ติดอันดับ

อินโดนีเซียใช้แนวทางเชิงกลยุทธ์ในการยกระดับและทดแทนสินทรัพย์ด้านกลาโหม

ทอม แอบกี

การปรับปรุงด้านกลาโหมของอินโดนีเซียให้ทันสมัยนั้นพัฒนาขึ้นจากความพยายามที่มุ่งเน้นการยกระดับคลังทรัพย์สินในวงกว้างให้เป็นแนวทางเชิงกลยุทธ์ ซึ่งให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษาขีดความสามารถ ตามรายงานของนักวิเคราะห์และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ทั้งสองระบุว่า การเปลี่ยนแปลงคำนึงถึงปัจจัยภัยคุกคามและสภาพปัจจุบัน ความร่วมมือและความเป็นจริงด้านงบประมาณ

เจ้าหน้าที่กล่าวว่า จะมีการจัดหาสินทรัพย์ขนาดใหญ่รวมถึงเรือฟริเกตและเครื่องบินขับไล่ตามกำหนดการในขั้นตอนที่สามและขั้นตอนสุดท้ายของโครงการกำลังรบจำเป็นขั้นต่ำของประเทศ โดยมีแนวทางใหม่ที่จะเป็นตัวชี้นำในการดำเนินการต่อไป

“มีการพูดคุยอย่างต่อเนื่องระหว่างกระทรวงกลาโหมและสำนักงานใหญ่บริการเกี่ยวกับวิธีการก้าวไปข้างหน้าด้วยรูปแบบใหม่เพื่อแทนที่โครงการกำลังรบจำเป็นขั้นต่ำ” นายอีวาน ลักส์มานา นักวิเคราะห์ด้านกลาโหมที่สถาบันยูซอฟอิสฮะก์ในสิงคโปร์ กล่าวกับ ฟอรัม นายลักส์มานากล่าวว่า การแทนที่หรือยกระดับระบบเป็นความสำคัญลำดับสูงสุด จากนั้นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การเสริมสร้างขีดความสามารถให้ตรงตามความต้องการเชิงปฏิบัติการ เช่น ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ การละเมิดลิขสิทธิ์ การประมงผิดกฎหมาย และการรุกล้ำพรมแดน

นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย กำลังขับเคลื่อนแนวทางการปรับปรุงให้ทันสมัย ในช่วงปลาย พ.ศ. 2563 นายปราโบโว ซูเบียนโต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย ได้จัดทำแผนแม่บทระยะเวลา 25 ปีเพื่อส่งมอบ “ขีดความสามารถด้านกลาโหมทั้งหมด” ตามรายงานของเทมโป ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข่าวสารออนไลน์ในกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย (ภาพ: นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ตรวจเยี่ยมกำลังพลระหว่างพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 74 ปีของกองทัพของประเทศในกรุงจาการ์ตาเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562)

แม้ว่างบประมาณกลาโหมของประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ถึง “การจัดสรรเพดานการใช้จ่าย” ที่ประมาณ 9.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.12 แสนล้านบาท) ใน พ.ศ. 2564 แต่จำเป็นต้องมีการจัดหาเงินกู้ต่างประเทศจำนวนหนึ่งเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามกำหนดการจัดหาในปัจจุบัน ตามรายงานของเทมโป

กองทัพอากาศอินโดนีเซียวางแผนที่จะซื้อเครื่องบินขับไล่ดัสโซ ราฟาเลอ และโบอิ้ง เอฟ-15อีเอ็กซ์ แอดวานซ์ อีเกิล จำนวนอย่างละ 36 ลำ เครื่องบินขนส่งซี-130เจ ซูเปอร์ เฮอคิวลิส ของบริษัทล็อกฮีดมาร์ตินจำนวน 15 ลำ และเครื่องบินขนส่งบรรทุกน้ำมันอเนกประสงค์แอร์บัส เอ330 จำนวน 2 ลำในช่วงสี่ปีข้างหน้า ตามรายงานของเว็บไซต์ข่าวกลาโหมเจนส์ ในขณะเดียวกัน กองทัพเรืออินโดนีเซียได้ประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ว่าจะมีการซื้อเรือฟริเกตจำนวน 8 ลำจากอิตาลี กองทัพเรืออินโดนีเซียยังอยู่ภายใต้สัญญาซื้อเรือดำน้ำไทป์ 209 ชั้นนากาพาซา จำนวน 3 ลำจากเกาหลีใต้

นายลักส์มานากล่าวว่า ความจำเป็นของอินโดนีเซียที่จะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ด้านกลาโหมที่เริ่มล้าสมัยนั้นแสดงออกมาให้เห็นชัดอย่างน่าอนาถา เมื่อเรือดำน้ำเคอาร์ไอนังกาลาที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากความล้มเหลวทางกลไกระหว่างการฝึกซ้อมเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ทำให้ลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมด 53 คน

นายลักส์มานาคาดว่าแผนแม่บทฉบับใหม่จะรวมการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการเพื่อการลาดตระเวณหมู่เกาะและเส้นทางน้ำของประเทศที่มีอยู่ โดยร่วมมือกับกองทัพของประเทศเพื่อนบ้าน โครงการดังกล่าวประกอบไปด้วย การลาดตระเวณอินโดมาลฟิทางอากาศและทะเลที่เกี่ยวข้องกับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ กรอบการทำงานการลาดตระเวนช่องแคบมะละกาของการลาดตระเวนทางอากาศและทางทะเลและการแบ่งปันข่าวกรองที่เกี่ยวข้องกับอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย และสุดท้ายคือการจัดการความร่วมมือไตรภาคี ซึ่งลงนามโดยอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์เพื่อลดการก่อการร้ายในบริเวณทะเลซูลูด้วยการลาดตระเวนทางทะเลและทางอากาศ

“ผมคิดว่าความร่วมมือด้านความมั่นคงขนาดเล็กเหล่านี้เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง” นายนายลักส์มานากล่าว “ภัยคุกคามยังคงมีอยู่ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ภัยคุกคามเชิงกลยุทธ์ในแง่ของการดำรงอยู่ของรัฐ แต่เป็นข้อกังวลในการดำเนินงานประจำวันที่เรามีร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา”

ทอม แอบกี เป็นผู้สื่อข่าวสมทบของฟอรัม รายงานจากประเทศสิงคโปร์

 

ภาพจาก: เอเอฟพี/เก็ตตี้อิมเมจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button