ติดอันดับ

นาวิกโยธินสหรัฐฯ และหุ้นส่วนร่วมทดสอบปฏิบัติการเครือข่ายจากญี่ปุ่นสู่ฮาวาย

ร.อ. นิโคลัส รอยเยอร์/กองบัญชาการนาวิกโยธินที่ 3

ในอดีต การฝึกของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ประกอบด้วยการนำนาวิกโยธินนับร้อยบุกขึ้นชายฝั่งโดยมีอากาศยานช่วยคุ้มกันอยู่เบื้องบน มีเรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ ลอยตัวอยู่บนผิวน้ำอย่างน่าสะพรึงกลัว อีกทั้งยังมีเสียงปืนที่ดังกึกก้อง กลุ่มควัน และเสียงตะโกนของคำสั่งให้นำอากาศยานลงจอดดังขึ้นในทุกทิศทาง ในทางตรงกันข้าม ปฏิบัติการล่าสุดที่นำโดยกองบัญชาการนาวิกโยธินที่ 3 กลับดูเหมือนไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นเลย จากนั้น การยิงก็ได้เริ่มต้นขึ้น

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 นาวิกโยธินสหรัฐฯ ในญี่ปุ่นและฮาวายได้ร่วมมือกับหุ้นส่วนเพื่อดำเนินปฏิบัติการฐานทัพขั้นสูงนอกประเทศแบบเครือข่าย ซึ่งครอบคลุมหมู่เกาะทั้งห้าแห่งในการแสดงถึงสงครามต่อต้านภัยคุกคามตามแนวขอบชายฝั่งสมัยใหม่ที่ซับซ้อน การฝึกซ้อมแคสต์อะเวย์ 21.1 ในญี่ปุ่น และสปาร์ตัน ฟิวรี่ 21.1 ในฮาวายแสดงให้เห็นถึงความสามารถของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ในการบูรณาการกับกองกำลังร่วมในการยึดและป้องกันภูมิประเทศทางทะเลที่สำคัญ รักษาความยั่งยืนโดยที่ไม่สะดุดตา และการดำเนินการยิงที่แม่นยำจากระยะไกล เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการของกองทัพเรือจากฐานทัพขั้นสูงนอกประเทศ (ภาพ: นาวิกโยธินสหรัฐฯ ส.ต. โจเซฟ โลเปซ พลปืนกลแห่งกองพันทหารราบที่ 3, หน่วยนาวิกโยธินที่ 8, กองบัญชาการนาวิกโยธินที่ 3 ตรวจสอบตำแหน่งการยิงของตนเองในระหว่างฝึกซ้อมแคสต์อะเวย์ 21.1 ที่เกาะอิเอะชิมะ จังหวัดโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2564)

“ปฏิบัติการเหล่านี้สามารถจำลองและทำตามได้บนหมู่เกาะใดต่าง ๆ ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก และการทำงานร่วมกับหุ้นส่วนร่วมของเราช่วยให้เราสามารถปรับกลยุทธ์ เทคนิค และขั้นตอนในการปฏิบัติการนี้ในสถานการณ์จริงได้” พ.ท. โร เลมอนส์ ผู้บังคับบัญชากองพันทหารราบที่ 3 แห่งกองบัญชาการนาวิกโยธินที่ 12 ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการวางแผนและดำเนินการแคสต์อะเวย์ 21.1 ส่วนใหญ่ในญี่ปุ่น กล่าว “เราดำเนินการอย่างลับ ๆ และขยายขอบเขตการยิงระยะไกล อีกทั้งพยายามใช้ความสามารถของเราในการรักษาสิ่งนั้นไว้ตราบเท่าที่กองกำลังทางทะเลต้องการให้เราควบคุมจุดเข้าถึงเส้นทางคมนาคมทางทะเล”

ก่อนที่จะนำความสามารถในการยิงระยะไกลแบบต่อเนื่องมาใช้ในฐานทัพขั้นสูงนอกประเทศในเกาะอิเอะชิมะ ประเทศญี่ปุ่น นาวิกโยธินสหรัฐฯ พร้อมกองพันลาดตระเวนที่ 3 และสมาชิกของกองกำลังพิเศษกองทัพบกสหรัฐฯ และหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ผนึกกำลังกันเพื่อดำเนินการแทรกแซงอย่างลับ ๆ ผ่านการแทรกซึมเข้าสู่เกาะดังกล่าวทั้งทางอากาศและทางทะเลโดยใช้หลายวิธีที่ท้าทาย การแทรกซึมแบบอิสระทางทหารจากเฮลิคอปเตอร์ เอ็มวี-22บี ออสเปรย์ ควบคู่ไปกับการแทรกซึมแบบสะเทินน้ำสะเทินบกภายใต้ความมืดมิด ทำให้นาวิกโยธินสหรัฐฯ และหน่วยร่วมสามารถสำรวจพื้นที่ของกองกำลังข้าศึกได้อย่างถี่ถ้วนและตรวจสอบความเหมาะสมของสนามบินได้เช่นกัน เครื่องบินขับไล่ เอฟ-35บี จำนวนมากจากฝูงบินขับไล่โจมตีนาวิกโยธิน 121 เข้าร่วมการต่อสู้หลังจากนั้นไม่นาน ไม่นานหลังจากนั้น กองบินทางทะเลที่ 1 ได้ส่ง เอ็มวี-22บี ออสเปรย์ และ ซีเอช-53อี ซูเปอร์ สตัลเลียนส์ จำนวนมาก พร้อมด้วยทหารราบหลายร้อยนายจากกองพันทหารราบที่ 3 หน่วยนาวิกโยธินที่ 8 ซึ่งทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยบนเกาะดังกล่าวและจัดตั้งการป้องกันที่น่าเกรงขามและปูทางให้กับฐานทัพขั้นสูงนอกประเทศที่แข็งแกร่งด้วยการยิงระยะไกลแบบตอบสนอง

ด้วยจุดยิงซ่อนตัวที่กระจายอยู่ตามเกาะต่าง ๆ และเครือข่ายกองเรือ ซึ่งได้แก่การเชื่อมต่ออย่างลับ ๆ ช่วยอำนวยความสะดวกในภาพการปฏิบัติงานร่วมกันในหลายพื้นที่ นาวิกโยธินสหรัฐฯ จึงมุ่งหน้าสู่การฝึกฝนวิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดเสรีภาพในการปฏิบัติการของกองทัพเรือสหรัฐฯ และกองกำลังพันธมิตร แม้ว่าพวกเขาจะกระจายกำลังกันออกไป แต่พวกเขาก็ไม่ได้ต่อสู้เพียงลำพัง กรมทหารนาวิกโยธินที่ 12 ซึ่งเป็นผู้นำการปฏิบัติการร่วมที่ซับซ้อนเหล่านี้ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยที่มีความสามารถภายใต้หน่วยนาวิกโยธินปฏิบัติการนอกประเทศที่ 3 และกองกำลังร่วมทั้งหมด เพื่อรวมเรือพิฆาตแฮลซีย์ของกองทัพเรือ เครื่องบินควบคุมการขนส่งและการรบ ซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3 ของกองทัพอากาศ กองกำลังเฉพาะกิจแบบหลายมิติที่ 1 แห่งกองทัพบก กองพลทหารราบที่ 25 กรมทหารปืนใหญ่ป้องกันภัยทางอากาศที่ 1 กองพลบัญชาการยั่งยืนที่ 8 และกองพลรบพิเศษที่ 1 ของกองทัพอวกาศสหรัฐฯ

พ.อ. ไมเคิล โรช ผู้บัญชาการของนาวิกโยธินที่ 12 กล่าวว่า “ในการฝึกซ้อมครั้งนี้ แทนที่จะเป็นการปฏิบัติการแข่งขัน คุณจะได้เห็นกองทัพเรือที่มีเครือข่ายและมีการกระจายกำลังกันดำเนินการตามแนวคิดที่มีความสำคัญต่อการสนับสนุนการปฏิบัติการทางทะเลในอนาคต”

ในขณะเดียวกัน ในระหว่างการฝึกซ้อมสปาร์ตัน ฟิวรี่ 21.1 กองพันทหารราบที่ 1 นาวิกโยธินที่ 12 ได้ขยายขีดความสามารถในการโจมตีเป้าหมายทั่วทั้งห่วงโซ่หมู่เกาะฮาวาย โดยใช้เครื่องยิงจรวดเคลื่อนที่ซึ่งติดตั้งอยู่บนอากาศยาน และดำเนินการจัดเตรียมการสำรวจรูปแบบต่าง ๆ อีกครั้งเพื่อรวบรวมเรือสนับสนุนการลงจอดของกองทัพบก เมื่อเคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งซ่อนตัวผ่านการขนส่งทางอากาศและทางทะเล เครื่องยิงแบบเคลื่อนที่ได้รับข้อมูลการยิงจากระบบคนขับและระบบไร้คนขับในหลาย ๆ มิติ ขณะที่นาวิกโยธินยิงปืนใหญ่วิถีโค้ง เอ็ม777เอ2 ไปตามตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อโจมตีเป้าหมายด้วยกระสุนจริง

แนวทางใหม่ ๆ ในการใช้งานและความยั่งยืนของกองกำลังที่กระจายตัวกันเหล่านี้ ได้รับการทดสอบกับนาวิกโยธินที่กระจายกำลังอยู่ทั่วเกาะและมหาสมุทรเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับกองทัพอากาศและกองทัพเรือเพื่อให้บรรลุผลกระทบขนาดใหญ่และยังไม่ได้รับการตรวจพบได้ ในขณะที่หลายคนมองว่าการบูรณาการทางเรือกับนาวิกโยธินเป็นไปในแง่ของการขนส่งแบบสะเทินน้ำสะเทินบก แต่ปฏิบัติการนี้มีนาวิกโยธินทำงานร่วมกับเรือพิฆาตของกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยตรง

“เรากำลังใช้เซ็นเซอร์บนเรือเพื่อขยายระยะทางของเราและแบ่งปันข้อมูลข้ามห่วงโซ่ของเกาะดังกล่าว” น.ต. เจคอบ เซอร์เชอร์ เจ้าหน้าที่ประสานงานการยิงปืนทางเรือของกองพันที่ 1 แห่งกองทัพนาวิกโยธินที่ 12 กล่าว “เราสามารถขยายทัศนวิสัยของเราให้กว้างขึ้นและยิงได้ รวมทั้งสร้างความตระหนักร่วมกันที่ดีขึ้นเกี่ยวกับพื้นที่รบ”

การฝึกซ้อมหลายครั้งในอดีตได้นำเสนอสิ่งที่เรียกว่าการแทรกซึมอย่างรวดเร็วของระบบเครื่องยิงจรวดเคลื่อนที่หรือระบบเครื่องยิงจรวดความสามารถในการเคลื่อนที่สูง ซึ่งในระหว่างนั้นเครื่องยิงจรวดจะถูกนำไปยังสนามบิน ทำการยิง และนำออกจากพื้นที่อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การรักษาความยั่งยืนนอกประเทศที่เป็นไปได้ของขีดความสามารถในการยิงระยะไกลที่ท้าทายบนฐานทัพขั้นสูงนอกประเทศนั้น เป็นจุดเน้นสำคัญในระหว่างปฏิบัติการล่าสุดเหล่านี้ด้วยการใช้การใช้ประโยชน์จากเรือผิวน้ำเคลื่อนที่ การส่งมอบทางอากาศที่อำนวยความสะดวกโดยหน่วยนาวิกโยธินและทรัพย์สินร่วม และขบวนภาคพื้นดินที่มีเอกลักษณ์ต่ำเพื่อจัดหาที่เก็บอาวุธซึ่งซ่อนตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่ปฏิบัติการโดยกองพันสนับสนุนการขนส่งที่ 1

“เรากำลังตรวจสอบสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้สามารถอยู่ในสถานที่เช่นนี้ในระยะเวลาที่ท้าทายได้” พ.ต. เจคอบ เบอร์ตัน ผู้บัญชาการ หน่วยปืนใหญ่ระบบเครื่องยิงจรวดเคลื่อนที่พร้อมปฏิบัติการ 3/12 กล่าวในระหว่างการฝึกซ้อมแคสต์อะเวย์ 21.1 บนเกาะอิเอะชิมะ “เราได้รับความรู้มากมายจากปฏิบัติการครั้งนี้”

ในขณะเดียวกัน ทหารราบของกองพันทหารราบที่ 3 แห่งกองทัพนาวิกโยธินที่ 3 ใช้กำลังป้องกันชายฝั่งรอบ ๆ จังหวัดโอกินาว่าในวงกว้าง โดยใช้กำลังเคลื่อนที่สูงบนบกและในเรือที่ไม่สะดุดตาเพื่อค้นหาและโจมตีเป้าหมายทางทะเล ยานพาหนะทางยุทธวิธีแบบเบาร่วมซึ่งกองทัพนาวิกโยธินที่ 3 นำมาใช้งานเพื่อประสานงานการโจมตีทางอากาศในช่วงการซ้อมรบย่อยในป่าเมื่อ พ.ศ. 2563 ได้เข้ามามีบทบาทใหม่ โดยให้กลุ่มนาวิกโยธินติดขีปนาวุธกลุ่มเล็ก ๆ ตรวจจับและโจมตีเป้าหมายขณะเคลื่อนที่

ร.อ. โจนาธาน โคลเลอร์ ผู้บัญชาการกองร้อยที่ 3/3 ซึ่งเป็นผู้นำปฏิบัติการป้องกันตามแนวขอบชายฝั่ง กล่าวว่า “ไม่มีข้อจำกัดในการเรียนรู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ”

หลาย ๆ แง่มุมของปฏิบัติการฐานทัพขั้นสูงนอกประเทศไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับกองบัญชาการนาวิกโยธินที่ 3 หน่วยที่ได้รับการถ่ายทอดนี้มีขนบธรรมเนียมประเพณีอันยาวนานในด้านนวัตกรรม การพัฒนา และการสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับกองกำลังร่วมและพันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก บทเรียนที่ได้รับจากการฝึกซ้อมที่โดดเด่นใน พ.ศ. 2563 นี้เพียงปีเดียว เช่น การซ้อมรบย่อยในป่าและคีนซอร์ด ซึ่งมีทหารญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ยึดครองและป้องกันเกาะ อีกทั้งจัดตั้งฐานทัพขั้นสูงนอกประเทศ เป็นสิ่งที่อยู่ภายในใจของนาวิกโยธินทั้งหลาย พร้อมทั้งความตระหนักว่าการต่อสู้กับศัตรูในอนาคตจะเป็นความพยายามร่วมกัน

พ.ท. เอริก เดวิส ผู้บัญชาการกองพันทหารราบที่ 1 แห่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่ 1 กล่าวว่า “แคสต์อะเวย์เป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความมั่นใจว่ากองทัพบกสหรัฐฯ พร้อมและตอบสนองต่อวิกฤตและเหตุฉุกเฉินกับพันธมิตรของเราทั่วภูมิภาคอินโดแปซิฟิก” “ปฏิบัติการนี้แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของหน่วยปฏิบัติการพิเศษในการสนับสนุนการใช้งานแพลตฟอร์มการยิงที่แม่นยำจากระยะไกลของกองทัพนาวิกโยธินที่ 3 อย่างรวดเร็วในพื้นที่ใกล้เคียงหรือพื้นที่ห่างไกล”

พ.อ. โรช กล่าวว่า การอำนวยความสะดวกในการบูรณาการร่วมนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อพรรคนาวิกโยธิน เนื่องจากลักษณะของความสามารถในการปรับตัวและการทำงานเป็นทีมที่คงอยู่ถาวรเหล่านี้ได้รับการปลูกฝังขึ้นตั้งแต่แรกเริ่มในการฝึกซ้อมระดับต้น “ผมมองว่าปฏิบัติการของเราเป็นหัวใจสำคัญในการนำการดำเนินงานร่วมที่ประสบความสำเร็จมาบูรณาการไว้ด้วยกัน … ดังที่เราได้แสดงให้เห็นที่จังหวัดโอกินาว่าและฮาวายในสัปดาห์นี้”

ภาพจาก: ส.ต. สก็อตต์ ออบูชอน/นาวิกโยธินสหรัฐฯ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button