การแพร่ขยายอาวุธประเทืองปัญญาปัญหาหลักภัยคุกคามที่ไม่มีต้นแบบแน่นอนระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือแผนก

เกาหลีใต้ทดสอบการยิง จรวดอวกาศเชื้อเพลิงแข็งลำแรก

รอยเตอร์

กองทัพเกาหลีใต้ระบุว่า ตนประสบความสำเร็จในการทดสอบยิงจรวดอวกาศเชื้อเพลิงแข็งเป็นครั้งแรกในช่วงปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งความก้าวหน้าไปอีกขั้นนี้ ในท้ายที่สุดจะช่วยให้เกาหลีใต้สามารถปล่อยโครงข่ายดาวเทียมเพื่อเฝ้าระวังภัยคุกคาม เช่น จากเกาหลีเหนือได้ดีขึ้น

การยิงดังกล่าวเป็นการทดสอบการยิงจรวด ครั้งแรกนับตั้งแต่เกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาได้สร้างข้อตกลงร่วมกันใน พ.ศ. 2564 เพื่อยุติข้อจำกัดด้านการพัฒนาขีปนาวุธทิ้งตัวและจรวดของเกาหลีใต้ที่มีมานานหลายทศวรรษ และการยิงจรวดนี้ได้เกิดขึ้นภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่เกาหลีเหนือทำการทดสอบขีปนาวุธระดับสูงสุด

“ความสำเร็จในการทดสอบการปล่อยยานอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยของแข็งครั้งนี้ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในการเสริมสร้างอำนาจการป้องกันของหน่วยเฝ้าระวังและหน่วยลาดตระเวนทางอวกาศอิสระของกองทัพในช่วงเวลาที่สำคัญมาก” กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้กล่าวในแถลงการณ์ โดยกล่าวถึงการทดสอบขีปนาวุธทิ้งตัวข้ามทวีปของเกาหลีเหนือเมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน

แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า นายซอ อุก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ในขณะนั้น ได้เข้าสังเกตการณ์การยิงจรวดซึ่งได้รับการพัฒนาด้วย “เทคโนโลยีของเกาหลีใต้โดยเฉพาะ”

เจ้าหน้าที่เกาหลีใต้ระบุว่า ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เกาหลีใต้ได้ดำเนินการปล่อยดาวเทียมที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกโดยใช้จรวดที่พัฒนาขึ้นภายในประเทศ

จรวดนูรีแบบสามขั้นถูกประกอบเข้ากับดาวเทียมที่ออกแบบมาเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของจรวดที่ระดับความสูงตามเป้าหมายคือ 700 กิโลเมตร หลังจากปล่อยตัวขึ้นจากศูนย์อวกาศนาโรของเกาหลีใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ กล่าว

ตรงกันข้ามกับจรวดนูรีที่ออกแบบมาให้ใช้เชื้อเพลิงเหลว จรวดที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งอย่างลำที่ได้ทดสอบไปเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 จะมีความเรียบง่ายกว่า ใช้งบในการพัฒนาและการผลิตน้อยกว่า และใช้เวลาในการปล่อยเร็วกว่า กระทรวงกลาโหม กล่าว

แถลงการณ์ระบุเพิ่มเติมว่า การทดสอบในเดือนมีนาคมได้มีการตรวจสอบเครื่องยนต์เชื้อเพลิงแข็งขนาดใหญ่ การแยกแฟริ่ง การแยกขั้น และเทคโนโลยีควบคุมท่าทางการทรงตัวขั้นบน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการปล่อยยานอวกาศ

กระทรวงกลาโหมระบุว่า มีแผนที่จะใช้จรวดเพื่อนำดาวเทียมขนาดเล็กหรือดาวเทียมขนาดเล็กพิเศษจำนวนหนึ่งขึ้นสู่วงโคจรโลกในระดับต่ำ และจากนั้นจะถ่ายทอดเทคโนโลยีบางส่วนให้กับภาคส่วนเอกชนเพื่อช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมอวกาศภายในประเทศ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button