ความร่วมมือติดอันดับปัญหาหลักระดับภูมิภาคโอเชียเนีย

บี-1บี แลนเซอร์ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เสร็จสิ้นภารกิจของหน่วยทิ้งระเบิดเฉพาะกิจในอินโดแปซิฟิก

เจ้าหน้าที่ฟอรัม

กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-1บี แลนเซอร์ จำนวน 4 ลำ เพื่อปฏิบัติภารกิจของหน่วยทิ้งระเบิดเฉพาะกิจในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วนที่สำคัญตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เครื่องบินทิ้งระเบิดเชิงยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้รับการสังกัดฝูงบินทิ้งระเบิดนอกประเทศที่ 34 ปีกทิ้งระเบิดที่ 28 ที่ฐานทัพอากาศเอลส์เวิร์ธ รัฐเซาท์ดาโคตา และบินไปยังฐานทัพอากาศแอนเดอร์เซนในกวมเพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยทิ้งระเบิดเฉพาะกิจ

เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-1 ดำเนินภารกิจหลายอย่าง ได้แก่ การป้องปรามปรปักษ์และการรวมกำลังทางอากาศกับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น และปฏิบัติการเติมเชื้อเพลิงขณะที่กำลังปฏิบัติการกับกองทัพอากาศออสเตรเลียที่ฐานทัพอากาศดาร์วินของกองทัพอากาศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นครั้งแรกของเครื่องบิน บี-1บี แลนเซอร์ (ภาพ: เครื่องบินซูเปอร์ฮอร์เน็ต เอฟ/เอ-18เอฟ ของกองทัพอากาศออสเตรเลียบินเคียงข้างเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-1บี แลนเซอร์ ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในระหว่างการซ้อมรบไดมอนด์สตอร์ม พ.ศ. 2565 ซึ่งดำเนินการที่ฐานทัพอากาศดาร์วินและทินดัลตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม ถึง 24 มิถุนายน)

ภาพจาก: จ.อ. คริส ฮิบเบน/กองทัพอากาศสหรัฐฯ

ภารกิจเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของเครื่องบิน บี-1 ในการปฏิบัติตามแนวคิดการรบแบบคล่องตัวด้วยบุคลากรจำนวนน้อยและจากสถานที่ที่ไม่ใช่มาตรฐาน พ.ท. รอสส์ ฮอบส์ ผู้บัญชาการฝูงบินทิ้งระเบิดนอกประเทศที่ 34 กล่าวว่า “ในขณะที่เราฝึกฝนและมีความชำนาญมากขึ้นในปฏิบัติการต่อสู้แบบคล่องตัว เราได้เพิ่มขีดความสามารถของหน่วยบัญชาการอินโดแปซิฟิกสหรัฐฯ ในการตอบโต้ศัตรูในภูมิภาคหรือภัยคุกคามที่ศัตรูมีต่อเสรีภาพของประเทศที่เสรีต่าง ๆ”

ฝูงบินดังกล่าวได้ทำการบินไป 30 เที่ยว รวมมากกว่า 300 ชั่วโมงในเวลา 30 วัน โดยสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและเป็นไปตามแนวคิดของปฏิบัติการต่อสู้แบบคล่องตัว

กองบัญชาการยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ดำเนินภารกิจของหน่วยทิ้งระเบิดเฉพาะกิจเป็นประจำทั่วโลกเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ที่มีต่อการป้องกันร่วมกัน รวมทั้งเพื่อเข้าร่วมปฏิบัติการและกิจกรรมของกองบัญชาการรบทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ

A U.S. Air Force B-1B Lancer, assigned to the 34th Bomb Squadron, Ellsworth Air Force Base, taxis past the control tower at Andersen Air Force Base, Guam, after arriving for a Bomber Task Force mission June 2, 2022. Bomber Task Force missions contribute to joint force lethality and deter aggression in the Indo-Pacific by demonstrating the United States Air Force’s ability to operate anywhere in the world at any time in support of the National Defense Strategy. (U.S. Air Force Photo by Tech. Sgt. Chris Hibben)

แต่ละภารกิจของหน่วยทิ้งระเบิดเฉพาะกิจสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์กลาโหมแห่งชาติของสหรัฐฯ ในด้านความสามารถในการคาดการณ์เชิงกลยุทธ์และความสามารถในการป้องกันการคาดการณ์เชิงปฏิบัติการ และภารกิจดังกล่าวเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ที่มีต่อพันธมิตรและหุ้นส่วนในภูมิภาค ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความสามารถในการปฏิบัติการทั่วโลกของเครื่องบิน บี-1 การส่งกำลังไปยังกวมซึ่งเป็นดินแดนของสหรัฐฯ ที่อยู่ห่างจากแคลิฟอร์เนียไปทางตะวันตกประมาณ 9,300 กิโลเมตร และห่างจากฟิลิปปินส์ไปทางตะวันออก 2,600 กิโลเมตร ทำให้เครื่องบินทิ้งระเบิดสามารถปฏิบัติการรุดหน้าไปในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกได้จากสถานที่ต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ทั้งในต่างประเทศและในทวีปด้วยความพร้อมรับมือและความยืดหยุ่นในการปฏิบัติการที่เพิ่มขึ้น

“การปรากฏตัวในกวมของเราและการบินทั่วทั้งภูมิภาคมีจุดประสงค์เชิงกลยุทธ์สองประการ” พ.ท. ฮอบส์กล่าว “คือ การสร้างหลักประกันให้แก่พันธมิตรในภูมิภาคของเราผ่านการปรากฏตัวอย่างสม่ำเสมอและการร่วมมือกันแบบพหุภาคี และการป้องปรามปรปักษ์ของสหรัฐฯ ที่ยังคงคุกคามเสถียรภาพของเขตอิทธิพลทางการทูต การทหาร และเศรษฐกิจของโลก”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button