เรื่องเด่น

กองกำลังเพื่อ สันติภาพ และ ความสงบสุข

กองทัพเรือสหรัฐฯ ถือเป็นหัวใจสำคัญของวิสัยทัศน์อินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง

ร.อ. จอห์น เกย์/กองเรือสหรัฐฯภาคพื้นแปซิฟิก

ภูมิภาคอินโดแปซิฟิกซึ่งครอบคลุมพื้นที่มหาสมุทรกว่า 163 ล้านตารางกิโลเมตร มีความหลากหลายทางด้านภาษา วัฒนธรรม และภูมิศาสตร์เป็นอย่างมาก ด้วยมูลค่าการขนส่งสินค้าผ่านทะเลจีนใต้เพียงแห่งเดียวกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 98 ล้านล้านบาท) ภูมิภาคนี้จึงถือเป็นภูมิภาคที่มีการแข่งขันสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก อย่างไรก็ตาม การแข่งขันไม่จำเป็นต้องหมายถึงความขัดแย้ง

ทุกประเทศในภูมิภาคนี้ล้วนพึ่งพาอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ตลอดจนการไหลเวียนของการค้าที่ปลอดภัย เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เพื่อเข้าร่วมแข่งขันในเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน

สหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่แน่นแฟ้นกับภูมิภาคอินโดแปซิฟิกมาเป็นเวลายาวนาน รวมทั้งยังรักษาความสัมพันธ์ที่มั่นคงและการแสดงตนทางทะเลทั่วทั้งภูมิภาคอีกด้วย สหรัฐฯ ซึ่งทำงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศที่มีใจเดียวกัน มีส่วนช่วยรักษาความมั่นคงผ่านค่านิยมที่มีร่วมกัน อีกทั้งยังยึดมั่นในบรรทัดฐานและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตอย่างรวดเร็วและความเจริญรุ่งเรืองสำหรับประเทศในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่สหรัฐฯ ใช้ในการแสดงตนในพื้นที่ส่วนหน้าคือความสามารถของกองทัพเรือ

นับเป็นเวลากว่า 75 ปีที่กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วนในภูมิภาค โดยให้การสนับสนุนหลากหลายด้าน อาทิ การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ การฝึกอบรม การปกป้องกฎหมายระหว่างประเทศและเสรีภาพในการเดินเรือ ตลอดจนความมั่นคงทางทะเล กองทัพเรือสหรัฐฯ ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรระดับภูมิภาคในเพิ่มขีดความสามารถทางทะเลและการตระหนักรู้ถึงอาณาเขตทางทะเล เพื่อจัดการกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในน่านน้ำของตนและเขตเศรษฐกิจพิเศษ

นาวิกโยธินของกองทัพเรือฝรั่งเศสบนเรือ เอฟเอส บูเกนวิลล์ ทำการสแกนเส้นขอบฟ้าระหว่างการฝึกริมมหาสมุทรแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ซึ่งเข้าร่วมโดยบุคลากรกว่า 5,300 คนจาก 10 ประเทศ กองทัพเรือฝรั่งเศส

สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันในปัจจุบันต้องประสบกับการรุกรานทางทะเลที่ผิดกฎหมายเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในทะเลจีนใต้เพิ่มขึ้น ข้อเท็จจริงใหม่ ๆ ทางภูมิรัฐศาสตร์ การขยายพื้นที่การสู้รบ ตลอดจนความสามารถทางเทคนิคที่เกิดขึ้นใหม่ล้วนเป็นสิ่งท้าทายสภาวะปัจจุบัน อีกทั้งยังขัดขวางความสัมพันธ์ด้านความร่วมมือที่มั่นคงและค่านิยมที่มีร่วมกันทั่วทั้งอินโดแปซิฟิก

จุดยืนของสหรัฐฯ และพันธมิตรในภูมิภาคที่มีต่อทะเลจีนใต้นั้นไม่ซับซ้อน กล่าวคือ สนับสนุนอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างบนแนวคิดพื้นฐานตามกฎระเบียบระหว่างประเทศที่ยึดมั่นในสิทธิอธิปไตยของทุกประเทศ โดยไม่คำนึงถึงขนาด อำนาจ หรือขีดความสามารถทางทหาร เพื่อให้ทุกประเทศสามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของชาติตามกฎหมายระหว่างประเทศ

การตอบโต้การอ้างสิทธิ์ที่ผิดกฎหมาย

พรรคคอมมิวนิสต์จีนส่งเสริมวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันอย่างมากในแง่ของการปกครอง การค้า สิทธิมนุษยชน อธิปไตย และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งตรงกันข้ามกับวิสัยทัศน์และแนวทางความร่วมมือนี้อย่างสิ้นเชิง พรรคคอมมิวนิสต์จีนแสดงให้เห็นถึงภัยคุกคามระยะยาวที่ใหญ่หลวงที่สุดต่อความมั่นคงในศตวรรษที่ 21 ในทุกภูมิภาคทั่วโลก ไม่เพียงแต่อินโดแปซิฟิกเท่านั้น หนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอินโดแปซิฟิกคือ ความสัมพันธ์ของจีนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมถึงประเทศที่มีการอ้างสิทธิ์ในเกาะที่เป็นข้อพิพาท

ทะเลจีนใต้ตั้งอยู่บนแหล่งน้ำมันและก๊าซขนาดใหญ่ และรัฐบาลจีนได้อ้างสิทธิที่มิชอบด้วยกฎหมายต่อทรัพยากรทั้งหมดที่ยังไม่ได้นำมาใช้ ดูเหมือนว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนพยายามที่จะแทนที่ความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศตามกฎระเบียบที่มั่นคง ด้วยอำนาจแห่งชาติของจีนที่กำหนดบรรทัดฐานและพฤติกรรมใหม่ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา จีนได้ใช้รัฐวิสาหกิจในการขุดลอกและอ้างสิทธิ์ในที่ดินกว่า 1,295 เฮกตาร์ ซึ่งมากกว่าที่ผู้อ้างสิทธิ์รายอื่นรวมกันเกือบ 19 เท่า นอกจากนี้ จีนยังทำลายแนวปะการังเก่าแก่เพื่อพัฒนาสิ่งปลูกสร้างเทียมในทะเลจีนใต้ สิ่งปลูกสร้างเทียมหลายแห่งในหมู่เกาะสแปรตลีและหมู่เกาะพาราเซลได้รับการคุ้มกันและเสริมกำลังด้วยลานจอดอากาศยาน ท่าเรือ เครื่องบินขับไล่ไอพ่น ขีปนาวุธจากพื้นดินสู่อากาศ โดมเรดาร์ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและขีดความสามารถอื่น ๆ แม้ว่าจีนจะให้คำสัญญาว่าจะไม่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารก็ตาม

เมื่อ พ.ศ. 2559 ศาลระหว่างประเทศในกรุงเฮกพบว่าจีนไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิ์ในสิทธิทางประวัติศาสตร์ต่อทรัพยากรภายใน “เส้นประเก้าเส้น” ที่กระทำอย่างไม่มีกฎเกณฑ์ในทะเลจีนใต้ นอกจากนี้ ศาลดังกล่าวยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลและแนวปะการังอันเป็นผลมาจากการถมกลบที่ดินขนาดใหญ่อย่างไม่ระมัดระวังและการสร้างสิ่งปลูกสร้างเทียมในหมู่เกาะสแปรตลีและหมู่เกาะพาราเซล การเพิกเฉยอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมของจีนถือเป็นการละเมิดพันธกรณีในการอนุรักษ์และปกป้องระบบนิเวศที่เปราะบาง ตลอดจนที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนน้อยลง ถูกคุกคาม หรือใกล้สูญพันธุ์

ในการปฏิเสธคำวินิจฉัยของศาลเกี่ยวกับการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ผิดกฎหมายและเป็นอันตราย จีนกล่าวว่าการอ้างสิทธิ์เหนือแนวปะการังและอะทอลล์เชิงยุทธศาสตร์ทำให้รัฐบาลจีนสามารถควบคุมน่านน้ำที่เป็นข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นการอ้างสิทธิ์ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากกฎหมายระหว่างประเทศ

จนถึงปัจจุบัน จีนยังคงเดินหน้าลาดตระเวนอย่างแข็งกร้าวในน่านน้ำที่มีข้อพิพาทเพื่อบังคับใช้การเรียกร้องที่ผิดกฎหมายของตนโดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนผู้ประกอบกิจการประมงที่ผิดกฎหมาย อีกทั้งการจัดตั้งกองทหารรักษาการณ์ทางทะเล ซึ่งประกอบด้วยกองเรือประมงแอบแฝงเพื่อสนับสนุนกองทัพปลดปล่อยประชาชน เรือของกองทัพจีนจำนวนหลายร้อยลำถูกพบเห็นลอยลำอยู่ใกล้บริเวณที่ฟิลิปปินส์อ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตกและทั่วทะเลจีนใต้ กองทหารอาสาสมัครประสานงานกับกองกำลังรักษาชายฝั่งของจีนเพื่อคุกคามเรือประมงและเรือของกองทัพ ตลอดจนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซของรัฐเล็ก ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ปฏิเสธการอ้างสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้ของรัฐบาลจีนอย่างเปิดเผย

นอกเหนือจากความก้าวร้าวต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยกลุ่มประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว กองทัพเรือของกองทัพปลดปล่อยประชาชนยังเผชิญหน้ากับเรือเดินสมุทรของประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้เผชิญหน้ากับกองทัพปลดปล่อยประชาชนอย่างไม่ปลอดภัยหรือไม่เป็นมืออาชีพอย่างน้อย 20 ครั้งในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ทั้งทางอากาศและทางทะเล ในการเผชิญหน้าครั้งหนึ่ง เรือรบพิฆาตของจีนแล่นเข้ามาในระยะ 40 เมตรจากเรือรบสหรัฐฯ ซึ่งบังคับให้เรือรบลำดังกล่าวต้องเคลื่อนที่เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกัน

ใน พ.ศ. 2563 เรือของกองทัพจีนลำหนึ่งพุ่งชนและทำให้เรือประมงของเวียดนามจมลงในบริเวณหมู่เกาะพาราเซลที่เป็นข้อพิพาท โดยเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สองภายในเวลาไม่ถึงปี ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 เรือของกองทัพเรือจีนได้เล็งเป้าไปที่ผู้อำนวยการควบคุมปืนบนเรือของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ที่กำลังลาดตระเวนในน่านน้ำที่เป็นข้อพิพาท ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าไม่สามารถยอมรับได้ในการปฏิบัติทางทหารทั่วไป ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดไม่ปลอดภัยจากการแทรกแซงที่เพิ่มขึ้นของจีนในภูมิภาค และการบังคับใช้กฎหมายของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายสำหรับนาวิกโยธินที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ผู้ค้ำประกันการค้าโลก

ภัยคุกคามโดยตรงของจีนต่อประเทศเพื่อนบ้านประกอบกับการทูตแบบ “นักรบหมาป่า” แสดงให้เห็นถึงความไม่เต็มใจที่จะเจรจาเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ และการกระทำอันแข็งกร้าวในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ถือเป็นการตอบโต้ต่ออินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง การใช้การบีบบังคับ การดำเนินการอย่างใช้อิทธิพล และการคุกคามทางเศรษฐกิจ การทหาร และการทูตของรัฐบาลจีนต่อรัฐต่าง ๆ เพื่อรองรับผลประโยชน์ของพรรคคอมมิวนิสตืจีนถือเป็นการบ่อนทำลายอธิปไตยของประเทศอื่น ๆ อีกทั้งคุกคามเสถียรภาพในภูมิภาค เพิ่มความตึงเครียด และทำให้มุมมองที่น่าเชื่อถือของจีนอ่อนแอลง

การปกครองมหาสมุทรโลกทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯ เป็นเครื่องมือนโยบายต่างประเทศที่จำเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงเป็นผู้ค้ำประกันการค้าเสรีทั่วโลกอีกด้วย การปรากฏตัวของกองทัพเรือสหรัฐฯ และความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพันธมิตรและหุ้นส่วนต่าง ๆ สร้างโอกาสในการทำงานร่วมกันและเพิ่มการปฏิบัติการ การฝึกซ้อม และการฝึกอบรมร่วมทั่วทั้งภูมิภาคอินโดแปซิฟิก โอกาสเหล่านี้ประกอบด้วยการรักษาความร่วมมือในการเคลื่อนกำลังพลทางทะเล การฝึกให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ การแบ่งปันข้อมูล และเสรีภาพในการดำเนินการเดินเรืออย่างต่อเนื่อง ด้วยกิจกรรมในลักษณะดังกล่าว กองทัพเรือสหรัฐฯ จะเสริมสร้างความมั่นคงและความพร้อมทางทะเลในระดับภูมิภาค ปรับปรุงการตอบสนอง ตลอดจนสร้างรากฐานสำหรับการปราบปรามที่เข้มแข็งและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

หัวใจสำคัญของวิสัยทัศน์นี้คือพันธมิตรด้านความมั่นคงของญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ ความมุ่งมั่นอย่างลึกซึ้งของสหรัฐฯ ที่มีต่อญี่ปุ่นได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรทางทหารของสหรัฐฯ เกือบ 55,000 นายที่ประจำการอยู่ที่นั่น และความสามารถในการเคลื่อนย้ายทรัพย์สินทางการทหารของสหรัฐฯ ที่มีความสามารถและก้าวหน้าที่สุดไปยังญี่ปุ่น กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเข้าร่วมการฝึกซ้อมรบระดับทวิภาคีและพหุภาคีของสหรัฐฯ หลายครั้ง เพื่อเพิ่มความพร้อมและการทำงานร่วมกันระหว่างกองทัพเรือทั้งสอง ใน พ.ศ. 2563 กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการฝึกมาลาบาร์และการฝึกริมของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมในโอกาสพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมและรักษาความสัมพันธ์ด้านความร่วมมือที่สำคัญยิ่งต่อการคงเสถียรภาพในภูมิภาค

ผู้บัญชาการกองทัพเรือสหรัฐฯ เกาหลีใต้ร่วมมือกับสาธารณรัฐเกาหลีในด้านกองทัพเรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อีกทั้งเสริมสร้างความพยายามด้านความมั่นคงโดยรวมในเกาหลีใต้และภูมิภาคดังกล่าว กองทัพเรือสหรัฐฯ เกาหลีใต้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรต่าง ๆ และประสานงานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในการฝึกซ้อมร่วมที่สำคัญหลายครั้ง

ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อาเซียน ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส อินเดีย นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักรได้แสดงวิสัยทัศน์ที่คล้ายคลึงกันสำหรับอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง เช่นเดียวกับสหรัฐฯ

ใน พ.ศ. 2560 ควอด ซึ่งเป็นกลุ่มยุทธศาสตร์ที่ประกอบด้วยออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาได้รับการก่อตั้งขึ้นใหม่อีกครั้ง ประเทศทั้งสี่แบ่งปันวิสัยทัศน์บนพื้นฐานของผลประโยชน์และค่านิยมร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยตามกฎระเบียบในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก

นอกจากนี้ มาเลเซียและสิงคโปร์ยังถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญในภูมิภาคนี้อีกด้วย ความร่วมมือด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศของมาเลเซียให้ความช่วยเหลือที่สำคัญในด้านต่าง ๆ เช่น การต่อต้านการค้ามนุษย์ การต่อต้านการก่อการร้าย และการกระทำอันเป็นโจรสลัดทางทะเล สิงคโปร์สนับสนุนกองทัพเรือสหรัฐฯ ด้วยศูนย์กลางการบำรุงรักษาและการจัดหากำลังเสริมโดยมีฐานระดับภูมิภาคสำหรับบริษัทสหรัฐฯ มากกว่า 1,500 แห่ง อีกทั้งยังเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งในลำดับความสำคัญที่หลากหลาย อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านการแพร่กระจาย ความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาค และการฝึกให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ กล่าวในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ว่า “สิงคโปร์หวังว่าสหรัฐฯ จะขยายการแสดงตนในภูมิภาคนี้มากขึ้นและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตลอดจนยินดีต่อการปรากฏตัวด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง”

พันธมิตรเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง

ไม่มีกองทัพเรือใดที่ครอบคลุมเท่ากองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องในมหาสมุทรแปซิฟิก แอตแลนติก และอินเดีย รวมถึงภายในและบริเวณรอบ ๆ อาร์กติก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ่าวอาหรับ และจะงอยแอฟริกา สิ่งที่ทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯ โดดเด่นคือเรือบรรทุกเครื่องบิน 10 ลำ เรือสะเทินน้ำสะเทินบก 31 ลำ เรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ 54 ลำ เรือดำน้ำขีปนาวุธนำวิถีชั้นโอไฮโอ 14 ลำ และเรือดำน้ำติดขีปนาวุธนำวิถีชั้นโอไฮโอ 4 ลำ เรือลาดตระเวนและเรือรบพิฆาตจำนวนมากของกองทัพเรือสหรัฐฯ เป็นเครื่องบินรบอเนกประสงค์ที่สามารถรองรับกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีและกองกำลังสะเทินน้ำสะเทินบก ในการปฏิบัติการอย่างอิสระและการปฏิบัติภารกิจหลายภารกิจ รวมถึงการสงครามทางอากาศ ผิวน้ำ และใต้น้ำ ตลอดจนการยิงสนับสนุนบนผิวน้ำของกองทัพเรือ

กองทัพเรือที่แข็งแกร่งสามารถทำสิ่งที่กองกำลังภาคพื้นดินไม่สามารถทำได้ โดยการใช้มหาสมุทรซึ่งครอบคลุมเกือบสามในสี่ของพื้นผิวโลก นอกจากนี้ กองทัพเรือยังสามารถให้การเข้าถึงจุดที่น่าสนใจทั่วโลกเป็นพิเศษ การลาดตระเวนทางน้ำที่สำคัญ ตลอดจนการเข้าไปยังชายฝั่งและศูนย์ประชากรที่อยู่ห่างไกล นอกเหนือจากความสามารถในการรบและภารกิจด้านความมั่นคงแล้ว กองทัพเรือยังสามารถจัดหาความสามารถเฉพาะสำหรับการฝึกให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ

กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกได้ปฏิบัติภารกิจการฝึกให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติจำนวน 27 ครั้งในระหว่าง พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2561 หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิขนาดยักษ์ใต้ทะเลสุมาตรา – อันดามัน พ.ศ. 2547 ในมหาสมุทรอินเดียซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 27,000 คนใน 14 ประเทศ การตอบสนองจากศูนย์ประสานงานนานาชาติให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและเป็นรากฐานสำหรับการตอบสนองความร่วมมือในอนาคต มิตรไมตรีที่เกิดจากปฏิบัติการนี้ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพมากจนกองทัพเรือสหรัฐฯ ได้สร้างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหลายชาติและหลายหน่วยงานประจำปี เพื่อสร้างการตอบสนองต่อการฝึกให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ

ความร่วมมือดังกล่าวซึ่งร่วมนำโดยกองเรือแปซิฟิกของสหรัฐฯ ได้รับการออกแบบมาเพื่อปรับปรุงการทำงานร่วมกันของกองกำลังทหาร หน่วยงานของรัฐ และองค์กรด้านมนุษยธรรมในระหว่างการปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติ ในขณะเดียวกันก็ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การแพทย์ ทันตกรรม และวิศวกรรมทั่วทั้งอินโดแปซิฟิก ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกได้เสริมสร้างความสัมพันธ์และสัมพันธภาพด้านความมั่นคงระหว่างประเทศที่เข้าร่วม ตลอดจนมอบความช่วยเหลือที่มีคุณค่าเพื่อความยืดหยุ่นในระดับภูมิภาคต่อไป

กองทัพเรือสหรัฐฯ พยายามรักษาสันติภาพและเสถียรภาพทั่วทั้งภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ยึดถือเสรีภาพในการเดินเรือในลักษณะที่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ รักษากระแสการค้าที่ไม่เป็นอุปสรรค ตลอดจนต่อต้านความพยายามของประเทศต่าง ๆ
ในการใช้การบีบบังคับหรือการบังคับให้ยุติข้อพิพาท กองทัพเรือสหรัฐฯ ไม่ได้ดำเนินการเพียงลำพัง การทำงานร่วมกันที่ได้รับการปรับปรุง การแบ่งปันข้อมูล และความสามารถร่วมกันของพันธมิตรและหุ้นส่วน ล้วนมีส่วนช่วยในการปรับปรุงการประสานงานโดยรวมและทำให้มั่นใจได้ว่าสามารถบรรลุอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้ทุกประเทศเจริญรุ่งเรือง

แม้ว่ากองทัพเรือสหรัฐฯ และพันธมิตรและหุ้นส่วนได้เพิ่มการปฏิบัติการด้านความมั่นคงทั่วทะเลจีนใต้เพื่อกีดกันการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของจีนและการอ้างสิทธิ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจีนไม่ให้ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ความตึงเครียดนี้ยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในภูมิภาคดังกล่าวซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้แทนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ, คณะเสนาธิการร่วมสหรัฐฯ และกองกำลังสหรัฐภาคพื้นอินโดแปซิฟิกได้พบปะแบบเสมือนจริงกับสมาชิกสำนักงานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางเพื่อความร่วมมือทางการทหารระหว่างประเทศ กรมเสนาธิการร่วม และกองบัญชาการยุทธบริเวณภาคใต้ของกองทัพปลดปล่อยประชาชน เพื่อประชุมคณะทำงานด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤตเป็นเวลาสองวัน เป้าหมายของการประชุมดังกล่าวคือการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันเพื่อป้องกันและจัดการกับวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนลดความเสี่ยงที่มีต่อกองกำลังของทั้งสองประเทศ

การประชุมครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกที่ดีในการป้องกันความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม จีนต้องประเมินนโยบายทะเลจีนใต้ใหม่ ยอมรับกฎหมายระหว่างประเทศ อีกทั้งสร้างสภาพแวดล้อมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้แน่ใจว่าอินโดแปซิฟิกยังคงเสรี เปิดกว้าง สงบสุข และเจริญรุ่งเรืองสำหรับทุกคน

ร.อ. จอห์น เกย์ เป็นเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของกองเรือสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก ร.อ. เกย์เข้ารับการเกณฑ์ทหารในกองทัพเรือสหรัฐฯ เมื่อ พ.ศ. 2528 และได้รับเลือกให้เป็นกรรมาธิการใน พ.ศ. 2541 ร.อ. เกย์ได้ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายทั้งทางบกและทางทะเลในภูมิภาคแปซิฟิกและตะวันออกกลาง ร.อ. เกย์เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยสงครามทางอากาศ และได้รับปริญญาขั้นสูงในด้านธุรกิจและการศึกษาเชิงกลยุทธ์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button