สหราชอาณาจักรวิพากษ์วิจารณ์ถึงการบ่อนทำลายเสรีภาพในฮ่องกง
รอยเตอร์
เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 สหราชอาณาจักรได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงสิ่งที่เรียกว่าการวางแผนบ่อนทำลายเสรีภาพในฮ่องกงโดยรัฐบาลจีนและการปราบปรามการใช้เสรีภาพในการพูดโดยทางการของประเทศซึ่งอาณานิคมของสหราชอาณาจักร
การวิพากษ์วิจารณ์ในรายงานรอบหกเดือนล่าสุดของรัฐบาลสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับฮ่องกงได้มีการระบุโดยกล่าวหาว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนทำลายวิถีชีวิตซึ่งเคยให้คำมั่นไว้กับประชาชนในฮ่องกง และย้ำถึงมุมมองของรัฐบาลฮ่องกงที่ว่ารัฐบาลจีนได้ละเมิดเงื่อนไขของการส่งมอบใน พ.ศ. 2540 ที่ทำให้ศูนย์กลางทางการเงินของโลกกลายเป็นเขตการปกครองพิเศษของจีน
“เสรีภาพกำลังถูกบ่อนทำลายโดยรัฐบาลจีนอย่างเป็นแบบแผนในหลาย ๆ ด้าน ทำให้ข้อจำกัดเกี่ยวกับชีวิตของชาวฮ่องกงทั่วไปเข้มงวดมากขึ้น” นายเจมส์ เคลฟเวอร์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร กล่าวในคำนำของการรายงาน ซึ่งครอบคลุมช่วงหกเดือนแรกของ พ.ศ. 2565
“ทางการยังคงปราบปรามการใช้เสรีภาพในการพูด การให้เสรีภาพกับสื่อมวลชน และการชุมนุมอย่างเสรี” นายเคลฟเวอร์ลีกล่าว “บุคคลและกลุ่มประชาสังคมกำลังปิดกั้นการแสดงออกของตนเอง และสำนักข่าวอิสระส่วนใหญ่ถูกบังคับให้ปิดตัวลง”
สถานทูตจีนประจำกรุงลอนดอนไม่ได้ตอบสนองต่อการขอความคิดเห็นในทันที (ภาพ: ผู้ประท้วงนอกสถานทูตจีนในกรุงลอนดอนเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 เรียกร้องให้มีเสรีภาพและประชาธิปไตยในฮ่องกง)
ภายใต้เงื่อนไขการส่งมอบดังกล่าว ฮ่องกงได้รับการรับรองในระดับสูงสำหรับการปกครองตนเองเป็นเวลา 50 ปีรวมถึงเสรีภาพในการพูดภายใต้รูปแบบ “หนึ่งประเทศสองระบบ”
“ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจีนจะไม่ปฏิบัติตามปฏิญญาร่วมระหว่างจีนและอังกฤษ สิทธิเสรีภาพและเสรีภาพในฮ่องกงสูญเสียไปเพื่อแลกกับการช่วยให้รัฐบาลจีนมีอำนาจควบคุมมากขึ้น ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายอิสรภาพของฮ่องกง” นายเคลเวอร์ลีกล่าว “จีนกำลังทำลายวิถีชีวิตซึ่งเคยให้คำมั่นไว้กับฮ่องกงเมื่อ 25 ปีที่แล้ว”
ในช่วงกลาง พ.ศ. 2563 รัฐบาลจีนได้บังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติในฮ่องกงเพื่อลงโทษการก่อการร้าย การสมรู้ร่วมคิดกับกองกำลังต่างชาติ การโค่นล้ม และการแบ่งแยกดินแดน โดยอาจถูกจำคุกตลอดชีวิต ทางการสหราชอาณาจักรได้ประณามการออกกฎหมายดังกล่าวอยู่หลายครั้ง ซึ่งนักวิจารณ์กล่าวว่าเป็นกฎหมายที่ใช้เพื่อขัดขวางผู้เห็นต่าง
ในช่วงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 ทางการฮ่องกงและทางการจีนได้ร้องเรียนหลังจากรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรเข้าพบกับทีมกฎหมายของนายจิมมี่ ไล ซึ่งเป็นนักธุรกิจรายใหญ่ชาวฮ่องกงและเป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์แอปเปิลเดลี หนังสือพิมพ์เพื่อประชาธิปไตย
นายไล ซึ่งเป็นนักวิจารณ์รัฐบาลจีนที่ได้รับความสนใจอย่างมาก เผชิญโทษจำคุกตลอดชีวิตในข้อหาสมรู้ร่วมคิดกับกองกำลังต่างชาติและการปลุกระดมภายใต้กฎหมายความมั่นคง ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 นายไลถูกตัดสินจำคุกเกือบ 6 ปีในข้อหาฉ้อโกงที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าของสำนักงานใหญ่เดิมของแอปเปิลเดลี
หนังสือพิมพ์ดังกล่าวถูกบังคับให้ปิดตัวลงหลังจากที่ตำรวจบุกห้องข่าวและเจ้าหน้าที่ทำการอายัดทรัพย์สิน ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายสำนักพิมพ์ในฮ่องกงที่ยุติการปฏิบัติงานตามกฎหมายความมั่นคง
ภาพจาก: ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส