ติดอันดับ

จีนมียอดการคุมขังผู้สื่อข่าวสูงที่สุดในโลกเป็นเวลาสามปีติดต่อกัน

เจ้าหน้าที่ ฟอรัม

สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่เลวร้ายที่สุดในโลกในการคุมขังผู้สื่อข่าว ตามรายงานสองฉบับล่าสุดจากองค์กรนอกภาครัฐที่สนับสนุนเสรีภาพของสื่อมวลชน

จีนเป็นผู้กระทำความผิดอันดับสูงสุด โดยมีจำนวนผู้สื่อข่าว 127 คนที่ถูกจำคุก ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ตามการศึกษาประจำปีที่รวบรวมโดยองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกล่าวว่า จีนยังเป็นประเทศที่เลวร้ายที่สุดสำหรับผู้ถูกคุมขังใน พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 ซึ่งเผยแพร่ผลการค้นคว้าเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม

อีกทั้งยังกล่าวว่าจำนวนผู้สื่อข่าวที่ถูกจำคุกทั่วโลกมีจำนวนถึง 488 คนใน พ.ศ. 2563

รายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมโดยคณะกรรมการคุ้มครองสื่อยังจัดอันดับให้จีนเป็นผู้กระทำผิดที่เลวร้ายที่สุดใน พ.ศ. 2564 และพบว่ามีจำนวนผู้สื่อข่าวที่ถูกควบคุมตัวทั่วโลกเป็นสถิติสูงสุดถึง 6 ปีติดต่อกัน

รายงานระบุว่า ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาประมาณร้อยละ 20 ใน พ.ศ 2564 เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2563 โดยส่วนใหญ่เป็นเพราะการปราบปรามสื่อโดยรัฐบาลในเบลารุส ฮ่องกง และพม่า

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติของจีนต่อฮ่องกงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น รายงานระบุ องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกล่าวในรายงานที่เกี่ยวข้องว่า กฎหมายฉบับนี้ทำหน้าที่เป็นเหตุผลในการปราบปรามผู้สื่อข่าวและนักปกป้องเสรีภาพสื่ออย่างน้อย 12 คน รวมถึงนายจิมมี่ ไล ผู้ก่อตั้งแอปเปิลเดลี่ที่ปิดลงในปัจจุบัน ซึ่งต้องเผชิญกับคำพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต (ภาพ: นายจิมมี่ ไล เดินออกมาจากศาลอุทธรณ์สูงสุดของฮ่องกงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 นายจิมมี่ถูกตั้งข้อหาหลายข้อหาภายใต้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติของจีนในฮ่องกง และถูกควบคุมตัวมานานกว่าหนึ่งปีแล้ว)

องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนรายงานว่า ในขณะเดียวกันนี้ เมียนมาร์ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้คุมขังอันดับสองรองจากจีน โดยมีผู้สื่อข่าว 53 คนที่ถูกจำคุกหลังจากการปราบปรามหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 อียิปต์ครองอันดับสาม โดยมีผู้สื่อข่าวถูกจำคุก 25 คน

คณะกรรมการคุ้มครองสื่อกล่าวในรายงานว่า ผู้สื่อข่าวอาจถูกจำคุกในเมียนมาร์มากกว่าที่งานวิจัยระบุ เนื่องจากสำนักข่าวหลายแห่งระวังที่จะระบุตัวตนของฟรีแลนซ์ สายข่าว หรือผู้สื่อข่าวที่ไม่ใช่พนักงานคนอื่น ๆ เนื่องจากกลัวว่าพวกเขาจะเผชิญกับการลงโทษมากขึ้น

คณะกรรมการคุ้มครองสื่อระบุจำนวนผู้สื่อข่าวที่ถูกควบคุมตัวไว้ที่ 293 คน เนื่องจากคณะกรรมการคุ้มครองสื่อต่างจากองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนที่คณะกรรมการคุ้มครองสื่อนั้นไม่นับรวมถึงผู้สื่อข่าวพลเรือนหรือผู้ช่วยสื่อ

คณะกรรมการคุ้มครองสื่อรายงานว่ามีผู้สื่อข่าว 24 คนที่ถูกสังหารใน พ.ศ. 2564 ซึ่งรวม 19 คนที่ถูกตอบโต้จากการทำงาน ในขณะที่องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนรายงานว่ามี 48 คน

องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุในงานวิจัยอีกงานหนึ่ง ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ว่า มีผู้สื่อข่าวจำนวน 71 คนจาก 127 คนที่ถูกจำคุกในจีนที่เป็นชาวอุยกูร์

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ผลการค้นพบดังกล่าวบ่งชี้ว่าการกักขังผู้สื่อข่าวของจีนไม่ได้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรณรงค์แบบเผด็จการเพื่อปราบปรามเสรีภาพสื่อมวลชนเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปราบปรามชาวอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยมุสลิมอื่น ๆ ผ่านการกักขังมวลชน การบังคับใช้แรงงาน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ

งานวิจัยขององค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนก่อนหน้านี้ที่มีชื่อว่า “ก้าวกระโดดถอยหลังครั้งยิ่งใหญ่ของการสื่อสารมวลชนในจีน” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรณรงค์ปราบปรามอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนของระบอบการปกครองจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาต่อการสื่อสารมวลชนและสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลทั่วโลก

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การจำคุกผู้สื่อข่าวของจีนยังไม่เป็นผลดีต่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว พ.ศ. 2565 ในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อผู้สื่อข่าวจากทั่วโลกจะมาที่ปักกิ่ง ซึ่งทำให้พวกเขาอยู่ในจุดเสี่ยงต่อการถูกควบคุมตัว

รายงานขององค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุว่า กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติของจีนข่มขู่ว่าจะคุมขังนักข่าวภายใต้บทบัญญัติที่คลุมเครือของกฎหมายเอง ซึ่งรวมถึงการพยายามแบ่งแยกดินแดน การโค่นล้มอำนาจ และการสมรู้ร่วมคิดกับกองกำลังต่างชาติและการก่อการร้าย

รายงานดังกล่าวระบุว่า “การกระทำที่เรียบง่ายอย่างการตรวจสอบหัวข้อที่ ‘ละเอียดอ่อน’ หรือการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกเซ็นเซอร์อาจทำให้ต้องถูกคุมขังในเรือนจำที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นเวลาหลายปี ในขณะที่การปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้องอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้” ใน พ.ศ. 2563 จีนได้ขยายบทบัญญัติทางกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่คล้ายคลึงกันไปยังฮ่องกง

นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่านักข่าวต่างประเทศไม่ได้รับการต้อนรับในประเทศจีน “ตามการเฝ้าระวังและวีซ่าแบล็กเมล์ การข่มขู่ของจีนต่อผู้สื่อข่าวต่างประเทศทำให้พวกผู้สื่อข่าว 18 คนต้องออกจากประเทศใน พ.ศ. 2563 รายงานระบุว่า ขณะนี้นายกุย หมินไห่ นายหยาง เหิงจุน และนายเฉิง เล่ย นักข่าวต่างชาติสามคนที่มีเชื้อสายจีนถูกควบคุมตัวในข้อหาจารกรรม”

โดยรวมแล้วจีนอยู่ในอันดับที่ 177 จาก 180 ประเทศในดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนโลกขององค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนใน พ.ศ. 2564 ซึ่งสูงกว่าเกาหลีเหนือสองอันดับ ฮ่องกงอยู่ในอันดับที่ 80 หลังจากอยู่ในอันดับที่ 18 เมื่อเพียง 20 ปีก่อน

 

ภาพจาก: ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button