชิ ฟรีดอม ชิลด์ใน พ.ศ. 2565 จนถึง พ.ศ. 2567 มีประเทศสมาชิกกองบัญชาการสหประชาชาติเข้าร่วมมากกว่า 12 ประเทศ
  • พ.ศ. 2519
    มีการจัดการฝึกประจำปีครั้งแรกระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐฯ ในชื่อ ทีมสปิริต ขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนกำลังพลและการปฏิบัติการระหว่างกำลังพล
  • 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519
    องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกยุบ
  • 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
    ศูนย์บัญชาการสูงสุดของกองบัญชาการประจำภาคพื้นแปซิฟิกส่งทีมสำรวจพื้นที่ภัยพิบัติทีมแรกเพื่อตอบสนองต่อพายุไซโคลนในศรีลังกา
  • 30 เม.ย. พ.ศ. 2522
    สหรัฐฯ ร่างและลงนามในกฎหมายความสัมพันธ์กับไต้หวัน ซึ่งอนุญาตให้มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่ยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่เป็นรูปธรรมกับไต้หวัน
  • 2523
  • พ.ศ. 2524
    สิงคโปร์จัดการฝึกไทเกอร์บาล์ม ซึ่งเป็นการฝึกประจำปีเพื่อส่งเสริมความมั่นคงในภูมิภาคและการทำงานร่วมกันระหว่างกองทัพสิงคโปร์และกองทัพบกสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก
  • พ.ศ. 2525
    ไทยจัดการฝึกประจำปีระหว่างไทยและสหรัฐฯ ครั้งแรกในชื่อคอบร้าโกลด์ การฝึกครั้งที่ 43 ใน พ.ศ. 2567 มีประเทศเข้าร่วม 30 ประเทศ
  • พ.ศ. 2525
    การฝึกปัญหาที่บังคับการประจำปีที่ชื่อยามะซากุระเริ่มต้นขึ้น การฝึกนี้จำลองการปฏิบัติการของกำลังพลร่วมกันระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เพื่อปกป้องญี่ปุ่น และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพบกสหรัฐฯ กับกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น
  • 3 ต.ค. 2526
    กองบัญชาการประจำภาคพื้นแปซิฟิก เปลี่ยนชื่อเป็นกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก ขอบเขตความรับผิดชอบของกองบัญชาการนี้ได้ครอบคลุมไปถึงหมู่เกาะอะลูเชียน มาดากัสการ์ มองโกเลีย เกาหลีเหนือ และจีน
  • 1 พ.ย. 2526
    หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษประจำภาคพื้นแปซิฟิกได้เริ่มปฏิบัติการในฐานะหน่วยบัญชาการย่อยแบบประสานรวม เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการของผู้บัญชาการกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก
  • พ.ศ. 2529
    ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกที่จัดสลับกันทุกปีเป็นครั้งแรกในชื่อคีนซอร์ดและ
    คีนเอดจ์
  • 27 ก.พ. 2530
    เรือ ยูเอสเอ็นเอส เมอร์ซี ได้ดำเนินภารกิจปฏิบัติการครั้งแรกในฟิลิปปินส์เพื่อสนับสนุนการฝึกซ้อม
  • 9 ก.พ. 2532
    คณะเสนาธิการร่วมได้โอนย้ายความรับผิดชอบของอ่าวเอเดนและอ่าวโอมานจากกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกไปยังกองบัญชาการกลางสหรัฐฯ
  • 10 ก.พ. 2532
    มีการจัดตั้งกองกำลังเฉพาะกิจร่วมที่ห้าที่เมืองอาลาเมดา รัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อต่อต้านการค้ายาเสพติดในแปซิฟิกตะวันออก
  • 7 ก.ค. 2532
    มีการเปิดใช้งานกองบัญชาการอะแลสกาในฐานะหน่วยบัญชาการรวมย่อยของกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก
สำนักงานใหญ่ของกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก (ด้านหน้า) และสำนักงานใหญ่ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก ที่ค่าย เอช.เอ็ม. สมิธ ใน พ.ศ. 2554 ร.อ. คาลี พินคีย์/กองทัพอากาศสหรัฐฯ

2533

  • พ.ศ. 2533
    สิงคโปร์และสหรัฐอเมริกาเริ่มการฝึกคอมมานโดสลิง ซึ่งทดสอบความสามารถในการระดมกำลังทางไกลของกองกำลังสหรัฐฯ และการทำงานร่วมกันกับกองทัพอากาศสิงคโปร์
  • พ.ศ. 2534
    ฟิลิปปินส์จัดการฝึกบาลิกาตัน ครั้งแรก ซึ่งเป็นการฝึกปัญหาที่บังคับการและฝึกภาคสนามที่มุ่งเน้นการพัฒนาการวางแผนร่วม ความพร้อมรบ และการทำงานร่วมกันระหว่างฟิลิปปินส์และสหรัฐฯ การฝึกใน พ.ศ. 2567 เป็นการฝึกครั้งที่ 39
  • 29 เม.ย. 2534
    พายุไซโคลนมาเรียนพัดถล่มบังกลาเทศ ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกดำเนินปฏิบัติการซีแองเจิล เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
  • 12 มิ.ย. 2534
    ภูเขาไฟพินาตูโบในฟิลิปปินส์ปะทุ ส่งผลให้ต้องอพยพบุคลากรของกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการไฟเออรี วิจิล
  • พ.ศ. 2537
    ในคาบสมุทรเกาหลี การฝึกการรับกำลังพล การเตรียมกำลังพล การเคลื่อนย้ายไปยังจุดหมาย และการบูรณาการ ซึ่งเป็นการฝึกบัญชาการร่วมระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐฯ เข้ามาแทนที่การฝึกทีมสปิริต และดำเนินต่อไปจนถึง พ.ศ. 2550 ก่อนพัฒนาเป็นการฝึกคีย์รีโซลฟ์
  • 4 ก.ย. 2538
    มีการก่อตั้งศูนย์เอเชียแปซิฟิก แดเนียล เค. อิโนะอุเอะ เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพและพลเรือนในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก
  • 23 ต.ค. 2538
    ประธานคณะเสนาธิการร่วมปรับเปลี่ยนความรับผิดชอบในพื้นที่ทะเลอาหรับและบางส่วนของมหาสมุทรอินเดียจากกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกไปยังกองบัญชาการกลางสหรัฐฯ
  • 15 ก.ย. 2539
    เริ่มต้นปฏิบัติการแปซิฟิกเฮเวนของกองกำลังเฉพาะกิจร่วมที่ฐานทัพอากาศแอนเดอร์เซนในกวม เพื่อช่วยตั้งถิ่นฐานใหม่ให้กับชาวเคิร์ด ประมาณ 6,500 คนที่มาจากอิรัก
ทหารเนปาลและนาวิกโยธินสหรัฐฯ ขนส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่ออรัง
ประเทศเนปาล ระหว่างปฏิบัติการซาฮาโยกิ ฮัท ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ส.ท. ไอแซค อิบาร์รา/นาวิกโยธินสหรัฐฯ

2543

  • 1 ม.ค. 2544
    ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการภัยพิบัติและการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเริ่มขึ้นตรงต่อกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก ศูนย์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2537 โดยรัฐสภาสหรัฐฯ ศูนย์นี้ทำหน้าที่ประสานงานการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติก่อนเกิดวิกฤต
  • พ.ศ. 2545
    การประชุมแชงกรีล่าเริ่มต้นขึ้นในรูปแบบของการรวมตัวกันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประมาณสิบสองคน ที่โรงแรมแชงกรีล่าในสิงคโปร์ ใน พ.ศ. 2567 มีผู้แทน จากกว่า 40 ประเทศเข้าร่วมการประชุม
  • ม.ค. 2545
    หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษและกองกำลังแปซิฟิกได้เริ่มส่งกำลังไปร่วมปฏิบัติการเสรีภาพที่ยั่งยืนของฟิลิปปินส์ เพื่อสนับสนุนความพยายามในการต่อต้านการก่อการร้าย
  • 11 ก.พ. 2545
    ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มอบหมายความรับผิดชอบในแอนตาร์กติกาให้กับกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก และกำหนดให้กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกสนับสนุนกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นยุโรปในภารกิจทางตะวันออกไกลของรัสเซีย และเริ่มสนับสนุนปฏิบัติการดีบฟรีซ ซึ่งเป็นภารกิจของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
  • 29 ต.ค. 2545
    ศูนย์บัญชาการสูงสุดของกองบัญชาการประจำภาคพื้นแปซิฟิกได้รับการกำหนดให้เป็นหน่วยบัญชาการของกองบัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก
  • 4 พ.ย. 2545
    ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนลงนามใน “ปฏิญญาว่าด้วยการดำเนินงานของกลุ่มประเทศในทะเลจีนใต้” ตั้งแต่นั้นมา จีนก็ไม่ยอมปฏิบัติตามเจตนารมณ์หลักของปฏิญญาดังกล่าว
โครงสร้างของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่แนวปะการังมิสชีฟในทะเลจีนใต้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 (ด้านซ้าย) และมีนาคม พ.ศ. 2565 โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดกำลังทหารอย่างน้อยสามจุดในหมู่เกาะสแปรตลี ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส
  • 27 ส.ค. 2546
    การเจรจาหกฝ่ายเริ่มขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เพื่อตอบสนองต่อการถอนตัวของเกาหลีเหนือจากสนธิสัญญาการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ การเจรจาดังกล่าวประกอบด้วย ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ จีน เกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐฯ
  • 14 เม.ย. 2547
    ศูนย์บัญชาการแปซิฟิกนิมิตซ์-แมคอาร์เธอร์ ได้รับการอุทิศให้เป็นสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก
  • ธ.ค. 2547
    ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เริ่มความร่วมมือทางทะเล ซึ่งนำไปสู่การจัด ตั้งการเจรจาความมั่นคงจตุภาคี หรือ ความร่วมมือควอด
  • 26 ธ.ค. 2547
    เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ในมหาสมุทรอินเดีย ส่งผลให้เกิดสึนามิขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อแนวชายฝั่งทั่วภูมิภาค คร่าชีวิตประชาชนกว่า 300,000 คน กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกส่งกำลังบรรเทาทุกข์หลังเกิดเหตุการณ์สองวัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการช่วยเหลือที่เป็นเอกภาพ โดยให้ความช่วยเหลือด้านภัยพิบัติและสนับสนุนการฟื้นฟูจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ส่งมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์กว่า 2.8 ล้านตัน และช่วยเหลือประชาชนมากกว่า 70,000 คน
  • 12 – 17 มิ.ย. 2548
    การฝึกทาลิสมันเซเบอร์ครั้งแรกช่วยฝึกอบรมกองกำลังของออสเตรเลียและสหรัฐฯ ในการปฏิบัติการในหน่วยผสม
  • 8 ต.ค. 2548
    กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกเริ่มปฏิบัติการไลฟ์ไลน์ เพื่อตอบสนองต่อเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของปากีสถาน และสนับสนุนการดำเนินงานในการขนส่งผู้ประสบภัยประมาณ 1,900 คนเพื่อรับการรักษา ดูแลผู้ป่วย 14,000 คน และฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
  • 17 ก.พ. 2549
    กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกเริ่มปฏิบัติการโฮปรินิววัล หลังจากเกิดเหตุดินถล่มทับหมู่บ้านแห่งหนึ่งบนเกาะเลย์เตในฟิลิปปินส์ กองบัญชาการสั่งเปลี่ยนภารกิจของนาวิกโยธินสหรัฐฯ จากการฝึกบาลิกาตันมาสนับสนุนทีมค้นหาและกู้ภัยของฟิลิปปินส์
  • 9 ต.ค. 2549
    เกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งแรก องค์การสหประชาชาติออกมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1718 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งกำหนดให้เกาหลีเหนือยุติการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์และกลับเข้าสู่การเจรจาหกฝ่าย
  • 30 ก.ย. พ.ศ. 2550
    การเจรจาหกฝ่ายรอบที่หกล้มเหลวในการบรรลุฉันทามติในเรื่องการตรวจสอบและยืนยันการดำเนินงานของโรงงานนิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือ
  • 15 พ.ย. พ.ศ. 2550
    พายุไซโคลนความแรงระดับ 5 พัดถล่มบังกลาเทศ ส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 3 ล้านคน กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกตอบสนองด้วยการดำเนินปฏิบัติการซีแองเจิล 2 โดยจัดส่งน้ำสะอาดกว่า 53,000 ลิตร สิ่งของบรรเทาทุกข์ 112,000 กิโลกรัม และให้บริการรักษาพยาบาลและทันตกรรมแก่ประชาชนกว่า 4,000 คน
  • พ.ศ. 2551
    เกาหลีใต้จัดการฝึกแม็กซ์ธันเดอร์ ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมทุกสองปีที่มุ่งเน้นการเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างกองทัพอากาศของเกาหลีใต้และกองทัพอากาศสหรัฐฯ
  • 21 ก.พ. 2551
    เรือ ยูเอสเอส เลก อีรี ทำลายดาวเทียมของสหรัฐฯ ที่กำลังจะร่วงหล่นลงมาด้วยการยิงขีปนาวุธ เอสเอ็ม-3 ซึ่งเป็นการปิดท้ายปฏิบัติการเบิร์นท์ฟรอสต์.ได้สำเร็จ กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกร่วมกับกองบัญชาการยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ สำนักงานป้องกันขีปนาวุธ และหน่วยงานอื่น ๆ ของสหรัฐฯ ช่วยอำนวยความสะดวกในปฏิบัติการทำลายเศษซากของดาวเทียมในชั้นบรรยากาศเมื่อกลับเข้าสู่โลก
  • 2 พ.ค. 2551
    พายุไซโคลนความแรงระดับ 4 พัดถล่มทางตอนใต้ของเมียนมา ภายในวันที่ 12 พฤษภาคม เมียนมาอนุญาตให้เที่ยวบินช่วยเหลือจากไทยเดินทางเข้าได้ทุกวัน หน่วยบัญชาการของกองบัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิกและเจ้าหน้าที่หน่วยอื่น ๆ ร่วมเดินทางในเที่ยวบินแรกในการส่งมอบความช่วยเหลือ และจัดให้มีการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากเรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่รออยู่นอกชายฝั่ง
  • 12 พ.ค. 2551
    เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ในมณฑลเสฉวนในตอนกลางของจีน ภายในวันที่ 16 พฤษภาคม จีนร้องขอความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกส่งเครื่องบินขนส่ง ซี-17 จำนวน 2 ลำ พร้อมสิ่งของบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน เช่น เต็นท์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า อุปกรณ์ และเสบียงฉุกเฉินน้ำหนักรวมกว่า 91,000 กิโลกรัม
  • พ.ศ. 2552
    การฝึกแสดงการตอบสนองโดยสมัครใจของเวทีภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นการฝึกด้านความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ที่นำโดยพลเรือนและสนับสนุนโดยกองทัพและจัดขึ้นทุกสองปี โดยมีประเทศเข้าร่วมมากกว่า 20 ประเทศ

2553

  • 11 ม.ค. 2553
    ศูนย์วางแผนยุทธวิธีแห่งแปซิฟิกเปิดทำการที่เกาะฟอร์ด เพิร์ลฮาเบอร์ ในฐานะศูนย์ฝึกชั้นนำสำหรับพื้นที่รับผิดชอบ ศูนย์แห่งนี้สนับสนุน โครงการฝึกอบรมร่วมและ การจำลองการรบของหน่วยบัญชาการของกองบัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก
  • 11 ม.ค. 2554
    เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 สร้างคลื่นสึนามิที่ทำลายล้างชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกสนับสนุนความพยายามในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติผ่านปฏิบัติการโทโมดาจิ โดยให้ความช่วยเหลือเป็นสิ่งของบรรเทาทุกข์มากกว่า 245 ตัน และน้ำ 7.5 ล้านลิตร เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ พร้อมส่งเรือ 24 ลำและเครื่องบิน 189 ลำเพื่อสนับสนุนรัฐบาลญี่ปุ่น
  • 6 เม.ย. 2554
    มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในเขตอาร์กติก ระหว่างกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นตอนเหนือและ กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นยุโรป กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกยังคงมีอำนาจควบคุม และบัญชาการกองกำลังในอะแลสกาและหมู่เกาะอะลูเชียน
  • 16 พ.ย. 2554
    ออสเตรเลียและสหรัฐฯ ขยายความร่วมมือทางทหารโดยการส่งนาวิกโยธินสหรัฐฯ ขนาดหน่วยกองร้อยไปประจำการที่ดาร์วิน ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย นาวิกโยธินสหรัฐฯ จะหมุนเวียนกำลังเป็นระยะเวลา 6 เดือนเพื่อฝึกซ้อมร่วมกับกองกำลังออสเตรเลีย ข้อตกลงดังกล่าวช่วยให้สหรัฐฯ เข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกของกองทัพอากาศออสเตรเลียได้มากขึ้น
  • 17 พ.ย. 2554
    ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศเปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญด้านความมั่นคงแห่งชาติ โดยมุ่งเน้นไปที่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิก
  • 8 พ.ย. 2556
    พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน หรือที่เรียกว่าโยลันดาในฟิลิปปินส์ พัดถล่มเกาะเลย์เต สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลและกระทบต่อผู้คนมากกว่า 12 ล้านคน กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกร่วมปฏิบัติการดามายัน โดยให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ มูลค่ากว่า 1.08 พันล้านบาท (ประมาณ 31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) พร้อมทั้งสิ่งของบรรเทาทุกข์และการสนับสนุนต่าง ๆ
  • 28 เม.ย. 2557
    ฟิลิปปินส์และสหรัฐฯ ลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหมฉบับปรับปรุง เพื่อเพิ่มการฝึกอบรมและความสามารถในการทำงานร่วมกัน ของกองทัพสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์
  • 2 ก.ค. 2557
    กองทัพฝรั่งเศสในโพลินีเซียและกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกตกลงจัดการประชุมประจำปีระดับอาวุโสเพื่อส่งเสริมกิจกรรมระหว่างกองทัพ
  • ส.ค. – พ.ย. 2557
    กองทัพบกสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกดำเนินการฝึกแปซิฟิกพาทเวย์ครั้งแรก เพื่อขยายการมีส่วนร่วมและการมีบทบาทของกองทัพบกสหรัฐฯ ในภูมิภาค
  • 5 ม.ค. 2558
    มาเลเซียและสหรัฐฯ ลงนามข้อตกลงความช่วยเหลือทางศุลกากร ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการร่วมมือด้านความมั่นคงและการค้า
  • 4 พ.ค. 2558
    กองกำลังเฉพาะกิจร่วมที่ 505 ของสหรัฐฯ นำปฏิบัติการซาฮาโยกิ ฮัท เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เนปาลหลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.8 ริกเตอร์ ในเดือนเมษายน ทหารอากาศสหรัฐฯ เริ่มส่งเจ้าหน้าที่และสินค้าในวันที่ 27 เมษายน
  • 4 มิ.ย. 2558
    อินเดียและสหรัฐฯ ลงนามในกรอบการทำงานระยะเวลา 10 ปี เพื่อเน้นการเติบโตของความร่วมมือด้านกลาโหม
  • 16 ก.ค. 2558
    เกาหลีใต้และสหรัฐฯ ลงนามในข้อตกลงสืบทอดตำแหน่งเพื่อขยายความร่วมมือด้านนิวเคลียร์สันติภาพที่มีมายาวนานกว่า 50 ปี โดยการจัดตั้งคณะกรรมการทวิภาคีระดับสูงเพื่อส่งเสริมวัตถุประสงค์ร่วมในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์พลเรือน
  • 25 ก.ย. 2558
    นายสี จิ้นผิง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ให้คำมั่นว่าจะไม่เสริมกองกำลังทหารบนเกาะเทียมในทะเลจีนใต้หรือ “ไม่มุ่งเป้าไปที่หรือส่งผลกระทบต่อประเทศใด ๆ” แต่จากนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เสริมกำลังทหารในหลายพื้นที่ที่มีข้อพิพาท โดยติดตั้งขีปนาวุธต่อต้านเรือ ขยายขีดความสามารถด้านเรดาร์ทางทหาร ข้อมูลข่าวกรองด้านสัญญาณ และอื่น ๆ
  • 10-26 ก.พ. 2559
    เครื่องบินกว่า 100 ลำ ทหารจากกองทัพอากาศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐเกาหลี 490 นาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่กว่า 930 คนจากกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหรัฐฯ เข้าร่วมการฝึกซ้อม
    โคปนอร์ท ที่ฐานทัพอากาศแอนเดอร์เซน เกาะกวม เพื่อยกระดับปฏิบัติการแบบพหุภาคี
  • 28 ก.พ. 2559
    ศรีลังกาและสหรัฐฯ จัดการประชุมเจรจาความร่วมมือครั้งแรกในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อเน้นความร่วมมือทวิภาคีที่เพิ่มขึ้น ศรีลังกาจัดการประชุมครั้งที่สี่เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2565 ที่โคลัมโบ
  • 5 มี.ค. 2559
    ผู้นำจากกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น กองทัพเรือฟิลิปปินส์ และกองเรือที่ 7 ของสหรัฐฯ จัดการประชุมกันบนเรือยูเอสเอส บลู ริดจ์ เพื่อหารือเกี่ยวกับการกระชับความสัมพันธ์
  • 12 ก.ค. 2559
    ศาลระหว่างประเทศตัดสินภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเลว่าการอ้างสิทธิ์ของรัฐบาลจีนในทะเลจีนใต้ไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายและการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างทางทะเลของจีน รวมถึงฐานทัพทางทหารก็ถือเป็นการละเมิดกฎหมาย
  • 7 มี.ค. 2560
    ภารกิจความร่วมมือแปซิฟิกหยุดพักที่ฮัมบันโตตา ประเทศศรีลังกาเป็นครั้งแรก โดยมีการหยุดพักที่มาเลเซียและเวียดนามในเวลาต่อมา
  • 18 เม.ย. 2560
    นาวิกโยธินสหรัฐฯ บนเครื่องบินเอ็มวี-22บี ออสเปรย์ ส่งมอบของบรรเทาทุกข์ไปยังเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสนับสนุนความพยายามบรรเทาภัยพิบัติ ของกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่นหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
  • 15-16 ธ.ค. 2560
    เจ้าหน้าที่ระดับสูง จากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ พบปะกันเพื่อ จัดงานสัมมนา เอฟ-35 ครั้งแรกในภูมิภาคเกี่ยวกับการขับเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 5
  • 18-19 ธ.ค. 2560
    รัฐบาลอินเดียเป็นเจ้าภาพจัดการเจรจาระหว่างอินเดียกับสหรัฐฯ ครั้งแรกในหัวข้อการกำหนดมาตรการต่อต้านการก่อการร้าย เพื่อเพิ่มความร่วมมือด้านการกำหนดรายชื่อผู้ก่อการร้ายและกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ
เครื่องบินขับไล่ เอฟ-35เอ ไลท์นิง 2 ของออสเตรเลียมาถึงฐานทัพร่วมเพิร์ลฮาร์เบอร์-ฮิกคัม
น.อ. นิโคล ไวท์/กองทัพอากาศสหรัฐฯ
  • 17 เม.ย. 2561
    ฟิลิปปินส์และสหรัฐฯ วางศิลาฤกษ์สร้างคลังสินค้า ณ ฐานทัพอากาศซีซาร์บาซา จังหวัดปัมปังกา เพื่อเตรียมการจัดเก็บอุปกรณ์และสิ่งของจำเป็นในการรับมือ ซึ่งเป็นโครงการหลักโครงการแรกภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหมฉบับปรับปรุง
  • 20 พ.ค. 2561
    ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือแปซิฟิกเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี เจ้าหน้าที่กว่า 130 คนจากออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านสุขภาพและการฝึกเตรียมความพร้อมร่วมกับกองทัพไทย
  • 29 พ.ค. 2561
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เปลี่ยนชื่อ กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก เป็น กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิก เพื่อสะท้อนถึงการเชื่อมโยงที่เพิ่มขึ้นระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก
  • 11 มี.ค. 2562
    หน่วยทหารอากาศไทย สิงคโปร์ และสหรัฐฯ ร่วมสนับสนุนการฝึกซ้อมโคปไทเกอร์ ครั้งที่ 25 โดยมีเครื่องบิน 76 ลำที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกัน
  • 6 ก.ย. 2562
    กองกำลังทางทะเลอาเซียนและกองทัพเรือสหรัฐฯ เสร็จสิ้นการฝึกซ้อมทางทะเลระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ ครั้งแรกในสิงคโปร์ โดยมีเจ้าหน้าที่จากแต่ละประเทศนำการฝึกซ้อมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามพันธะการรักษาความมั่นคงร่วมกันและเพิ่มขีดความสามารถ
  • 29 ธ.ค. 2562
    อินโดนีเซียและสหรัฐฯ ฉลองครบรอบ 70 ปีของความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี
กองกำลังอาเซียนและสหรัฐฯ รวมตัวกันในระหว่างการฝึกซ้อมทางทะเลของอาเซียนและสหรัฐฯ ครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562
จ.อ. จิม ออง/กองทัพเรือสหรัฐฯ

2563

  • 26 มี.ค. 2563
    กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกยกเลิกการฝึกบาลิกาตัน เพื่อปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยในช่วงการระบาดของโควิด-19
  • 11 ก.ค. 2563
    เวียดนามและสหรัฐฯ ฉลองครบรอบ 25 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูต
  • 15 ส.ค. 2563
    ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ สานต่อความร่วมมือ 60 ปีภายใต้ความเป็นพันธมิตรด้วยการปฏิบัติการร่วมกันในทะเลฟิลิปปินส์โดยมีเรือเจเอส อิคาซึจิ และกองเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส
    โรนัลด์ เรแกน
  • 23 ก.ย. 2563
    สหรัฐฯ เข้าร่วมสมาคมพลังงานแปซิฟิกในฐานะสมาชิกผู้สนับสนุน โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการเพิ่มความสามารถด้านพลังงานในภูมิภาคโดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการฝึกอบรมแรงงาน
  • 30 ก.ย. 2563
    บังกลาเทศและสหรัฐฯ ลงนามในข้อตกลงการขนส่งทางอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการบินระหว่างประเทศน่านฟ้าเสรีของสหรัฐฯ ที่รวมถึงการให้บริการแบบเต็มความสามารถและไม่จำกัดความถี่ของเที่ยวบิน สิทธิในการใช้เส้นทางแบบเปิด ระบบกฎบัตรเสรี และโอกาสในการแบ่งปันรหัสเที่ยวบินแบบเปิด
เรือพิฆาตเจเอส อิคาซึจิ ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น (จากซ้าย) เรือเติมน้ำมันยูเอสเอ็นเอส จอห์น อีริกสัน ของกองทัพเรือสหรัฐฯ และเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส โรนัลด์ เรแกน เดินหน้าเต็มกำลังในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ในระหว่างการปฏิบัติการร่วมกันในทะเลฟิลิปปินส์ จ.ท. เจสัน ทา/กองทัพเรือสหรัฐฯ
  • 5 ม.ค. 2564
    มัลดีฟส์และสหรัฐฯ ตกลงที่จะนำกรอบความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงและกลาโหม พ.ศ. 2563 มาใช้ในการทำงานด้านความมั่นคงทางทะเล การต่อต้านการก่อการร้าย และกิจกรรมความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ
  • 1 ก.พ. 2564
    รัฐบาลทหารเมียนมายึดอำนาจในการรัฐประหาร ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้าน ปฏิบัติการของกลุ่มแนวร่วมที่เริ่มดำเนินการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ทำให้ทหารอ่อนแอลงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ภายในช่วงปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567 เหลือเมืองอีกเพียงไม่ถึง 100 แห่งจากทั้งหมด 352 แห่งในประเทศ (ร้อยละ 28 ของประเทศ) ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของทหาร
  • 11 มี.ค. 2564
    กองกำลังญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางตะวันออกของญี่ปุ่นและให้เกียรติแก่ผู้เสียชีวิตมากกว่า 15,000 คน ภายใต้ปฏิบัติการโทโมดาจิ กองกำลังเหล่านี้ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้คนหลายพันคน
  • 29 มี.ค. 2564
    ฟิลิปปินส์และสหรัฐฯ เฉลิมฉลองครบรอบ 75 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูต
  • 2-27 ส.ค. 2564
    กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกจัดการฝึกระดับโลกขนาดใหญ่ทุก ขอบเขตกับกองทัพ ออสเตรเลีย กองกำลังป้องกันตนเอง ประเทศญี่ปุ่น และ กองทัพสหราชอาณาจักร
  • 23 ส.ค. 2564
    สิงคโปร์และสหรัฐฯ ตกลงที่จะยกระดับการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านการเงิน หน่วยงานด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ และกองทัพ
  • 26 ส.ค. 2564
    กองกำลังทางทะเลจากออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เริ่มการฝึกซ้อมมาลาบาร์ประจำปีในทะเลฟิลิปปินส์เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการยึดมั่นในกฎหมายทางทะเลระหว่างประเทศ
  • 1 ก.ย. 2564
    ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯ เฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปี ของสนธิสัญญาอันซัส ที่ลงนามในซานฟรานซิสโกเมื่อ พ.ศ. 2494 เพื่อยืนยันวิสัยทัศน์ร่วมกัน ในการสร้างภูมิภาคอินโดแปซิฟิกที่ปลอดภัย มั่นคง และเจริญรุ่งเรือง
  • 16 ก.ย. 2564
    ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ประกาศจัดตั้งความร่วมมือด้านความมั่นคงไตรภาคีที่มีความเข้มแข็งในชื่อ อูกัส เพื่อส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูลและเทคโนโลยีอย่างลึกซึ้ง และผลักดันการบูรณาการวิทยาการเกี่ยวกับความมั่นคงและการป้องกัน เทคโนโลยี ฐานอุตสาหกรรม และห่วงโซ่อุปทาน
  • 22 ก.ย. 2564
    เกาหลีใต้และสหรัฐฯ จัดพิธีส่งร่างของเชลยศึก/ผู้สูญหายจากสงครามเกาหลีกลับร่วมกันเป็นครั้งแรก
  • 6 ธ.ค. 2564
    สหรัฐฯ และประเทศหุ้นส่วนเริ่มปฏิบัติการคริสต์มาสดรอปประจำปีครั้งที่ 70 ซึ่งเป็นภารกิจฝึกอบรมด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ยาวนานที่สุดของสหรัฐฯ โดยส่งมอบอาหาร เครื่องมือ และเสื้อผ้า ให้กับเกาะห่างไกลในแปซิฟิกกว่า 55 แห่ง
วัคซีนโควิด-19 ชุดแรกจำนวน 1 ล้านโดสที่สหรัฐฯ บริจาคให้กับกัมพูชามาถึงกรุงพนมเปญในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564
ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส
  • 1 ม.ค. 2565
    กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิเฉลิมฉลองครบรอบ 75 ปี ซึ่งเป็นกองบัญชาการรบทางภูมิศาสตร์ที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ
  • 12 เม.ย. 2565
    อินเดียและสหรัฐฯ สองประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพิ่มความร่วมมือด้วยการเจรจาระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศ โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของทั้งสองประเทศในการปกป้องอธิปไตย ความบูรณภาพแห่งดินแดน และอิสรภาพ
  • 26 เม.ย. 2565
    เกาหลีใต้และสหรัฐฯ ลงนามในข้อตกลงเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านอวกาศร่วมกัน
  • 5 พ.ค. 2565
    เนปาลและสหรัฐฯ ลงนามในข้อตกลงระยะเวลา 5 ปี โดยสหรัฐฯ จะสนับสนุนเงินจำนวน 2.28 หมื่นล้านบาท (ประมาณ 659 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อช่วยให้เนปาลบรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
  • 23 พ.ค. 2565
    ผู้บัญชาการกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกและเสนาธิการกองทัพฟิลิปปินส์ลงนามในกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล (บันทาย ดะกัต) ซึ่งเป็นการแสดงถึงความแข็งแกร่งของพันธมิตรระหว่างสองประเทศ โดยกรอบความร่วมมือนี้ออกแบบมาให้ช่วยเสริมสร้างการรักษาความมั่นคงทางทะเลในรูปแบบองค์รวมระหว่างรัฐบาล ผ่านความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างกองกำลังทางทะเลของฟิลิปปินส์และสหรัฐฯ
  • 7-8 มิ.ย. 2565
    กองทัพเรือเกาหลีใต้และสหรัฐฯ ตกลงที่จะเสริมสร้างความร่วมมือโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสมุทรศาสตร์ อุทกศาสตร์ และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ในด้านอุตุนิยมวิทยา
  • 1-14 ส.ค. 2565
    ซูเปอร์การูด้าชิลด์กลายเป็นการฝึกซ้อมขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค โดยมีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกว่า 4,000 คน รวมถึงผู้เข้าร่วมครั้งแรกจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ การฝึกนี้ยังมีการกระโดดร่มทางอากาศไตรภาคีครั้งแรกระหว่างอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ อีกทั้งยังมีประเทศที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ได้แก่ แคนาดา ฝรั่งเศส อินเดีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี ติมอร์-เลสเต เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร
  • 29 ก.ย. 2565
    หมู่เกาะคุก ฟิจิ เฟรนช์พอลินีเซีย หมู่เกาะมาร์แชล ไมโครนีเซีย นาอูรู นิวแคลิโดเนีย ปาเลา ปาปัวนิวกินี ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน ตองงา ตูวาลู วานูอาตู และสหรัฐฯ ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศในแปซิฟิก โดยตกลงที่จะรักษาสันติภาพและความมั่นคงทั่วบลูแปซิฟิก
  • 1 พ.ค. 2566
    หลังจากหยุดพักไป 13 ปี การฝึกโคปธันเดอร์ – ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อฝึกซ้อมรบระหว่างกองทัพอากาศฟิลิปปินส์และกองทัพอากาศสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก ได้กลับมาดำเนินการอีกครั้งที่ฐานทัพอากาศคลาร์ก ประเทศฟิลิปปินส์
  • 4-6 มิ.ย. 2566
    การฝึกซ้อมทางทะเลแบบพหุภาคี โคโมโด ซึ่งเริ่มต้นใน พ.ศ. 2557 กลับมาดำเนินการที่สุลาเวสีใต้ ประเทศอินโดนีเซีย เป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 โดยมีหัวข้อว่า “ความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูและยืนหยัดอย่างแข็งแกร่ง” กองทัพเรืออินโดนีเซียเชิญ 19 ประเทศให้มีส่วนร่วมในการวางแผนการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพื่อบรรเทาภัยพิบัติ
  • 18 ส.ค. 2566
    ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ ประกาศจัดตั้งความร่วมมือด้านความมั่นคง โดยประเทศเหล่านี้ยึดมั่นในแนวทางความร่วมมือร่วมกัน
  • 25 ก.ย. 2566
    การประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐฯ และประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ยืนยันถึงพันธกิจในการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ร่วมในการสร้างภูมิภาคแปซิฟิกที่มีความพร้อมรับมือ
  • พ.ย. 2566
    ภารกิจความร่วมมือแปซิฟิกกลับมาดำเนินการที่ตองงาหลังจากเว้นไป 10 ปี และที่เวียดนามเป็นครั้งที่ 12 เพื่อปฏิบัติภารกิจความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติแบบพหุภาคีครั้งใหญ่ที่สุดประจำปีในภูมิภาค โดยมีเจ้าหน้าที่กว่า 1,500 คนจากออสเตรเลีย แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ
หุ้นส่วนจากหลายประเทศเข้าร่วมการฝึกโคปนอร์ท พ.ศ. 2567 ที่ฐานทัพอากาศแอนเดอร์เซนในเกาะกวม จ.ส.ต. เจอรัลด์ อาร์. วิลลิส/กองทัพอากาศสหรัฐฯ
  • ก.พ. 2567
    สหรัฐฯ ได้จัดส่งวัคซีนโควิด-19 มากกว่า 693 ล้านโดสไปยังทั่วโลก ซึ่งมากกว่าทุกประเทศ สำหรับวัคซีนทุกโดสที่ฉีดในสหรัฐฯ จะมีอีกเกือบหนึ่งโดสที่ส่งไปยังกว่า 110 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ ส่งวัคซีน 35 ล้านโดสให้แก่อินโดนีเซีย
  • 5 ก.พ. 2567
    กองทัพอากาศออสเตรเลีย กองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศส กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น กองทัพอากาศเกาหลีใต้ ตลอดจนกองทัพอากาศ นาวิกโยธิน และกองทัพเรือของสหรัฐฯ เข้าร่วมการฝึกซ้อมโคปนอร์ท ที่เกาะกวมเพื่อเสริมสร้างการป้องปรามแบบบูรณาการ
  • 12-15 ก.พ. 2567
    นาวิกโยธินสหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ รวมถึงการจัดส่งสิ่งของช่วยเหลือให้กับผู้คนกว่า 75,000 คน หลังเกิดน้ำท่วมและดินถล่มครั้งรุนแรงในมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์
  • 13 พ.ค. 2567
    กองกำลังทางทะเลและกองทัพเรือจากอินโดนีเซียและสหรัฐฯ เริ่มการฝึกความร่วมมือและความพร้อมทางเรือครั้งที่ 30 ที่บันดาร์ลัมปุง ประเทศอินโดนีเซีย ในโอกาสครบรอบ 75 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ
  • 11 มิ.ย. 2567
    เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้และสหรัฐฯ พบปะกันที่กรุงโซลในฐานะส่วนหนึ่งของกลุ่มที่ปรึกษาด้านนิวเคลียร์ ที่จัดตั้งขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 เพื่อประสานงานการรับมือกับภัยคุกคามนิวเคลียร์จากเกาหลีเหนือ
  • 12 ก.ค. 2567
    การฝึกพิตช์แบล็กกลายเป็นการฝึกซ้อมที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 43 ปีของการฝึกที่จัดขึ้นทุก 2 ปีของกองทัพอากาศออสเตรเลีย โดยมีผู้เข้าร่วมจาก 20 ประเทศ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button