ติดอันดับ

นักวิชาการเตือน จีนเดินเกมดูเชิงเพื่อปรับกลยุทธ์ในการมีส่วนร่วมในภูมิภาคอาร์กติก

เดอะวอทช์

เมื่อกล่าวถึงการมีส่วนร่วมในภูมิภาคอาร์กติก แนวทางของจีนถือว่ามีความแข็งกร้าวน้อยกว่ายุทธวิธีที่รุนแรงในทะเลจีนใต้เป็นอย่างมาก ซึ่งจีนยังคงมีความขัดแย้งกับประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องในด้านสิทธิอาณาเขตทางทะเล และมักยั่วยุให้เกิดการทะเลาะวิวาทเรื่องเสรีภาพในการเดินเรือ ผู้เชี่ยวชาญในอาร์กติกกล่าว

แนวทางที่ขัดแย้งกันดังกล่าวมีหลายเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิชาการสองคนเห็นพ้องกันว่าจีนเผชิญกับสถานการณ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในความพยายามที่จะมีส่วนร่วมในสภาอาร์กติกระหว่างรัฐบาล ทำงานร่วมกับประเทศในแถบอาร์กติก ตลอดจนทำให้อนาคตของภูมิภาคอาร์กติกเป็นประเด็นด้านความมั่นคงของชาติจีนอีกด้วย

“สิ่งที่เราเห็นในอาร์กติกคือการผสมผสานของพลวัตการรักษาความปลอดภัยระดับโลกและระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายและมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในอาร์กติก สำหรับประเทศจีนแล้ว สิ่งนี้ทำให้จีนเข้าไปมีส่วนร่วมในภูมิภาคอาร์กติกได้ยากขึ้น” ดร. คามิลล่า ที.เอ็น. โซเรนเซน รองศาสตราจารย์ที่สถาบันเพื่อการศึกษายุทธศาสตร์และสงคราม วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเดนมาร์ก กล่าว

ดร. มาร์ค ลันเทย์น รองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยอาร์กติกแห่งนอร์เวย์ ทรอมโซ ผู้เรียกจีนว่าเป็น “ผู้มาใหม่” ในภูมิภาคอาร์กติก กล่าวเสริมว่า “จีนยังคงพยายามวางแผนการมีส่วนร่วมอย่างระมัดระวัง” “จีนเริ่มให้ความสำคัญกับแนวคิดที่ว่าอาร์กติกเหมาะสมกับการจัดลำดับความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างไร”

ดร. โซเรนเซน และ ดร. ลันเทย์น กล่าวในระหว่างการประชุมเชิงวิชาการทางอิเล็กทรอนิกส์ของอาร์กติก ซึ่งเป็นฟอรัมเสมือนรายปักษ์เกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออาร์กติก ในกลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วยนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานจากแคนาดา เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา การเจรจาดังกล่าวมีกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นตอนเหนือและนิตยสารของกองบัญชาการดังกล่าว ได้แก่ เดอะวอทช์ กองบัญชาการยุโรปของสหรัฐฯ กองบัญชาการอินโดแปซิฟิกของสหรัฐฯ และเครือข่ายการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในอเมริกาเหนือและอาร์กติกเป็นเจ้าภาพร่วม

ดร. โซเรนเซนยอมรับว่าจีนเป็นประเทศมหาอำนาจ แต่กล่าวว่ากิจกรรมต่าง ๆ ในแถบอาร์กติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับกรีนแลนด์ แสดงให้เห็นถึงแนวทางที่ขี้ขลาดมากขึ้น การพัฒนาของจีนในพื้นที่กรีนแลนด์ยังคง “ค่อนข้างเจียมเนื้อเจียมตัว” ดร. โซเรนเซนคาดการณ์ว่าจีนกำลังเล่นเกม “ดูเชิง” โดยทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์มากกว่าผู้มีส่วนร่วม เพื่อดูว่าสหรัฐฯ ทำตามคำมั่นสัญญาของตนที่ให้ไว้ต่อภูมิภาคอาร์กติกหรือไม่ ตลอดจนเปรียบเทียบคำมั่นสัญญาดังกล่าวกับสิ่งที่จีนจะนำเสนอได้

“ดูเหมือนว่าจีนจะไม่รีบร้อนที่จะเข้าร่วมในภูมิภาคอาร์กติก” ดร. โซเรนเซนกล่าว โดยเรียกกลยุทธ์ของจีนว่าเป็นการถอยทัพทางยุทธวิธี “ในนัยหนึ่ง การถอยทัพทางยุทธวิธีอาจเป็นกลยุทธ์ของจีนที่ซับซ้อนมากขึ้นซึ่งกำลังพัฒนาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนกำลังติดตามการพัฒนาในภูมิภาคและปรับกลยุทธ์ของตนโดยปราศจากความเสี่ยงและความล้มเหลวขนาดใหญ่และไม่ได้สัดส่วน ทุกสิ่งที่จีนดำเนินการประสบกับความล้มเหลว ดังนั้นจีนจึงเปลี่ยนมาใช้แนวทางแบบดูเชิง”

ดร. โซเรนเซนกล่าวว่า กลยุทธ์นี้ทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เธอระบุว่าเป็นกิจกรรมลูกผสมของจีนในภูมิภาคและกิจกรรมปกติ ดร. โซเรนเซนอธิบายเสริมว่าจีนดำเนินงานด้วยความโปร่งใสต่ำและมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและทับซ้อนกันระหว่างหน่วยงานของจีน ความคลุมเครือระหว่างบริษัทและมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเป็นตัวเพิ่มความท้าทายในการจัดหมวดหมู่กิจกรรมของจีนและการประเมินปริมาณความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม

“พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีบทบาทและความเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากแต่ในระดับที่แตกต่างกัน” ดร. โซเรนเซนกล่าว “เป็นเรื่องยากที่จะทราบว่าคุณกำลังรับมือกับบุคคลใดและสิ่งใดคือแรงจูงใจในการขับเคลื่อน”

ดร. ลันเทย์นกล่าวว่าตนได้เริ่มตั้งคำถามถึงผลประโยชน์ของจีนในภูมิภาคอาร์กติกเมื่อสิบปีที่แล้ว และได้รับคำตอบว่าจีนอาจให้ความสำคัญกับภูมิภาคดังกล่าวในอีก 20 ถึง 30 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จีนได้เริ่มการเจรจาเร็วกว่าที่ได้กล่าวไว้เป็นอย่างมาก ดร. ลันเทย์นชี้ให้เห็นถึงการหารือเมื่อ พ.ศ. 2560 เกี่ยวกับวิธีการรวมอาร์กติกเข้ากับโครงการโครงสร้างพื้นฐานหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน พร้อมทั้งกำหนดให้อาร์กติกเป็นพื้นที่ระหว่างประเทศ “จีนยังคงพยายามที่จะดำเนินการในข้อมูลบางส่วนที่เฉพาะเจาะจง” ดร. ลันเทย์นกล่าว (ภาพ: เรือลำหนึ่งแล่นผ่านภูเขาน้ำแข็งทางตะวันออกของกรีนแลนด์ เนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทำให้น้ำแข็งละลาย ภูมิภาคอาร์กติกจึงมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจใหม่)

ดร. ลันเทย์นกล่าวว่า อาร์กติกอาจไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์สำหรับจีนในเชิงภูมิศาสตร์ เนื่องจากจีนแผ่นดินใหญ่อยู่ห่างจากวงกลมอาร์กติกกว่า 1,500 กิโลเมตร แต่เจ้าหน้าที่จีนกล่าวว่าระยะทางไม่ใช่ประเด็นหลัก “จีนไม่ต้องการถูกกีดกันออกจากภูมิภาคดังกล่าว อีกทั้งกำลังอ้างว่า ‘สิ่งที่เกิดขึ้นในอาร์กติกส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของจีน เช่นนั้นแล้ว การมีส่วนได้ส่วนเสียไม่ใช่เรื่องยุติธรรมสำหรับเราอย่างนั้นหรือ?'”

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการที่จีนพยายามยืนยันอย่างแข็งกร้าวว่า กิจกรรมผลประโยชน์ของประเทศแถบอาร์กติกอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางการเมืองความมั่นคงและการทหารในภูมิภาคของตน

 

เดอะวอทช์ เป็นนิตยสารทางการทหารที่ตีพิมพ์โดยกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นตอนเหนือ}

 

ภาพจาก: ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button