ความร่วมมือทรัพยากรส่วนรวมของโลกเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

อิตาลี ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรเร่งพัฒนาเครื่องบินขับไล่ล่องหน

ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอิตาลี ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร เห็นพ้องที่จะเร่งพัฒนาเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ และจัดตั้งองค์กรเพื่อทำงานร่วมกับผู้ผลิตเครื่องบิน ตามประกาศของเจ้าหน้าที่ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567

ทั้งสามประเทศได้ตกลงกันใน พ.ศ. 2565 ว่าจะร่วมกันผลิตเครื่องบินรบเพื่อให้พร้อมใช้งานภายใน พ.ศ. 2578 ภายใต้โครงการเครื่องบินรบสากลเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือท่ามกลางภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากเกาหลีเหนือ สาธารณรัฐประชาชนจีน และรัสเซีย

เครื่องบินขับไล่ล่องหนนี้จะมาแทนที่เครื่องบินขับไล่ เอฟ-2 ของญี่ปุ่นที่กำลังจะปลดประจำการ ซึ่งเคยพัฒนาร่วมกับสหรัฐอเมริกา และเครื่องบิน ยูโรไฟท์เตอร์ ไทฟูน ซึ่งผลิตขึ้นด้วยความร่วมมือกับเยอรมนี อิตาลี สเปน และสหราชอาณาจักร

หลังการประชุมกับนายกุยโด โครเซตโต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอิตาลี และนาย จอห์น ฮีลีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร นายเก็น นากาทานิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ก็ได้กล่าวว่าจะมีการจัดตั้งกลุ่มร่วมที่มีชื่อว่า องค์กรระหว่างรัฐบาลสำหรับโครงการเครื่องบินรบสากลในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าในสหราชอาณาจักรเพื่อดูแลการพัฒนาเครื่องบิน รัฐมนตรีทั้งสามประเทศได้ร่วมประชุมกันนอกรอบการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ

บริษัท บีเออี ซิสเต็มส์ พีแอลซี จากสหราชอาณาจักร บริษัท ลีโอนาร์โด จากอิตาลี และบริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์จากญี่ปุ่น เข้าร่วมในโครงการนี้ “ตอนนี้เราคิดว่าการเปิดตัวองค์กรระหว่างรัฐบาลสำหรับโครงการอากาศเครื่องบินรบสากลและการร่วมทุนกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี” นายทากาทานิกล่าว

นายอากิระ สึกิโมโตะ ตัวแทนผู้รับผิดชอบโครงการเครื่องบินรบสากลจากบริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ของญี่ปุ่นกล่าวว่า โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้จัดหาของญี่ปุ่นและฐานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น

“จุดยืนพื้นฐานของเราคือการรวมจุดแข็งของเราเป็นหนึ่งเดียวเพื่อพัฒนาเครื่องบินขับไล่คุณภาพสูง ผมเชื่อว่าผู้จัดหาของญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยม และผมคาดหวังให้พวกเขาเข้าร่วมโครงการนี้ให้ได้มากที่สุด” นายสึกิโมโตะกล่าว

ผมคิดว่าสิ่งนี้จะช่วยให้ผู้จัดหาของญี่ปุ่นยกระดับศักยภาพในการพัฒนาอุปกรณ์ และมีส่วนช่วยสร้างแนวโน้มที่ดีขึ้น รวมถึงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเสถียรภาพที่ดีกว่าเดิม” นายสุงิโมโตะกล่าว

โครงการเครื่องบินขับไล่ร่วมกันนี้จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมกลาโหมของญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมภายในประเทศ ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามตอบโต้ความก้าวร้าวที่เพิ่มขึ้นของจีน ญี่ปุ่นได้ผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการส่งออกเพื่ออนุญาตให้มีการขายระบบอาวุธไปยังต่างประเทศ ซึ่งรวมไปถึงเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button