ลาวจับกุมยาบ้าครั้งใหญ่หลังจากองค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นเตือนถึงความท้าทายด้านความมั่นคง
ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส
ตำรวจในลาวได้เข้ายึดยาบ้าครั้งใหญ่เป็นครั้งที่สองภายในเวลาสามเดือน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการค้ายาเสพติดผิดกฎหมายขององค์การสหประชาชาติกล่าวว่า การพัฒนาเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายด้านความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายเจเรมี่ ดักลาส ตัวแทนระดับภูมิภาคของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า การเข้ายึดยาบ้าเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 จำนวนกว่า 36.5 ล้านเม็ด ที่จังหวัดบ่อแก้วทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศนั้นนับเป็นจำนวนที่มากเป็นอันดับสองของภูมิภาครองจากยาบ้าจำนวน 55.6 ล้านเม็ดที่จับกุมได้ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ที่จังหวัดเดียวกัน
เขากล่าวเตือนว่าภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่มีการเข้าจับกุมเกิดขึ้นนั้นกำลังประสบปัญหาด้านการผลิตและการค้ายาเสพติดที่จำเป็นต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการควบคุม
“กลุ่มอาชญากรทำราวกับว่าภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเสมือนสนามเด็กเล่น ซึ่งมีองค์ประกอบทั้งหมดที่พวกเขาต้องการ” นายดักลาสกล่าว
สถานีวิทยุด้านความมั่นคงของลาว ซึ่งเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงของรัฐ รายงานว่ามีการจับกุมชาวบ้านในท้องถิ่น 4 รายในเขตห้วยทรายในการตรวจค้นยาบ้าผลึกคริสตัลหรือที่รู้จักกันในชื่อยาไอซ์กว่า 590 กิโลกรัม ซึ่งพบเป็นเฮโรอีนและปืนพกจำนวนเล็กน้อย
บ่อแก้วมีพรมแดนติดกับเมียนมาร์และไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนที่รู้จักกันในชื่อสามเหลี่ยมทองคำที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย เฮโรอีนและฝิ่นที่ถูกนำไปรวมว่าเป็นส่วนหนึ่งของยาบ้าในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ส่วนใหญ่แล้วผลิตในเมียนมาร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รัฐฉาน (ภาพ: ตำรวจไทยจัดแสดงยาบ้าจำนวนมากที่ยึดได้ในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562)
“การผลิตในรัฐฉานนั้นไม่เป็นที่สังเกต และปัจจุบันลาวกลายเป็นประตูสู่การค้าสิ่งเสพติดที่ผู้ลักลอบมักใช้เป็นจุดดำเนินการสำคัญ” นายดักลาสกล่าว ประเทศไทยถือเป็นตลาดหลักสำหรับยาเสพติดที่ผลิตจากเมียนมาร์ แต่ก็ยังคงมีการจัดส่งไปยังประเทศอื่น ๆ ด้วย ลาวมีชื่อเสียงด้านการอำนวยความสะดวกในการลักลอบขนสินค้า
เมียนมาร์ตกอยู่ในความวุ่นวายมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กองทัพเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งของนางอองซาน ซูจี ในตอนนี้ เมียนมาร์ต้องเผชิญกับความท้าทายทางอาวุธจากศัตรูของระบอบการปกครองทหาร ซึ่งขัดขวางการดำเนินงานของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อปราบปรามการค้ายาเสพติด สถานการณ์มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการผลิตยาเสพติดมักข้องเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยติดอาวุธที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางการเมืองกับรัฐบาล และในบางครั้งก็ต่อสู้กันเอง
“ยาเสพติดและความขัดแย้งในรัฐฉานมีความเชื่อมโยงกันมานานหลายทศวรรษ นายดักลาสกล่าวว่า ในขณะที่ความมั่นคงล่มสลายลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแปดหรือเก้าเดือนที่ผ่านมา เราก็ได้เห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นสูงในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทยและลาวได้รับผลกระทบจากยาบ้าอย่างหนัก”
“ไม่มีวิธีการง่าย ๆ สำหรับแก้ไขปัญหานี้ได้เลย เมื่อดูจากสถานการณ์การปกครองในรัฐฉาน” นายดักลาสกล่าว
และเสริมอีกว่า หากภูมิภาคนี้ต้องการชะลอกระแสของยาเสพติดจากสามเหลี่ยมทองคำ รัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการค้าสารเคมีตั้งต้น การรักษาความมั่นคงของชายแดน และทำให้การฟอกเงินเป็นเรื่องยากขึ้น
ภาพจาก: ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส