ผู้หญิงคือกุญแจสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยของเมียนมา
ดร. มีมี วินน์ เบิร์ด
การรัฐประหารในเมียนมาได้ทำให้เกิดการลุกฮือเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง โดยมีผู้หญิงเข้าร่วมการเคลื่อนไหวประมาณร้อยละ 60 โดยผู้หญิงเหล่านี้ไม่เพียงแต่มีบทบาทในการต่อสู้เท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวต่อต้านที่ไม่รุนแรงถึงชีวิตอีกด้วย
กองพันที่ 5 แห่งกองกำลังป้องกันแห่งชาติกะเหรี่ยงแดงเป็นกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มแรกที่จัดตั้งหน่วยรบหญิง หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ และผู้ต่อต้านของกองกำลังป้องกันประชาชนก็มีนักรบหญิงเช่นกัน
นอกจากนี้ ผู้หญิงยังมีส่วนร่วมอย่างมากในการต่อต้านที่ไม่รุนแรงถึงชีวิต โดยมุ่งเน้นไปที่การระดมกำลังสนับสนุนในท้องถิ่นเพื่อรักษาการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย พวกเขาพยายามที่จะทำให้สายลับและผู้ให้ข้อมูลของรัฐบาลทหารแปรพักตร์หรือได้รับข้อมูลที่เป็นเท็จ (ภาพ: ผู้หญิงคนหนึ่งถือภาพของนางอองซาน ซูจี ผู้นำเมียนมา ในระหว่างการประท้วงต่อต้านรัฐประหารในเมืองมัณฑะเลย์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564)
ผู้หญิงยังเป็นผู้ระดมทุนหลักทั้งในและต่างประเทศด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์และเครือข่ายท้องถิ่น และมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้พลัดถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด พวกเขายังมีบทบาทสำคัญในสื่อสังคมออนไลน์อีกด้วย คณะศึกษาความสัมพันธ์และความขัดแย้งของพม่า (เมียนมา) จำนวน 8 คน ซึ่งนำโดยวิศวกรหญิงที่หยุดงานประท้วงนับตั้งแต่มีการรัฐประหาร ได้สังเกตการณ์และติดตามกิจกรรมทางออนไลน์ของรัฐบาลทหาร
กลุ่มดังกล่าวทำงานร่วมกับผู้แปรพักตร์จากกองทัพเพื่อทำความเข้าใจยุทธวิธีของฝ่ายรัฐบาลทหาร และแบ่งปันข้อมูลกับรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติและกองกำลังผสมของฝ่ายต่อต้าน
แม้ว่าผู้หญิงจะเป็นผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย แต่ผู้หญิงก็ยังมีสัดส่วนน้อยที่ได้เป็นตัวแทนดำรงตำแหน่งผู้นำภายในรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ วัฒนธรรมและชุมชนเอกภาพแห่งชาติ และกองกำลังป้องกันประชาชน ด้วยเหตุนี้ การเคลื่อนไหวที่ไม่รุนแรงถึงชีวิตจึงได้รับทรัพยากรและเสบียงจากองค์กรเหล่านั้นในปริมาณที่น้อย นอกจากนี้ ผู้หญิงที่ต่อสู้ในแนวหน้าจำนวนมากต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิดทางเพศ ตามรายงานของเครือข่ายสตรีนานาชาติออกซ์ฟอร์ดทานาคาและองค์กรสันนิบาตสตรีพม่า
ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยของเมียนมา ทั้งในการต่อต้านโดยการสู้รบและการต่อต้านที่ไม่รุนแรงถึงชีวิต เช่น การระดมทุนและการจัดระเบียบผู้อยู่อาศัย รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติและกองกำลังผสมของฝ่ายต่อต้านจำเป็นต้องใช้พลังของผู้มีอิทธิพลและผู้นำเหล่านี้ โดยใช้กลยุทธ์บัญชาการยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกัน รวมถึงใช้การจัดหาทรัพยากรและการสนับสนุนที่จำเป็น
นอกจากนี้ รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ วัฒนธรรมและชุมชนเอกภาพแห่งชาติ และกองกำลังป้องกันประชาชน จะต้องแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิดทางเพศต่อนักรบหญิง และทำให้แน่ใจว่ามีตัวแทนผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งผู้นำอย่างเท่าเทียมกัน ผู้หญิงในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยสามารถมีส่วนอย่างยิ่งต่อความยืดหยุ่นของประชาชนเมียนมาและการปฏิเสธรัฐบาลทหารอย่างต่อเนื่อง
ดร. มีมี วินน์ เบิร์ด พันโทแห่งกองทัพบกสหรัฐฯ ผู้เกษียณอายุ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่ศูนย์เอเชียแปซิฟิก แดเนียล เค. อิโนะอุเอะ เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคง ในรัฐฮาวาย
ภาพจาก: ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส