ความขัดแย้ง/ความตึงเครียดปัญหาหลักภัยคุกคามที่ไม่มีต้นแบบแน่นอนระดับภูมิภาคเรื่องเด่นเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

เปิดโปง ความจริง

บทวิเคราะห์ที่มีการเปิดเผยเกี่ยวกับกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลของจีน

เกรกอรี บี. โพลิง, ทาบิธา เกรซ มัลลอรี, แฮร์ริสัน พรีตา และศูนย์ศึกษากลาโหมขั้นสูง

นับตั้งแต่ก“รก่อสร้างด่านเก“ะเท’ยมในหมู่เก“ะสแปรตล’เสร็จส‘้นใน พ.ศ. 2559 ส“ธ“รณรัฐประช“ชนจ’นได้เปล’่ยนคว“มสนใจไปสู่ก“รอ้างส‘ทธ‘์ในก“รควบคุมก‘จกรรมย“มสงบในทะเลจ’นใต้ องค์ประกอบส”คัญของก“รเปล’่ยนแปลงน’้คือก“รขย“ยตัวของกองก”ลังพลเรือนต‘ดอ“วุธท“งทะเลของพรรคคอมม‘วน‘สต์จ’น ซึ่งเป็นกองเรือท’่เห็นได้ชัดว่าม’ส่วนร่วมในก“รท”ประมงเช‘งพ“ณ‘ชย์ แต่ม’ก“รปฏ‘บัต‘ก“รร่วมกับก“รบังคับใช้กฎหม“ยและก“รทห“รของจ’นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ท“งก“รเมืองของจ’นในน่านน้ำท’่เป็นข้อพ‘พ“ท

หน่วยงานดังกล่าว ซึ่งกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เรียกว่ากองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลของจีน มีบทบาทในยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจีนในการบังคับใช้การอ้างสิทธิ์ทางอธิปไตยเหนือทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก โดยกองทัพใช้ยุทธวิธีต่าง ๆ เช่น การเข้าห้อมล้อมเรือลำอื่น ๆ เพื่อท้าทายบทบาททางกฎหมายและการอ้างสิทธิ์ของประเทศต่าง ๆ ตามรายงานของแรนด์คอร์ปอเรชัน

เรือของกองกำลังติดอาวุธร่วมมือกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของจีนในบริเวณใกล้เคียงกับด่านทหารชั้นนอกของจีนในหมู่เกาะสแปรตลี เพื่อต่อต้านการทำประมงและกิจกรรมไฮโดรคาร์บอนของผู้อ้างสิทธิ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพื้นที่ที่จีนมีการอ้างสิทธิ์อย่างคลุมเครือและถูกปฏิเสธจากหลายฝ่ายหรือที่เรียกว่า เส้นประเก้าเส้น ตัวตนฉากหน้าของกองกำลังติดอาวุธในฐานะกองเรือประมงพาณิชย์ทำให้รัฐบาลจีนมีระดับการปฏิเสธความรับผิดชอบที่ทรงพลัง ซึ่งทำให้กองกำลังสามารถกดดันผู้อ้างสิทธิ์รายอื่นโดยมีราคาที่ต้องจ่ายเพียงเล็กน้อย

ยุทธวิธีพื้นที่สีเทาของกองกำลังติดอาวุธก่อให้เกิดความท้าทายอย่างมากต่อผู้ที่สนใจจะป้องกันการบีบบังคับมิให้เข้าไปแทรกแซงระเบียบการเดินเรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือมิให้มีอิทธิพลต่อการจัดการหรือการระงับข้อพิพาทโดยสันติ ผู้อ้างสิทธิ์ที่เป็นคู่แข่งกันขาดศักยภาพทางทะเลทั้งในด้านขนาดและปริมาณของเรือเมื่อเทียบกับจีน ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ที่มีความสนใจในการป้องกันการบีบบังคับทางทะเลมักใช้เพียงเครื่องมือแบบเปิดเผยสำหรับกองทัพเรือของตนเท่านั้น ซึ่งการปรับใช้กับเรือประมงที่ปรากฏขึ้นอาจเป็นการทวีความรุนแรงและเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์ในการยับยั้งพฤติกรรมการรุกรานและการลดความเสี่ยงของข้อขัดแย้งในน่านน้ำที่มีข้อพิพาท บทวิเคราะห์นี้จึงพยายามที่จะเปิดโปงความไม่แน่นอนและการปฏิเสธความรับผิดชอบของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ด้วยการให้ภาพรวมที่ครอบคลุมของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเล ผลการวิเคราะห์นี้จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเรือประมงของจีนส่วนใหญ่ที่ดำเนินการในน่านน้ำที่เป็นข้อพิพาทในทะเลจีนใต้มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองมากกว่าเชิงพาณิชย์

แต่งานวิจัยภาษาจีนที่เปิดเผยแหล่งที่มา ข้อมูลการตรวจจับระยะไกล และการลาดตระเวนทางทะเลที่ดำเนินการโดยผู้กระทำการในน่านน้ำที่มีข้อพิพาท มีอำนาจในการเปิดโปงกองกำลังและลดประสิทธิภาพในฐานะกองกำลังพื้นที่สีเทา

กองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลของพรรคคอมมิวนิสต์จีน: อดีตและปัจจุบัน

การใช้กองกำลังประมงพลเรือนจีนสมัยใหม่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นอย่างน้อย เมื่อเรือของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธนำไปใช้เพื่อยึดครองหมู่เกาะพาราเซลจากเวียดนาม การพัฒนาหลายด้านในทศวรรษ 1980 (พ.ศ. 2523 – 2532) รวมถึงการจัดตั้งกองกำลังพลเรือนใน พ.ศ. 2528 ในเมืองทันเหมิน มณฑลไห่หนาน และการจัดตั้งฐานทัพแห่งแรกของจีนบนหมู่เกาะสแปรตลีใน พ.ศ. 2531 จะเป็นการวางรากฐานสำหรับกองกำลังพลเรือนที่มีบทบาทมากขึ้นในทศวรรษต่อ ๆ ไป

การมีส่วนร่วมของกองกำลังติดอาวุธในปฏิบัติการเชิงรุกเพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษ 2000 (พ.ศ. 2543 – 2552) เมื่อเรือของกองกำลังพลเรือนขัดขวางการเดินเรือของเรือของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาหลายลำ กองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลยังคงดำเนินพฤติกรรมเหล่านี้อย่างต่อเนื่องในช่วงต้นทศวรรษ 2010 (พ.ศ. 2553 – 2562) โดยมีบทบาทสำคัญในการยึดสันดอนสกาโบโรห์ของจีนใน พ.ศ. 2555 เช่นเดียวกับการวางแท่นขุดเจาะน้ำมันของจีนในน่านน้ำเวียดนามใน พ.ศ. 2557

เรือของกองกำลังรักษาชายฝั่งจีนแล่นตรวจตราใกล้กับเรือประมงจีนในบริเวณหมู่เกาะปะการังสการ์โบโรห์ที่เป็นข้อพิพาท รอยเตอร์

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2559 ได้มีการส่งเรือของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธไปยังหมู่เกาะสแปรตลีในจำนวนที่มากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องกว่าที่เคยเป็นมา กองกำลังพลเรือนติดอาวุธได้ปฏิบัติงานควบคู่กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของจีนในความขัดแย้งเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซหลายครั้งกับมาเลเซียและเวียดนาม ทั้งยังได้เข้าร่วมในการส่งกำลังพลจำนวนมาก ณ ตำแหน่งเป้าหมาย เมื่อ พ.ศ. 2561 เรือของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธเกือบ 100 ลำเข้าประจำการใกล้กับเกาะธิตูที่ฟิลิปปินส์ครอบครองไว้ และอีกประมาณ 200 ลำได้มารวมกันที่แนวปะการังวิธซันที่ยังไม่มีใครครอบครองในช่วงฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2564

กองกำลังพลเรือนติดอาวุธในทะเลจีนใต้ปฏิบัติการจากกลุ่มท่าเรือ 10 แห่งในมณฑลกวางตุ้งและไห่หนานของจีน ข้อมูลการตรวจจับระยะไกลเผยให้เห็นว่ามีเรือของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธมากกว่า 300 ลำปฏิบัติการในหมู่เกาะสแปรตลีทุกวัน เรือของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลของจีนที่ปฏิบัติการในทะเลจีนใต้ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เรือประมงอาชีพของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลและเรือประมงแกนหลักที่หมู่เกาะสแปรตลี เรือประมงอาชีพของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลได้รับการออกแบบ สร้าง ปรับปรุง และดำเนินการโดยใช้เงินทุนที่จัดสรรเพื่อกิจการทางทะเลโดยเฉพาะ ในทางกลับกัน เรือประมงแกนหลักที่หมู่เกาะสแปรตลีเป็นส่วนย่อยของเรือประมงในประเทศที่ตรงตามข้อกำหนดด้านความยาว น้ำหนัก และกำลัง และดำเนินการในหมู่เกาะสแปรตลีย์เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองของจีน

โดยทั่วไปแล้ว เรือประมงอาชีพจะสร้างขึ้นตามข้อกำหนดที่มีลักษณะทางทหารอย่างชัดเจน แม้ว่าเรือประมงแกนหลักที่หมู่เกาะสแปรตลีจะมีโครงเหล็กและมีความยาวที่วัดได้อย่างน้อย 35 เมตร และอีกหลายลำเกิน 55 เมตรก็ตาม ทั้งกองทัพเรือประมงอาชีพและเรือประมงแกนหลักที่หมู่เกาะสแปรตลีมีส่วนร่วมในการวางกำลังขนาดใหญ่ที่มีเป้าหมายเพื่อยืนยันอำนาจอธิปไตยของจีน และเรือทั้งสองประเภทปฏิเสธการเข้าถึงเรือของประเทศอื่น ๆ แม้ว่าแถลงการณ์จากเจ้าหน้าที่จีนแสดงให้เห็นว่าปฏิบัติการที่ก้าวร้าวมากขึ้นจำเป็นจะต้องได้รับความไว้วางใจจากกองเรือประมงอาชีพของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธก่อนก็ตาม

กิจกรรมของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธละเมิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศหลายประการ ความพยายามในการปิดกั้นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศอื่น ๆ ที่มีการอ้างสิทธิ์ภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นการละเมิดอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลและกฎหมายตามธรรมเนียมระหว่างประเทศ การซ้อมรบที่ไม่ปลอดภัยมีจุดประสงค์เพื่อขัดขวางเรือลำอื่น ๆ โดยสร้างความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะกัน ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎระเบียบขององค์การการเดินเรือระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันการปะทะทางทะเล

การระบุเรือของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธ

เอกสารระบุตัวตนโดยตรงในแหล่งข้อมูลหรือสื่อทางการของจีนยังคงเป็นตัวบ่งชี้ที่ตรงไปตรงมาและสรุปได้ดีที่สุดเกี่ยวกับกิจกรรมของกองกำลัง อย่างไรก็ตาม ไม่มีความเป็นไปได้ที่เรือของกองกำลังทางทะเลส่วนใหญ่จะสามารถระบุได้ด้วยวิธีนี้ ซึ่งทำให้การระบุตามพฤติกรรม โดยอิงจากข้อมูลการสำรวจระยะไกลและการรายงานในพื้นที่แบบเดิม เป็นแนวทางที่มีแนวโน้มมากที่สุดสำหรับการระบุตัวตนอย่างต่อเนื่อง

ภาพถ่ายและวิดีโอในพื้นที่ รวมถึงระบบการระบุตัวตนอัตโนมัติจากเรือสู่เรือ มีศักยภาพสูงสุดในการระบุเรือของกองกำลังโดยตรงและบันทึกพฤติกรรมของเรือเหล่านั้น ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสสำหรับการวิจัยติดตามผลและสร้างผลกระทบในทันทีโดยเปิดเผยขนาด ขอบเขต และกิจกรรมของกองกำลังให้กับกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง

ภาพถ่ายดาวเทียมเชิงพาณิชย์และข้อมูลจากระบบการระบุตัวตนอัตโนมัติจากเรือสู่เรือมีความสำคัญในการระบุและติดตามการวางกำลังพลของกองกำลัง

การเชื่อมโยงกับเรือและท่าเรือของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลที่เป็นที่รู้จักเป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนว่ามีเรือที่รับประกันการศึกษาเพิ่มเติม เช่นเดียวกับเงินอุดหนุนจำนวนมากจากรัฐบาลที่ชี้ให้เห็นว่าเรือลำหนึ่งเป็นเรือประมงแกนหลัก นอกจากนี้ เรือที่มีความยาวกว่า 50 เมตรและดำเนินงานในน่านน้ำที่มีข้อพิพาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือที่มีลูกเรือน้อยกว่า 10 คน ควรได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติม

ด้วยการรวมความพยายามในการรายงานอย่างต่อเนื่องของผู้กระทำการในทะเลจีนใต้ด้วยการวิจัยเพิ่มเติม โดยใช้เอกสารภาษาจีนที่เปิดเผยแหล่งที่มาและข้อมูลการตรวจจับระยะไกล การระบุตัวตนของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลอย่างสมบูรณ์ไม่เพียงแต่เป็นไปได้เท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย

กิจกรรมของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลในทะเลจีนใต้

กองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลของพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่ได้เป็นจุดสนใจหลักด้านวิชาการของตะวันตก ก่อนที่ความสนใจของนานาชาติจะเปลี่ยนไปที่ทะเลจีนใต้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การใช้งานและองค์ประกอบของกองกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและขยายตัวในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความสนใจทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นในเวลาต่อมาร่วมกับการมีส่วนร่วมของกองกำลังในเหตุการณ์ล่าสุดที่มีการรายงานอย่างกว้างขวางในสื่อระหว่างประเทศ อาจสร้างความเข้าใจผิดว่าการจัดตั้งกองกำลังเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในความเป็นจริง รัฐบาลจีนใช้กองทัพเรือประมงครั้งแรกในทะเลจีนใต้ตั้งแต่ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา และกองทัพเรือก็มีบทบาทสำคัญในการยืนยันการอ้างสิทธิ์ของจีนนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้จะมีคำตัดสินของศาลระหว่างประเทศใน พ.ศ. 2559 ว่าการอ้างสิทธิ์เหล่านั้นไม่มีพื้นฐานทางกฎหมาย แต่ความพยายามอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนของจีนในการควบคุมน่านน้ำภายในเส้นประเก้าเส้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาได้นำไปสู่การขยายขนาดและกิจกรรมของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธด้วยเหตุนั้น

สัญญาณแรกที่ระบุว่ากองกำลังติดอาวุธภายใต้การปกครองของนายสี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน กำลังกลายเป็นแนวหน้าของยุทธศาสตร์จีนที่แน่วแน่มากขึ้นในทะเลจีนใต้เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในเดือนนั้น เวียดนามตรวจพบแท่นขุดเจาะน้ำมันไห่หยางฉือโหยว 981 และเรือบริการ 3 ลำแล่นผ่านหมู่เกาะพาราเซล แท่นขุดเจาะแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากเกาะลี้เซินของเวียดนาม 120 ไมล์ทะเล (220 กิโลเมตร) และห่างจากไห่หนานไปทางใต้ 180 ไมล์ทะเล (333 กิโลเมตร) ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นน่านน้ำที่มีข้อพิพาทอย่างชัดเจน สำนักงานความปลอดภัยทางทะเลของจีนแถลงว่า แท่นขุดเจาะน้ำมันไห่หยางฉือโหยว 981 จะดำเนินการขุดเจาะสำรวจในพื้นที่ดังกล่าวจนถึงช่วงกลางเดือนสิงหาคม เวียดนามส่งเรือบังคับใช้กฎหมาย 6 ลำออกไปในทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้แท่นขุดเจาะดังกล่าวปฏิบัติการได้ รัฐบาลจีนตอบโต้ด้วยกองกำลังผสม 40 นายจากกองทัพเรือของกองทัพปลดปล่อยประชาชน กองกำลังรักษาชายฝั่งจีน และเรือของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเล เพื่อปกป้องแท่นขุดเจาะน้ำมันดังกล่าว กองกำลังผสมสร้างวงแหวนที่มีศูนย์กลาง โดยมีเรือจากกองทัพเรือของกองทัพปลดปล่อยประชาชนที่อยู่ใกล้กับไห่หยางฉือโหยว และกองกำลังพลเรือนติดอาวุธที่อยู่ไกลที่สุด ซึ่งจะมีการติดต่อกับชาวเวียดนามมากที่สุด

ไม่มีการยิงเกิดขึ้นแต่มีความรุนแรงมากมายจากทั้งสองฝ่าย ด้วยการพุ่งชนกันโดยเจตนาและการใช้สายฉีดน้ำแรงดันสูง ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 รัฐบาลเวียดนามอ้างว่าจีนมีเรือ 130 ลำในบริเวณที่เกิดเหตุ ขณะที่รัฐบาลจีนกล่าวว่าเวียดนามมีเรือ 60 ลำ ทหารเวียดนามนอกจากจะมีจำนวนน้อยกว่าแล้ว ยังด้อยกว่าอีกด้วย เรือกองกำลังรักษาชายฝั่งจีนมีขนาดใหญ่กว่าและติดอาวุธมากกว่าเรือเวียดนาม และเรือของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลขนาดใหญ่ที่หุ้มด้วยเหล็กของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งประกอบขึ้นเป็นส่วนกำบังของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปะทะกัน มีขนาดใหญ่กว่าเรือไม้ของกองทัพเวียดนามอย่างมาก เรือประมงเวียดนามถูกพุ่งชนและอับปาง แม้ว่าลูกเรือจะได้รับการช่วยเหลือก็ตาม

เรือประมงจีนมักจะรวมตัวกันรอบ ๆ ด่านของผู้อ้างสิทธิ์รายอื่นในหมู่เกาะสแปรตลี โดยไม่ทำการประมงมากนัก ในเดือนมีนาคมและเมษายน พ.ศ. 2562 มีการพบเห็นเรือของกองกำลังพลเรือนจอดเทียบท่าอยู่เป็นประจำในรัศมี 1 กิโลเมตรจากเกาะเลาอิตาและสันดอนเลาอิตาที่อยู่ภายใต้การปกครองของฟิลิปปินส์ งานวิจัยของโครงการเพื่อความโปร่งใสทางทะเลในเอเชียร่วมกับโครงการทางทะเลสกายไลท์ของวัลแคนยังแสดงให้เห็นว่าเรือของกองทัพจีนมักจะมารวมตัวกันใกล้กับด่านของเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เกาะปะการังยูเนียนบนหมู่เกาะสแปรตลี ในจำนวนนี้ เรือ 9 ลำของกองเรือเย่วเหมาปิงหยูสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยปฏิบัติการใกล้กับด่านนอกของจีนที่แนวปะการังฮิวส์และจอห์นสัน และมุ่งหน้าเข้าใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกของเวียดนามที่แนวปะการังคอลลินส์ แลนส์ดาวน์ และกรีสัน และเกาะซินโคว์ ตอนนี้ ดูเหมือนว่าเรือเหล่านั้นเป็นเพียงกองหน้าของกองกำลังจีนที่กำลังเติบโต ซึ่งมุ่งเน้นไปที่เกาะปะการังยูเนียน

จนถึงปัจจุบัน ความรุนแรงระหว่างกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลของพรรคคอมมิวนิสต์กับผู้มีบทบาทอื่น ๆ ส่วนใหญ่จำกัดอยู่ที่การเดินเรือที่อันตราย และการกระแทกหรือการพุ่งชนเป็นครั้งคราว แต่ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 เกิดเหตุการณ์หนึ่งที่เกือบทำให้ลูกเรือประมงชาวฟิลิปปินส์เสียชีวิต เรือเย่วเหมาปิงหยู 42212 พุ่งเข้าชนและทำให้เรือ เอฟ/บี เจ็ม-เวอร์ อัปปางขณะที่เรือดังกล่าวจอดทอดสมอในเวลากลางคืนที่เกาะปะการังรีด หลังการพุ่งชนดังกล่าว มีรายงานว่าเรือจีนได้ปิดไฟและหลบหนีไป ทำให้ชาวประมงจมน้ำ โชคดีที่กลุ่มชาวประมงดังกล่าวได้รับการช่วยเหลือจากเรือเวียดนามที่ผ่านมา แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเย่วเหมาปิงหยู 42212 เป็นเรือติดอาวุธ แต่การสอบสวนของโครงการเพื่อความโปร่งใสทางทะเลในเอเชียและศูนย์การศึกษาเพื่อการป้องกันประเทศชั้นสูงได้เปิดเผยหลักฐานจำนวนมากเกี่ยวกับผลกระทบดังกล่าว ผลการสอบสวนดังกล่าวช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับเหตุการณ์ดังกล่าว

นอกจากนี้ กองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลจีนยังมีส่วนร่วมในความขัดแย้งด้านน้ำมันและก๊าซเมื่อไม่นานมานี้อีกด้วย โดยได้เข้าร่วมกับกองกำลังรักษาชายฝั่งของจีนในการคุ้มกันเรือสำรวจไห่หยางตี้จื้อ 8 ของรัฐจีนในระหว่างปฏิบัติการนอกประเทศเวียดนามและมาเลเซียเป็นเวลาหลายเดือนในช่วงปลาย พ.ศ. 2562 และต้น พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครทราบจำนวนเรือที่แน่นอนในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าว แต่แหล่งข่าวรายงานว่ามีเรือจีนเข้าร่วม 40 ถึง 80 ลำ โดยบางส่วนเป็นเรือของกองกำลังรักษาชายฝั่งและกองทัพเรือของกองทัพปลดปล่อยประชาชน แต่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลจีน

ประวัติศาสตร์ล่าสุดของกองทัพแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการส่งกำลังพลในสแปรตลีได้ผ่านวิวัฒนาการหลายประการ ในช่วงปลาย พ.ศ. 2560 ถึงช่วงปลาย พ.ศ. 2561 จำนวนเรือของกองทัพในสแปรตลีเพิ่มขึ้นประมาณ 300 ลำในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่จะจอดเทียบท่าเป็นเวลาหลายสัปดาห์ในท่าเรือที่แนวปะการังซูบีและแนวปะการังมิสชีฟ กองเรือเหล่านี้เริ่มกระจายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้นหลังจากเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยมีการกระจุกตัวมากที่สุดในบริเวณโดยรอบเกาะธิตู ในช่วงต้น พ.ศ. 2563 เรือของกองกำลังเริ่มรวมตัวกันเป็นจำนวนมากขึ้นรอบ ๆ เกาะปะการังยูเนียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แนวปะการังวิธซัน โดยจำนวนเรือเพิ่มสูงขึ้นถึง 100 ลำในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 และหลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องจนถึง 200 ลำภายในสิ้นปี พ.ศ. 2563

นับตั้งแต่การลดจำนวนเรือในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 กองกำลังจีนในหมู่เกาะสแปรตลีก็มีความคล่องตัวมากขึ้น แต่ยังมีขนาดเท่าเดิม ในเดือนนั้น เรือส่วนใหญ่จากแนวปะการังวิทซันแล่นไปยังแนวปะการังฮิวส์ที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งมีจำนวนสูงสุดมากกว่า 150 ลำ กองกำลังติดอาวุธจำนวนมากได้มุ่งหน้าไปยังเกาะปะการังทิซาร์ดที่อยู่ไกลออกไปทางเหนือ ซึ่งเป็นที่ตั้งของฐานทัพจีนบนแนวปะการังกาเวนและบนเกาะนามยิตของเวียดนาม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 เรือเกือบทั้งหมดจากแนวปะการังฮิวส์ได้มุ่งหน้าไปยังเกาะปะการังทิซาร์ด ซึ่งทำให้จำนวนเรือที่รวมตัวกันที่นั่นมีจำนวนมากกว่า 230 ลำ หนึ่งเดือนต่อมา เรือส่วนใหญ่แล่นกลับไปที่เกาะปะการังยูเนียน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแนวปะการังฮิวส์ ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 แนวปะการังฮิวส์มีเรือเกือบ 240 ลำและ 70 ลำยังคงอยู่ที่แนวปะการังกาเวน ภาพรวมคือเรือของพลเรือนติดอาวุธทางทะเลของจีนประมาณ 300 ลำประจำการเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ในบริเวณโดยรอบหมู่เกาะสแปรตลีตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 โดยอาศัยหมู่เกาะเทียมของจีนในการสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ แต่ไม่ได้หลบซ่อนตัวอยู่ในท่าเรือเหล่านั้นอีกต่อไป

กองเรือประมงอาชีพและเรือประมงแกนหลัก

กองเรือประมงอาชีพและเรือประมงแกนหลักมักจะทำปฏิบัติการในลักษณะเดียวกัน โดยพยายามที่จะยืนยันอำนาจอธิปไตยของจีนในน่านน้ำที่เป็นข้อพิพาท และโดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้รวมตัวกันเป็นจำนวนมากเพื่อปฏิเสธเรือประมงของประเทศอื่น ๆ ที่อ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ในการเข้าถึงพื้นที่ประมงและแนวปะการัง

อย่างไรก็ตาม ยังมีความแตกต่างในบทบาทของกองเรือทั้งสองประเภท ใน พ.ศ. 2560 สำนักมหาสมุทรและการประมงของไท่ซานได้พบกับเจ้าของเรือประมงแกนหลักเพื่อเตือนความจำเกี่ยวกับ “ความรับผิดชอบทางการเมือง” ในการดำเนินงานใน “น่านน้ำที่กำหนดเป็นพิเศษ” เพื่อ “ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ทางทะเลและประกาศอธิปไตยของชาติ” ในการประชุมเดียวกัน เจ้าของเรือประมงแกนหลัก ยังได้รับคำสั่งให้หลีกเลี่ยงการสร้างสถานการณ์สำคัญในต่างประเทศ โดยแสดงให้เห็นว่าการกระทำที่ก้าวร้าวมากขึ้น เช่น การพุ่งชนเรือประมง การแทรกแซงการเดินเรือของเรือรบต่างประเทศ หรือการเผชิญหน้าทางกายภาพอื่น ๆ ได้รับการมอบหมายให้กองเรือประมงอาชีพอาชีพเป็นหลัก

ความรับผิดชอบที่มากขึ้นนี้สอดคล้องกับการออกแบบกองเรือประมงอาชีพ ซึ่งรวมถึงคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บยุทโธปกรณ์และปืนฉีดน้ำแรงดันสูงขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม เรือประมงแกนหลักยังคงรักษาความสามารถแฝงในการรวมเข้ากับการปฏิบัติการทางทหาร ตามที่เปิดเผยในข้อตกลงการจ้างงานสำหรับเรือประมงแกนหลักที่สหกรณ์วิชาชีพการประมงในมณฑลกวางตุ้งเป็นเจ้าของ เรือต้องปฏิบัติการและเทียบท่าในน่านน้ำพิเศษตลอดทั้งปี
เข้าร่วมการฝึกอบรมและการป้องกันอธิปไตย และช่วยเหลือกองทัพปลดปล่อยประชาชนในการต่อสู้ เมื่อจำเป็น นอกจากนี้ สมาชิกลูกเรือยังถูกห้ามมิให้ถ่ายภาพท่าเรือที่พวกเขาจอดเทียบท่าที่ด่านนอกของจีนในหมู่เกาะสแปรตลี หรือโครงสร้างภายในของเรือโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับการเรือ เรือประมงแกนหลักมีสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเภทต่าง ๆ มากกว่ากองเรือประมงอาชีพ

ความแตกต่างระหว่างเรือของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลที่มีชื่ออย่างเป็นทางการและเรือประมงแกนหลักทำให้เกิดการปฏิเสธในระดับที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความรับผิดชอบทางการเมืองที่ชัดเจนและบทบาทในการปกป้องอธิปไตยของจีนควบคู่ไปกับหน้าที่ในการช่วยเหลือกองทัพปลดปล่อยประชาชนในการต่อสู้ เรือประมงแกนหลักปฏิบัติตามคำจำกัดความที่สมเหตุสมผลของกองกำลังติดอาวุธอย่างชัดเจน

ข้อมูลยืนยันกิจกรรมของกองกำลังแบบเปิดเผยแหล่งที่มา

ผลการวิเคราะห์นี้ควรยุติข้อสงสัยหลายประการในปัจจุบันที่ขัดขวางความเข้าใจร่วมกันของสาธารณชนเกี่ยวกับกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลของจีน กองกำลังไม่มีความลับ เอกสารของรัฐบาลจีนที่เปิดเผยต่อสาธารณะ รายงานของสื่อ บทความทางวิชาการ และเอกสารอื่น ๆ เปิดเผยถึงกิจการของกองกำลังอย่างเปิดเผย กองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลของจีนประกอบด้วยกองเรือประมงอาชีพ ซึ่งเป็นเรือปฏิบัติการพร้อมลูกเรือในเครื่องแบบและคุณสมบัติทางทหาร เช่น โรงเก็บอาวุธ เช่นเดียวกับเรือประมงพลเรือนขนาดใหญ่และทรงพลังที่หาลูกเรือ ปรับปรุง หรือสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเรือประมงแกนหลัก เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในน่านน้ำพิพาท การดำเนินงานของกองกำลังได้รับทุนจากรัฐบาลจีนผ่านเงินอุดหนุนที่จูงใจให้ผู้กระทำการในท้องถิ่นสร้างเรือที่ตรงตามข้อกำหนดทางทหารและดำเนินการในน่านน้ำที่มีข้อพิพาท ตลอดจนพร้อมที่จะสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายของจีนและกองทัพเรือเมื่อจำเป็น โครงสร้างองค์กรที่อยู่เบื้องหลังเรือของกองกำลังไม่ใช่งานสร้างสรรค์ที่ซับซ้อน ซึ่งออกแบบมาเพื่อสร้างความสับสนแก่บุคคลที่ได้รับประโยชน์ในทอดสุดท้าย แต่มีความเรียบง่ายและตรงไปตรงมา ตลอดจนสอดคล้องกับพื้นที่ท้องถิ่นที่เป็นท่าเรือหลัก ยกเว้นสำหรับกองเรือประมงอาชีพที่ดำเนินการโดยบริษัทเฉพาะในไห่หนาน กรรมสิทธิ์ในเรือของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธนั้นมีความหลากหลายในหลายบริษัท ปรากฏการณ์นี้สะท้อนถึงลักษณะการกระจายอำนาจโดยรวมของกองกำลังดังกล่าว ซึ่งเกี่ยวข้องกับหน่วยงานในท้องถิ่นและธุรกิจที่ตอบสนองต่อสัญญาณการระดมทุนที่ส่งมาจากโครงการริเริ่มด้านนโยบายที่ใหญ่ขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

แม้ว่าความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรกับหน่วยงานของรัฐบาลจีนจะพิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นวิธีการระบุเรือของกองกำลังโดยตรง แต่เรือที่มีความเชื่อมโยงดังกล่าว โดยเฉพาะเรือที่อยู่นอกเหนือตัวชี้วัดของกองกำลังอื่น ๆ ก็ควรได้รับการตรวจสอบเช่นกัน

รายงานนี้มีชื่อเดิมว่า “เปิดโปงความจริงของกองกำลังพลเรือนติดอาวุธทางทะเลของจีน” และตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยโครงการเพื่อความโปร่งใสทางทะเลในเอเชียของสถาบันวิจัยนโยบายการต่างประเทศและยุทธศาสตร์และศูนย์การศึกษาเพื่อการป้องกันประเทศชั้นสูง โดยมีการเรียบเรียงเนื้อหาเพื่อให้เหมาะสมกับการนำเสนอของ ฟอรัม หากต้องการดูรายงานทั้งหมด กรุณาไปที่ https://www.csis.org/analysis/pulling-back-curtain-chinas-maritime-militia


การเดินเรือที่ปิดบังความจริงทั้งในอดีตและปัจจุบัน

การขยายอาณาเขตทางทะเลของกองทัพพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปัจจุบันทำให้ระลึกถึงการเดินเรือของเจิ้งเหอในศตวรรษที่ 15 ในช่วงที่ราชวงศ์ หมิงแล่นเรือข้ามอินโดแปซิฟิกและไปยังแอฟริกา เจิ้งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์กองทัพเรือจีน เขาเกิดในภูมิภาคยูนนานบนชายแดนของจักรวรรดิมองโกล ในครอบครัวมุสลิมที่มีเชื้อสายเอ
เชียกลางซึ่งน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับชาวอุยกูร์ร่วมสมัย

กองทัพราชวงศ์หมิงได้จับตัวเจิ้งขณะยังเป็นเด็กหนุ่ม ทำให้เขาเป็นขันที และให้เขารับใช้จักรพรรดิหย่งเล่อที่จะขึ้นครองต่อไป จากนั้นจักรพรรดิหย่งเล่อก็ก้าวขึ้นสู่อำนาจสูงสุดจากการรัฐประหารโดยการโค่นล้มจักรพรรดิผู้มีสิทธิ์อันชอบธรรม นั่นคือหลานชายของพระองค์ และอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ด้วยพระองค์เอง ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความชอบธรรม แต่จักรพรรดิองค์ใหม่ใช้การปกปิดข้อมูลและการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยสั่งให้ล้างบันทึกของจักรพรรดิองค์ก่อนและนำเสนอโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสนับสนุนความชอบธรรมของพระองค์

การโฆษณาชวนเชื่อที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดของยุคนี้มาในรูปแบบของ “เรือบรรทุกสมบัติ” เป้าฉวน ซึ่งเป็นเรือไม้ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดและมีขนาดมหึมาที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา บันทึกของจีนระบุว่าเรือมีความยาวมากกว่า 120 เมตร ซึ่งยาวกว่าสนามฟุตบอล กองเรือหลายร้อยลำช่วยรองรับเรือบรรทุกสมบัติเหล่านี้ ทั้งการขนส่งม้า เรือขนส่งทางน้ำ เรือบรรทุกคลังแสง ตลอดจนเรือที่มีดินอยู่บนดาดฟ้าและมีสวนต้นส้มเพื่อรับรองว่ามีอาหารที่ดีต่อสุขภาพพร้อมสำหรับลูกเรือที่เป็นทหารและกะลาสีหลายพันคน

โฆษณาชวนเชื่อของพรรคคอมมิวนิสต์จีนถ่ายทอดให้เห็นการสำรวจของเจิ้งเพื่อเป็นตัวอย่างที่สำคัญของมิตรภาพระหว่างประเทศที่มีความกรุณาของจีนและความร่วมมือที่ได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เช่นเดียวกับโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางในศตวรรษที่ 15 แต่ความจริงแล้วมีความซับซ้อนกว่านั้น

จุดประสงค์ที่แท้จริงของการเดินทางของเจิ้งคือการรักษาความชอบธรรมทางการเมืองให้กับจักรพรรดิ ตามประวัติศาสตร์จีนแล้ว ความชอบธรรมทางการเมืองมีความเชื่อมโยงกับระบบบรรณาการ ประเทศอื่น ๆ ในโลกอาจเข้าใจระบบบรรณาการของจีนได้ดีขึ้นหากมองว่าเป็น การค้า โดยที่เมืองขึ้นต่าง ๆ จะมอบสิ่งของที่เป็นผลิตภัณฑ์หรูหราจากต่างประเทศและสัตว์แปลกใหม่ให้แก่จักรพรรดิ ซึ่งในทางกลับกันจักรพรรดิจะมอบของขวัญที่เปี่ยมด้วยเมตตา เช่น ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ชา และเครื่องลายครามอันทรงคุณค่าของจีน รัฐบาลจีนมองว่าระบบบรรณาการเป็นการยอมรับในระดับสากลถึงอำนาจทางการเมืองที่เหนือกว่าของจักรพรรดิ ในขณะที่ชาติอื่น ๆ มักจะมองว่าระบบนี้เป็นวิธีที่แปลกสำหรับทำการค้ากับจีน

มีการเปรียบเทียบกันมากมายระหว่างพิธีมอบเครื่องบรรณาการในสมัยโบราณและงานเสวนาหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในสมัยปัจจุบันซึ่งจัดโดยนายสี จิ้นผิง
เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นงานโฆษณาชวนเชื่อที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับระบอบการปกครองในปักกิ่งรวมไปถึงนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

กองเรือของเจิ้งเป็นภาพที่สวยงามตระการตาเมื่อเข้าเทียบท่าในท่าเรือและแสดงให้เห็นของขวัญจากจักรพรรดิ เมื่อเดินทางกลับ กองเรือได้นำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ข้าราชการ หรือสมาชิกราชวงศ์กลับประเทศจีนเพื่อกราบถวายบังคมต่อองค์จักรพรรดิและแสดงให้ราชสำนักเห็นว่าผู้คนจากทั่วโลกยอมรับองค์จักรพรรดิหย่งเล่อว่าเป็นผู้ปกครองที่มีความชอบธรรมของ “ทุกสรรพสิ่งใต้สรวงสวรรค์”

เจิ้งเสาะหาผู้ปกครองในภูมิภาคที่ได้ถวายเครื่องบรรณาการต่อจักรพรรดิองค์ก่อน เช่น กุบไล ข่าน แต่เมื่อผู้นำอินโดแปซิฟิกบางคนไม่ต้องการมีส่วนร่วม กองเรือบรรทุกสมบัติดังกล่าวก็ออกมาใช้กำลังเพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมในความขัดแย้งทางทหารและแทรกแซงการเมือง รวมถึงการจับกุมผู้ปกครองจากอินโดนีเซียและโค่นล้มอาณาจักรที่มีการปกครองในศรีลังกา

กองเรือของเจิ้งยังแสดงให้เห็นถึงอำนาจทางเทคโนโลยี การเดินเรือ เศรษฐกิจ และอำนาจทางทหารของจีน แต่ในที่สุดจีนก็ยกเลิกเรือดังกล่าวเนื่องจากมีราคาแพงมาก และข้าราชการจีนก็แย้งว่าประโยชน์จากโฆษณาชวนเชื่อไม่ได้เป็นไปตามค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม เรือเหล่านี้เป็นเครื่องเตือนใจว่าจีนสามารถสร้างสิ่งมหัศจรรย์อันน่าทึ่งได้ แต่บางครั้งของขวัญที่ได้ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่แอบแฝงอยู่ และสิ่งที่อาจมองได้ว่าเป็นการค้าหรือการทูตในประเทศส่วนใหญ่ของโลก ในบางครั้งก็ถูกมองว่าเป็นการส่งบรรณาการหรือการยอมจำนนต่อประเทศจีน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button