ประเทศหุ้นส่วนให้ความสนใจ การแพร่กระจายของ สปายแวร์ที่เป็นอันตราย
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 กว่าสิบประเทศได้เรียกร้องให้มีการควบคุมภายในประเทศและระหว่างประเทศอย่าง
เข้มงวด เพื่อต่อต้านการแพร่กระจายของสปายแวร์เชิงพาณิชย์
รัฐบาลออสเตรเลีย แคนาดา คอสตาริกา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์
สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาได้ออกแถลงการณ์ร่วม
ประเทศเหล่านี้มุ่งมั่นที่จะป้องกันการส่งออกเทคโนโลยีและยุทโธปกรณ์ไปยังผู้ใช้ปลายทางที่มีแนวโน้มว่าจะใช้งาน
ใน “กิจกรรมทางไซเบอร์ที่เป็นอันตราย” นอกจากนี้ แถลงการณ์ยังระบุอีกว่าประเทศหุ้นส่วนต่าง ๆ จะแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของสปายแวร์ โดยรวมถึงข่าวกรองเพื่อให้สามารถระบุเครื่องมือดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น
หลายวันก่อนหน้านั้น นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามในคำสั่งของผู้บริหารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อระงับการใช้เครื่องมือสอดแนมทางดิจิทัลที่เป็นอันตรายซึ่งมุ่งเป้าไปที่บุคลากรและภาคประชาสังคมของสหรัฐฯ
คำสั่งดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อกดดันอุตสาหกรรมที่ซ่อนเร้น โดยการระบุข้อจำกัดใหม่เกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อของกระทรวงกลาโหม หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยข่าวกรองของสหรัฐอเมริกา
ใน พ.ศ. 2564 ไอโฟนของพนักงานกระทรวงการ-ต่างประเทศสหรัฐฯ อย่างน้อยเก้าคนตกเป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์ที่ไม่ทราบตัวตน ซึ่งใช้สปายแวร์ที่พัฒนาโดยบริษัทของอิสราเอล ในช่วงปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯ ระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯอย่างน้อย 50 คนที่ประจำอยู่ใน 10 ประเทศ ได้ตกเป็นเหยื่อของเครื่องมือการเจาะระบบเชิงพาณิชย์ รอยเตอร์