เรื่องเด่น

เชิงยุทธศาสตร์ ศูนย์กลาง สำหรับญี่ปุ่น

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสนอโอกาสใหม่ ๆ สำหรับความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล

กลยุทธ์ทางทะเลของญี่ปุ่นโดยพื้นฐานแล้วมุ่งเน้นไปที่การเป็นหุ้นส่วนกับสหรัฐอเมริกา เพื่อรับรองว่าเส้นทางเดินเรือในอินโดแปซิฟิกที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของตนจะมีความปลอดภัยและความมั่นคง กิจกรรมส่วนใหญ่ที่ดำเนินการโดยกองกำลังรักษาความมั่งคงทางทะเลทั้งสองหน่วยงาน ได้แก่ กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นและกองกำลังรักษาชายฝั่งญี่ปุ่น ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ทะเลบริเวณใกล้เคียงญี่ปุ่นและพยายามยับยั้งการกระทำที่ก้าวร้าวของสาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ และรัสเซีย ในขณะที่ช่วยให้มีการกำกับดูแลเขตเศรษฐกิจพิเศษญี่ปุ่นที่ดี นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังส่งกองกำลังไปยังสถานที่ต่าง ๆ ตามเส้นทางเดินเรือเหล่านั้น เช่น อ่าวเอเดนและช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งการขนส่งทางเรือญี่ปุ่นนั้นอยู่ภายใต้ภัยคุกคามอย่างมีนัยสำคัญและโดยตรง สิ่งที่ที่มีความสำคัญอย่างเท่าเทียมกันต่อยุทธศาสตร์ดังกล่าวคือกิจกรรมของญี่ปุ่นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงที่มากขึ้น แต่ยังคงเป็นเส้นทางเดินเรือซึ่งมีความเปราะบางที่ผ่านไปยังและอยู่ใกล้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ รวมถึงทะเลปิด เช่น ทะเลจีนใต้ ทะเลชวา และอ่าวเบงกอล รวมถึงจุดเดินเรือสำคัญ เช่น ช่องแคบลอมบอก มะละกา สิงคโปร์ และซุนดา

ความพยายามส่วนใหญ่นี้กระตุ้นให้เกิดความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และญี่ปุ่นมีการลงทุนอย่างมากในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและขีดศักยภาพด้านความมั่นคงร่วมกับรัฐชายฝั่งของภูมิภาคเป็นเวลากว่า 50 ปี นอกจากนี้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กองกำลังรักษาชายฝั่งญี่ปุ่นยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายทางทะเลของรัฐชายฝั่ง ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้มีส่วนร่วมในการริเริ่มโครงการเสริมสร้างศักยภาพใหม่ ๆ ร่วมกับกองทัพเรือในภูมิภาค และกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้ดำเนินการทางทหารในน่านน้ำภูมิภาคมากยิ่งขึ้น

ในปัจจุบัน ทุกหน่วยงานของอำนาจรัฐญี่ปุ่นได้ลงทุนในความมั่นคงทางทะเลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคนี้จึงผนึกรวมกันเป็นศูนย์กลางใหม่ในยุทธศาสตร์ทางทะเลของญี่ปุ่น ขอบเขต เจตนารมณ์เชิงยุทธศาสตร์ และแนวโน้มในอนาคตของกิจกรรมด้านความมั่นคงทางทะเลของญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างใกล้ชิด

ยุทธศาสตร์ทางทะเลของญี่ปุ่น

ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเลของญี่ปุ่นที่จัดตั้งขึ้นอย่างมั่นคงสามารถแยกส่วนทางภูมิศาสตร์ออกได้เป็นสองส่วน โดยส่วนแรกเกี่ยวข้องกับน่านน้ำภายในญี่ปุ่น และอีกส่วนที่สองเกี่ยวกับเส้นทางเดินเรือในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านความมั่นคงที่สำคัญจากทางทิศเหนือ ตะวันตก และใต้ในทะเลใกล้เคียงของตนเอง ท่าทีของทหารปัจจุบันที่รุนแรง ข้อพิพาททางอาณาเขต และปัญหามรดกทางสงครามสร้างความกังวลด้านความมั่นคงและบังคับให้มีการร่วมมือระหว่างญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านของตน อาทิ รัสเซีย จีน และเกาหลีเหนือ

การแข่งขันกับจีนมีความตึงเครียดมากที่สุดในพื้นที่ทางทะเล กองกำลังรักษาชายฝั่งญี่ปุ่นและจีน และกองทัพเรือพยายามต่อต้านอำนาจอธิปไตย พิสูจน์ปฏิกิริยา และพยายามยืนยันการควบคุมเหนือน่านน้ำรอบหมู่เกาะเซ็งกากุอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์นี้ต้องการทรัพยากรที่สำคัญของกองเรือ ในขณะส่วนที่เหลือของทะเลจีนทางตะวันออกมีแนวยาวสำหรับการลาดตระเวนและการเฝ้าระวัง ภัยคุกคามขีปนาวุธจากเกาหลีเหนือ และการสนับสนุนของญี่ปุ่นในการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติต่อรัฐดังกล่าวทำให้กองเรือหัวหมุน กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นได้ส่งเครื่องบินขับไล่ไปเหนือน่านน้ำใกล้ญี่ปุ่นเป็นประจำ เพื่อตอบสนองต่อการปฏิบัติการบินของจีนและรัสเซีย จากสถานการณ์ที่รุนแรงยิ่งขึ้น การปกป้องสิทธิของญี่ปุ่นและการดำเนินการตามความรับผิดชอบของประเทศในทะเลและน่านฟ้าภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเลได้ครอบครองทรัพยากรทางความมั่นคงจำนวนมากของญี่ปุ่น

เจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาชายฝั่งเวียดนามมองดูเฮลิคอปเตอร์ขึ้นบินออกจากเรือของกองกำลังรักษาชายฝั่งญี่ปุ่นอิจิโกะ ระหว่างการฝึกร่วมนอกชายฝั่งเวียดนามใกล้ดานัง เอเอฟพี/เก็ตตี้อิมเมจ

ยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นในการรับรองความปลอดภัยและความมั่นคงของเส้นทางเดินเรือที่สำคัญมีองค์ประกอบสามประการ ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากการเป็นพันธมิตรสหรัฐฯ การส่งกำลังไปยังสถานที่ที่เป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุด และการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนที่พึ่งพาได้มากยิ่งขึ้นตามเส้นทางเดินเรือ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยุทธศาสตร์ทางทะเลของญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การรณรงค์ระดับชาติเพื่อมุ่งเน้นนโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นไปยังแถบอินโดแปซิฟิกที่ทอดยาวไปตามเส้นทางเดินเรือสู่ยุโรป และแอฟริกา ไม่นานหลังจาก นายชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีที่เข้ารับตำแหน่งเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2549 นายทาโร อาโซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยนั้น ได้ประกาศข้อตกลงว่าด้วยอิสรภาพและความเจริญรุ่งเรือง นโยบายต่างประเทศนี้ช่วยเติมเต็มลำดับความสำคัญที่มีอยู่ของญี่ปุ่นซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านใกล้ชิด และเสริมสร้างการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ โดยมุ่งเน้นเพิ่มเติมไปที่การส่งเสริมประชาธิปไตย และเพิ่มขีดความสามารถของข้อตกลงกับประเทศพันธมิตรที่ทอดยาวจากยุโรปเหนือ ผ่านตะวันออกกลาง ผ่านอนุทวีปอินเดีย และทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อตกลงนี้มีความสอดคล้องทางภูมิศาสตร์กับเส้นทางการค้าหลักของญี่ปุ่น แต่ขัดต่อเส้นทางการค้าทั่วทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีความมั่นคงอยู่แล้วอันเนื่องมาจากการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ นายอาเบะได้เป็นผู้นำระดับโลกคนแรกที่เน้นย้ำถึงแนวคิดทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก เมื่อนายอาเบะกล่าวต่อรัฐสภาอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2550 ในหัวข้อ “การรวมตัวกันของสองทะเล” นายกรัฐมนตรีสองคนถัดไปทั้งจากพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เมื่อพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นเป็นผู้นำรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2555 เหล่านายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายยูกิโอะ ฮาโตยามะ นายโอโตะ คาน และนายโยชิฮิโกะ โนดะ ได้ใช้นโยบายที่แตกต่างกัน แต่ยึดแนวทางนโยบายต่างประเทศนี้ไปถึงรัฐชายฝั่งของเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทันทีที่กลับคืนสู่ตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2555 นายอาเบะได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “พื้นที่รูปเพชรแห่งความมั่นคงของประเทศประชาธิปไตยในเอเชีย” ซึ่งเป็นบทนำที่กล่าวถึง “สันติภาพ เสถียรภาพ และอิสรภาพของการเดินเรือในมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นสิ่งที่แบ่งแยกไม่ได้จากสันติภาพ เสถียรภาพ และอิสรภาพของการเดินเรือในมหาสมุทรอินเดีย ญี่ปุ่น ในฐานะประเทศประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ควรมีบทบาทมากยิ่งขึ้นร่วมกับออสเตรเลีย อินเดีย และสหรัฐฯ ในการรักษาประโยชน์ส่วนรวมร่วมกันในทั้งสองภูมิภาค”

เป็นที่ชัดเจนว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นใจกลางของพื้นที่รูปเพชร และปัจจุบันยังเป็นส่วนเชื่อมต่อวิสัยทัศน์อินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างซึ่งประกาศเมื่อ พ.ศ. 2559

การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับพลเรือนญี่ปุ่นเพื่อการเสริมสร้างความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เส้นทางเดินเรือระหว่างน่านน้ำภายในญี่ปุ่น และพื้นที่ทะเลอันตรายโดยรอบของตะวันออกกลางซึ่งทอดยาวกว่า 5,000 ไมล์ทะเล (ประมาณ 9,260 กิโลเมตร) สำหรับพื้นที่ส่วนใหญ่แล้ว เส้นทางเดินเรือเหล่านี้ที่ผ่านรัฐชายฝั่งซึ่งสามารถให้การกำกับดูแลที่จำเป็น เพื่อรับรองกระแสการค้าอย่างเสรี อย่างไรก็ตาม รัฐชายฝั่งนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากในแง่ของศักยภาพทางทะเล เส้นทางเดินทะเลดังกล่าวยังห่างไกลจากอันตราย อีกทั้งผู้นำธุรกิจและผู้นำรัฐบาลอของญี่ปุ่นตระหนักต่อเหตุการณ์ที่อาจสร้างความแตกแยกจนก่อให้เกิดวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว ภัยอันตรายที่จะสร้างความกังวลให้กับญี่ปุ่นรวมไปถึงความท้าทายทางการเดินเรือที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางแคบที่มีการเดินทางผ่านหนาแน่น ความท้าทายทางสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพอากาศรุนแรงและการรั่วไหลของน้ำมัน การกระทำอันเป็นโจรสลัด การก่อการร้าย และความเสี่ยงทางสงคราม ในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีส่วนร่วมในการแก้ไขความท้าทายเหล่านี้เพิ่มยิ่งขึ้น โดยให้การสนับสนุนโครงการเสริมสร้างศักยภาพของรัฐชายฝั่งในฐานะองค์ประกอบหลักของยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเล

การเพิ่มขึ้นของการกระทำอันเป็นโจรสลัดในภูมิภาคในช่วงวิกฤตการณ์การเงินของเอเชียเมื่อ พ.ศ. 2540 กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของความพยายามในการเสริมสร้างศักยภาพของญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายทางทะเล นายเคโซ โอบุจิ นายกรัฐมนตรี เริ่มต้นการขยายตัวนี้ ณ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียนบวก 3) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 เมื่อตนพยายามแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านโจรสลัด โดยเสนอการจัดตั้งกองกำลังรักษาชายฝั่งในภูมิภาค ซึ่งเป็นการเสริมสร้างการสนับสนุนของรัฐสำหรับบริษัทขนส่งและการปรับปรุงการประสานงานในภูมิภาค

ผู้คนโบกมือขณะที่เรือพิฆาตเจเอส ทาคานามิ ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นออกจากฐานทัพเรือโยโกซูกะในญี่ปุ่น เอเอฟพี/เก็ตตี้อิมเมจ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ญี่ปุ่นได้เสนออุปกรณ์และการฝึกปฏิบัติ รวมถึงการกวดขันในการลาดตระเวนร่วมกัน หลังจากคณะผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของญี่ปุ่นเดินทางไปเยือนภูมิภาคดังกล่าว และรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพการประชุมขนาดใหญ่หลายครั้ง ความทะเยอทะยานของญี่ปุ่นจึงถูกลดขนาดลง แต่การมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้นในการบังคับใช้กฎหมายทางทะเลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมาถึงอย่างรวดเร็ว ใน พ.ศ. 2543 กองกำลังรักษาชายฝั่งญี่ปุ่นได้เริ่มจัดตั้งตำแหน่งในต่างประเทศอย่างถาวรสำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อสนับสนุนกองกำลังรักษาชายฝั่งในภูมิภาค (เริ่มต้นด้วยกองกำลังรักษาชายฝั่งฟิลิปปินส์ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้น) และใน พ.ศ. 2544 กองกำลังรักษาชายฝั่งญี่ปุ่นได้เริ่มต้นการฝึกปฏิบัติการกับกองกำลังรักษาชายฝั่งในภูมิภาค (เริ่มต้นด้วยฟิลิปปินส์และไทย) ใน พ.ศ. 2549 ความพยายามทางการทูตของญี่ปุ่นเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อการต่อต้านโจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธในเอเชีย

แง่มุมสำคัญเกี่ยวกับการสนับสนุนด้านความมั่นคงทางทะเลของญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ การขนส่งเรือลาดตระเวนไปยังหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายทางทะเลในภูมิภาค รวมถึงเรือประมงดัดแปลง เรือลาดตระเวนญี่ปุ่นที่ปลดประจำการแล้ว และเรือลำใหม่ ๆ ซึ่งได้รับจัดหาจากมูลนิธิเอกชนของญี่ปุ่นผ่านการกู้ยืมจากรัฐบาลและเป็นความช่วยเหลือโดยตรง ตัวอย่างเบื้องต้นคือ การย้ายถิ่นฐานไปยังอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ในช่วงกลางทศวรรษ 2020 (พ.ศ. 2563-2572) เนื่องจากเรือเหล่านี้มีเกราะป้องกัน การถ่ายโอนจึงอยู่ภายใต้หลักการสามประการของญี่ปุ่นเกี่ยวกับการส่งออกอาวุธและคู่ค้าที่ได้รับจะสามารถใช้เพื่อการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัด และการต่อต้านการก่อการร้ายได้เท่านั้น การผ่อนคลายหลักการสามประการเมื่อ พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2557 ทำให้กระบวนการนโยบายดังกล่าวมีความคล่องตัวมากขึ้น และญี่ปุ่นได้ขยายโครงการจัดหาเรือลาดตระเวนของตนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กองกำลังรักษาชายฝั่งและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทางทะเลในกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาเลา ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และเวียดนาม ได้รับเรือลาดตระเวนจากญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบันนี้

การปฏิบัติการของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การส่งกำลังเรือของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นในระยะแรก มีวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงในการสร้างผลกระทบต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสอดคล้องกับความพยายามและกรอบความร่วมมือพหุภาคี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 เรือและอากาศยานของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในกองกำลังระหว่างประเทศที่ตอบสนองต่อสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2548 กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้เข้าร่วมพิธีเปิดการฝึกทางทะเลในการประชุมกองทัพเรือภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งจัดโดยกองทัพเรือสิงคโปร์ และเจ้าหน้าที่กองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่นได้เข้าร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการบรรเทาภัยสึนามิ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงส่วนหนึ่งเข้าร่วมการฝึกทางทหารคอบร้าโกลด์ระหว่างไทยและสหรัฐฯ ตั้งแต่นั้นมา การฝึกปฏิบัติการทางทะเลที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรพหุภาคี เช่น การประชุมกองทัพเรือภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก การประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจามีการจัดบ่อยขึ้น และกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้เข้าร่ว
มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งกองกำลังขนาดใหญ่ที่สุดเข้าร่วมเป็นส่วนใหญ่ การฝึกปฏิบัติทางทะเลหลายประเทศเหล่านี้มักจะค่อนข้างเรียบง่าย และมุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นมากกว่าการเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติงาน ณ ขณะที่มีนัยสำคัญจากมุมมองทางการทูตกลาโหม หลายประเทศให้ความสำคัญต่อการรับมือกับภัยพิบัติมากกว่าความกังวลด้านความมั่นคงดั้งเดิม

แนวทางปฏิบัติสำหรับโครงการด้านกลาโหมของญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2553 กลายเป็นนโยบายสำคัญฉบับแรกที่ระบุว่า กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นจะเริ่มปฏิบัติภารกิจเสริมสร้างศักยภาพร่วมกับกองทัพต่างประเทศ การปฏิบัติการแรกภายใต้นโยบายนี้คือ การส่งกองเรือของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2553 เพื่อดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพในกัมพูชาและเวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกกับสหรัฐฯ ตั้งแต่นั้นมา กองเรือของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้เข้าร่วมในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกเป็นประจำทุกปี ยกเว้นใน พ.ศ. 2554 เมื่อเรือเหล่านี้ได้เข้าสนับสนุนปฏิบัติการรับมือภัยพิบัติภายในประเทศขณะเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ เมื่อ พ.ศ. 2555 ญี่ปุ่นดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพทวิภาคีครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นการสัมมนาด้านการแพทย์ใต้น้ำที่กองทัพเรือเวียดนามจัดขึ้น กิจกรรมทวิภาคีครั้งที่สองเป็นการสัมมนาซึ่งมุ่งเน้นไปที่สมุทรศาสตร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ณ ศูนย์ปฏิบัติการทางทะเลของกองทัพเรืออินโดนีเซียในกรุงจาการ์ตา ตั้งแต่นั้นมา ญี่ปุ่นได้ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพทวิภาคีในลักษณะเดียวกันกับประเทศหุ้นส่วนทั้ง 8 ประเทศ ในหุ้นส่วนทั้ง 10 รายนี้ มีเพียงมองโกเลียที่เป็นรัฐทะเลจีนใต้หรือรัฐชายฝั่งอ่าวเบงกอล

เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับแรกของญี่ปุ่นอธิบายถึงเจตนาเชิงยุทธศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังกิจกรรมเหล่านี้ว่า “ญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือแก่รัฐชายฝั่งเหล่านี้ตลอดเส้นทางคมนาคมทางทะเลและรัฐอื่น ๆ ในการเพิ่มขีดความสามารถของการบังคับใช้กฎหมายทางทะเล และเสริมสร้างความร่วมมือกับหุ้นส่วนในเส้นทางเดินเรือที่มีผลประโยชน์ร่วมกันทางยุทธศาสตร์กับญี่ปุ่น”

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้ขยายการดำเนินงานในทะเลจีนใต้ ซึ่งแตกต่างจากการฝึกปฏิบัติพหุภาคีและกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ กิจกรรมเหล่านี้ดูเหมือนจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทางเลือกในการดำเนินปฏิบัติการทางเรือระดับสูงรอบ ๆ ทะเลจีนใต้ เนื่องจากญี่ปุ่นไม่ได้เผยแพร่สถานที่ตั้งของเรือและเรือดำน้ำของตน จึงไม่มีความชัดเจนว่าการส่งกำลังเหล่านี้เริ่มขึ้นเมื่อใด

นักวิเคราะห์บางคน รวมถึงพลเรือเอกของญี่ปุ่นที่เกษียณอายุแล้ว แย้งว่ากองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นพร้อมที่จะตอบโต้การโจมตีด้วยขีปนาวุธทิ้งตัวจากเรือดำน้ำของจีนที่อาจเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ ข้อกังวลดังกล่าวจะช่วยอธิบายถึงการที่กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นให้ความสำคัญในความร่วมมือกับฟิลิปปินส์และเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่ทอดผ่านภาคเหนือของทะเลและขนาบข้างฐานทัพเรือที่สำคัญของจีนบนเกาะไห่หนาน

ความสัมพันธ์ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นกับกองทัพเรือฟิลิปปินส์ ถือเป็นความร่วมมือที่พัฒนามากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เจ้าหน้าที่ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเริ่มสังเกตการณ์การฝึกปฏิบัติการบาลิกาตันระหว่างฟิลิปปินส์กับสหรัฐฯ เมื่อ พ.ศ. 2555 และเพิ่มการมีส่วนร่วมขึ้นในภายหลัง ใน พ.ศ. 2559 เรือดำน้ำฝึกปฏิบัติการโอยาชิโอของญี่ปุ่นได้เข้าเทียบที่อ่าวซูบิกในฟิลิปปินส์พร้อมกับเรือพิฆาตของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นสองลำ และลูกเรือของญี่ปุ่นได้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างความเชื่อมั่นกับลูกเรือของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นการจอดเทียบท่าของเรือดำน้ำของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่ฟิลิปปินส์เป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี ตั้งแต่นั้นมา เรือดำน้ำของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้เข้าเทียบที่อ่าวซูบิกบ่อยครั้งขึ้น

นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวที่ได้รับยุทโธปกรณ์ป้องกันตนเองของญี่ปุ่น การปฏิรูปนโยบายเมื่อ พ.ศ. 2557 อนุญาตให้รัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติการส่งออกด้านกลาโหมไปยังคู่ค้าทางทหาร และเมื่อ พ.ศ. 2560 เครื่องบินฝึกปฏิบัติการ ทีซี-90 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นสองลำถูกส่งไปยังกองทัพฟิลิปปินส์ ซึ่งกำหนดให้เป็นเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล ซี-90 ทีซี-90 เพิ่มเติมอีกสามลำได้รับการเคลื่อนย้ายไปเมื่อ พ.ศ. 2561

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์ด้านกลาโหมกับเวียดนาม กิจกรรมการเสริมสร้างศักยภาพของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นครั้งแรกในภูมิภาคนี้เกิดขึ้นในระหว่างการส่งเรือขนส่งสะเทินน้ำสะเทินบกเจเอส คูนิซากิ ไปยังเมืองกวีเญินของเวียดนาม ภายใต้ความคุ้มครองความเป็นหุ้นส่วนแปซิฟิกเมื่อ พ.ศ. 2553 ในขณะมุ่งเน้นที่กิจกรรมการรักษาทางการแพทย์และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การเข้าเทียบครั้งนี้ยังรวมถึงการใช้พาหนะสะเทินน้ำสะเทินบกลงจอดที่ชายหาดของเวียดนาม ในปีถัดไป เวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น เพื่อการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไม่ได้รับการอำนวยความสะดวกในฐานะส่วนหนึ่งของกิจกรรมของสหรัฐฯ หรืองานพหุภาคี ตั้งแต่นั้นมา ความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงเติบโตขึ้น แม้ว่าจะยังไม่ถึงระดับที่รวมถึงการฝึกปฏิบัติหรือการดำเนินการด้านกลาโหมทวิภาคี

การส่งเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ประจำปี เช่น เจเอส อิซุโมะ สำหรับการส่งในรอบหลายเดือนไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งป้องกันอย่างมิดชิดด้วยลักษณะที่หลากหลายทางธรรมชาติจากกิจกรรมของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นในภูมิภาคดังกล่าว เมื่อ พ.ศ. 2559 ในช่วงแรกของการประจำการเรือเหล่านี้ เจเอส อิเสะ เป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดในการฝึกปฏิบัติการภายใต้รหัสโคโมโด ซึ่งอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพและมีหลายประเทศเข้าร่วม จากนั้น เรือจึงล่องไปยังทะเลจีนใต้พร้อมกับคณะนักเรียนทหารเรือโดยออกจากการประชุมกองทัพเรือภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกสำหรับการฝึกอบรม ในขณะที่ทำการฝึกล่องเรือผ่านแบบไตรภาคีร่วมกับกองทัพเรือออสเตรเลียและเรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ หลังจากการเยือนมะนิลาด้วยไมตรีจิต เรือเจเอส อิเสะ ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ที่สุดได้มีส่วนร่วมในการฝึกภาคสนามด้านความมั่นคงทางทะเล/การต่อต้านการก่อการร้ายของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งเริ่มขึ้นในบรูไนและสิ้นสุดลงในสิงคโปร์ ปีถัดมา เจเอส อิสึโมะ ซึ่งเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น ได้จัดวางกำลังในลักษณะเดียวกันกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งประกอบด้วย โครงการฝึกอบรมด้านความมั่นคงทางทะเลสำหรับเจ้าหน้าที่จากกองทัพเรืออาเซียนในขณะที่เรืออยู่ในทะเลจีนใต้ การเป็นเรือรับรองให้นายโรดรีโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ระหว่างการเยือนท่าเรือที่กรุงมะนิลา ร้องขอความช่วยเหลือจากศรีลังกา และการฝึกซ้อมสองวันกับเรือจากออสเตรเลีย แคนาดา และสหรัฐฯ ที่รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้ามดาดฟ้าเรือและการยิงปืนด้วยกระสุนจริง การวางกำลังที่คล้ายกันใน พ.ศ. 2561 ของเจเอส คากะ และ พ.ศ. 2562 ของเจเอส อิสึโมะ ผสมผสานปฏิบัติการฝ่ายเดียวในทะเลจีนใต้ การฝึกกับสหรัฐฯ และกองทัพเรืออื่น ๆ การสนับสนุนโครงการความมั่นคงทางทะเลพหุภาคี และการสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีกับหุ้นส่วนในภูมิภาค

เส้นทางในอนาคตสำหรับการมีส่วนร่วมของญี่ปุ่นในด้านความมั่นคงทางทะเลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะแบบผสมผสานของการวางกำลังเรือหลวงของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นไปยังน่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายทางทะเลหลายแง่มุมในภูมิภาคนี้ ญี่ปุ่นกำลังขยายโครงการริเริ่มด้านการเสริมสร้างศักยภาพที่มีมาหลายทศวรรษในภูมิภาค เพื่อให้ครอบคลุมมิติทางทหาร กิจกรรมเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับรัฐชายฝั่งที่มีความสามารถมากขึ้นตามแนวชายฝั่งทะเลอินโดแปซิฟิกของญี่ปุ่น ในบางครั้ง กิจกรรมทางทะเลเหล่านี้ถือเป็นความก้าวหน้าที่ค่อยเป็นค่อยไปของนโยบายอันยาวนานของญี่ปุ่นในการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพทางทะเล อย่างไรก็ตาม การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดด้านนโยบายภายในประเทศของญี่ปุ่นที่กำลังหละหลวม และความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้นของหุ้นส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านให้กองกำลังญี่ปุ่น ขีดความสามารถและพฤติกรรมเชิงรุกรานทางทะเลที่เพิ่มขึ้นของจีนได้เร่งรัดวิถีนี้ เนื่องจากญี่ปุ่นพึ่งพาทะเลจีนใต้อย่างมากและข้อกังวลว่าการรณรงค์ของจีนเพื่อยืนยันอธิปไตยในที่แห่งนั้นเกี่ยวข้องอย่างมากกับการรณรงค์ต่อต้านญี่ปุ่นในทะเลจีนตะวันออก

เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดของญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและความมั่นคงอย่างยั่งยืนของเส้นทางเดินเรือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สำคัญยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นได้ขยายขอบเขตความท้าทายด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคที่ญี่ปุ่นมีโดยตรง และหน่วยงานที่ญี่ปุ่นระดมความช่วยเหลือในความพยายามครั้งนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาหรือมากกว่านั้น หน่วยงานเหล่านี้ได้รวมถึงกระทรวงกลาโหมและกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นด้วย กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นในตอนนี้ได้ส่งกำลังไปยังทะเลจีนใต้อยู่เป็นประจำ และมีบันทึกการฝึกซ้อมสงครามระดับสูงกับสหรัฐฯ และกองทัพเรือนอกภูมิภาคอื่น ๆ ในน่านน้ำที่มีข้อพิพาท กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นมีส่วนร่วมสำคัญในการฝึกพหุภาคีของภูมิภาค และได้ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพทวิภาคีกับกองทัพเรือในภูมิภาค กิจกรรมเหล่านั้นคาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อไปด้วยปัจจัยข้อจำกัดหลัก คือความพร้อมของเรือและทรัพยากรของกองเรืออื่น ๆ

จนถึงตอนนี้ การมีส่วนร่วมแบบทวิภาคีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทั้งหมดถูกจำกัดให้อยู่ในกิจกรรมด้านไมตรีจิต และโครงการขนาดเล็กที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างศักยภาพด้านความมั่นคงของหุ้นส่วนในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าญี่ปุ่นจะมีส่วนร่วมมากขึ้นในการช่วยเหลือรัฐในภูมิภาคด้วยขีดความสามารถด้านกลาโหมทางทหาร ข้อตกลงในการส่งเรดาร์ป้องกันภัยทางอากาศใหม่ไปยังฟิลิปปินส์เป็นแบบอย่างของเรื่องนี้ การรุกรานทางทะเลอย่างต่อเนื่องของจีนจะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ แต่ญี่ปุ่นจะยังคงมีความกังวลจากภัยคุกคามทางทะเลอื่น ๆ และพยายามเพิ่มความหลากหลายของความสัมพันธ์ด้านกลาโหมนอกเหนือไปจากการพึ่งพาสหรัฐฯ

เมื่อกระทรวงกลาโหมและกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ของญี่ปุ่นในฐานะผู้มีส่วนร่วมโดยตรงในความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นศูนย์กลางใหม่ในยุทธศาสตร์ทางทะเลของญี่ปุ่นอย่างชัดเจน เป็นเรื่องสำคัญสำหรับรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะตระหนักว่า เมื่อความยับยั้งชั่งใจของญี่ปุ่นผ่อนคลายลง รัฐเหล่านั้นจะเผชิญกับการตัดสินใจในระดับที่ใหญ่ขึ้นเกี่ยวกับลักษณะและขอบเขตของความสัมพันธ์ด้านกลาโหมที่ตนปรารถนาจากทางญี่ปุ่น

ศูนย์ความมั่นคงทางทะเลระหว่างประเทศเผยแพร่บทความนี้เป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 บทความนี้มีการเรียบเรียงเนื้อหาเพื่อให้เหมาะสมกับการนำเสนอของ ฟอรัม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button