ติดอันดับ

จีนและรัสเซียทำลายการตอบสนองระหว่างประเทศของพม่า นักการทูตระดับสูงของสหภาพยุโรปกล่าว

รอยเตอร์

นักการทูตระดับสูงของสหภาพยุโรปกล่าวเมื่อกลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนและรัสเซีย กำลังขัดขวางการตอบสนองระหว่างประเทศแนวร่วมต่อการรัฐประหารของพม่า อีกทั้งกล่าวว่าสหภาพยุโรปอาจเสนอสิ่งกระตุ้นทางเศรษฐกิจมากขึ้นหากพม่ากลับสู่ระบอบประชาธิปไตย

“ไม่น่าแปลกใจที่รัสเซียและจีนกำลังกีดขวางความพยายามของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เช่น ออกมาตรการห้ามค้าอาวุธ” นายโจเซป บอร์เรลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหภาพยุโรป ระบุในโพสต์บล็อก

“การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ในเมียนมา หรือพม่า จะทำให้การหาจุดยืนร่วมเป็นเรื่องยุ่งยากมาก” นายบอร์เรลล์ กล่าวในนามประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศ “แต่เรามีหน้าที่ที่ต้องพยายาม”

กองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าสังหารผู้ประท้วงที่ไม่มีอาวุธไปแล้วกว่า 700 คน ซึ่งเป็นเด็ก 46 คน นับตั้งแต่กองทัพยึดอำนาจจากรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งของนางอองซาน ซูจี โดยการทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ตามรายงานของสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง เมื่อวันที่ 9 เมษายน กองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าสังหารประชาชนรวมทั้งสิ้นกว่า 82 คน ในเมืองพะโค ซึ่งอยู่ใกล้กับกรุงย่างกุ้ง ซึ่งกลุ่มนักเคลื่อนไหวเรียกว่า “ทุ่งสังหาร”

“ผู้คนจากทั่วโลกกำลังจับตามองอย่างอกสั่นขวัญแขวน ขณะที่กองทัพพม่าใช้ความรุนแรงต่อประชาชนในประเทศของตน” นายบอร์เรลกล่าว

จีนและรัสเซียมีส่วนพัวพันกับกองกำลังติดอาวุธของพม่า ในฐานะผู้จัดหาอาวุธให้แก่กองทัพพม่ารายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับแรกและอันดับสอง ตามลำดับ

เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนางซูจีและคนอื่น ๆ ที่ถูกทหารควบคุมตัว แต่ยุติการประณามการทำรัฐประหาร

สหภาพยุโรปกำลังเตรียมมาตรการคว่ำบาตรใหม่สำหรับบุคคลและบริษัทที่กองทัพพม่าเป็นเจ้าของ ในเดือนมีนาคม กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปต่างเห็นชอบกับมาตรการคว่ำบาตรชุดแรกต่อบุคคล 11 คนที่พัวพันกับการรัฐประหาร รวมถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพ

นายบอร์เรลกล่าวว่า แม้ว่าอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจในประเทศจะมีค่อนข้างน้อย สหภาพยุโรปอาจเสนอให้เพิ่มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับพม่า หากมีการกอบกู้ประชาธิปไตย ซึ่งอาจรวมถึงการค้าและการลงทุนด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น นายเบอร์เรลกล่าว

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของสหภาพยุโรปในพม่ามีมูลค่ารวม 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.29 หมื่นล้านบาท) เมื่อเปรียบเทียบกับ 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5.9 แสนล้านบาท) จากจีน

กองทัพพม่าอ้างว่ากระทำการรัฐประหาร เนื่องจากการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ซึ่งพรรคของนางซูจีชนะการเลือกตั้งนั้นมีการเล่นตุกติก คณะกรรมการเลือกตั้งได้ปัดตกข้อสันนิษฐานดังกล่าว

ในพม่า กลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องให้ยกเลิกเทศกาลสงกรานต์ตะจานในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งเป็นหนึ่งในการเฉลิมฉลองที่สำคัญที่สุดของปี เนื่องด้วยการสังหารดังกล่าว (ภาพ: ผู้ประท้วงที่ถือกระถางต้นไม้ในเทศกาลสงกรานต์ตะจาน แสดงออกถึงการต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพพม่า ในระหว่างการเดินขบวนในกรุงย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2564)

ในโพสต์ของทวิตเตอร์เกี่ยวกับเทศกาลตะจาน สถานทูตสหรัฐฯ ณ กรุงย่างกุ้งกล่าวว่า “เราอาลัยต่อการสูญเสียชีวิตอย่างไร้เหตุผลในเมืองพะโคและทั่วประเทศที่มีการรายงานว่ากองกำลังของรัฐบาลทหารได้ใช้อาวุธสงครามกับพลเรือน

“ระบบการปกครองดังกล่าวมีความสามารถในการคลี่คลายวิกฤต และต้องเริ่มต้นโดยยุติการใช้ความรุนแรงและการโจมตี”

 

ภาพจาก: เอเอฟพี/เก็ตตี้อิมเมจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button