ความร่วมมือโอเชียเนีย

สหรัฐฯ เสริมความแข็งแกร่งทางทหารบนเกาะกวมและเกาะทีเนียน

ทอม แอบกี

เมื่อเผชิญกับภัยคุกคามจากขีปนาวุธของกองทัพปลดปล่อยประชาชน สหรัฐฯ กำลังเพิ่มขีดความสามารถด้านกลาโหมในหมู่เกาะมาเรียนา รวมถึงเกาะกวม และปฏิบัติตามคํามั่นสัญญาที่ให้ไว้กับพันธมิตรและหุ้นส่วนในอินโดแปซิฟิก ความพยายามเหล่านี้รวมถึงการฝึกซ้อมทางทหารและแผนการจัดตั้งทรัพย์สินทางทหารในหมู่เกาะนี้

“การเพิ่มขีดความสามารถในการโจมตีระยะไกลของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวของขีปนาวุธและขีปนาวุธร่อน ได้เพิ่มภัยคุกคามต่อฐานทัพสหรัฐฯ ในอินโดแปซิฟิก โดยเฉพาะฐานทัพที่ตั้งอยู่ในห่วงโซ่ดินแดนวงล้อมขั้นแรก” ดร. คอลลิน โคห์ นักวิจัยจากวิทยาลัยนานาชาติศึกษา เอส. ราชารัตนัมในสิงคโปร์กล่าวกับ ฟอรัม ดร. โคห์กล่าวว่า การที่สหรัฐฯ มีการป้องกันเกาะกวมและชุมชนทีเนียนในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาจะแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค

การฝึกซ้อมป้องกันจะจัดขึ้น 2 ครั้งใน พ.ศ. 2566 ที่เกาะกวมและเกาะทีเนียน ในเดือนกุมภาพันธ์ ทหารอากาศ นาวิกโยธิน และทหารเรือประมาณ 2,000 นายจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ได้เข้าร่วมการฝึกซ้อมโคปนอร์ท ซึ่งเน้นการบูรณาการทางอากาศของกองกําลังขนาดใหญ่และการต่อสู้ที่คล่องตัว และเข้าร่วมการฝึกอบรมความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (ภาพ: อากาศยานของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นและกองทัพอากาศสหรัฐฯ บินอยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้กับเกาะกวม ระหว่างการฝึกซ้อมโคปนอร์ทในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566) ในเดือนมีนาคม การฝึกซ้อมอไจล์รีปเปอร์ 23-1 มุ่งเน้นไปที่กลยุทธ์การต่อสู้ รวมถึงการเคลื่อนย้ายเครื่องบินอย่างรวดเร็วไปยังสนามบินแปซิฟิกตะวันตกขนาดเล็กในกรณีที่มีการโจมตีด้วยขีปนาวุธหรืออาวุธอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

ฐานทัพสหรัฐฯ ตั้งอยู่ 2 แห่งในเกาะกวม ได้แก่ ฐานทัพเรือกวมและฐานทัพอากาศแอนเดอร์เซน ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 นาวิกโยธินสหรัฐฯ ได้เปิดค่ายเบลซอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีพื้นที่อยู่บนบนเกาะกวมกว่า 16.2 ตารางกิโลเมตร และคาดว่าจะใช้เป็นที่รองรับนาวิกโยธิน 5,000 นายที่ย้ายมาจากโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐฯ ตั้งเป้าหมายที่จะใช้เงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.93 หมื่นล้านบาท) เพื่อเสริมสร้างการป้องกันทางอากาศของเกาะกวมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้จ่ายด้านการป้องกันขีปนาวุธ ตามรายงานของนิตยสารดิอีโคโนมิสต์

เกาะทีเนียน ซึ่งเป็นเครือจักรภพของสหรัฐฯ อยู่ห่างจากเกาะกวมทางตะวันออกเฉียงเหนือไม่ถึง 200 กิโลเมตรในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา เป็นที่ตั้งของสนามบินทีเนียนไดเวิร์ตและลานจอดเครื่องบินในอนาคต ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2568 ตามรายงานของแปซิฟิกไอแลนด์ไทมส์ หนังสือพิมพ์ของเกาะกวม การลงทุน 162 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5.6 พันล้านบาท) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติการทางเลือกของฐานทัพอากาศแอนเดอร์เซนบนเกาะกวมในกรณีที่ฐานทัพดังกล่าวถูกโจมตีหรือไม่สามารถปฏิบัติการได้

“การเสริมกำลังบนเกาะกวมและเกาะทีเนียนเหมาะกับกลยุทธ์ที่กว้างขึ้นในการกระจายกองกำลังเพื่อเพิ่มความพร้อมรับมือของกองกำลังและป้องกันไม่ให้กองทัพปลดปล่อยประชาชนปราบปราม หากกองกำลังรวมตัวกันมากเกินไปในหลายพื้นที่” ดร. โคห์กล่าว

คาดว่าเกาะทีเนียนจะเป็นเจ้าภาพการฝึกซ้อมยิงปืนด้วยกระสุนจริงให้แก่ทหารสหรัฐฯ

“หัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิกของเราคือการสร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตร หุ้นส่วน และมิตรประเทศทั้งในและนอกภูมิภาค เพื่อสร้างและสนับสนุนสิ่งที่เราเรียกว่าเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่งและเติมเต็มซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างขีดความสามารถร่วมกันและแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างสร้างสรรค์มากขึ้น” นายแดเนียล ครีเทนบริงค์ กล่าว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก

ภาพจาก: ชาลส์ ที. ฟูลิตซ์/กองทัพอากาศสหรัฐฯ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button