ความร่วมมือเรื่องเด่นเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

ยุทธศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี กลาโหม ของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น วางแผน ที่จะครอบครอง และรวบรวม เทคโนโลยีนวัตกรรม

ดร. ช‘เงโนร‘ ม‘ช‘มะ

ดร. ชิเงโนริ มิชิมะ รองผู้ว่าการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีขององค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และ
โลจิสติกส์ของญี่ปุ่น กล่าวสุนทรพจน์นี้ในการประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการแปซิฟิก ที่โฮโนลูลู
รัฐฮาวาย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ดร. มิชิมะได้หารือเกี่ยวกับบทบาทและกลยุทธ์ด้านความมั่นคงและกลาโหม
ขององค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์ ที่ประกาศโดยญี่ปุ่น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565
ความคิดเห็นของ ดร. มิชิมะได้รับการปรับให้เหมาะสมกับรูปแบบของ ฟอรัม

องค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์เป็นองค์กรภายนอกของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2558 และมีพนักงานประมาณ 1,800 คน ภารกิจขององค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยีและโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็นสี่หมวดหมู่ หนึ่ง คือ เพื่อรับรองถึงความเหนือชั้นทางเทคโนโลยีและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการดำเนินงานได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว สอง คือ เพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพนี่คืองานบริหารโครงการตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่การศึกษาแนวคิด การวิจัยและพัฒนา การจัดซื้อ และความยั่งยืนในการดำเนินงาน ไปจนถึงการกำจัด สาม คือ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและเทคโนโลยีด้านกลาโหม ซึ่งรวมถึงความร่วมมือกับอุตสาหกรรมภายในประเทศ รัฐบาล และสถาบันการศึกษาตลอดจนหุ้นส่วนระดับนานาชาติ และสี่ คือ เพื่อรักษาและเสริมสร้างการผลิตด้านกลาโหมและพื้นฐานด้านเทคโนโลยี

การผลิตด้านกลาโหมและพื้นฐานด้านเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญของขีดความสามารถด้านกลาโหม และการสนับสนุนในส่วนนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ

องค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์มีแผนกพัฒนาระบบ 5 แผนก รวมถึงแผนกออกแบบเรือ นอกจากนี้ ยังมีศูนย์วิจัยสี่แห่งสำหรับภาคพื้นดิน ทางอากาศ ทางทะเล และระบบรุ่นใหม่ รวมทั้งศูนย์ทดสอบสามแห่ง

สภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงรอบ ๆ ญี่ปุ่นทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในความเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน จากการที่ประเทศเพื่อนบ้านเสริมสร้างขีดความสามารถทางทหารของตน การเปลี่ยนแปลงสถานภาพที่เป็นอยู่เพียงฝ่ายเดียวโดยการใช้กำลัง แสดงถึงความท้าทายที่สำคัญต่อระเบียบระหว่างประเทศที่เสรีและเปิดกว้าง การรุกรานยูเครนของรัสเซียได้เปิดเผยให้เห็นสิ่งนี้อย่างชัดเจนที่สุด ประชาคมโลกกำลังเผชิญกับการทดสอบครั้งใหญ่ที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และได้เข้าสู่วิกฤตยุคใหม่ ในขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของความมั่นคง

เนื่องด้วยปัจจัยเหล่านี้ ญี่ปุ่นจึงเผยแพร่เอกสารยุทธศาสตร์สามฉบับเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งรวมถึงการแก้ไขครั้งแรกของยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งเริ่มเผยแพร่ครั้งแรกใน พ.ศ. 2556 ในเอกสารระดับสูงนี้ มียุทธศาสตร์การป้องกันประเทศและโครงการพัฒนาด้านกลาโหมที่ระบุวัตถุประสงค์และวิธีการป้องกันประเทศ

ญี่ปุ่นกำลังเป็นผู้นำในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ล่องหน มิตซูบิชิ เอฟ-เอ็กซ์ ร่วมกับอิตาลีและสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอากาศยานรบระดับโลก
เครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 6 ที่แสดงให้เห็นนี้มีกำหนดเข้าประจำการในช่วงกลางทศวรรษ 2030 (พ.ศ. 2573 – 2582) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น

ประเด็นละเอียดอ่อนเชิงยุทธศาสตร์

แม้ว่าชื่อหัวข้อของเอกสารเหล่านี้จะเป็นเรื่องใหม่ ทว่าก็ได้กำหนดขึ้นเพื่อแทนที่แนวทางโครงการกลาโหมแห่งชาติและโครงการกลาโหมระยะกลางที่เผยแพร่ใน พ.ศ. 2561

ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงของญี่ปุ่นภายในกรอบระยะเวลา 10 ปี การแก้ไขดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในนโยบายความมั่นคงของญี่ปุ่นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองมาตรการต่าง ๆ ในอนาคตหมายรวมถึงการดำเนินการทางการทูตภายใต้วิสัยทัศน์ของอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง โดยมีพื้นฐานเพื่อเสริมสร้าง
ขีดความสามารถด้านกลาโหม เช่น ขีดความสามารถในการตอบโต้ และการส่งเสริมนโยบายความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สำหรับการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านกลาโหมขั้นพื้นฐานและโครงการริเริ่มเพิ่มเติม ญี่ปุ่นจะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อทำให้ระดับงบประมาณด้านกลาโหมของญี่ปุ่นสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปัจจุบันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2570

ยุทธศาสตร์กลาโหมแห่งชาติกำหนดวัตถุประสงค์ด้านกลาโหมในระยะ 10 ปี ตลอดจนเสนอวิธีการและแนวทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้กำหนดนโยบายเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านกลาโหม รวมถึงมาตรการป้องกันประเทศที่สำคัญ 7 ประการ เพื่อสนับสนุนท่าทีในการป้องกันของทั่วทั้งประเทศร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วน

โครงการเสริมสร้างด้านกลาโหมระบุถึงระดับการป้องกันที่ญี่ปุ่นควรมีและเป็นแผนพัฒนาระยะกลางถึงระยะยาวเพื่อให้บรรลุ
ระดับดังกล่าวโดยอธิบายถึงโครงสร้างกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นใน 5 – 10 ปี โครงการนี้ยังระบุจำนวนยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นต่อภารกิจและค่าใช้จ่ายทั้งหมดในอีกห้าปีข้างหน้าที่มีมูลค่าประมาณ 43 ล้านล้านเยน หรือกว่า 3.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าการจัดสรรงบประมาณในช่วงห้าปีที่ผ่านมา 1.6 เท่า

ในยุทธศาสตร์กลาโหมแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์ด้านกลาโหมสามประการและสามแนวทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว วัตถุประสงค์สามประการมีดังนี้

สร้างสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงที่ไม่ยอมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยใช้กำลัง

ยับยั้งและตอบโต้ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงหรือใช้กำลังเพียงฝ่ายเดียวในการเปลี่ยนแปลงสถานะ ผ่านความร่วมมือและการทำงานร่วมกับพันธมิตรและประเทศที่มีอุดมการณ์เดียวกัน และเข้าควบคุมสถานการณ์ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

หากญี่ปุ่นถูกรุกราน ให้ขัดขวางและเอาชนะการโจมตีในขณะที่ดำเนินการรับผิดชอบเบื้องต้นต่อการรับมือกับการรุกราน
รวมถึงรับการสนับสนุนจากเหล่าประเทศพันธมิตร

สามแนวทางในการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านกลาโหมของญี่ปุ่นมีดังนี้

การเสริมสร้างสถาปัตยกรรมด้านกลาโหมระดับประเทศของญี่ปุ่น

การเสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องปรามและตอบโต้ของพันธมิตรระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา

การเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศที่มีอุดมการณ์เดียวกันและประเทศอื่น ๆ ที่ญี่ปุ่นร่วมมือด้วยเพื่อส่งเสริมและเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศที่เสรีและเปิดกว้าง

ยุทธศาสตร์กลาโหมแห่งชาติระบุถึงพื้นที่ดำเนินการเจ็ดประการอันเป็นหน้าที่และความสามารถที่จำเป็นสำหรับการตอบสนองต่อวิธีการทำสงครามในรูปแบบใหม่ ประการแรก เพื่อขัดขวางกองกำลังรุกรานในระยะทางไกลเพื่อป้องปรามการรุกราน ด้วยขีดความสามารถด้านการป้องกันแบบเผชิญหน้า รวมทั้งการป้องกันทางอากาศและขีปนาวุธแบบบูรณาการ หากการป้องปรามล้มเหลว ให้รับรองถึงความได้เปรียบแบบอสมมาตรและมีความเหนือกว่าในทุกขอบเขตด้วยขีดความสามารถด้านกลาโหมแบบไร้คนขับ ขีดความสามารถในการปฏิบัติการข้ามขอบเขตรวมถึงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งและการควบคุม ตลอดจนที่เกี่ยวข้องกับข่าวกรอง ดำเนินการต่อไปในลักษณะที่รวดเร็วและต่อเนื่องเพื่อบดขยี้เจตจำนงของฝ่ายตรงข้ามในการบุกรุก ใช้ขีดความสามารถในการปฏิบัติการแบบคล่องตัวและการคุ้มครองพลเรือน รวมถึงความยั่งยืนและความยืดหยุ่น

งบประมาณด้านกลาโหมของญี่ปุ่นคาดว่าจะสูงถึงประมาณ 6.8ล้านล้านเยน หรือประมาณ 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีงบประมาณพ.ศ. 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

Japan is developing railgun technology and in 2016 tested a prototype that launched a projectile at 7,193 kilometers per hour. JAPAN MINISTRY OF DEFENSE

สิ่งสำคัญในการป้องกันประเทศ

อุตสาหกรรมกลาโหมเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้น เช่น ความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน อัตรากำไรต่ำ และการรั่วไหลของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ฐานการผลิตและเทคโนโลยีด้านกลาโหมเป็นเสมือนขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้โครงการริเริ่มในเชิงลึกเพื่อรักษาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมดังกล่าว

องค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์กำหนดทิศทางสามประการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ในอุดมคติ ประการแรก คือ การสร้างอุตสาหกรรมกลาโหมที่แข็งแกร่งและยั่งยืนโดยการรักษาและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมการเติมพลังให้แก่อุตสาหกรรมกลาโหม และการส่งเสริมธุรกิจด้านกลาโหมใหม่ รวมถึงการดึงดูดธุรกิจที่ทำกำไรได้และการจัดการกับการถอนตัวของบริษัทด้านกลาโหม ทิศทางประการที่สอง คือ การรับมือกับความเสี่ยงต่าง ๆ โดยการสร้างความมั่นใจในห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นการรักษาความปลอดภัยทางอุตสาหกรรมและไซเบอร์ ตลอดจนการจัดการเทคโนโลยีที่ละเอียดอ่อน ทิศทางประการที่สาม คือ การขยายความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ในภาคส่วนอุตสาหกรรมกลาโหม ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการถ่ายโอนอุปกรณ์ที่มีส่วนช่วยในการขยายช่องทางการขายและเพิ่มความคล่องตัวในการขายผลิตภัณฑ์ด้านกลาโหมให้ต่างประเทศ

โดยเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเสริมสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีทางกลาโหมการลงทุนในการวิจัยและพัฒนามีความสำคัญทั้งในด้านการพัฒนาขีดความสามารถและเพื่อให้แน่ใจว่าจะนำไปใช้งานโดยเร็วที่สุด ก่อนหน้านี้ได้มีการระบุขอบเขตขีดความสามารถด้านกลาโหมที่สำคัญ 7 ประการ เพื่อให้บรรลุขอบเขตเหล่านั้น องค์กรการจัดซื้อจัดจ้างเทคโนโลยีและโลจิสติกส์จะเร่งทำการวิจัยและพัฒนา รวมถึงรักษาและปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีอยู่ องค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์ยังมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นใจในความเหนือกว่าทางเทคโนโลยีในระยะกลางและระยะยาวโดยการใช้เทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ขั้นสูงให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะร่วมมือกับกระทรวงและหน่วยงานภายในประเทศที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสร้างสถาบันวิจัยแห่งใหม่ภายในองค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์

ตอนนี้ องค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์กำลังระบุขอบเขตเทคโนโลยีที่มุ่งเน้น โดยตลอดกระบวนการดังกล่าว องค์กรมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับพันธมิตรและหุ้นส่วน

ญี่ปุ่นวางแผนที่จะลงทุนอย่างมหาศาลในด้านยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการทำสงคราม ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาในอีกห้าปีข้างหน้าคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ประมาณ 7.8 แสนล้านบาท (2.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือประมาณ 4½ เท่าของการใช้จ่ายในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นจะใช้จ่ายเกี่ยวกับเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆเช่น การป้องกันแบบเผชิญหน้า การตอบสนองต่อยานพาหนะร่อนความเร็วเหนือเสียงการตอบสนองต่อโดรนและการโจมตีเป็นกลุ่ม สินทรัพย์ไร้คนขับ เครื่องบินขับไล่รุ่นถัดไปและขีดความสามารถอื่น ๆ อย่างเต็มที่

ในส่วนของการป้องกันแบบเผชิญหน้า กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นมุ่งเป้าที่จะสร้างความสามารถในการโจมตีเรือรบและกองกำลังยกพลขึ้นบกที่เข้ามารุกรานญี่ปุ่น รวมถึงเกาะที่อยู่ห่างไกล โดยดำเนินการจากพื้นที่นอกเขตคุกคาม ยานร่อนความเร็วเหนือเสียงนั้นยากที่จะตรวจจับหรือสกัดกั้นด้วยสินทรัพย์แบบเดิม ดังนั้นกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นจึงตั้งใจที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีที่ช่วยให้เราสามารถตอบสนองต่อยานร่อนเหล่านั้นได้ กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นหวังที่จะค้นพบวิธีการตอบโต้โดรนทางอากาศและการโจมตีเป็นกลุ่มได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการได้รับเทคโนโลยี เช่น ยานพาหนะใต้น้ำไร้คนขับด้วย

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นจะลงทุนอย่างเต็มที่ในโครงการอากาศยานรบระดับโลก ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มที่ประกาศโดยอิตาลี ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ในช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 เพื่อพัฒนาและใช้งานเครื่องบินขับไล่รุ่นถัดไป สำหรับการเสริมสร้างขีดความสามารถในการยับยั้งและการตอบสนอง กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นจะดำเนินโครงการเกี่ยวกับปืนรางแม่เหล็กไฟฟ้าในอนาคตและเทคโนโลยีอื่น ๆ

นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น อภิปรายเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ
ในการแถลงข่าวเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 รอยเตอร์

การพัฒนาให้ได้มาอย่างรวดเร็ว

องค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์จะใช้วิธีการสามประการในการพัฒนาและติดตั้งระบบเหล่านี้อย่างรวดเร็ว ประการแรก การพัฒนาทักษะความสามารถอย่างรวดเร็วผ่านการใช้หน่วยต้นแบบเมื่อเสร็จสิ้นการวิจัยและพัฒนา โดยมีตัวอย่างคือโครงการขีปนาวุธร่อนความเร็วสูงประการที่สอง ต้นแบบของระดับการดำเนินงานได้รับการผลิตและนำไปใช้
ในการทดลองพื้นฐาน เช่น โครงการเลเซอร์พลังงานสูง ประการที่สาม ก่อนที่โครงการวิจัยและพัฒนาจะเสร็จสมบูรณ์ องค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์จะดำเนินการประเมินและจัดการความเสี่ยงการผลิตเริ่มขึ้นในเวลาเดียวกันกับการวิจัยและพัฒนา โดยมีตัวอย่างคือโครงการขีปนาวุธจากพื้นดินสู่เรือไทป์ 12

ความพยายามในการบำรุงรักษาและปรับปรุงเทคโนโลยีเฉพาะด้านกลาโหมแบบเดิมเองก็มีความจำเป็นเช่นกัน เนื่องด้วยทรัพยากรบุคคลที่จำกัด องค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์จึงมุ่งมั่นที่จะรักษาและปรับปรุงฐานเทคโนโลยีในด้านที่มีลักษณะเฉพาะและจำเป็นต่อยุทโธปกรณ์ด้านกลาโหม โดยได้ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่มีอยู่ซึ่งเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับสร้างขีดความสามารถขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ในการเสริมสร้างการรวมเทคโนโลยีโยธาที่ทันสมัยให้มั่นคงขึ้นงบประมาณสำหรับโครงการริเริ่มที่เกี่ยวข้องจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งหมายความว่าจะมีการลงทุนมากขึ้นเกี่ยวกับการค้นคว้าและปลูกฝังเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ที่ทันสมัยสำหรับวัตถุประสงค์ทางกลาโหม อาวุธความเร็วเหนือเสียงและไจโรสโคปที่มีความแม่นยำสูง รวมถึงเทคโนโลยีเลเซอร์เป็นตัวอย่างของขอบเขตการสนับสนุนเงินทุนเหล่านี้

ความพยายามของทั่วทั้งภาครัฐ

เงินทุนขององค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์สำหรับการวิจัยขั้นพื้นฐาน การลงทุนของหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ และเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ที่ทันสมัยจะนำมาใช้และปรับเปลี่ยนตามความจำเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ทางกลาโหม การลงทุนนี้จะขยายและได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นในโครงการเสริมสร้างทางกลาโหมครั้งถัดไป

เอกสารยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงและกลาโหมฉบับใหม่นี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้ความแข็งแกร่งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของญี่ปุ่น ตลอดจนความพยายามในการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการทางกลาโหม นี่เป็นความพยายามของทั่วทั้งภาครัฐ กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาไว้เพียงร้อยละ 3 – 4 ของงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐบาลญี่ปุ่น

องค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์พยายามทุกวิถีทางเพื่อรวมเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากหน่วยงานภายนอก รวมถึงธุรกิจเกิดใหม่และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยทางสำนักงานวางแผนที่จะจัดตั้งสถาบันวิจัยแห่งใหม่หลังจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 องค์กรนี้จะมุ่งเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมยุทโธปกรณ์ด้านกลาโหมและการวิจัยทางเทคโนโลยี องค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์จะระบุถึงเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมโยงโดยตรงกับการทำสงครามในอนาคต องค์กรการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์จะออกแบบสถาบันที่เหมาะสมที่สุดสำหรับญี่ปุ่น ในขณะที่อ้างอิงถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีดังที่เห็นในตัวอย่าง เช่น สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวง-กลาโหมสหรัฐฯ และหน่วยนวัตกรรมกลาโหมสหรัฐฯ

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้เผยแพร่เอกสารเชิงยุทธศาสตร์ 3 ฉบับดังต่อไปนี้ ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีด้านกลาโหม ทัศนะด้านเทคโนโลยีในระยะกลางถึงระยะยาว และวิสัยทัศน์ด้านการวิจัยและพัฒนา กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกำลังตรวจสอบเอกสารเหล่านี้และวางแผนที่จะเผยแพร่เอกสารฉบับใหม่ที่มีการระบุถึงขอบเขตของเทคโนโลยีที่สำคัญ การเผยแพร่ความสนใจในด้านเทคโนโลยีที่เฉพาะเจาะจงและการวิจัยและพัฒนาของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น จะช่วยเพิ่มความสามารถในการคาดการณ์สำหรับภาคส่วนอุตสาหกรรมและส่งเสริมความร่วมมือกับหุ้นส่วนระหว่างประเทศและในประเทศ การทำเช่นนี้จะช่วยให้องค์กร
การจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยี และโลจิสติกส์สามารถระบุขอบเขตในการทำงานร่วมกับหุ้นส่วนระหว่างประเทศ และสร้างความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button