ความขัดแย้ง/ความตึงเครียดความร่วมมืออินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอเชียใต้

แผนที่เปิดเผยให้เห็นถึงยุทธศาสตร์การแย่งชิงดินแดนของจีนที่กำลังดำเนินอยู่

เจ้าหน้าที่ ฟอรัม

การเผยแพร่แผนที่อย่างเป็นทางการฉบับล่าสุดของสาธารณรัฐประชาชนจีนก่อให้เกิดการประณามอย่างรุนแรงจากสหรัฐฯ พันธมิตร และหุ้นส่วนในอินโดแปซิฟิกต่อสิ่งที่เรียกว่าเป็นการแย่งชิงดินแดนในเชิงแผนที่ ซึ่งเป็นการที่รัฐบาลจีนอ้างสิทธิ์ในพื้นที่เกาะไต้หวันที่ปกครองตนเองทั้งหมดและพื้นที่ในทะเลจีนใต้และดินแดนที่เป็นข้อพิพาทที่อื่น ๆ ส่วนใหญ่

แผนที่ดังกล่าวเป็น “ความพยายามล่าสุดในการสร้างความชอบธรรมให้กับอำนาจอธิปไตยและเขตอำนาจศาลเหนือองค์ประกอบและพื้นที่ทางทะเลของฟิลิปปินส์ และยังไม่ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ” กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ระบุ หลังจากที่มีการเผยแพร่แผนที่ฉบับดังกล่าวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 แผนที่ดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ทั้งหมด ซึ่งฝ่าฝืนคำตัดสินของศาลระหว่างประเทศใน พ.ศ. 2559 ที่ปฏิเสธการอ้างสิทธิ์ในดินแดนดังกล่าวของจีนว่าเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

อินเดียและมาเลเซียเองก็ประท้วงอย่างรุนแรงหลังจากแผนที่ฉบับแก้ไขนี้อ้างสิทธิ์ในดินแดนของตน “เราปฏิเสธการอ้างสิทธิ์เหล่านี้เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่มีมูลฐาน การกระทำดังกล่าวจากทางฝั่งของจีนมีแต่จะทำให้การคลี่คลายข้อพิพาทชายแดนซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินเดียกล่าว แผนที่ของจีนอ้างสิทธิ์ในรัฐอรุณาจัลประเทศทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งอยู่ทางตะวันออกสุดของชายแดนระยะทาง 3,380 กิโลเมตรที่เป็นข้อพิพาทของทั้งสองประเทศ ซึ่งเรียกกันว่าเส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง

แผนที่ดังกล่าวยังนับรวมพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเกือบทั้งหมดของมาเลเซียเข้าไปด้วย ซึ่งมีระยะห่าง 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งของมาเลเซียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นจุดที่กฎหมายระหว่างประเทศมอบสิทธิ์ในทรัพยากรทางทะเลให้กับรัฐบาลมาเลเซีย

การวาดเส้นแผนที่ขึ้นใหม่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การแย่งชินดินแดนที่กว้างขึ้นของจีน ซึ่งรวมถึงการสร้างหมู่บ้านในเนปาลและการกลั่นแกล้งและการบีบบังคับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทะเลจีนใต้ “ประเด็นสำคัญไม่ใช่เพียงแค่เส้นที่พวกเขาขีดในแผนที่ แต่ยังเป็นพฤติกรรมเชิงบีบบังคับด้วย ประเด็นสำคัญคือวิธีการที่จีนข่มขู่ประเทศเพื่อนบ้านของตนรวมถึงพันธมิตรและหุ้นส่วนบางรายของเราในอินโดแปซิฟิก เพื่อพยายามที่จะผลักดันการอ้างสิทธิ์ทางทะเลที่เป็นเท็จเหล่านี้” นายจอห์น เคอร์บี้ โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ กล่าวกับวอยซ์ออฟอเมริกา

จีนลักลอบสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ ๆ บนเกาะที่เนปาลเป็นเจ้าของใน พ.ศ. 2563 จากนั้นก็ปฏิเสธที่จะให้ทางการเนปาลเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าว ต่อมาในปีเดียวกันนั้น การสั่งสมกำลังทหารของจีนได้เพิ่มความตึงเครียดตลอดเส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง และทำให้เกิดการปะทะกันจนทำให้มีทหารอินเดีย 20 นายและทหารของกองทัพปลดปล่อยประชาชนอย่างน้อย 4 นายเสียชีวิต

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ในการเขียนแผนที่ใหม่อีกฉบับหนึ่ง จีนได้กล่าวว่าได้ตั้งชื่อใหม่ให้กับภูเขา แม่น้ำ และเขตที่อยู่อาศัยในรัฐอรุณาจัลประเทศ 11 แห่ง ตามรายงานของเดอะไวร์ เว็บไซต์ข่าวในอินเดีย

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ความพยายามของจีนในการสร้างความชอบธรรมให้กับความทะเยอทะยานในการขยายดินแดนของตนด้วยการลดบทบาทการมีส่วนร่วมทางทหารของตนเองลง ใช้โครงการที่อ้างว่าเป็นโครงการพลเรือนเพื่อทำการขุดลอกเกาะเทียมในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นที่ที่จีนได้ใช้เรือของกองกำลังรักษาชายฝั่งและกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลเพื่อก่อกวนเรือที่เติมเสบียงให้กับกองกำลังของฟิลิปปินส์ที่ประจำการอยู่ที่สันดอนโทมัสที่สองภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาลฟิลิปปินส์

กลยุทธ์ในลักษณะดังกล่าวมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการแบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อ “เปลี่ยนแปลงสถานะที่เป็นอยู่ทางดินแดนและทางทะเลด้วยความคืบหน้าของการดำเนินการระดับเล็ก ๆ ซึ่งไม่มีการกระทำใดเลยที่เป็นเหตุแห่งสงครามในตัวเอง แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลับนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์” ที่เป็นผลดีกับรัฐบาลจีน นายพรหม เชลลานีย์ ศาสตราจารย์ด้านการศึกษายุทธศาสตร์ที่ศูนย์ศึกษาวิจัยนโยบายประจำกรุงนิวเดลี เขียนในหนังสือพิมพ์เดอะเจแปนไทมส์

ในการตอบสนองต่อเรื่องดังกล่าว สหรัฐฯ พยายามดำเนินการสร้างและเสริมความเข้มแข็งให้กับพันธมิตรในระดับภูมิภาค ตามรายงานของนายอิโว ดอลเดอร์ อดีตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ ประจำนาโต้และประธานสภากิจการโลกแห่งเมืองชิคาโก

“ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นตอนนี้อยู่ในจุดที่เข้มแข็งที่สุดในรอบหลายทศวรรษ โดยเป็นผลมาจากการตัดสินใจของรัฐบาลญี่ปุ่นในการเพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหมเป็นสองเท่าในช่วงห้าปี พร้อมกันกับทำการลงทุนในขีดความสามารถใหม่ ๆ ที่จำเป็นในการป้องกันตัวเองและยกระดับการป้องปรามทั่วทั้งภูมิภาค” นายดอลเลอร์เขียนไว้ในเว็บไซต์โพลิทิโคของสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 “ออสเตรเลียเองก็ได้ทำการปรับยุทธศาสตร์และท่าทีด้านกลาโหมของตนเพื่อมุ่งเน้นไปที่การรักษาการป้องปรามที่เข้มแข็งในแปซิฟิก และรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ประสบความสำเร็จในการกระตุ้นให้รัฐบาลญี่ปุ่นและเกาหลีปล่อยวางเรื่องความแตกต่างระหว่างทั้งสองประเทศไว้ก่อน และหันมากระชับความสัมพันธ์แบบทวิภาคีและไตรภาคีร่วมกัน ผู้นำของการเจรจาความมั่นคงจตุภาคี หรือ ควอด ที่ประกอบไปด้วยออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ตอนนี้มาร่วมประชุมกันเป็นประจำด้วย”

พร้อมกันนี้ ไต้หวันก็ยังลงทุนเพิ่มขึ้นในขีดความสามารถด้านต่าง ๆ เพื่อขัดขวางการรุกรานที่อาจเกิดขึ้นจากช่องแคบไต้หวัน ความพยายามร่วมกันของทั้งพันธมิตรและหุ้นส่วนกำลังส่ง “ข้อความอย่างชัดเจนให้กับจีนว่า สงครามระหว่างช่องแคบจะเป็นสงครามที่มีการนองเลือดและมีการสูญเสียสูง และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็ไม่อาจคาดเดาได้” นายดอลเลอร์เขียน

แสดงความคิดเห็นที่นี่

ความเป็นส่วนตัวของคุณเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเรา หากคุณเลือกที่จะระบุที่อยู่อีเมลของคุณ เจ้าหน้าที่ของ ฟอรัม จะใช้เพื่อติดต่อกับคุณเท่านั้น เราจะไม่เปิดเผยหรือเผยแพร่ที่อยู่อีเมลของคุณ เฉพาะชื่อและเว็บไซต์ของคุณเท่านั้นที่จะปรากฏในความคิดเห็นของคุณ ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button