ติดอันดับ

เมียนมาใกล้ถึงจุดจบในฐานะผลประโยชน์ส่วนตัวของจีนและรัสเซียในความพยายามขัดขวางระดับโลก

เจ้าหน้าที่ ฟอรัม

แม้ว่าจะมีคำเตือนเกี่ยวกับการล่มสลายของเมียนมาที่ใกล้จะเกิดขึ้นในแปดเดือนหลังการรัฐประหาร แต่แนวโน้มการตอบโต้จากนานาชาติก็ยังริบหรี่ เนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและรัสเซียยังคงมีแนวโน้มที่จะขัดขวางการสั่งห้ามการค้าอาวุธใด ๆ ต่อรัฐบาลทหาร ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ในการขายอาวุธของตน ตามรายงานของสื่อมวลชน

นางมิเชล บาเชเลต์ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564 ว่า “อาวุธสงครามยังคงถูกนำไปใช้ในชุมชนและเมืองต่าง ๆ เพื่อปราบปรามการต่อต้าน” “เสถียรภาพและเส้นทางสู่ประชาธิปไตยและความเจริญรุ่งเรืองของเมียนมาต้องถูกสังเวยไปในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเพื่อพัฒนาความทะเยอทะยานของชนชั้นนำทางทหารที่ได้รับอภิสิทธิ์และก้าวร้าว ผลกระทบระดับชาติเป็นเรื่องที่เลวร้ายและน่าเศร้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมากในระดับภูมิภาคด้วยเช่นกัน”

ประชาคมประชาธิปไตยทั่วโลกรวมถึงสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่อบุคคลและบริษัทที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ซึ่งรู้จักกันในนามตะมะดอ ตลอดจนเรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมถึงผู้นำที่ถูกคุมขัง กลับคืนสู่อำนาจโดยทันที ในขณะเดียวกัน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนได้แต่งตั้งอุปทูตพิเศษเพื่อพยายามเสนอมติในเมียนมา ซึ่งเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศสมาชิก

แม้ว่าจะมีวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่เลวร้ายลง ซึ่งรวมถึงการสังหารผู้คนมากกว่า 1,100 ชีวิตโดยกองกำลังความมั่นคงตั้งแต่การรัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ แต่ “สหประชาชาติไม่มีท่าทีจะดำเนินการใด ๆ ที่มีนัยสำคัญต่อผู้ปกครองใหม่ของเมียนมาเนื่องจากผู้ปกครองดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากจีนและรัสเซีย” ซึ่งเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่มีอำนาจยับยั้ง ตามรายงานของดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรสในช่วงปลายเดือนกันยายน

ในเดือนมิถุนายน จีนและรัสเซียงดออกเสียงในการลงมติของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับมติที่ไม่ผูกมัดในการประณามการรัฐประหารและเรียกร้องให้มีการห้ามค้าอาวุธ ซึ่งได้รับการอนุมัติโดย 119 ประเทศจาก 193 ประเทศสมาชิก ตามรายงานของดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส มติดังกล่าวจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อให้มีผลผูกพัน

รายงานของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์มระบุว่า ในช่วงพ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2561 จีนและรัสเซียเป็นผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะมะดอ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 44.2 และร้อยละ 43 ของการนำเข้าอาวุธทางทหาร ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ส่วนตัวของประเทศดังกล่าวได้ขยายออกไปมากกว่าการขายอาวุธที่มีรายได้สูง

จีนมีการลงทุนขนาดใหญ่ในโครงสร้างพื้นฐานของเมียนมา ซึ่งรวมถึงท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และการทำเหมืองแร่หายากที่ใช้ในอุปกรณ์ทางทหารและผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เจ้าหน้าที่จีนประกาศเปิดเส้นทางการค้าที่เชื่อมโยงเมืองท่าย่างกุ้งของเมียนมากับมณฑลยูนนานที่อยู่ติดชายแดนจีน เพื่อให้จีนสามารถเข้าถึงมหาสมุทรอินเดียได้ ตามรายงานของรอยเตอร์ (ภาพ: ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารในกรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ประณามการสนับสนุนของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีต่อรัฐบาลทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2564)

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า โครงการเหล่านี้ช่วยอธิบายถึงการปิดกั้นของจีนต่อแถลงการณ์ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ประณามการรัฐประหารเพียงหนึ่งวันหลังจากการโค่นล้มรัฐบาล ท่าทีไม่แทรกแซงของจีนโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ “ได้สนับสนุนการโจมตีอย่างรุนแรงของผู้นำรัฐบาลทหารต่อพลเรือนที่ประท้วงการยึดอำนาจของคณะรัฐประหาร” ดังที่ระบุไว้ในการวิเคราะห์เมื่อเดือนมิถุนายนที่เผยแพร่โดยสถาบันเพื่อสันติภาพสหรัฐอเมริกา

“แต่การสนับสนุนจากรัสเซียก็ไม่น้อยหน้าในแง่ของการจัดหายุทโธปกรณ์ทางทหาร การป้องกันการยับยั้งของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทหารพม่าหรือเมียนมาด้านวิศวกรรมอาวุธ เทคโนโลยีสารสนเทศ และวิทยาการทางทหารอื่น ๆ” นายมอง ซาร์นี นักเคลื่อนไหวชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร เขียนในบทความเรื่อง “แกนกลางแห่งความชั่วร้าย: เหตุใดรัสเซียและจีนจึงปกป้องระบอบการปกครองทางทหารของเมียนมา” ซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ในเว็บไซต์โพลิติกส์ทูเดย์

ด้วยพันธมิตรเพียงเล็กน้อยในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก การสนับสนุนตะมะดอของรัสเซียทำให้รัสเซียเป็น “ผู้ยึดมั่นเชิงกลยุทธ์ในแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายซาร์นี่เขียน

เมื่อปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 รัสเซียประกาศว่าจะดำเนินการจัดส่งระบบป้องกันขีปนาวุธตามกำหนดการไปยังเมียนมา ซึ่งสามารถยิงเครื่องบิน ขีปนาวุธร่อน และอากาศยานไร้คนขับได้ ตามรายงานของรอยเตอร์

ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า ในขณะที่เงิน อิทธิพล และภูมิรัฐศาสตร์กำลังผลักดันความพยายามของจีนและรัสเซียในการแก้ไขวิกฤตด้านมนุษยธรรม ทั้งสองประเทศมีแนวโน้มที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนเองบนเส้นทางที่แตกต่างกันในเมียนมา

“ในตอนนี้ ระบอบการปกครองโดยทหารของเมียนมาสามารถพึ่งพาได้เฉพาะจีนและรัสเซียเท่านั้น” ดร. คิน ซอว์ วิน นักวิเคราะห์การเมืองกล่าวไว้บนเว็บไซต์ข่าวอิรวดี “รัสเซียได้กลายเป็นประเทศหลักที่ช่วยเหลือรัฐบาลทหาร โดยได้ยอมรับระบอบการปกครองลักษณะดังกล่าว ทั้งยังคงช่วยเหลือและขายอาวุธให้กับรัฐบาลเมียนมา ซึ่งรัสเซียจะคว้าตลาดจากจีน กองทัพเรือรัสเซียต้องการเข้าถึงมหาสมุทรอินเดีย”

 

ภาพจาก: ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button