ความร่วมมือทรัพยากรส่วนรวมของโลกปัญหาหลักภัยคุกคามที่ไม่มีต้นแบบแน่นอนเรื่องเด่น

สิทธิ์ความเป็นเจ้าของ สู่ความสำเร็จ

ความร่วมมือถือเป็นสิ่งสำคัญ ในการต่อสู้กับภัยคุกคามด้านสุขภาพ

เจ้าหน้าที่ ฟอรัม

วามท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากภาวะการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาได้เน้นย้ำให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์ทหารในการสร้างความมั่นใจในด้านความเป็นอยู่ที่ดีและความพร้อม ซึ่งไม่ใช่เพียงของกองทัพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสังคมในวงกว้างด้วย ตั้งแต่การพัฒนาวัคซีนสำหรับโควิด-19 ไปสู่การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกและการส่งมอบอุปกรณ์ช่วยชีวิต บุคลากรทางการแพทย์และนักวางแผนด้านสุขภาพของกองทัพทั่วภูมิภาคอินโดแปซิฟิกได้ให้ความสำคัญและร่วมมือกันเพื่อให้มีชัยเหนือกว่าสภาพแวดล้อมด้านสาธารณสุขที่ผันผวน

“นี่ถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายอย่างแท้จริง ภาวะการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรง” พล.ร.ต. พาเมลา มิลเลอร์ ศัลยแพทย์ทหารแห่งกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกในขณะนั้น กล่าวในข้อความต้อนรับสำหรับการแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพทางทหารในอินโดแปซิฟิก เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 “ภาวะการแพร่ระบาดใหญ่ในครั้งนี้ได้พลิกโฉมชีวิตความเป็นอยู่ของเราไปทั้งหมดและเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือ เป็นการแบ่งปันแนวทางปฏิบัติและทำงานร่วมกันอย่างดีที่สุดเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายครั้งต่อไปในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้”

การแลกเปลี่ยนดังกล่าวจัดขึ้นโดยกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกและกรมการแพทย์ทหารบกอินเดีย โดยได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทหารจากกว่า 30 ประเทศในบรรยากาศเสมือนจริงเพื่อทบทวนบทเรียนที่ได้รับจากการต่อสู้กับภาวะการระบาดใหญ่ และเพื่อเจาะลึกในหัวข้อที่มีอยู่แล้วและหัวข้อใหม่ ๆ เช่น ความบอบช้ำทางจิตใจและการผ่าตัดภาคสนาม พันธุกรรมบำบัด โทรเวชกรรม หุ่นยนต์ และการสนับสนุนทางการพยาบาลในปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ “การแลกเปลี่ยนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความสามารถและความเชี่ยวชาญที่แสนมีค่าในพื้นที่ทางการแพทย์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทั้งภูมิภาค” พล.ร.ต. มิลเลอร์ กล่าวกับ ฟอรัม “อีกทั้งยังทำให้เกิดโอกาสในการมีส่วนร่วมเพื่อติดตามผลเกี่ยวกับการวิจัย การทำงานร่วมกัน และการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมทางการแพทย์เชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงปฏิบัติการ”

พล.ร.ต. มิลเลอร์ได้รับหน้าที่ให้ประจำยังหน่วยพยาบาลกองหนุนของกองทัพเรือสหรัฐฯ ใน พ.ศ. 2532 ซึ่งเธอได้รับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาการพยาบาลจากมหาวิทยาลัยไอโอวา รวมถึงปริญญาโทในสาขาการจัดการการดูแลสุขภาพและปริญญาเอกในสาขาเวชศาสตร์กระดูกจากมหาวิทยาลัยเดสโมเนส ในรัฐไอโอวาซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอเอง พล.ร.ต. มิลเลอร์สำเร็จการฝึกงานในช่วงเปลี่ยนผ่านและแพทย์ประจำบ้านในแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่ศูนย์การแพทย์ทหารเรือซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย พล.ร.ต. มิลเลอร์เคยทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ รวมถึงทำหน้าที่ในระหว่างการส่งกองกำลังไปอิรักเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน โดยได้เป็นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบกองทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากการเคลื่อนที่แบบกระแทก

พล.ร.ท. ราจาต ดัตตา อธิบดีกรมการแพทย์ทหารบกอินเดีย กล่าวเปิด การประชุมโครงการการแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพทางทหารในอินโดแปซิฟิก จ.อ. แอนโทนี เจ. ริเวอรา/กองทัพเรือสหรัฐฯ

ก่อนที่เธอจะได้รับมอบหมายให้เป็นศัลยแพทย์ทหารณ กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกพล.ร.ต. มิลเลอร์ได้ดำรงตำแหน่งในระดับผู้นำ ซึ่งได้แก่ผู้บริหารระดับสูงด้านการแพทย์ ศัลยแพทย์กองกำลัง ผู้นำทางการแพทย์เฉพาะทางเชิงปฏิบัติการ ผู้บังคับบัญชา รองเสนาธิการ ศัลยแพทย์ประจำกองเรือหนุนแห่งกองบัญชาการกองเรือสหรัฐฯ และรองผู้บัญชาการหน่วยแพทย์ทหารเรือแอตแลนติก ซึ่งเป็นกองหนุน พล.ร.ต. มิลเลอร์ได้รับเครื่องรัฐอิสริยาภรณ์อันมหากุศลแห่งกองยุทธาธิการ 2 ครั้ง เครื่องอิสริยาภรณ์เหรียญเชิดชูเกียรติ 4 ครั้ง เหรียญความสำเร็จแห่งกองทัพเรือ 2 ครั้ง และเหรียญอาสาสมัครทหารดีเด่น

ในการให้สัมภาษณ์กับ ฟอรัม ภายหลังการแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพทางทหารในอินโดแปซิฟิกเพียงไม่นาน พล.ร.ต. มิลเลอร์ก็ได้เน้นย้ำถึงประเด็นสำคัญในอนาคตเกี่ยวกับระบบสุขภาพทางทหาร โดยได้หารือถึงความสำเร็จของบุคลากรในการต่อสู้กับโควิด-19 และกล่าวถึงการผนึกกำลังร่วมกันเพื่อความก้าวหน้าในด้านการดูแลสุขภาพทหารและพลเรือน “แนวทางของสังคมที่ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันนั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินในระดับภูมิภาคหรือระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ” พล.ร.ต. มิลเลอร์ กล่าว

หัวใจหลักของการแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพทางทหารในอินโดแปซิฟิก คือ “การดูแลสุขภาพทางทหารในโลกที่ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อนและคลุมเครือ” ความผันผวนอย่างน่าเหลือเชื่อของภาวะการระบาดใหญ่โควิด-19 ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพทางทหารในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกและทั่วโลกอย่างไร? คุณคาดว่าการฝึกอบรม ความเชี่ยวชาญ ทรัพยากร หรือการมุ่งเน้นที่เสริมขึ้นมาในด้านใดจะเป็นสิ่งที่จำเป็นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า?

ความเป็นพิษรุนแรงและการแพร่กระจายของไวรัสซาร์ส-โคฟ-2 แสดงให้เห็นเด่นชัดถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนสู่คนในวงกว้าง ผลกระทบของโควิด-19 ต่อการตั้งฐานทัพทหารในต่างประเทศนั้นเกือบเทียบเท่ากับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประเทศหมู่เกาะ รัฐหมู่เกาะ และดินแดนหมู่เกาะ ฐานทัพดังกล่าวอาจแยกตัวออกจากโลกภายนอกได้ และการสำรวจตรวจตราอาจมีขอบเขตและตรวจสอบได้ ทว่าฐานทัพกลับไม่มีทรัพยากรในการดำรงชีพที่ยั่งยืน เนื่องด้วยฐานทัพจำเป็นต้องมีอาหาร น้ำ และเครื่องอุปโภคบริโภคประจำวันนำเข้าหรือจัดส่งเข้ามา ยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโควิด-19

การฝึกอบรม ความเชี่ยวชาญ และทรัพยากรที่เสริมขึ้นมาในสภาวะที่มีการดูแลสุขภาพจะต้องมุ่งเน้นไปที่บุคลากรทางการแพทย์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีขั้นตอนการปฏิบัติการตามมาตรฐานสำหรับโควิด-19 และโรคติดต่ออื่น ๆ ที่รวมถึงประเด็นต่าง ๆ เช่น ขั้นตอนเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (ชุดพีพีอี) การกำหนดและ การสร้างหน่วยต่าง ๆ ที่แยกออกมา อุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อจำกัดการสัมผัส และการจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านโลจิสติกส์

พล.ร.ต. พาเมลา มิลเลอร์ ศัลยแพทย์ทหารแห่งกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกในขณะนั้น กล่าวเปิดการประชุมโครงการการแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพทางทหารในอินโดแปซิฟิก เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งจัดขึ้นโดยกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกและกรมการแพทย์ทหารบกอินเดีย

การเฝ้าระวังทางชีวภาพจะต้องมีการสื่อสารและประสานงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศรวมถึงคณะกรรมการทางทหารในเชิงรุก เพื่อระบุและตรวจสอบข้อบ่งชี้สำคัญในระยะเริ่มต้นของโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้น การคุ้มครองด้านสุขภาพและการเฝ้าระวังทางชีวภาพของกองกำลังจะต้องมีการประสานงานและบูรณาการร่วมกับพันธมิตรระหว่างประเทศ เพื่อให้สามารถตรวจพบและแจ้งเตือนได้โดยเร็วที่สุด

ภาวะการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบการดูแลสุขภาพทั่วโลก ความพยายามที่จะปรับปรุงพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ รวมถึงระบบการดูแลสุขภาพของกองทัพในอนาคต ควรมุ่งเน้นไปยัง:

  • การปรับปรุงพัฒนาขีดความสามารถในการรับแรงปะทะของสถานพยาบาล เพื่อจัดการกับความต้องการด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมากอันเนื่องมาจากภาวะการระบาดครั้งใหญ่
  • การตรวจสอบให้แน่ใจว่าบุคลากรทางการแพทย์ในแนวหน้ามีจำนวนเพียงพอที่พร้อมจะสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานเกินกำลัง อันเนื่องมาจากความต้องการด้านการดูแลสุขภาพเพราะภาวะการระบาดใหญ่หรือผู้ปฏิบัติงานที่กลายเป็น
    ผู้ป่วยเสียเอง
  • การปรับปรุงพัฒนาในด้านการเฝ้าระวัง การเก็บรวบรวมข้อมูล การสืบสวนในแต่ละกรณี และการแพร่กระจายข้อมูล
  • การเร่งทำการวิจัยและพัฒนาในด้านการทดสอบ วัคซีน และการรักษา

วิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุขในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานร่วมกันในด้านการดูแลสุขภาพทางทหารระหว่างพันธมิตร หุ้นส่วน และประเทศที่มีแนวคิดเดียวกันอย่างไร? เช่น หุ้นส่วนเหล่านั้นทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ยา และรายการอื่น ๆ ที่สำคัญอย่างไร?

หุ้นส่วนมีความตระหนักรู้และความเข้าใจร่วมกันเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับข้อบ่งชี้ของโรคติดต่อและยุทธศาสตร์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อนำไปปรับใช้ในภาวะการระบาดใหญ่ในอนาคต ภายในขอบเขตความรับผิดชอบ ประเทศต่าง ๆ ได้ลงทะเบียนสิ่งจำเป็นตามที่ประเทศนั้น ๆ ต้องการแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ยา เครื่องช่วยหายใจ หรือรายการอื่น ๆ สถานทูตได้ดำเนินการตามคำขอดังกล่าว และกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ได้ให้ความร่วมมือเมื่อมีการขอให้ช่วยปฏิบัติงานเฉพาะด้านหรือช่วยจัดหาทรัพยากรเฉพาะ โดยผ่านกระบวนการที่มีอยู่ก่อนแล้วตามปกติ หุ้นส่วนที่สำคัญภายในขอบเขตความรับผิดชอบนี้ต่างพร้อมที่จะสนับสนุนประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือ และด้วยการสื่อสารรวมถึงการทำงานร่วมกันนี้ เราจึงสามารถให้การสนับสนุนแก่ประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่ เป็นไปได้ที่พวกเราล้วนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการรับมือของระบบการดูแลสุขภาพแต่ละระบบมากขึ้นในช่วงเวลาวิกฤต โดยพิจารณาจากความแตกต่างของแต่ละระบบ

ในสังคมต่าง ๆ นั้น การรับมือกับภาวะการระบาดใหญ่ได้เน้นย้ำถึงความท้าทายและโอกาสมากมาย บทเรียนที่ได้รับจากสนามประลองในการดูแลสุขภาพทางทหารนั้นมีอะไรบ้าง? สิ่งใดที่คุณคิดว่าเป็นความสำเร็จและเป็นช่องโหว่ในการรับมือกับโควิด-19 ของกองทัพ?

บทเรียนที่ได้รับ:

  • ความสามารถในการกำหนดชุดปัญหาเพิ่มเติมและทำความเข้าใจผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มการผสมผสานทั้งอุปกรณ์และบุคลากร หรือการมองทั้งอุปกรณ์หรือบุคลากรทางการแพทย์เป็นวิธีการแก้ปัญหาในการจัดหาทรัพยากร

ความสำเร็จ:

  • นอกเหนือจากบทเรียนระดับสากลที่ได้รับจากการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบการดูแลสุขภาพแล้ว ยังได้รับจากการเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมอีกด้วย ภาวะการระบาดใหญ่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในสังคม และการวางแผนรับมือเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศจำเป็นต้องมองให้กว้างไกลกว่าการดูแลสุขภาพ โดยมองไปสู่ประเด็นต่าง ๆ เช่น ระบบการจัดหา ห่วงโซ่อุปทานการสนับสนุนเชิงปฏิบัติการ และโลจิสติกส์ กองทัพมีประสบการณ์เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมในด้านเหล่านี้ และนั่นมีส่วนช่วยให้กองทัพประสบความสำเร็จในช่วงภาวะการระบาดใหญ่ไม่มากก็น้อย เช่น มีกองกำลังที่กระจายไปทั่วโลก อีกทั้งยังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เข้มงวด ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้น ทว่ากองทัพสหรัฐฯ ก็ยังสามารถได้รับการฉีดวัคซีนไปกว่าร้อยละ 97.8 ของบุคลากรที่ประจำการอยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จอย่างแท้จริงในการรับมือกับภาวะการระบาดใหญ่ของกองทัพ

โอกาส:

  • ประเด็นที่เราจำเป็นต้องปรับปรุง ได้แก่ ความสามารถในการรวบรวมข้อมูลด้านสาธารณสุขเข้ากับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น ๆ ที่นำไปสู่ภาวะการระบาดใหญ่ รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและอุตุนิยมวิทยา การปรับข้อมูลให้ทันสมัยและแนวทางที่เป็นนวัตกรรมสำหรับการใช้ข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์ จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถของเราในการจัดการกับภาวะการระบาดใหญ่ในอนาคต

คุณช่วยพูดถึงเกี่ยวกับการบูรณาการด้านความก้าวหน้าในการดูแลสุขภาพทางทหารเข้ากับการดูแลสุขภาพของพลเรือน และพูดถึงในแง่มุมตรงกับข้ามของการบูรณาการนี้ได้หรือไม่? ในสถานการณ์โควิด-19 แนวทางของสังคมที่ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันมีความสำคัญต่อการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับภูมิภาคและระดับโลกมากน้อยเพียงใด?

แนวทางของสังคมที่ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันนั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินในระดับภูมิภาคหรือระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ เงินทุนและบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมจะเป็นข้อจำกัดสำคัญต่อทุกการรับมืออยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการรับมือกับเหตุการณ์ในระดับโลก อีกหนึ่งตัวอย่างของความก้าวหน้าในการดูแลสุขภาพทางทหารที่จะแพร่หลายไปทั่วทั้งสังคม คือ งานที่สถาบันวิจัยกองทัพบกวอลเตอร์รีดของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กำลังดำเนินการเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 สถาบันวิจัยกองทัพบกวอลเตอร์รีดกำลังพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ที่ให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์ ซาร์ส-โคฟ-2 ที่มีความหลากหลาย ซึ่งอาจช่วยลดความจำเป็นในการฉีดวัคซีนใหม่เมื่อมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้น

ถุงยังชีพสำหรับโควิด-19 ที่ได้รับบริจาคจากองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ มาถึงยังกรุงนิวเดลี มาร์ธา แวนลิชเอาท์/องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ แห่งสหรัฐฯ

แนวทางของสังคมที่ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันนั้นมุ่งเน้นไปยังค่านิยมทางสังคมและการมีส่วนร่วมของชุมชน ตลอดจนความเป็นผู้นำที่เชื่อถือได้และโปร่งใส แนวทางของสังคมที่ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันเท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถมั่นใจได้ว่า ชีวิตความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของผู้ที่เปราะบางที่สุดจะได้รับการคุ้มครอง

ภาวะการแพร่ระบาดใหญ่ครั้งนี้ทำให้บุคลากรด้านการดูแลสุขภาพทางทหารต้องทุ่มเทเวลา พลังงาน และทรัพยากรอย่างมากตลอดระยะเวลากว่าสองปี ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ การพัฒนาที่สำคัญในด้านอื่น ๆ ของการดูแลสุขภาพทางทหาร เช่น ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ มีอะไรบ้าง?

ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญของกระทรวงกลาโหม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการภัยพิบัติและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิก อีกทั้งยังเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมด้านภัยพิบัติและความยืดหยุ่นทางสังคมในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก โควิดได้ขยายโอกาสในการมีส่วนร่วมของประเทศต่าง ๆ ในขอบเขตความรับผิดชอบของเรา เพื่อส่งต่อความรู้และความเชี่ยวชาญในระดับภูมิภาคในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ในช่วงการระบาดของ
โควิด-19 โครงการเหล่านี้ก็ยังคงอยู่และได้รับการพัฒนาจนเติบโตในพื้นที่เสมือนจริง

ยุคโควิด-19 ได้ช่วยเตรียมความพร้อมของบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพทางทหารในการรับมือกับภาวะการระบาดใหญ่ครั้งต่อไปอย่างไรบ้าง?

โควิด-19 แสดงให้เห็นเด่นชัดถึงความจำเป็นของชุมชนด้านการดูแลสุขภาพในการสื่อสาร ประสานงาน และทำงานร่วมกันในทุกระดับซึ่งจะช่วยให้บุคลากร คณะทำงาน องค์กร สถาบัน รัฐบาล และกองทัพสามารถสร้างเครือข่ายซึ่งกันและกัน ตลอดจนพัฒนาและปรับปรุงแนวคิดในการปฏิบัติการ วางแผน และการดำเนินงานได้

โควิด-19 แสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาสินค้าและวัสดุสิ้นเปลืองของสังคมและกองทัพที่มีการบูรณาการเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของอุปทานและการขนส่ง ซึ่งรวมถึงการพึ่งพาอุปทานจากต่างประเทศที่มากเกินควร โควิด-19 ได้ให้ความรู้อย่างมหาศาล เราได้เรียนรู้ทั้งวิธีการป้องกันและวิธีการรักษาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ เรายังได้เรียนรู้วิธีการจัดระบบการรับมือต่อภัยคุกคามในหลายแง่มุมทางสังคมที่ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันผ่านการสื่อสารและความร่วมมือให้ดียิ่งขึ้น

อะไรคือความท้าทายด้านโลจิสติกส์ของการจัดระบบโครงการระดับพหุภาคีในช่วงภาวะการระบาดใหญ่?

การจัดระบบโครงการการแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพทางทหารในอินโดแปซิฟิกเป็นงานที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพลวัตที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของโควิด-19 ในช่วงแรก โครงการนี้จัดขึ้นแบบต้องมาพบปะกัน โดยจะมีการกำหนดสถานที่จัดประชุมและที่พักไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกได้ให้การสนับสนุนผู้แทนจากทั่วโลกกว่า 25 ประเทศเพื่อเข้าร่วมโครงการ โดยโครงการดังกล่าวยังคงอยู่ในสถานะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง พร้อมไปกับการเฝ้าระวังโควิดร่วมกับหุ้นส่วนในอินเดีย

เนื่องจากมีระลอกการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอไมครอนรุนแรงขึ้นเมื่อไม่นานนี้ สามสัปดาห์ก่อนที่จะมีการดำเนินโครงการจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นการประชุมผ่านวิดีโอเสมือนจริงทั้งหมด ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมเสมือนจริงรวมถึงห้องสนทนาพร้อมกันหลายห้องเพื่อรองรับการนำเสนอและวิทยากรทั้งหมด การนำเสนอบางรายการจำเป็นต้องมีการบันทึกไว้ล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ใช้จำนวนมากและผู้ใช้ที่อยู่หลากหลายเขตเวลาสามารถเข้าถึงหัวข้อนั้น ๆ ได้
การรวบรวมและจัดเตรียมการนำเสนอที่บันทึกไว้ล่วงหน้าถือเป็นสิ่งจำเป็นที่เพิ่มขึ้นมา

คุณได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพทางทหารในอินโดแปซิฟิกที่ทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นมากที่สุดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการดูแลสุขภาพทางทหาร?

การประยุกต์ใช้เวชศาสตร์ทางทหารที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์สวมใส่ และเทคโนโลยี ซึ่งช่วยพัฒนาความสามารถในการเฝ้าดูแลสุขภาพและยกระดับการเฝ้าระวัง ตลอดจนประสิทธิภาพ mการทำงาน

โครงการต่าง ๆ เช่น การแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพทางทหารในอินโดแปซิฟิก มีคุณค่ามากน้อยเพียงใดในการยกระดับความเชี่ยวชาญ ประสิทธิผล และความสามารถในการทำงานร่วมกันขององค์กรด้านการดูแลสุขภาพทางทหารของทั้งพันธมิตรและหุ้นส่วนในอินโดแปซิฟิกและภูมิภาคอื่น ๆ คุณคาดหวังให้การแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพทางทหารในอินโดแปซิฟิกมีการพัฒนาขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าอย่างไร โดยยกตัวอย่างปัจจัยต่าง ๆ เช่น มีการนำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาปรับใช้มากขึ้น?

โครงการและการประชุมระดับพหุชาติและระดับพหุภาคีครั้งใหญ่ เช่น การแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพทางทหารในอินโดแปซิฟิกและ การประชุมสุดยอดด้านความมั่นคงทางสุขภาพของทหารและพลเรือน สร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศต่าง ๆ ภายในกลุ่มประชาคมทางการแพทย์เพื่อยกระดับขีดความสามารถของแต่ละฝ่ายในการให้การดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งไม่เพียงแต่กับกองทัพของเราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประชาชนทุกคนด้วย

โครงการนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความสามารถและความเชี่ยวชาญที่แสนมีค่าในพื้นที่ทางการแพทย์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทั้งภูมิภาค อีกทั้งยังทำให้เกิดโอกาสในการมีส่วนร่วมเพื่อติดตามผลเกี่ยวกับการวิจัย การทำงานร่วมกัน และการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมทางการแพทย์เชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงปฏิบัติการ อีกทั้ง เวทีนี้ยังมอบโอกาสให้แก่ทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ในการแสดงให้เห็นถึงความสามารถและความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในประเทศของตน

เราได้พิสูจน์มาแล้วหลายต่อหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาว่าการมีส่วนร่วมเหล่านี้สามารถดำเนินการได้บนพื้นที่เสมือนจริง อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะที่สะท้อนกลับมาก็คือ ไม่มีสิ่งใดจะมาทดแทนโครงการที่เกิดขึ้นด้วยคุณค่าของการมีส่วนร่วมส่วนบุคคลและการสร้างสายสัมพันธ์ ที่ซึ่งสามารถปรับให้เหมาะสมได้เฉพาะเมื่อมาพบปะกันเท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button