ความขัดแย้ง/ความตึงเครียดติดอันดับเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

ญี่ปุ่นส่งเครื่องบินไอพ่นขณะปรึกษาหารือถึงไต้หวัน รัสเซียปรากฏในการประชุมสุดยอดควอด

รอยเตอร์

ญี่ปุ่นส่งเครื่องบินไอพ่นทางทหารขึ้นน่านฟ้าหลังจากที่เครื่องบินรบของรัสเซียและจีนเข้าใกล้น่านฟ้าของตน โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้แสดง “ความกังวลอย่างหนัก” เกี่ยวกับการกระทำที่เห็นได้ว่าเป็นการยั่วยุให้เกิดขึ้นพร้อมกับการประชุมสุดยอดควอดเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565

ประเด็นต่าง ๆ ของไต้หวันและรัสเซียปรากฏในการประชุมที่กรุงโตเกียวของผู้นำกลุ่มควอด อันได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะรับรองถึงอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างเมื่อต้องเผชิญกับสาธารณรัฐประชาชนจีนที่แข็งกร้าวมากขึ้น (ภาพ: จากซ้าย นายแอนโธนี อัลบานีส นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายฟุมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และนายนเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำควอดในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565)

ระหว่างที่ผู้นำพบปะกัน เครื่องบินรบของรัสเซียและจีนได้ทำการลาดตระเวนร่วมเป็นเวลา 13 ชั่วโมง ซึ่งนายโนบุโอะ คิชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น เรียกว่าอาจเป็นการยั่วยุโดยรัฐบาลจีนและรัฐบาลรัสเซีย

“เราเชื่อข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำนี้เกิดขึ้นในระหว่างการประชุมสุดยอดควอด เป็นการยั่วยุที่มากกว่าที่ผ่านมา” นายคิชิกล่าว

เกาหลีใต้ยังได้ส่งเครื่องบินขับไล่ โดยกล่าวว่าเครื่องบินรบของจีน 4 ลำและของรัสเซีย 4 ลำเป็นอย่างต่ำได้เข้าสู่เขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศของตน

การลาดตระเวนเกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากที่นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้สร้างความไม่พอใจให้กับจีนโดยกล่าวว่าสหรัฐฯ ยินดีที่จะใช้กองกำลังเพื่อคุ้มกันหมู่เกาะประชาธิปไตยของไต้หวัน นายไบเดนกล่าวในภายหลังว่าข้อคิดเห็นของเขาสะท้อนว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ ในเรื่อง “ความคลุมเครือเชิงยุทธศาสตร์” ต่อไต้หวันที่จีนอ้างว่าเป็นดินแดนของตน

กระทรวงกลาโหมของจีนระบุว่า การลาดตระเวนร่วมที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่มีการรุกรานยูเครนของรัสเซียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกทางทหารประจำปี

ผู้นำควอดออกแถลงการณ์ว่าได้มีการ “หารือเกี่ยวกับการตอบโต้ต่อความขัดแย้งในยูเครนโดยเฉพาะ รวมถึงวิกฤตด้านมนุษยธรรมอันน่าเศร้าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

ในข้อตกลงด้านสิทธิประโยชน์ที่ปรากฏชัดกับอินเดีย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซีย คำว่า “รัสเซีย” หรือ “รัสเซียน” ไม่ปรากฏในแถลงการณ์ อินเดียไม่ได้ประณามการรุกรานของรัสเซียหรือวางกฎเกณฑ์กับรัสเซียแต่อย่างใด

หลังการประชุมสุดยอดควอด นายคิชิดะ กล่าวว่าบรรดาผู้นำ ซึ่งรวมถึงนายแอนโธนี อัลบานีส นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย และนายนเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย ได้ร่วมแบ่งปันข้อกังวลเกี่ยวกับยูเครน และผู้นำทั้งสี่ต่างเห็นพ้องกันถึงความสำคัญของหลักนิติธรรม อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน

ในการให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว ประธานาธิบดีไบเดนได้ประณามการรุกรานของรัสเซีย โดยกล่าวว่ารัสเซียได้รับผลกระทบจากการกระทำที่แผ่ขยายไปทั่วโลก นั่นสะท้อนคำพูดของนายคิชิดะที่กล่าวว่าการรุกราน “สั่นคลอนรากฐานของความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศ” และถือเป็นความท้าทายโดยตรงต่อหลักปฏิบัติขององค์การสหประชาชาติ

“เราไม่ควรปล่อยให้สิ่งที่คล้ายกับเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก” นายไบเดนกล่าว

ข้อคิดเห็นของประธานาธิบดีไบเดนเกี่ยวกับไต้หวันที่ไม่ได้อยู่ในวาระการประชุมสุดยอด ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

แม้กฎหมายจะกำหนดให้รัฐบาลสหรัฐฯ จัดหาวิธีการป้องกันตนเองให้กับไต้หวันที่ปกครองตนเอง แต่ก็ดำเนินตามนโยบายความคลุมเครือทางยุทธศาสตร์มาช้านานว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะเข้าแทรกแซงทางการทหารในกรณีที่มีการโจมตีโดยจีนหรือไม่

นายอัลบานีส ผู้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเพียงไม่กี่วันหลังจากที่มีการเลือกตั้งผู้นำออสเตรเลีย ได้ขอให้ผู้นำสมาชิกควอดเป็นผู้นำในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “ภูมิภาคนี้มุ่งหวังให้เราทำงานร่วมกับพวกเขาและเป็นแบบอย่างให้กับพวกเขา” นายอัลบานีสกล่าว

ภาพจาก: เก็ตตี้อิมเมจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button