มองภูมิภาคแผนก

ออสเตรเลีย/ญี่ปุ่น: การกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคง

ญี่ปุ่นและออสเตรเลียมีข้อกังวลร่วมกันเกี่ยวกับการกระทำอย่างแข็งกร้าวที่เพิ่มขึ้นของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีต่อพื้นที่ทางทะเลในภูมิภาค และแสดงการคัดค้านอย่างหนักแน่นต่อพฤติกรรม “บีบบังคับหรือบั่นทอน” ของสาธารณรัฐประชาชนจีน

เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศได้ทำข้อตกลงที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงระหว่างกัน จากการที่จีนกดดันการอ้างสิทธิ์ของตนในพื้นที่พิพาทในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก

นายโทชิมิตสึ โมเทกิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ภาพขวา) กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ทั้งสองประเทศมีข้อกังวลเกี่ยวกับการกระทำของจีนในพื้นที่ทางทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ที่ถือเป็นการท้าทายประชาคมโลก นายโมเทกิได้ร่วมมือกับนายโนบูโอะ คิชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น และนางมาริส เพย์น และนายปีเตอร์ ดัตตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย

ญี่ปุ่นประท้วงรัฐบาลจีนอยู่บ่อยครั้งจากการที่มีกองกำลังรักษาชายฝั่งของจีนปรากฏตัวอยู่ใกล้กับหมู่เกาะเซ็งกะกุที่อยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น โดยจีนยังอ้างสิทธิ์และเรียกหมู่เกาะนี้ว่าหมู่เกาะเตียวหยู เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นกล่าวว่าเรือของจีนมักรุกล้ำน่านน้ำรอบหมู่เกาะของญี่ปุ่นอยู่เป็นประจำ ซึ่งบางครั้งยังคุกคามเรือประมงอีกด้วย

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นและจีนยังมีความเห็นไม่ตรงกันเรื่องการพัฒนาทรัพยากรใต้น้ำในพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย

“เรามีจุดยืนในการต่อต้านการสร้างความปั่นป่วนหรือการบีบบังคับอันเป็นการกระทำฝ่ายเดียว ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงสถานภาพในปัจจุบันและเพิ่มความตึงเครียดในทะเลจีนตะวันออก” ญี่ปุ่นและออสเตรเลียกล่าวในแถลงการณ์ที่มีขึ้นหลังการเจรจา พฤติกรรมดังกล่าว “บ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศตามกฎระเบียบ”

ในทะเลจีนใต้ การอ้างสิทธิ์ทางทะเลเป็นวงกว้างของจีนได้สร้างความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งกล่าวหาว่ารัฐบาลจีนกำลังขยายอิทธิพลทางทหารในเส้นทางเดินเรือที่คับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ในแถลงการณ์ร่วมระบุถึง “ความกังวลขั้นวิกฤตเกี่ยวกับการพัฒนาในเชิงลบและสถานการณ์ที่รุนแรงในทะเลจีนใต้เมื่อเร็ว ๆ นี้ รวมถึงการขยายอิทธิพลทางทหารอย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นข้อพิพาท การใช้เรือของกองกำลังรักษาชายฝั่งและ ‘พลเรือนติดอาวุธทางทะเล’ ที่เป็นอันตราย ตลอดจนความมุ่งมานะที่จะขัดขวางกิจกรรมด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของประเทศอื่น ๆ”

“เราขอยืนยันถึงการต่อต้านที่หนักแน่นอีกครั้งต่อความพยายามใด ๆ ก็ตามแต่เพียงฝ่ายเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงสถานภาพที่มีในปัจจุบัน” โดยจีน นายโมเทกิกล่าว นายโมเทกิกล่าวเสริมว่ารัฐมนตรีทั้งสี่ท่านต่างแสดงออกถึง “ความกังวลอย่างหนัก” เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของจีนในฮ่องกงและเขตซินเจียงตะวันตกซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยมุสลิมอื่น ๆ

ในแถลงการณ์เรียกร้องให้จีน “มอบสิทธิ์การเข้าถึงเขตซินเจียงอย่างเร่งด่วน โดยยึดหลักเหตุผลและไร้ข้อผูกมัดทางกฎหมาย ให้แก่ผู้สังเกตการณ์ระหว่างประเทศที่เป็นกลาง รวมถึงกรรมาธิการระดับสูงด้านสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ”

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังตอกย้ำถึงความสำคัญของการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน ที่ซึ่งจีนได้เพิ่มระดับการกดดันบนเกาะปกครองตนเองของไต้หวัน รอยเตอร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button