ติดอันดับ

องค์การสหประชาชาติระบุว่า มีการทรมานและการบังคับใช้แรงงานอย่างแพร่หลายในเกาหลีเหนือ ขณะที่สหรัฐฯ พิจารณาการคว่ำบาตร

รอยเตอร์

เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุว่า มีการทรมานและการบังคับใช้แรงงานอย่างแพร่หลายในเรือนจำของเกาหลีเหนือ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ในขณะที่สหรัฐฯ เพิ่งพิจารณาการคว่ำบาตรโครงการนิวเคลียร์ของรัฐบาลเกาหลีเหนือ

รายงานดังกล่าวซึ่งเผยแพร่เจ็ดปีหลังการสอบสวนที่สำคัญขององค์การสหประชาชาติพบว่า รัฐบาลเผด็จการของเกาหลีเหนือกำลังก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า ค่ายคุมขังทางการเมืองที่ดำเนินการโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัยของเกาหลีเหนือยังคงมีอยู่ แม้จะหาข้อมูลได้ยาก (ภาพ: ผู้แปรพักตร์ชาวเกาหลีเหนือและผู้ประท้วงชาวเกาหลีใต้ เรียกร้องให้มุ่งความสนใจไปที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนของนายคิม จองอึน ผู้นำรัฐบาลเกาหลีเหนือ ระหว่างการชุมนุมในกรุงโซลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)

“ไม่เพียงมีการละเว้นโทษเท่านั้น แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจทำให้อาชญากรรมต่อมนุษยชาติยังคงดำเนินต่อไปด้วย” นางมิเชล บาเชเลต์ กรรมาธิการระดับสูงด้านสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ กล่าวในแถลงการณ์

นางบาเชเลต์กระตุ้นให้มหาอำนาจของโลกเรียกคืนความยุติธรรมและป้องกันการละเมิดเพิ่มเติม รายงานดังกล่าวเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ยื่นเรื่องเกาหลีเหนือไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อดำเนินคดีหรือจัดตั้งศาลเฉพาะกิจ

“ความรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติอย่างต่อเนื่อง ควรเป็นข้อพิจารณาหลักในการส่งเกาหลีเหนือเข้าสู่โต๊ะเจรจา” นางราวินา ชัมดาซานี โฆษกหญิงประจำสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าว

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวในเอ็นบีซีนิวส์ว่าสามารถใช้มาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมต่อเกาหลีเหนือ โดยร่วมมือกับพันธมิตรของสหรัฐฯ เพื่อปูทางสู่การปลดอาวุธนิวเคลียร์ของคาบสมุทรเกาหลีที่ถูกแบ่งแยก เครื่องมืออื่น ๆ นั้นหมายรวมถึงสิ่งจูงใจทางการทูตที่ไม่สามารถระบุได้ นายบลิงเคนกล่าว

เกาหลีเหนือปฏิเสธว่าไม่มีค่ายคุมขังทางการเมือง และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 ได้ประณามอังกฤษที่ประกาศมาตรการคว่ำบาตรต่อองค์กรสองแห่งที่รัฐบาลอังกฤษระบุว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงาน การทรมาน และการฆาตกรรมในค่ายขององค์กรเหล่านั้น

รายงานขององค์การสหประชาชาติที่อ้างถึงการสัมภาษณ์อดีตผู้ถูกคุมขังระบุว่า ยังคงได้รับ “ข้อมูลที่สอดคล้องกันและน่าเชื่อถือเกี่ยวกับระบบการลงโทษ ที่สร้างความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงหรือความทุกข์ทรมานต่อผู้ถูกคุมขัง ผ่านการลงโทษโดยการทุบตี ภาวะความเครียด และความอดอยากในสถานที่กักขัง”

ซึ่งเป็นการยืนยันผลการไต่สวนขององค์การสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2557 ซึ่งนำโดยนายไมเคิล เคอร์บี อดีตผู้พิพากษาชาวออสเตรเลีย และ “บ่งชี้ว่าอาชญากรรมต่อมนุษยชาติจากการทรมานยังคงเกิดขึ้นในระบบเรือนจำปกติ”

รายงานดังกล่าวระบุว่า การบังคับใช้แรงงาน “ซึ่งอาจนำไปสู่การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติจากการใช้แรงงานทาส” ยังคงปรากฏในเรือนจำหลายแห่ง

 

ภาพจาก: ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button