ความร่วมมือปัญหาหลักระดับภูมิภาคอินโดแปซิฟิกเรื่องเด่นเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

แผนการ อันยิ่งใหญ่

มุมมองของญี่ปุ่นเกี่ยวกับวิธีการปรับใช้ยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก

นายโนบุคัตสึ คาเนฮาระ/มหาวิทยาลัยโดชิฉะ

ภาพโดย ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

ปัจจุบัน กฎระเบียบระหว่างประเทศแบบเสรีนิยมในอินโดแปซิฟิกกำลังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ผู้คนส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้มาจากเส้นทางที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวตะวันตกและชาวญี่ปุ่น หลายประเทศในอินโดแปซิฟิกตกเป็นอาณานิคม และประชาชนในประเทศเหล่านั้นต่างตกเป็นเหยื่อของการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเหล่านี้ได้ประกาศเอกราชอย่างภาคภูมิใจ ทว่าบางประเทศก็ยังต้องต่อสู้เพื่ออิสรภาพของตนเองและบาดเจ็บล้มตายอย่างมหาศาล ทันทีหลังจากได้รับเอกราช ประเทศดังกล่าวก็ไม่จำเป็นต้องเชิดชูรูปแบบประชาธิปไตยแบบตะวันตกเพราะมหาอำนาจทางอาณานิคมส่วนใหญ่เป็นประเทศประชาธิปไตยอยู่แล้ว ยกเว้นรัสเซียที่กลายเป็นเผด็จการคอมมิวนิสต์ ประเทศและดินแดนที่ได้รับอิสรภาพได้สำรวจประเภทของการปกครองแบบเผด็จการ รวมถึงการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ที่มีให้เห็นในเวียดนาม เผด็จการทหารที่มีให้เห็นในอินโดนีเซีย เมียนมา เกาหลีใต้ และไต้หวัน ตลอดจนเผด็จการประชานิยมที่มีให้เห็นในฟิลิปปินส์ แม้จะถูกกดขี่ด้วยระบอบการปกครอง แต่บางประเทศก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างน่าประทับใจ ในช่วงทศวรรษที่ 1980 (พ.ศ. 2523-2532) ก่อนสิ้นสุดสงครามเย็น บางประเทศในอินโดแปซิฟิกค่อย ๆ หันมาใช้ระบอบประชาธิปไตยทีละประเทศ และในตอนนี้ ประเทศเหล่านั้นก็ได้เป็นสมาชิกที่น่าภาคภูมิใจของสโมสรแห่งเสรีภาพ

ภูมิภาคนี้มีประชากรร้อยละ 60 ของประชากรโลก และอีกไม่นานก็จะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั่วโลก ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เริ่มขึ้นในสหราชอาณาจักรได้เปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล สัญญาณที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้เรียกว่าประชาธิปไตยทางอุตสาหกรรมขั้นสูง ขณะนี้ กระแสของการปรับปรุงอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นในทวีปเอเชียแล้ว หากพิจารณาจากขนาดและกำลังแล้ว จีนและอินเดียกำลังมีอิทธิพลต่อการเมืองโลกและเศรษฐกิจโลก จีน ซึ่งได้รับประโยชน์มากที่สุดจากระบบระหว่างประเทศแบบเปิดและเสรีนิยม กลายเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แต่น่าเสียดายที่ในตอนนี้สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ยืนกรานที่จะเป็นผู้ท้าทายต่อกฎระเบียบระหว่างประเทศแบบเสรีนิยมและต้องการที่จะกำหนดขอบเขตผลประโยชน์ของตนเอง ดูเหมือนพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะมีความมุ่งมั่นที่จะอยู่รอดต่อไปในฐานะประเทศเผด็จการและผู้มีอำนาจเหนืออินโดแปซิฟิก

ตะวันตกต้องเผชิญกับความท้าทายของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภูมิภาคนี้กำลังเข้าใกล้ช่วงเวลาแห่งจุดพลิกผันที่จะกำหนดว่าตะวันตกจะขยายกฎระเบียบแบบเสรีนิยมมายังอินโดแปซิฟิกหรือยอมจำนนต่อการครอบงำของจีนที่มีต่อทั้งอินโดแปซิฟิก

จีนมีตัวตนขึ้นมาได้อย่างไร

ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามแปซิฟิกใน พ.ศ. 2488 สหรัฐอเมริกาก็ได้ถอนความร่วมมือกับพรรคก๊กมินตั๋งหรือที่รู้จักกันในชื่อ พรรคชาตินิยมจีน ที่มีการทุจริตในขณะนั้น นายโจเซฟ สตาลิน เผด็จการคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ได้เพิ่มความช่วยเหลือให้แก่นายเหมา เจ๋อตง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน อย่างรวดเร็วเพื่อยึดครองจีน ช่วงเวลาดี ๆ ระยะสั้น ๆ ระหว่างสหภาพโซเวียตและจีนจึงเริ่มต้นขึ้น นายเหมา เจ๋อตง ได้สถาปนาจีนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2492 ซึ่งความสำเร็จนี้ได้มาจากกระบอกปืนของพรรคคอมมิวนิสต์ในการปฏิวัติ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มโนธรรม เสรีภาพ และศาสนาล้วนถูกปฏิเสธเพื่อผลประโยชน์ของการปฏิวัติ

ความพยายามของนายเหมาในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจจีนจากเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรมในช่วงทศวรรษ 1950 (พ.ศ. 2493-2502) โดยใช้แผนการก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของเขาประสบความล้มเหลวอย่างมาก เนื่องจากประชาชนหลายสิบล้านคนต้องอดตาย นายเหมาถูกผู้นำพรรคบางส่วนวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขาขาดความเป็นผู้นำสำหรับแผนการก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่นี้ จากนั้น เขาจึงเริ่มปฏิวัติวัฒนธรรมเพื่อทำให้ตำแหน่งของเขามั่นคงและกำจัดคู่แข่ง การเคลื่อนไหวนี้ปลุกปั่นให้เยาวชนที่รู้จักกันในนาม ยุวชนแดง กำจัดคู่แข่งที่มีศักยภาพและแนวคิดใด ๆ ที่ขัดต่อเจตจำนงของนายเหมาที่กำลังควบคุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน จากความวุ่นวายดังกล่าว นายเหมายังคงสามารถควบคุมและเปลี่ยนการปกครองของเขาให้กลายเป็นลัทธิบูชาบุคคลได้

ประเภทของรัฐบาลทั่วโลก

ภายหลังการเสียชีวิตของนายสตาลินใน พ.ศ. 2496 นายนีกีตา ครุชชอฟ ได้กลายเป็นผู้นำคนใหม่ของสหภาพโซเวียตและริเริ่มที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับตะวันตก นายเหมาที่ขับเคลื่อนด้วยอำนาจเริ่มตีตัวออกห่างจากรัสเซีย ใน พ.ศ. 2512 นายเหมาเริ่มการปะทะทางทหารที่เกาะดามันสกีบริเวณแม่น้ำอุสซูรีบนชายแดนระหว่างรัสเซียและจีนในไซบีเรีย ซึ่งส่งผลให้จีนเข้าครอบครองดินแดนดังกล่าวได้ในท้ายที่สุด อย่างไรก็ตาม กองทัพโซเวียตได้ต่อต้านความพยายามของนายเหมาที่จะรุกคืบเข้าไปในรัสเซียมากกว่านี้ นายเหมาที่อ่อนแอลงพยายามที่จะเริ่มต้นความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์สุทธิที่จะแยกจีนออกจากโซเวียต

หลังจากที่นายเหมาเสียชีวิตลงใน พ.ศ. 2519 นายเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้สืบทอดตำแหน่ง ก็ได้พยายามสร้างความสมดุลระหว่างกองกำลังคอมมิวนิสต์เก่ากับนักปฏิรูป นายเติ้งได้เปิดประเทศจีนเพื่อรับการลงทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศและดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจ ภายหลังการปรับความสัมพันธ์กับจีนให้กลับไปเป็นปกติแล้ว ญี่ปุ่นก็ได้ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนา ซึ่งในปัจจุบันน่าจะมีมูลค่าเทียบเท่ากับเงินหลายล้านล้านเยน

การสิ้นสุดของสงครามเย็นใน พ.ศ. 2532 นำไปสู่การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ทั่วทั้งยุโรปตะวันออก คอเคซัส และเอเชียกลาง ชัยชนะแห่งเสรีภาพได้รับการเฉลิมฉลองไปทั่วโลก และบรรยากาศแห่งเสรีนิยมก็ได้แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาเหล่านั้นทำให้ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์หวาดหวั่น เพื่อเป็นการตอบโต้ นายเติ้งหันหลังให้กับระบอบประชาธิปไตย และผลักดันนักปฏิรูปอย่าง นายหู เหยาปัง ที่ได้กลายเป็นมือขวาของเขา เหตุการณ์ดังกล่าวจุดชนวนการประท้วงของนักศึกษาที่เรียกร้องเสรีภาพที่จัตุรัสเทียนอันเหมินใน พ.ศ. 2532 และการสังหารหมู่พลเรือน ณ กรุงปักกิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชน ทว่านายเติ้งยังคงเปิดรับเงินและเทคโนโลยีจากต่างชาติ และญี่ปุ่นก็ยังคงให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องภายหลังการสังหารหมู่ดังกล่าว โดยเชื่อว่านายเติ้งเป็นเพียงความหวังเดียวสำหรับการปฏิรูปและตะวันตกไม่ควรผลักดันให้จีนกลับไปสู่ลัทธิโดดเดี่ยวสุดโต่งอย่างเช่นในยุคนายเหมาอีก ซึ่งในท้ายที่สุด จีนก็ยังคงเอนเอียงไปทางตะวันตก

จีนใช้ประโยชน์จากระบบเปิดของตะวันตกและได้กลายมาเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 หลายฝ่ายเชื่อว่าจีนจะกลายเป็นเหมือนตะวันตกได้ในสักวันหนึ่ง แต่ความคาดหวังดังกล่าวกลับถูกหักหลังอย่างเจ็บแสบ ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนหวาดกลัวที่จะสูญเสียอำนาจผ่านการแทรกซึมของเสรีนิยมตะวันตก ความกลัวของพรรคคอมมิวนิสต์จีนทวีความรุนแรงขึ้นเมื่ออุดมการณ์แห่งคอมมิวนิสต์เริ่มจางหายอันเป็นผลมาจากการปฏิรูปของนายเติ้งและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ผู้นำจีนต้องการความชอบธรรมรูปแบบใหม่

ความชอบธรรมในการทุจริตและการบีบบังคับ

พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เปลี่ยนแปลงตำนานความรุ่งโรจน์ของพรรคที่เกี่ยวกับการก่อตั้งประเทศจีนมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อสร้างความชอบธรรมตามที่ตนต้องการ โดยใช้ประวัติศาสตร์ที่คัดเลือกมาอย่างพิถีพิถันเพื่อเน้นย้ำการเล่าเรื่องราว พรรคคอมมิวนิสต์อ้างถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น สงครามฝิ่น อุบัติการณ์ลูกศร สงครามจีน-ฝรั่งเศสเพื่อแย่งชิงอินโดจีน สงครามจีน-ญี่ปุ่นเพื่อแย่งชิงคาบสมุทรเกาหลี กบฏนักมวยและการจลาจลในกรุงปักกิ่งที่เกิดขึ้นตามมา การสูญเสียพื้นที่ของไซบีเรียส่วนใหญ่ให้กับรัสเซีย อุบัติการณ์แมนจูเรียโดยญี่ปุ่น สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และสงครามกลางเมืองกับนายเจียง ไคเช็ก นักชาตินิยมจีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนพยายามปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนชาวจีนโดยบิดเบือนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ว่าเป็นเรื่องราวความอัปยศอดสูที่เกิดจากมหาอำนาจต่างชาติ ซึ่งเรื่องราวเหล่านั้นยังกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะปฏิวัติในหมู่ประชาชนอีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น ตำนานดังกล่าวยังถูกใช้เพื่อโหมกระหน่ำเปลวเพลิงแห่งลัทธิชาตินิยมด้วย พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้แต่งเติมเรื่องราวความรุ่งโรจน์ของอารยธรรมฮั่นที่ยาวนานกว่า 5,000 ปีลงไปในเรื่องเล่าของตน แม้เรื่องเล่าดังกล่าวจะไม่ได้รับการอนุมัติจากการตรวจสอบทางวิชาการ แต่ก็ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการควบคุมความคิดทางการเมืองสำหรับผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน อีกทั้งเรื่องราวดังกล่าวเพิกเฉยต่อความจริงที่ว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้นสืบทอดมาจากราชวงศ์ชิงแทนที่จะเป็นราชวงศ์ฮั่น กลุ่มชาติพันธุ์ทางเหนือหลายกลุ่ม เช่น ชาวมองโกล ชาวทิเบต และชาวอุยกูร์ ถือเป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในราชวงศ์ชิง ในปัจจุบัน ประชากรชนกลุ่มน้อยของจีนนั้นมีมากกว่า 100 ล้านคนและพวกเขาไม่ได้อยู่ร่วมกับลัทธิชาตินิยมฮั่น เพื่อต่อต้านความจริงเรื่องนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้พยายามกลืนกลายกลุ่มชาติพันธุ์อย่างโหดร้ายและบีบบังคับ

รถที่โดยสารนายโยชิฮิเดะ สึกะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในขณะนั้น มาถึงทำเนียบขาวในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 เพื่อเข้าพบนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ

การผสมผสานระหว่างความต้องการที่จะปฏิวัติทางประวัติศาสตร์กับลัทธิชาตินิยมที่เพิ่มมากขึ้นผลักดันให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนพยายามขยายขอบเขต โดยเฉพาะการขยายขอบเขตทางทะเล พรรคคอมมิวนิสต์จีนเชื่อว่าจะต้องยึดครองพื้นที่ทางทะเลอันกว้างใหญ่เพื่อปกปักรักษาหัวใจของจีนเอาไว้ จีนยังคงเสริมกำลังทางทหารให้แก่หมู่เกาะและแนวปะการังในทะเลจีนใต้ โดยส่วนใหญ่จะใช้กองกำลังรักษาชายฝั่งของตนเพื่อยึดครองและควบคุมดินแดน นับตั้งแต่ พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา จีนยังพยายามกลั่นแกล้งญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ ผ่านทางหมู่เกาะเซ็งกะกุในทะเลจีนตะวันออกที่อยู่ภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น

นายสี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน กำลังเพิ่มการรุกรานครั้งใหม่เพื่อการขยายขอบเขตของจีน นายสีเคยเป็นสมาชิกยุวชนแดงของลัทธิเหมาที่หัวรุนแรงและต่อต้านค่านิยมแบบตะวันตก ในความเป็นจริงแล้ว ประชาชนชาวจีนถูกห้ามไม่ให้พูดคุยเกี่ยวกับค่านิยมสากล เช่น เสรีภาพ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน ภายใต้การควบคุมของนายสี ซึ่งค่านิยมเหล่านั้นได้รับการสนับสนุนในสังคมตะวันตก นายสีพยายามที่จะเป็นผู้นำเผด็จการเช่นเดียวกับนายเหมาโดยการขยายวาระของตนเองออกไปจนถึง พ.ศ. 2565 และผลงานของเขาที่เหนือกว่านายเหมาคงจะเป็นการรุกรานไต้หวัน

การเป็นพันธมิตรกับตะวันตกที่มีอุดมการณ์เดียวกัน

ไม่มีชาติใดนอกจากสหรัฐฯ ที่สามารถเผชิญหน้ากับจีนได้เพียงลำพัง จีนมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกภายในช่วง พ.ศ. 2573 อย่างไรก็ตาม จีนจะไม่สามารถยิ่งใหญ่ไปกว่าตะวันตกได้ หากตะวันตกรวมกันเป็นหนึ่งเดียว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกับออสเตรเลีย อินเดีย นิวซีแลนด์ และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสโมสรแห่งเสรีภาพและประชาธิปไตย จำนวนประชากรในจีนไม่ค่อยมีการเพิ่มขึ้นและกำลังลดลง ซึ่งหมายความว่าชาติตะวันตกซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกันที่เป็นพันธมิตรกับชาติที่มีอุดมการณ์เดียวกันยังคงสามารถมีส่วนร่วมกับจีนได้จากจุดยืนที่เข้มแข็ง วิธีการปรับตัวใหม่ให้เข้ากับแนวทางของตะวันตกเป็นประเด็นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญอันดับแรกที่ต้องจัดการ

นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้เปิดตัวยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2559 ซึ่งได้มีการเสนอว่าประเทศในอินโดแปซิฟิก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาธิปไตยทางอุตสาหกรรมหรืออย่างน้อยก็เป็นผู้สนับสนุนตลาดเสรี ควรปรับตัวเพื่อให้ภูมิภาคที่กำลังเติบโตนี้กลายเป็นส่วนสำคัญของกฎระเบียบระหว่างประเทศแบบเสรีนิยม พันธมิตรหลักของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์นี้จะอยู่ในกลุ่มประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ

ทั้งนี้ทั้งนั้น อินเดียก็ยังถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการรักษาความมั่นคงของยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิกที่ประสบความสำเร็จ อีกไม่นาน อินเดียจะอยู่เหนือจีนในฐานะประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีอายุเฉลี่ยของประชากรที่น้อยกว่าจีนถึง 10 ปี ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของอินเดียก็จะเหนือกว่าญี่ปุ่นในอีก 15 ถึง 20 ปีข้างหน้า อินเดียยังคงฝังใจกับการรุกรานทิเบตของจีนเมื่อ พ.ศ. 2493 และยังคงรู้สึกไม่พอใจกับความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของจีนกับปากีสถาน ขณะที่จีนกำลังยืนหยัดต่อต้านตะวันตกในปัจจุบัน อินเดียที่แม้จะยึดมั่นต่อการทูตแบบไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดได้เอนเอียงไปทางตะวันตกและประเทศต่าง ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ที่มีค่านิยมร่วมกัน กรอบยุทธศาสตร์ของตะวันตกที่มีกับอินเดียในอนาคตจะไม่เพียงขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับค่านิยมสากลด้วย

นายนเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย (กลาง) กล่าวระหว่างการประชุมสุดยอดของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564

ช่วงเวลาเดียวกับที่ภัยคุกคามจากจีนต่อกฎระเบียบระหว่างประเทศแบบเสรีนิยมเริ่มชัดเจนมากขึ้น การรวมกลุ่มแบบใหม่และที่ได้ขยายขอบเขตแล้วของประเทศที่มีอุดมการณ์เดียวกันก็กำลังเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเช่นกัน เช่น การเจรจาความมั่นคงจตุภาคีหรือ ควอด ควรผลักดันให้ประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เข้าร่วม และความพยายามเหล่านี้ควรเริ่มที่ยุโรป ซึ่งมีค่านิยมร่วมและมีอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจที่สำคัญ ข้อตกลงความมั่นคงไตรภาคีฉบับใหม่ระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ซึ่งรู้จักกันในนาม อูกัส จะเป็นการสนับสนุนการป้องกันภูมิภาคที่สำคัญยิ่ง

สมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ทั้ง 10 ประเทศเป็นตัวแทนของกองกำลังระดับภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่และเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งควรจะได้รับความสนใจจากประเทศตะวันตกมากขึ้น ด้วยประชากรที่มีจำนวนเพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับจีน ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้มองหาความร่วมมือทางการค้าแบบเสรี แม้ผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์จะแตกต่างกันไปเช่นเดียวกันกับการรับรู้ถึงภัยคุกคาม ประเทศเหล่านั้นไม่ต้องการถูกดึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางมหาอำนาจต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็เริ่มตระหนักถึงความทะเยอทะยานของจีนที่จะทำให้พวกเขากลายเป็นรัฐบรรณาการ ทั้งอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ไม่เคยเป็นรัฐบรรณาการของจีนมาก่อนเช่นเดียวกันกับญี่ปุ่น เวียดนาม ซึ่งเป็นอิสระจากการควบคุมของจีนในศตวรรษที่ 10 มีความระแวดระวังต่อประเทศเพื่อนบ้านรายใหญ่อย่างมาก สิงคโปร์และไทยมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับจีน แต่ทั้งสองประเทศก็เป็นพันธมิตรหรือหุ้นส่วนของตะวันตก อาเซียนได้พัฒนาการทูตพหุภาคีกับชาติตะวันตกได้อย่างยอดเยี่ยมตลอดหลายปีที่ผ่านมา และทุกวันนี้สมาชิกหลายประเทศต่างก็ภูมิใจในระบอบประชาธิปไตยของตน ด้วยเหตุนี้ ตะวันตกจึงต้องมีส่วนร่วมกับประเทศในอาเซียน

การป้องกันเหตุฉุกเฉินในไต้หวัน

ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของอินโดแปซิฟิกในศตวรรษที่ 21 คือการรุกรานไต้หวันของจีนที่อาจเกิดขึ้น นายสีพยายามที่จะก้าวข้ามสิ่งที่นายเหมาได้ทำไว้โดยสานต่อสิ่งที่นายเหมาทำไม่สำเร็จในการยึดครองไต้หวัน ไต้หวันซึ่งมีประชากร 23 ล้านคนมีความภาคภูมิใจในความสำเร็จทางเศรษฐกิจและประชาธิปไตยของตน เช่น อุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำของไต้หวัน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ไต้หวันมีค่ามากเกินกว่าที่จะสูญเสียให้กับระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ที่ไม่สนใจเสรีภาพของประชาชนหรืออัตลักษณ์ที่โดดเด่นของไต้หวัน

สถานะของตะวันตกในฐานะผู้นำระดับโลกถือเป็นเดิมพัน หากไต้หวันเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ โลกอาจมองว่าตะวันตกได้ยอมมอบทั้งอินโดแปซิฟิกให้กับระบอบเผด็จการของจีนแล้ว

ไต้หวันไม่ใช่เกาะที่จะสามารถเข้ารุกรานได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากมีบางส่วนที่ติดกับหมู่เกาะภูเขาไฟของญี่ปุ่นซึ่งอยู่ถัดจากหมู่เกาะโอกินาวา ภูเขาที่สูงถึง 4,000 เมตรกั้นอยู่ทางด้านตะวันออกของไต้หวัน ซึ่งเป็นเกาะหินที่มีพื้นที่จำกัดสำหรับการโจมตีแบบสะเทินน้ำสะเทินบก พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะไม่ทำการโจมตีทางทหารแบบเต็มรูปแบบในทันที แต่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมพื้นที่สีเทา นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังประกาศว่าการแทรกแซงใด ๆ จากต่างประเทศจะละเมิดผลประโยชน์หลักของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและแทรกแซงกิจการภายในประเทศของจีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังประณามการใช้กองกำลังในการต่อต้านและประกาศว่าไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยของประชาชนชาวไต้หวันในประเทศจีนได้เนื่องจากความโกรธแค้นของชาวจีน

การรุกรานไต้หวันไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ภายใน พ.ศ. 2570 เมื่อวาระการดำรงตำแหน่งครั้งที่สามของนายสีหมดลง มีการคาดการณ์ว่าขีดความสามารถทางทหารของจีนอาจสามารถต่อกรกับการเข้ามามีส่วนร่วมของสหรัฐฯ หรือกองกำลังอื่น ๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือไต้หวันมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นพ้องว่า เมื่อถึงเวลานั้น การรุกรานจะไม่ใช่เพียงการคาดการณ์อีกต่อไป แต่เราต้องระวังว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด

นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (ซ้าย) และนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวทักทายกันด้วยการชนกำปั้นที่สำนักงานใหญ่ของนาโตในเบลเยียม เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565

ญี่ปุ่นเองก็จะมีส่วนร่วมในวิกฤตดังกล่าวทันทีอันเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ โดยประการแรกคือจีนอ้างว่าหมู่เกาะเซ็งกะกุเป็นส่วนหนึ่งของไต้หวัน ประการที่สอง เกาะโยนางุนิของญี่ปุ่นและบางส่วนของหมู่เกาะซาคิชิมะอยู่ห่างจากไต้หวัน 110 กิโลเมตร และน่าจะอยู่ในเขตสงคราม นอกจากนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนอาจพยายามที่จะต่อต้านกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นที่มีฐานทัพอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ประการที่สาม พรรคคอมมิวนิสต์จีนอาจพยายามที่จะต่อต้านฐานทัพสหรัฐฯ ในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นฐานทัพที่ใช้สำหรับปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือไต้หวัน

ผู้นำญี่ปุ่นกล่าวเน้นย้ำว่าสันติภาพและเสถียรภาพเป็นสิ่งจำเป็นต่อความมั่นคงของญี่ปุ่น ในแถลงการณ์ร่วมเมื่อ พ.ศ. 2564 ระหว่างนายโยชิฮิเดะ สึกะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กับนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้มีการกล่าวถึงข้อความเดียวกันนี้ นี่คือสิ่งที่ญี่ปุ่นได้กล่าวร่วมกับสหรัฐฯ ก่อนการกลับสู่ภาวะปกติระหว่างญี่ปุ่นกับจีน และสหรัฐฯ กับจีน สนธิสัญญาพันธมิตรระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นไม่เพียงแต่มีมาตรา 5 ที่กำหนดภาระผูกพันในการป้องกันร่วมกันของญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังมีมาตรา 6 ที่กำหนดให้กองทัพสหรัฐฯ สามารถใช้ฐานทัพในญี่ปุ่นเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคที่เรียกว่าตะวันออกไกล

ตะวันออกไกลในบริบทนี้หมายถึงคาบสมุทรเกาหลี ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน ซึ่งถูกทิ้งไว้ในช่องว่างทางอำนาจเมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามแปซิฟิก สหรัฐฯ ต้องการปกป้องประเทศดังกล่าวโดยใช้ฐานทัพในญี่ปุ่น และญี่ปุ่นเองก็คิดว่าไม่ควรปล่อยพื้นที่โดยรอบของญี่ปุ่นไว้โดยไม่ได้รับการป้องกันเมื่อเผชิญกับกองกำลังสีแดงที่มีจำนวนมากของจีน เกาหลีเหนือ และรัสเซีย นี่คือข้อตกลงด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคที่รวมอยู่ในข้อตกลงด้านความมั่นคงระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯ มาตั้งแต่แรกเริ่ม

ทันทีที่นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เข้ารับตำแหน่งในช่วงต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 หลังจากที่นายสึกะได้ก้าวลงจากตำแหน่งในวันที่ 3 กันยายน นายคิชิดะได้เข้าพบกับประธานาธิบดีไบเดนเพื่อยืนยันถึงความมุ่งมั่นของญี่ปุ่นในการเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงและความร่วมมือด้านความมั่นคงในระดับภูมิภาคของ ทั้งสองประเทศ

แนวทางปฏิบัติในอนาคต

การศึกษาและการฝึกฝนอย่างหนักยังคงสามารถป้องปรามไม่ให้จีนรุกรานไต้หวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อกังวลมากมายที่ต้องจัดการ ซึ่งข้อกังวลต่อไปนี้ถือเป็นข้อกังวลพื้นฐานที่สุด

ประการแรกคือพันธมิตรสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเผชิญกับภัยคุกคามจำนวนมากของจีนที่กระทำต่อไต้หวันเป็นครั้งแรก จีนแข็งแกร่งกว่าเมื่อก่อนมากโดยมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่พอ ๆ กับสหรัฐฯ และสร้างกองกำลังทหารขนาดใหญ่ งบประมาณด้านกลาโหมของญี่ปุ่นควรเพิ่มขึ้นให้มากกว่าร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

ประการที่สอง แนวทางการบังคับบัญชาของพันธมิตรสหรัฐฯ และญี่ปุ่นยังไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน เช่นเดียวกับในเกาหลีใต้หรือนาโต จำเป็นต้องมีแผนปฏิบัติการที่เป็นไปตามสถานการณ์ในกรณีฉุกเฉินของไต้หวัน และควรมีการกำหนดบทบาทและภารกิจใหม่ของกองกำลังทั้งสองฝ่าย

ประการที่สาม จำเป็นต้องมีการเจรจาเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสหรัฐฯ โดยที่สหราชอาณาจักรในฐานะสมาชิกของอูกัสจะเป็นพันธมิตรที่ดี ฝรั่งเศสเองก็เป็นพันธมิตรที่ดี เนื่องจากฝรั่งเศสเป็นประเทศในภูมิภาคแปซิฟิก เกาหลีใต้ก็อาจเข้าร่วมด้วยหากสามารถรวบรวมเจตจำนงทางการเมืองได้

ประการที่สี่ ควรเสริมสร้างขีดความสามารถทางปฏิบัติการเชิงบูรณาการของญี่ปุ่น การบังคับบัญชาแบบบูรณาการได้จัดตั้งกองกำลังป้องกันตนเองขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2549 และตำแหน่งเสนาธิการของกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินก็มีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2561 ซึ่งการทำเช่นนี้น่าจะทำให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้นในฐานะสถาบัน

ประการที่ห้า เมื่อไม่นานมานี้ ญี่ปุ่นได้สร้างกองพลน้อยที่มีลักษณะคล้ายนาวิกโยธินภายในกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดิน ซึ่งอีกไม่นานกองพลน้อยดังกล่าวก็น่าจะรวมอยู่ในแผนบูรณาการด้วย

แสดงความคิดเห็นที่นี่

ความเป็นส่วนตัวของคุณเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเรา หากคุณเลือกที่จะระบุที่อยู่อีเมลของคุณ เจ้าหน้าที่ของ ฟอรัม จะใช้เพื่อติดต่อกับคุณเท่านั้น เราจะไม่เปิดเผยหรือเผยแพร่ที่อยู่อีเมลของคุณ เฉพาะชื่อและเว็บไซต์ของคุณเท่านั้นที่จะปรากฏในความคิดเห็นของคุณ ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button