เรื่องเด่น

ความสัมพันธ์ ความพร้อมรับมือ และ การตอบสนอง

ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ กับ หน่วยงานในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก คือความช่วยเหลือที่เปลี่ยนสู่การตอบสนองต่อไวรัสโคโรนา

เจ้าหน้าที่ ฟอรัม

ท่ามกลางความเสียหายร้ายแรงที่เกิดกับชีวิตและการดำรงชีพ การระบาดของไวรัสโคโรนายังเผยให้เห็นถึงความเข้มแข็งด้วย ซึ่งเน้นให้เห็นถึงพลังและความพร้อมรับมือ ในหมู่ชุมชนที่ตระหนักถึงความเชื่อมโยงและบ่มเพาะความสัมพันธ์อันเหนียวแน่น

องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ โครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ภัยพิบัติ และการช่วยเหลือพลเรือนของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกเป็นประจักษ์พยานในเรื่องนี้ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเหล่านี้กับประเทศและองค์กรในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ช่วยให้สามารถหันเหความสนใจไปสู่ความท้าทายของภูมิภาคและตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้โดยแทบไม่มีปัญหา

ตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ ชื่นชมการเปลี่ยนแปลงด้านการมุ่งเน้นและทรัพยากรได้อย่างรวดเร็ว ว่าเกิดจากการมีบทบาทอย่างยั่งยืนในภูมิภาค การฝึกซ้อมรับมือภัยพิบัติที่มีมาอย่างยาวนาน และการแลกเปลี่ยนกับประเทศพันธมิตร แต่ละหน่วยงานมีระดับความไว้วางใจและความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการสื่อสารระหว่างกันอยู่แล้ว จึงทำให้ประเทศเจ้าบ้านสามารถขอความช่วยเหลือจากองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ โครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ภัยพิบัติ และการช่วยเหลือพลเรือน และกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกได้ง่ายขึ้น

“ในการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของประเทศพันธมิตร ความพยายามในการตอบสนองไวรัสโคโรนาขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ เกิดขึ้นจากการลงทุนด้านสุขภาพเพื่อการช่วยชีวิตและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมนานนับทศวรรษ” นางไพจ์ มิลเลอร์ รองที่ปรึกษาด้านการพัฒนาขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ แห่งกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิก กล่าวกับ ฟอรัม นางมิลเลอร์ประสานงานกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ประสานงานระหว่างพลเรือนและทหารขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ ในภูมิภาค เพื่อผสานและเดินหน้าวัตถุประสงค์ที่มีร่วมกันต่อการตอบสนองความต้องการความช่วยเหลือที่หลากหลายของประเทศพันธมิตร

สมาชิกในครอบครัวหารือกันเกี่ยวกับการตรวจหาโควิด-19 ที่กำลังจะมาถึงกับแพทย์ที่วิทยาลัยการแพทย์และโรงพยาบาลมักดาในธากา ประเทศบังกลาเทศ สหรัฐฯ สนับสนุนความพยายามของบังกลาเทศในการต่อสู้กับโควิด-19 รอยเตอร์

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ขณะที่ไวรัสโคโรนาแพร่ระบาด องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ ได้ดำเนินการวิเคราะห์ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อตัดสินใจว่าประเทศใดที่อาจมีความเสี่ยงมากที่สุด และเริ่มจัดหาเงินทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือ “ขณะที่เวลาดำเนินไป เราตระหนักว่าทุกประเทศจะได้รับผลกระทบจากสิ่งนี้” นางมิลเลอร์กล่าว การประสานงานกับหน่วยงานของกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิก กองทัพบกสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก และหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษภาคพื้นแปซิฟิกได้ช่วยให้องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ ส่งเสริมภารกิจของตนและขยายขีดความสามารถในการตอบสนองต่อไวรัส

“ด้วยการทำงานผ่านผู้ประสานงานระหว่างพลเรือนและทหารขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ ในภูมิภาค องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์ที่เป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพกับทีมกองทัพบกสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกและหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษภาคพื้นแปซิฟิก ซึ่งสร้างขึ้นบนพื้นฐานการสื่อสารที่เชื่อถือได้และเปิดกว้าง” นางมิลเลอร์กล่าว “ความสัมพันธ์นี้อำนวยความสะดวกให้เกิดการระบุความต้องการที่สำคัญอย่างรวดเร็วและการออกแบบอย่างละเอียดถี่ถ้วน รวมทั้งการดำเนินการของโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ภัยพิบัติ และการช่วยเหลือพลเรือน ซึ่งตอบสนองความต้องการที่สำคัญที่เงินทุนขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ ไม่สามารถตอบสนองได้”

การประสานงานและการกระจายความช่วยเหลือที่ได้รับการยกระดับขึ้น

การมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในบรรดาหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ทำให้หน่วยงานเหล่านั้นสามารถส่งเสริมความพยายามของกันและกันในการกระจายความช่วยเหลือเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นความพยายามร่วมกันที่รวมถึงทีมประเทศของสถานทูต เจ้าหน้าที่ความร่วมมือด้านความมั่นคงของสถานทูต และเจ้าหน้าที่ของประเทศเจ้าบ้าน

องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือประเทศที่มีความเสี่ยงมากที่สุดในโลก รวมถึง 28 ประเทศในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ด้วยกองทุนสนับสนุนด้านสุขภาพ มนุษยธรรม และเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 145 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.5 พันล้านบาท) นอกเหนือจากเครื่องช่วยหายใจกว่า 2,000 เครื่อง

หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษภาคพื้นแปซิฟิกทำงานอย่างใกล้ชิดกับหุ้นส่วนองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ และกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ผ่านหน่วยงานสนับสนุนทางทหารและพลเรือนในบังกลาเทศ พม่า อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ มองโกเลีย เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และไทย เพื่อระบุความต้องการและตอบสนองอย่างรวดเร็วด้วยอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่จัดซื้อในภูมิภาค ชุดการตรวจวินิจฉัยโรคที่แสดงผลเร็ว อุปกรณ์ทางการแพทย์ และจุดล้างมือ

กองทัพบกสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกนำโครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ภัยพิบัติ และการช่วยเหลือพลเรือนมาใช้ในบังกลาเทศ ลาว มองโกเลีย เนปาล ปาปัวนิวกินี และติมอร์-เลสเต เพื่อมอบอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล จุดล้างมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เครื่องกำเนิดไฟฟ้า สุขภัณฑ์แบบพกพา และประกาศบริการสาธารณะเชิงให้ความรู้ นอกจากนี้ ในติมอร์-เลสเต กองทัพบกสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกยังนำโครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ภัยพิบัติ และการช่วยเหลือพลเรือนมูลค่า 1.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 40 ล้านบาท) มาใช้ รวมถึงโครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ภัยพิบัติ และการช่วยเหลือพลเรือนโครงการเดียวที่สนับสนุนความพยายามด้านการสื่อสารความเสี่ยงผ่านป้ายโฆษณาขนาดใหญ่หกป้าย และการประกาศให้บริการสาธารณะทางวิทยุโทรทัศน์แปดรายการ ความพยายามเหล่านี้เป็นการเสริมความพยายามในการสื่อสารความเสี่ยงขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ

“เรามีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ของประเทศหุ้นส่วนเพื่อระบุความต้องการและประสานงานด้านความพยายามในการตอบสนอง” นางมิลเลอร์กล่าว โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามการนำของประเทศหุ้นส่วนในความพยายามด้านการตอบสนอง

“นี่ไม่ใช่สถานการณ์ปกติ”

การใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมทำให้หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ในภูมิภาคต้องปรับเปลี่ยนวิธีดำเนินงานในระยะสั้นและระยะยาว

“นี่ไม่ใช่สถานการณ์ปกติ” พ.ท. มาร์ก มิวดรินิช หนึ่งในทีมโอเชียเนียของกองทัพบกสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก กล่าวกับ ฟอรัม “เรากำลังมองหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อดำเนินการฝึกอบรม การมีส่วนร่วมในอนาคตของกองทัพบกสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกจะสร้างขึ้นทางออนไลน์ เราให้ความช่วยเหลือด้านโครงการและทำงานร่วมกับองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง เรารับรองว่าเราระมัดระวังอย่างยิ่งกับหุ้นส่วนและพันธมิตรของเรา”

ซึ่งรวมถึงระยะเวลาการกักตัวเพื่อให้แน่ใจว่าทหารสหรัฐฯ ที่ส่งกำลังไปยังภูมิภาคนี้ปราศจากไวรัสก่อนที่จะมีส่วนร่วมกับคนในท้องถิ่น

“เมื่อโควิดระบาด โรคนี้ก็จำกัดความสามารถในการทำงานกับประเทศเจ้าบ้าน” พ.ท. เจสัน แฮนสัน หัวหน้าแผนกกิจการพลเรือนที่หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษภาคพื้นแปซิฟิก กล่าวกับ ฟอรัม “การแลกเปลี่ยนการฝึกซ้อมและการแลกเปลี่ยนการฝึกอบรมที่จัดขึ้นตามปกติต้องล้มเลิกไป ทำให้เรามีส่วนร่วมกับหน่วยงานลักษณะเดียวกันกับเราได้ยาก”

ในหลาย ๆ สถานการณ์ อาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้รับใช้ชาติและกองทัพที่จะรักษาความต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอในประเทศ” พ.ท. แฮนสันกล่าว พ.ท. แฮนสันยังกล่าวอีกว่า นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หน่วยงานสนับสนุนทางทหารและพลเรือนบนภาคพื้นดินมีความสำคัญ เนื่องจากเพื่อเป็นการยืนยันว่าตำแหน่งเหล่านั้นจะยังคงได้รับการเติมเต็มเมื่อมีการผลัดเปลี่ยนการเข้าประจำการเกิดขึ้นท่ามกลางการระบาดใหญ่

ผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขคนหนึ่งเก็บตัวอย่างจากทหารเนปาล เพื่อนำไปตรวจหาโควิด-19 ในกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

“หากเว้นว่างตำแหน่งเหล่านั้นไว้ งานจะเสี่ยงหยุดชะงักสูง และอาจสร้างความหวั่นใจ”

อาจเป็นเรื่องยากสำหรับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่จะส่งกำลังไปยังประเทศเจ้าบ้านและพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่เคยย่ำแย่ในช่วงเวลาหนึ่ง “แต่เนื่องจากเรามีการผลัดเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอที่นั่น ความร่วมมือจึงได้รับการดูแลอย่างดี” พ.ท. แฮนสันกล่าว

ทหารและเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ดำเนินการเยี่ยมชมเสมือนจริงทุกวันหรือทุกสัปดาห์ เนื่องจากมีข้อจำกัดในการประชุมแบบพบปะตัว

“พวกเขาทราบว่าแม้หน้าตาหน่วยงานสนับสนุนทางทหารและพลเรือนจะเปลี่ยนไป แต่บทบาทของหน่วยงานแห่งนี้จะมีอยู่ที่นั่นเสมอ” พ.ท. แฮนสันกล่าว “นั่นเป็นการเน้นย้ำข้อความที่ไม่ใช่แค่ถึงทีมประเทศของเราเอง แต่ยังรวมถึงประเทศหุ้นส่วนด้วยว่าจะมีความร่วมมืออยู่เสมอ และความสัมพันธ์จะยังคงแข็งแกร่งขึ้นต่อไป ตราบใดที่เรายังมีโอกาสทำงานร่วมกับประเทศหุ้นส่วนของเราต่อ”

เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีช่องว่างเกิดขึ้นในความสัมพันธ์เหล่านั้น ทีมที่มีการผลัดเปลี่ยนจึงขยายระยะเวลาการส่งตัวไปปฏิบัติงานขึ้นอีกสองถึงสามเดือน เนื่องจากข้อจำกัดในการหาบุคลากรทดแทน

“แทนที่จะส่งทีมกลับไปที่บ้านและทำให้เกิดช่องว่างขึ้น ซึ่งเป็นความเสี่ยงใหญ่ที่สุดสำหรับเรา เราต้องการขยายทีมที่อยู่ในประเทศอยู่แล้วแทน” พ.ท. แฮนสันกล่าว “เราตระหนักถึงความสำคัญของการสานต่อความสัมพันธ์”

องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ ได้อพยพเจ้าหน้าที่บริการต่างประเทศของตนอย่างน้อยร้อยละ 50 ในภูมิภาคเนื่องจากไวรัสโคโรนา และ “นั่นเป็นสิ่งที่ท้าทาย” นางมิลเลอร์กล่าว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตัวแทนขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ มีบทบาทถาวรในภูมิภาคนี้มาก และมีความร่วมมือที่เข้มแข็งกับองค์การนอกภาครัฐที่ยังคงอยู่ในประเทศ องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ จึงยังคงประสิทธิภาพที่สูงไว้ได้แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของเจ้าหน้าที่

การเดินทางสู่การพึ่งพาตนเอง

พ.ท. มิวดรินิชกล่าวว่า เมื่อพูดถึงภัยพิบัติในอินโดแปซิฟิก “คำถามไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ แต่คือจะเกิดขึ้นเมื่อใดต่างหาก” แนวคิดดังกล่าวช่วยเสริมความยืดหยุ่นของภูมิภาคในการเผชิญกับความท้าทายที่เกิดจากไวรัสโคโรนา จิตใจแห่งความพร้อมรับมือเช่นนี้จะช่วยเสริมความพยายามในการฟื้นฟูระยะยาวด้วย

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้เริ่มเปลี่ยนทิศทางการบรรเทาทุกข์จากการแพร่ระบาดไปเป็นการฟื้นฟู ซึ่งในที่สุดจะเปลี่ยนวิธีการควบคุมอย่างเต็มรูปแบบในอนาคตข้างหน้าให้อยู่ในมือของประเทศเจ้าบ้าน

“องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ กำลังทำงานเพื่อบรรลุผลลัพธ์การพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ เพื่อที่ในวันหนึ่ง ความช่วยเหลือจากต่างประเทศจะไม่จำเป็นอีกต่อไป สิ่งนี้เรียกว่าการเดินทางสู่การพึ่งพาตนเอง” นางมิลเลอร์อธิบาย ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนในการเดินทางนี้ องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ และรัฐบาลประเทศเจ้าบ้านได้ทำงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการวางแผน จัดหาเงินทุน และปรับใช้แนวทางแก้ไขต่อความท้าทายต่าง ๆ แม้จะเป็นช่วงการระบาดใหญ่ แต่เรื่องนี้ก็ยังคงมีความสำคัญอย่างยิ่งเช่นเดิม

องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ โครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ภัยพิบัติ และการช่วยเหลือพลเรือน รวมทั้งกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกต่างให้ความใส่ใจเป็นพิเศษในช่วงการตอบสนองไวรัสโคโรนาเพื่อเดินหน้าด้านสันติภาพ ความมั่นคง และความเสมอภาคทางเพศ เช่น ในติมอร์-เลสเต หน่วยงานของสหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนเงินทุนสำหรับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ผลิตโดยธุรกิจของผู้หญิงในท้องถิ่น นอกจากนี้ การแสวงหาผู้รับในชนบทยังได้อัดฉีดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจ และทำให้ผู้หญิงมีทักษะที่ถ่ายทอดให้กันได้ ตามรายงานของนางมิลเลอร์และ พ.ท. มิวดรินิช

เจ91 (การให้ความช่วยเหลือทางทหารและพลเรือน) ของกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกและทีมโครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ภัยพิบัติ และการช่วยเหลือพลเรือนได้ประสานงานกัน จัดเจ้าหน้าที่ และอนุมัติการเสนอชื่อโครงการ 165 โครงการ มูลค่ากว่า 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 374 ล้านบาท) กับองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ ทีมในประเทศสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ความร่วมมือด้านความมั่นคง กองทัพบกสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษภาคพื้นแปซิฟิก สำนักงานความร่วมมือด้านความมั่นคงกลาโหม และสำนักงานรองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมฝ่ายความมั่นคงและกิจการด้านมนุษยธรรม เพื่อสนับสนุนความพยายามของประเทศหุ้นส่วนในการอพยพและตอบสนองต่อความพยายามด้านโควิด-19 เจ้าหน้าที่ทหารสหรัฐฯ ในประเทศ รวมถึงทีมกิจการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ความร่วมมือด้านความมั่นคงได้มุ่งเป้าเป็นพิเศษไปที่โครงการเหล่านี้ โดยการทำงานผ่านหน่วยงานพลเรือนของประเทศหุ้นส่วน เพื่อดำเนินโครงการที่สร้างผลกระทบสูงด้วยค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำเพื่อต่อสู้กับโควิด-19 ในพื้นที่ยุทธบริเวณ

คำสั่งนี้สอดคล้องกันทั่วทั้งกลุ่มผู้บริหารเจ้าหน้าที่กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิก รวมถึงศัลยแพทย์ของศูนย์บัญชาการ, เจ44 (วิศวกร), ความร่วมมือด้านความมั่นคง เจ55, เจ้าหน้าที่งานธุรการของประเทศ เจ5, องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ, เจ้าหน้าที่กิจการสาธารณะ และอัยการทหารจากศูนย์บัญชาการ เพื่อตรวจสอบและทำให้โครงการทั้งหมดสอดคล้องกัน ทีมโครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ภัยพิบัติ และการช่วยเหลือพลเรือนยังได้ทำงานร่วมกับผู้ประสานงานระหว่างทหารกับพลเรือนขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ เกี่ยวกับการเสนอชื่อโครงการจากหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษภาคพื้นแปซิฟิก กองทัพบกสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก และเจ้าหน้าที่ความร่วมมือด้านความมั่นคง ทีมการวางแผนกิจการพลเรือนในยุทธบริเวณ เจ9 ได้ทำงานร่วมกับศัลยแพทย์ของศูนย์บัญชาการและกลุ่มวางแผนปฏิบัติการของกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิก เพื่อระบุหาประเทศที่มีลำดับความสำคัญด้านโควิด-19 เป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งรวมถึงบังกลาเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และศรีลังกา ศูนย์ภัยพิบัติแปซิฟิกร่วมกับ เจ9 (การให้ความช่วยเหลือแปซิฟิก) ได้ใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อกำหนดว่าจะให้ความช่วยเหลือจากกระทรวงกลาโหมกับที่ใด

“ความพยายามนี้แสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความสามารถของ เจ9 และทีมงานระหว่างหน่วยงานอย่างชัดเจนในการสร้างความสอดคล้อง รวมทั้งดำเนินการตามลำดับความสำคัญของศูนย์บัญชาการ ตั้งแต่ระดับยุทธวิธีจนถึงกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกและสำนักงานความร่วมมือด้านความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ” พ.ต. จิม ทอว์ล ผู้จัดการโครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ภัยพิบัติ และการช่วยเหลือพลเรือน กล่าว

สิ่งที่เชื่อมโยงกับทั้งหมดนี้คือการส่งข้อความ ซึ่งเป็นข้อความที่สหรัฐฯ มีผลประโยชน์ที่เด่นชัดในภูมิภาคนี้ในฐานะหุ้นส่วนที่ดำเนินงานมาอย่างยาวนานและผู้ที่เคารพในอธิปไตย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่พัสดุความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ต้องมีธงของประเทศหุ้นส่วนอยู่ด้วย พ.ท. แฮนสันกล่าว “หากสิ่งของบริจาคเหล่านี้มีเพียงธงชาติสหรัฐฯ ผมคิดว่าเราคงจะไม่เข้าใจกรอบดำเนินการของเรา” พ.ท. แฮนสันกล่าว

พ.ท. แฮนสันกล่าวว่า เป้าหมายคือการเน้นย้ำถึงความร่วมมือกันอยู่เสมอ การทำเช่นนั้นเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของชุมชนในรัฐบาลและกองทัพของประเทศตน “นั่นเป็นการส่งข้อความที่ดีมาก” พ.ท. แฮนสันกล่าว “ซึ่งแสดงให้ชุมชนเห็นว่านอกจากประเทศของเราที่ดูแลเราแล้ว ยังมีหุ้นส่วนที่เข้มแข็งด้วย”

พ.ท. แฮนสันกล่าวถึงศูนย์กระจายการบรรเทาทุกข์ไวรัสโคโรนาในเนปาล ซึ่งในฟากหนึ่งของห้องมีกล่องสิ่งของบริจาค 100 กล่องที่มีธงชาติของสหรัฐฯ และเนปาลอยู่เคียงข้างกัน “และอีกฟากหนึ่งของห้องมีกล่องสามหรือสี่กล่องจากจีน” พ.ท. แฮนสันกล่าวกับ ฟอรัม “นั่นทำให้ผู้คนจำนวนมากรู้สึกฝังใจได้ทันที โดยสร้างความเชื่อมั่นแก่ประเทศหุ้นส่วน”

นอกเหนือจากการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดในทันที พ.ท. แฮนสันกล่าวว่าการสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ การมอบอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลก็เป็นเรื่องหนึ่ง เช่น หน้ากากแบบใช้แล้วทิ้งที่อาจสวมใส่ได้เป็นเวลาหนึ่งวัน สหรัฐฯ ยังมอบเตียงและเครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาล สิ่งของที่ช่วยให้ประเทศเจ้าบ้านฟื้นตัว และเตือนใจให้ผู้รับทราบถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีต่อภูมิภาคนี้มาอย่างยาวนาน “เราต้องการเป็นตัวเลือกพันธมิตรที่ดีที่สุด” พ.ท. แฮนสันกล่าว

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button