เรื่องเด่น

ความกระหาย ในอำนาจ

แม่น้ำโขงอันไพศาล จะต้านทานเขื่อนขนาดใหญ่ของจีนได้หรือไม่

เจ้าหน้าที่ ฟอรัม

เป็นเวลานับปีแล้วที่การระบาดรุนแรงแพร่กระจายไปทั่วทวีป ก่อนข้ามมาฝั่งมหาสมุทรและทะเล ปีที่ราคาน้ำมันตกต่ำและการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยปะทุขึ้นในฮ่องกง ทั้งการรำลึกอีกครั้งถึงนักศึกษาและผู้ประท้วงคนอื่น ๆ ซึ่งถูกสังหารหมู่ในเหตุการณ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน

ใน พ.ศ. 2557 ปีแห่งความหวาดกลัวต่อการระบาดของโรคอีโบลา เศรษฐกิจโลกที่สั่นคลอน และสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ไร้ซึ่งความปรานี

ในปีที่เลวร้ายนั้นมีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นซึ่งผู้คนไม่ค่อยกล่าวถึง นักวิทยาศาสตร์ได้ประกาศว่ามีการค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ 139 สายพันธุ์ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึง “สิ่งมีชีวิตร้าย” ที่มีพิษซึ่งเมื่อต่อยแมลงสาบจะทำให้แมลงสาบกลายเป็นซอมบี้ก่อนจะกลืนกินทั้งเป็น

เขื่อนไซยะบุรีในประเทศลาวที่ตั้งอยู่บนพื้นที่อื่น ๆ
ตามแนวแม่น้ำโขงอันกว้างใหญ่ก่อสร้างมาเข้าปีที่สองแล้ว ขณะที่ในแถบลุ่มน้ำหลายร้อยกิโลเมตร มีทีมเตรียมการเพื่อเริ่มสร้างเขื่อนพลังน้ำอีกแห่งที่ดอนสะโฮง บริเวณใกล้ชายแดนลาวกับกัมพูชา

ในขณะเดียวกัน ผู้นำจากกัมพูชา ลาว ไทย และประเทศเจ้าภาพได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในรอบสี่ปี ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ประเทศสมาชิกของคณะกรรมาธิการได้รับมอบหมายให้จัดทำหลักสูตรเพื่อความยั่งยืนของแม่น้ำดังกล่าว การเกิดขึ้นของการประชุมสุดยอด: เขื่อนขนาดใหญ่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนผู้ซึ่งกระหายในอำนาจได้สร้างขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และโครงการพลังน้ำอื่น ๆ ที่มีการวางแผนไว้อีกหลายสิบโครงการ ซึ่งหลายโครงการเหล่านั้นได้รับทุนและสร้างโดยจีน โดยถือว่าเป็นการคุกคามแม่น้ำ ภูมิภาค และประชาชนในพื้นที่แห่งนั้น

หากปราศจากการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เข้มงวด ซึ่งมีการกล่าวถึงบทความหนึ่งเกี่ยวกับการประชุมสุดยอดในนิตยสารออนไลน์ เดอะดิโพลแมต ว่า “ใน พ.ศ. 2557 จะได้รับการจดจำว่าเป็นจุดเปลี่ยนอันน่าสลดใจของแม่น้ำสายสำคัญที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ รวมถึงการประมงและเกษตรกรรมในภูมิภาคจะค่อย ๆ หายไป”

“แม่น้ำ”

ในช่วงเจ็ดปีหลังการประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงและศตวรรษที่สี่นับตั้งแต่มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาล อนาคตของแม่น้ำโขงจะเป็นไปในทิศทางใด “แม่น้ำ” ที่เรียกกันในภาษาไทยนี้จะยังคงเป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงที่ไม่อาจทดแทนได้ ซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์แห่งชีวิตสำหรับภูมิภาคหรือไม่ การจะเผชิญหน้ากับความท้าทายที่มนุษย์สร้างขึ้นและจากธรรมชาตินั้นเป็นไปได้ยากมาก

เขื่อนไซยะบุรีและดอนสะโฮงได้เริ่มดำเนินการเพียงไม่กี่เดือนหลังการเปลี่ยนปฏิทินจาก พ.ศ. 2562 เป็น พ.ศ. 2563 และไม่นานทั้งโลกก็ต้องต่อสู้กับการระบาดใหญ่ ความตื่นตระหนกทางเศรษฐกิจ และการประท้วงทางการเมืองอีกครั้ง จากข้อมูลของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เขื่อนสายหลักอีก 11 แห่งกำลังดำเนินการตามแนวลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเขื่อนทั้งหมดอยู่ที่แม่น้ำโขงตอนบนของจีนโดยมีชื่อเรียกแม่น้ำนี้ว่า หลานชาง ในช่วงกลาง พ.ศ. 2563 คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงรายงานว่า จีนได้วางแผนสร้างเขื่อนสายหลักอีก 11 แห่งที่แม่น้ำโขงตอนบน รวมถึงอีกหนึ่งแห่งซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง นอกจากเขื่อนไซยะบุรีและดอนสะโฮงแล้ว ยังมีการวางแผนสร้างเขื่อนสายหลักอีก 9 แห่งตามแนวลุ่มน้ำโขงตอนล่าง รวมถึงข้อเสนอสี่ฉบับซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการแจ้งเตือน การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลงของคณะกรรมาธิการ กระบวนการนั้นนำไปใช้กับ “การชลประทานและการพัฒนาพลังน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม การไหลของน้ำ และคุณภาพของแม่น้ำโขงสายหลัก”

เส้นทางน้ำอันแห้งแล้งตามแนวแม่น้ำโขงก่อให้เกิดเสียงคัดค้านอย่างรุนแรงจากนักอนุรักษ์และชาวบ้านเกี่ยวกับเขื่อนไซยะบุรีที่เพิ่งเปิดใหม่ในประเทศลาวเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 แม่น้ำแห่งนี้เปรียบเสมือนสายโลหิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตในภูมิภาคนี้ เอเอฟพี/เก็ตตี้อิมเมจ

ผลกระทบเป็นระลอกจากโครงการดังกล่าวที่มีต่อแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดอันดับที่ 12 ของโลกนั้นเกิดขึ้นจริง ตามการวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ซึ่งมีการใช้มาตรวัดความสูงของแม่น้ำในแต่ละวันและข้อมูลดาวเทียมที่เก็บรวบรวมมาเกือบ 30 ปี นักวิจัยจาก อายส์ ออน เอิร์ธ และ แอปพลิเคชันดาวเทียมสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งให้คำปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ได้พัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์เพื่อพิจารณาว่า “เขื่อนที่สร้างบนแม่น้ำโขงตอนบนเปลี่ยนกระแสน้ำของแม่น้ำตามธรรมชาติ” ไปอย่างไร

รายงานที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เรื่อง “การติดตามปริมาณน้ำที่ไหลผ่านลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนภายใต้สภาวะ (ซึ่งไม่มีสิ่งกีดขวาง) ตามธรรมชาติ” พบว่า

  • ใน พ.ศ. 2562 แม่น้ำโขงตอนล่างทำสถิติเป็นแม่น้ำซึ่งมีระดับน้ำต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีมา แม้ว่าจะมีน้ำไหลตามธรรมชาติจากแม่น้ำโขงตอนบนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยก็ตาม
  • “การขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในแม่น้ำโขงตอนล่าง … ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบมาจากการจำกัดน้ำที่ไหลจากแม่น้ำโขงตอนบน”

เขื่อนขนาดใหญ่ 11 แห่งของจีนตามแนวแม่น้ำโขงตอนบนสามารถกักเก็บน้ำรวมกันในอ่างเก็บน้ำไว้ได้เกือบ 4.8 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร นักวิจัยระบุว่า “เขื่อนต่าง ๆ นั้นต้องอาศัยขีดความสามารถเชิงองค์กรเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในการควบคุมการไหลของแม่น้ำ โดยจะสร้างผล กระทบต่อปลายน้ำที่เกี่ยวข้องกันซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยการแก้ปัญหาแบบองค์รวม”

สำหรับผู้เชี่ยวชาญบางรายแล้ว รายงานของ อายส์ ออน เอิร์ธ ยิ่งทำให้เกิดความกังวลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

“ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงปริมาณน้ำที่เขื่อนต้นน้ำของจีนปิดกั้นเอาไว้ แม้ว่าประเทศปลายน้ำจะประสบกับความแห้งแล้งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน” นายไบรอัน ไอเลอร์ นักวิจัยอาวุโสและผู้อำนวยการโครงการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของศูนย์วิจัยสติมสัน เซ็นเตอร์ เขียนลงบทความเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ในนิตยสารฟอเรนโพลิซี

“จากภัยแล้งครั้งใหญ่ที่ผ่านมา 10 ครั้งในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง มี 8 ครั้งที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่จีนเริ่มก่อสร้างเขื่อนแรก” นายไอเลอร์ ผู้เขียนหนังสือ วาระสุดท้ายของแม่น้ำโขงอันยิ่งใหญ่ เขียนลงบทความอื่น ๆ ในเดือนเดียวกับบนเว็บไซต์ของศูนย์วิจัย

โดยหลักแล้ว ตามพาดหัวบทความของศูนย์วิจัยสติมสันระบุว่า จีนได้ “ปิดก๊อก” แม่น้ำโขง ซึ่งทำให้ประเทศที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำขาดทรัพยากรที่มีค่าที่สุดและปล่อยให้รัฐอธิปไตยเหล่านั้นเสี่ยงต่อการถูกทอดทิ้ง

ชีวิตผู้คนมากมาย

แม่น้ำโขงคือสายโลหิตแห่งชีวิตของภูมิภาค แม่น้ำแห่งนี้ไหลลงสู่เขตที่ราบสูงทิเบตซึ่งเรียกว่าเป็น “หลังคาของโลก” โดยทอดยาวกว่า 4,300 กิโลเมตรผ่านจีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนจะไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ ตลอดเส้นทางของแม่น้ำโขงมีพื้นที่ใหญ่กว่าไทยและลาวรวมกัน ทั้งยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาและพืชผลต่าง ๆ ที่ช่วยค้ำจุนผู้คนในภูมิภาคนี้มาเป็นเวลานับพันปี

แม่น้ำโขง หรือการประมงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นแหล่งน้ำจืดร้อยละ 25 ของโลกและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำมากกว่า 1,000 สายพันธุ์ ตั้งแต่โลมาอิรวดีที่ใกล้สูญพันธุ์ไปจนถึงปลาบึกที่มีน้ำหนักพอ ๆ กับหมีกริซลี ตามรายงานขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ระบุว่า ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้รับการขนานนามว่าเป็น “ชามข้าว” ของเอเชียที่หล่อเลี้ยงชีวิตและการดำรงชีพของผู้คนประมาณร้อยละ 80 ของประชากร 300 ล้านคนในภูมิภาคนี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ถึง 2557 นักวิจัยได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่โดยเฉลี่ยประมาณสามสายพันธุ์ในทุกสัปดาห์

ตามรายงานขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ระบุว่า ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนซึ่งรวมถึงโครงการพลังน้ำ จึงทำให้แม่น้ำโขงที่น่ามหัศจรรย์นี้ “เป็นหนึ่งในพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่สุดในโลก”

ตามรายงานประจำ พ.ศ. 2553 ที่จัดทำขึ้นสำหรับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงของศูนย์การจัดการสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ระบุว่า เขื่อน 80 แห่งหรือมากกว่านั้นที่วางแผนก่อสร้างตามแนวแม่น้ำโขงและแควน้ำ รวมถึงโครงการพลังน้ำสายหลัก สามารถทำลายการประมงในภูมิภาคให้หมดไปได้ภายใน พ.ศ. 2573 การเพาะเลี้ยงปลาในลุ่มแม่น้ำอาจดิ่งลงมากกว่าร้อยละ 40 จากระดับ 2000 ซึ่งเป็นการคุกคามโภชนาการและอาชีพของผู้คนนับล้าน อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงด้านอาหารเพิ่มขึ้น

ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2538 เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้งสี่ประเทศร่วมมือกัน “ในลักษณะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมสำหรับการพัฒนา การใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์ และการจัดการน้ำในลุ่มแม่น้ำโขงและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืน”

ตามรายงานของคณะกรรมการ ระบุว่า ความพยายามร่วมมือในการปกป้องแม่น้ำโขงเริ่มขึ้นในช่วงสี่ทศวรรษก่อน เมื่อนักวิจัยยังคงสำรวจแม่น้ำที่ “ไม่น่าสนใจ” จากพื้นที่ไกล ๆ “และมีสัญญาณน่าสนใจที่จะใช้ประโยชน์จากศักยภาพทางเศรษฐกิจของแม่น้ำแห่งนี้” คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงที่ได้รับการสนับสนุนโดยสหประชาชาติจัดตั้งขึ้นเนื่องด้วย “ความรับผิดชอบสำหรับการจัดหาเงินทุน การจัดการ และการบำรุงรักษาทรัพยากรน้ำ” โดยกรรมาธิการได้เปลี่ยนมาเป็นคณะกรรมาธิการในที่สุด

ในช่วงไตรมาสแรกของศตวรรษ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อตรวจวัดและรักษาคุณภาพของแม่น้ำโขง ตั้งแต่การเฝ้าระวังภัยแล้งและการพยากรณ์อุทกภัย ไปจนถึงแนวทางการรวบรวมตะกอนและการจัดการประมง นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยังมุ่งเน้นถึงกระบวนการให้คำปรึกษาเพื่อสนับสนุนความร่วมมือ รวมถึงการวางแผนระหว่างประเทศสมาชิกและผู้มีบทบาทในภูมิภาค เพื่อลดความเสียหายต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมจากโครงการพลังน้ำ

ทั้งนี้ ใน พ.ศ. 2562 คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงได้บรรลุ “ความร่วมมือในระดับใหม่” กับคู่เจรจาแม่น้ำโขงตอนบน ซึ่งได้แก่ จีนและพม่า นายอัน พิช หัตดา ประธานบริหารของคณะกรรมาธิการ เขียนไว้ในรายงานประจำ พ.ศ. 2562 ขององค์กร

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่การศึกษาของ อายส์ ออน เอิร์ธ นายไอเลอร์ จากศูนย์วิจัยสติมสัน เป็นหนึ่งในผู้ที่มองว่าคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงมีความสำคัญต่อการจัดการกับความไม่เท่าเทียมในการแบ่งส่วนทรัพยากรน้ำในแม่น้ำโขงตอนล่างซึ่งเกิดจากเขื่อนต้นน้ำของจีน

นายไอเลอร์ ระบุว่า “การทำงานโดยผ่านคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง … เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้นั้นเป็นหนทางที่ดีที่สุด”

การใช้น้ำเป็นอาวุธ

ระบอบการปกครองเผด็จการของจีนเต็มใจที่จะแก้ไขปัญหาด้านการเข้าถึงน้ำมากน้อยเพียงใด หากไม่เอ่ยถึงการสร้างความมั่นใจในการเข้าถึงน้ำ นี่เป็นคำถามที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตหรือความตายสำหรับประเทศที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ท้ายที่สุดแล้ว เขื่อนขนาดใหญ่ของจีนก็คือคอนกรีตขนาดใหญ่ที่สร้างกั้นเหนือแม่น้ำมาเป็นเวลาหลายทศวรรษหรือหลายศตวรรษ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอย่างปฏิเสธไม่ได้

นายไอเลอร์ ระบุว่า “แม้จะไม่สามารถทำให้เขื่อนของจีนหายไปได้ แต่จีนสามารถและควรเปลี่ยนวิธีดำเนินการกับเขื่อนเหล่านี้”

อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า จีนไม่เพียงใช้โครงการพลังน้ำของตนเพื่อกักเก็บน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่ประชาชน 1.4 พันล้านคนเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นเครื่องต่อรองเพื่อขยายอิทธิพลในภูมิภาคเพื่อเป้าหมายของตนเอง ซึ่งเปรียบเสมือนการใช้น้ำเป็นอาวุธ

“แม้มีความสนใจอย่างมากกับยุทโธปกรณ์ทางทหารใหม่ที่น่าเกรงขามของประเทศ แต่อาวุธในคลังแสงที่น่ากลัวได้ซ่อนอยู่ภายใต้การประกาศใหญ่ นั่นคือ เขื่อน” นายยูจีน เค. โชว์ เขียนลงบทความเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 ในนิตยสาร เดอะ เนชันนอล อินเทอร์เรส

ในแต่ละปี น้ำที่ไหลมาจากจีนคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 16 ของน้ำทั้งหมดในแม่น้ำโขง แม้ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 70 ในช่วงฤดูแล้งก็ตาม

นายโชว์ ระบุว่า “จีนได้รับอำนาจมหาศาลจากการควบคุมการไหลของน้ำซึ่งเป็นเสมือนสายโลหิตหล่อเลี้ยงของภูมิภาค โดยการกระทำนี้นำไปสู่ข้อกล่าวหาการละเมิด”

การตอบสนองของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงที่มีต่อการคาดการณ์ว่าจีนจะทำสงครามโดยใช้น้ำ ไม่ได้รับการมองว่าทำอย่างเต็มที่ ในบางครั้ง คณะกรรมาธิการดูเหมือนกลุ่มคนที่เคลื่อนไหวอย่างระมัดระวังไปโดยรอบ เพื่อไม่ให้จีนผู้เป็นเจ้าของต้นน้ำบันดาลโทสะ

กรณีในประเด็น: การตอบสนองเพียงเล็กน้อยต่อการศึกษาของ อายส์ ออน เอิร์ธ

เขื่อนดอนสะโฮงที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างในลาวเริ่มดำเนินการในช่วงต้น พ.ศ. 2563 ประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชานำเข้าไฟฟ้าจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ

ในบันทึกคำอธิบายของเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 คณะกรรมาธิการกล่าวว่า นักวิจัยไม่ได้ “คำนึงถึงความซับซ้อนของปริมาณน้ำฝนและน้ำที่ไหลผ่าน” อย่างเพียงพอ และผลการศึกษานั้น “ไม่สอดคล้องกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในสถานการณ์จริง”

โดยอ้าง “ความไม่แน่นอน” ในการใช้ข้อมูลดาวเทียมของการศึกษานั้น คณะกรรมาธิการกล่าวว่า การวิเคราะห์เบื้องต้นของตน “แสดงให้เห็นว่าภัยแล้งในลุ่มน้ำเมื่อ พ.ศ. 2562 ส่วนใหญ่เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ไม่เพียงพอในช่วงฤดูฝน เนื่องจากฤดูมรสุมเข้าล่าช้าและออกฤดูเร็วขึ้น รวมถึงเหตุการณ์เอลนีโญที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างผิดปกติและการระเหยคายน้ำที่สูงขึ้น”

แต่มีการยอมรับว่าเขื่อนของจีนได้เปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของน้ำในแม่น้ำเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง คณะกรรมาธิการกล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าว “นำมาซึ่งทั้งโอกาสและความท้าทาย”

โดยมีการแนะนำว่าจำเป็นต้องร่วมมือกับจีน มากขึ้น

คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กล่าวสรุปว่า “เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงานเกี่ยวกับเขื่อนและเพื่อแสดงความร่วมมือโดยสุจริตจีนควรพิจารณาในการให้ข้อมูลเพิ่มเติม”

เช่นเดียวกับคณะกรรมาธิการ จีนก็เอาแต่ชี้นิ้วตำหนิผู้อื่น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 นายหวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศ อ้างว่า จีนได้ “เอาชนะต่อความยากลำบากต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการระบายน้ำในแม่น้ำหลานชาง และช่วยให้ประเทศบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงสามารถบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง”

ตามคำกล่าวของนายหวัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ระบุว่า “จีนจะพิจารณาเรื่องการแบ่งปันข้อมูลอุทกวิทยากับประเทศบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตลอดทั้งปีอีตกด้วย”

สำหรับหลาย ๆ คน คำกล่าวนี้คงเหมือนเป็นอีกคำสัญญาลมปากของจีน

การนำทางสู่อนาคต

การตอบสนองตามมาตรฐานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงที่มีต่อการศึกษานี้ อาจสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงทางการเมืองที่กว้างขึ้นซึ่งมีการมุ่งเน้นโดยผู้สังเกตการณ์ในภูมิภาค: การเงินของจีนและอาจมีการร้องเรียนที่ถูกปิดบังไว้

การลงทุนและโครงการก่อสร้างทั้งหมดของจีนในพม่า กัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม ใช้เงินทะลุ 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท) ในช่วง พ.ศ 2553 ถึง 2562 ตามรายงานของศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และนานาชาติ ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยในสหรัฐฯ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2563

ตามรายงานของศูนย์สติมสัน ระบุว่า ในภาคส่วนพลังงาน จีนมีส่วนร่วมในการพัฒนาร้อยละ 18 ของโครงการที่มีอยู่ ที่วางแผนเอาไว้ หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ณ พ.ศ. 2563

“จีนเป็นราชาแห่งขุนเขาเมื่อพูดถึงน่านน้ำในเอเชียเนื่องจากการควบคุมที่ราบสูงทิเบตโดยสภาพทางภูมิศาสตร์ และมีประเทศปลายน้ำเพียงเล็กน้อยที่สามารถเปลี่ยนความอำเภอใจของราชาองค์นี้” นายโจวเขียนใน เดอะ เนชันนอล อินเทอเรส

ปัจจัยอื่น ๆ ทำให้ความพยายามของจีนในการปิดกั้นการไหลของแม่น้ำสู่ปลายน้ำอ่อนกำลังลง เพื่อปฏิเสธการเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการ จีนได้ “ทำให้องค์กรอ่อนกำลังลงอย่างมีประสิทธิผล” ตามบันทึกคำวิจารณ์เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ที่เผยแพร่โดยสถาบัน รอยัล ยูไนเต็ด เซอร์วิส ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยทางกลาโหมและความมั่นคงในสหราชอาณาจักร

นอกจากนี้ ความไม่ลงรอยเรื่องพรมแดนและความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ “ยังคงทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แย่ลงอย่างต่อเนื่องระหว่างประเทศริมฝั่งแม่น้ำตอนล่าง ซึ่งมักขยายไปสู่เวทีระดับภูมิภาค และความพยายามอันซับซ้อนในการร่วมมือกันเหนือแม่น้ำโขง” นายบริเจส เคมลานี นักวิเคราะห์ประเด็นเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในกรุงเทพฯ แสดงความคิดเห็น

นายเคมลานีเรียกร้องให้มีการเสริมความแข็งแกร่งให้กับหน่วยงานพหุภาคี รวมถึงคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงและข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่างที่นำโดยสหรัฐฯ เพื่อเป็นปราการป้องกันจีนและปลูกฝังการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายเคมลานีเตือนว่า “ต้องมีการตอบโต้การขยายขอบเขตในแม่น้ำโขงของจีน เพราะหากปล่อยไว้เช่นนี้จะเป็นการนำไปสู่ภัยพิบัติ”

ข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างพม่า กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม และสหรัฐฯ ได้ครบรอบ 10 ปีไปเมื่อ พ.ศ. 2562 เป้าหมายของสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงคือ “การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ยั่งยืน และครอบคลุม” ให้กับประเทศพันธมิตรแม่น้ำโขง 5 ประเทศที่มีโครงสร้างอยู่ภายใต้ 6 เสาหลัก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมและน้ำ สุขภาพ การเกษตร การเชื่อมต่อ การศึกษา และความมั่นคงด้านพลังงาน

โครงการริเริ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ ธนาคารพัฒนาเอเชีย และธนาคารโลก

ในงานกิจกรรมเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ที่เฉลิมฉลองการครอบรอบหนึ่งทศวรรษของข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในตอนนั้น ได้กล่าวถึงความสำเร็จของการเป็นหุ้นส่วน แต่ยังเน้นย้ำถึง “แนวโน้มที่น่าหนักใจ” ด้วย

“เราเห็นการสร้างเขื่อนต้นน้ำอย่างกว้างขวาง ซึ่งมุ่งเน้นการควบคุมกระแสน้ำที่ไหลลงสู่ปลายน้ำ” นายปอมเปโอ กล่าวกับประเทศสมาชิกข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง “แม่น้ำสายนี้อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบทศวรรษ ซึ่งเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับการตัดสินใจปิดน้ำจากต้นน้ำของจีน นอกจากนี้ จีนยังมีแผนการที่จะระเบิดและขุดลอกแม่น้ำ … และเราเห็นการผลักดันเพื่อสร้างกฎระเบียบใหม่ที่กำกับโดยรัฐบาลจีนเพื่อควบคุมแม่น้ำ จึงทำให้คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงอ่อนแอลง”

นายปอมเปโอได้ประกาศโครงการใหม่หลายโครงการ ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องแม่น้ำโขงและภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบไปด้วย

  • หุ้นส่วนด้านพลังงานแม่น้ำโขงระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เพื่อพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าระดับภูมิภาคที่ยั่งยืนและโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพด้วยเงินทุนเริ่มต้น 29.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 971 ล้านบาท)
  • เงินทุน 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 460 ล้านบาท) สำหรับประเทศลุ่มน้ำโขงในการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติและการค้ามนุษย์ รวมถึงการค้ายาบ้าในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของพม่า ลาว และไทย
  • โครงการระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐฯ เพื่อการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมที่ดีขึ้นในการประเมินรูปแบบน้ำท่วมและน้ำแล้งตามแนวแม่น้ำโขง
  • แพลตฟอร์มแบ่งปันข้อมูลนำของข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่างและโปรแกรมผลกระทบสาธารณะ
  • การประชุมระดับภูมิภาคอินโดแปซิฟิกเพื่อเสริมสร้างการกำกับดูแลของแม่น้ำข้ามพรมแดน รวมถึง “แนวทางที่โปร่งใสและเป็นไปตามกฎระเบียบต่อแม่น้ำโขง”

“เราจะยังคงช่วยปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงของคุณ ช่วยให้คุณเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และปกป้องวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์ของคุณ” นายปอมเปโอ กล่าว

ความต้องการที่เพิ่มขึ้น

ความเจริญรุ่งเรืองก่อให้เกิดการพัฒนาและความหิวกระหายในพลังงานที่เกิดขึ้น พร้อมกับการขับเคลื่อนไปสู่การใช้แหล่งพลังงานทดแทน เช่น พลังงานน้ำ มนุษย์ได้ใช้น้ำในการผลิตไฟฟ้ามาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว ในปัจจุบัน พลังงานน้ำคิดเป็นประมาณร้อยละ 70 ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั่วโลก ตามรายงานของสมาคมเนชันแนลจีโอกราฟฟิก

ในการเปิดเผยโครงการหุ้นส่วนด้านพลังงานแม่น้ำโขงระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่างได้ระบุว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 ต่อปี ความพยายามของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นจะสนับสนุน “การไหลเวียนที่เป็นอิสระของเสบียงพลังงานในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเสถียรภาพและการพัฒนาของภูมิภาค”

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เมื่อทั่วโลกตระหนักถึงภัยพิบัติไวรัสโคโรนา จึงมีข่าวดีสำหรับแม่น้ำโขง นั่นคือ กัมพูชาประกาศพักชำระหนี้ 10 ปีเกี่ยวกับการพัฒนาเขื่อนกระแสหลัก โดยพักแผนสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำสองโครงการแรกของตน สองเดือนก่อนหน้านั้น โครงข่ายของกัมพูชาได้เริ่มนำเข้าพลังงานจากเขื่อนดอนสะโฮงแห่งใหม่ ภายใต้ข้อตกลงด้านพลังงาน 30 ปีกับลาวที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน

อย่างไรก็ตาม มีเขื่อนแห่งใหม่สร้างขึ้นตามลำน้ำแม่น้ำโขงและลำนำสาขา โดยมีแผนมากกว่า 370 แผน ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 เขื่อนส่วนใหญ่ในจำนวนดังกล่าวจะสร้างขึ้นโดยบริษัทจีนในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน

สิ่งนี้เกิดขึ้น แม้ว่ารายงานประจำปีของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในเดือนมิถุนายน พ .ศ. 2563 จะเตือนถึงความเสี่ยงจากการพัฒนาและรายงานว่า “ภัยแล้งที่รุนแรงในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมาก อันเนื่องมาจากความเสียหายของพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ต่อการดำรงชีวิตของประชาชน”

สิ่งนี้เกิดขึ้น แม้ว่าจีนจะเก็บน้ำไว้ในปริมาณที่อาจดับความกระหายของทั้งภูมิภาคได้

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ผู้นำของประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงทั้งสี่จะรวมตัวกันที่ประเทศลาว เพื่อการประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการรอบสี่ปีครั้งถัดไป คำถามซึ่งสำคัญที่สุดตั้งแต่ก่อนหน้านี้จนถึงตอนนี้ จะต้องเป็น อนาคตของแม่น้ำโขงอันเกรียงไกรจะรินไหลไปอย่างไร

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button