วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมแผนก

นักออกแบบท่าเต้นชาวอินโดนีเซียจัด เวทีดิจิทัลสำหรับบรรดานักเต้นรำ

ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2563 ดูเหมือนจะเป็นปีที่ยอดเยี่ยมสำหรับอาชีพการเต้นรำของนายชิโก เซทยันโต โดยได้เดินทางไปแสดงในเยอรมนีและเกาหลีใต้ พร้อมจัดการแสดงในอินโดนีเซีย ชั้นเรียนต่าง ๆ และกลุ่มเรียนรู้อื่น ๆ

ตอนนี้ ชายคนนี้ใช้เวลาปักหลักอยู่บ้านนานกว่าสองเดือนแล้ว

“สำหรับนักเต้นรำแล้ว ก็เหมือนเส้นเลือดในร่างกายหยุดไหลเวียน” เขากล่าว “ผมไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไม่มีงานทำอีกต่อไป … ในขณะที่ความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจของผมไม่หยุดลง โดยส่วนตัวแล้ว ผมก็เครียดเช่นกัน”

นักออกแบบท่าเต้นสองคนในเมืองหลวงของอินโดนีเซียช่วยเขาไว้ พวกเขาใช้ระบบแบบดั้งเดิมสำหรับการให้ทิปศิลปิน ใช้ความรู้ความคิดที่ทันสมัยของซาเวรันในการโพสต์วิดีโอบันทึกผลงานของนักเต้นรำลงในยูทูบ และขอรับเงินบริจาคเพื่อต่อชีวิตให้นักเต้นและคงศิลปะของพวกไว้

“เราจำได้ว่าเมื่อนานมาแล้วเราได้ดูการแสดงด้วยระบบซาเวรัน” นายรัสดี รุกมาราตา ผู้ควบคุมโครงการนี้ร่วมกับนางโยลา ยุลเฟียนติ กล่าว

“ไม่มีช่องขายตั๋ว ไม่มีโปรโมชัน มีแต่พื้นที่ในตลาดและนักดนตรี ผู้คนสามารถรับชมได้ฟรี หากว่าชื่นชอบก็ให้ทิปกับนักแสดง” นายรุกมาราตากล่าว

นายรุกมาราตาและนางยุลเฟียนติ สมาชิกสภาศิลปะจาการ์ตา เริ่มจัดทำ ซาเวรันออนไลน์ ในช่องอินโดนีเซีย แดนซ์ เน็ตเวิร์ค ในยูทูบ บนเวทีดิจิทัลนี้ นักเต้นรำสามารถแสดงผลงานของตัวเองได้ การแสดงนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ผู้ชมจะได้รับการส่งเสริมให้บริจาคเงิน

มีวิดีโอมากกว่า 60 รายการ โดยเป็นการแสดงทั้งจากนักแสดงเดี่ยว หรือกลุ่มนักเต้นรำต่าง ๆ จากภูมิหลังและแนวเพลงที่หลากหลายให้ผู้ชมได้ชม รวมถึงการเต้นรำแบบดั้งเดิมของอินโดนีเซีย บัลเล่ต์ร่วมสมัย ไปจนถึงการเต้นออกกำลังกายสำหรับผู้ชมที่มีอายุมากขึ้น นักเต้นรำบางคนบันทึกส่งให้เป็นวิดีโอ ขณะที่บางคนบันทึกการแสดงที่สตูดิโอของนายรุกมาราตา

การบริจาคแต่ละครั้งแบ่งออกเป็น: ร้อยละ 75 สำหรับนักแสดง และร้อยละ 20 แบ่งไปเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาโควิด-19 ในอินโดนีเซีย และส่วนที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการ
นายเซทยันโตเห็นเงินฝากเข้าบัญชีธนาคารของตนในช่วงสองสัปดาห์หลังจากอัปโหลดวิดีโอของเขา เงินสดมีความสำคัญต่อนาย

เซทยันโต แต่โอกาสในการแสดงศิลปะของเขาก็เช่นกัน “ผมรู้สึกซาบซึ้งมากที่โครงการนี้สามารถเป็นสถานที่ให้นักเต้นรำได้แสดงผลงานของเรา”

นางยุลเฟียนติกล่าวว่านักแสดงมีหน้าที่ดึงดูดผู้ชมและการสนับสนุน “นักเต้นรำควรมีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด โดยควรดึงดูดผู้ชมของตนเองด้วย” นางยุลเฟียนติกล่าว

นางรัสดี อนินดาจาติ ผู้ผลิตงานศิลปะอิสระที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 และมีชื่อเสียงในฐานะของผู้ป่วยรายที่ 3 ของอินโดนีเซีย ได้ร่วมงานกับนักออกแบบท่าเต้นสองคนจากจาการ์ตาในการริเริ่มโครงการครั้งนี้ นางอนินดาจาติกล่าวว่าการรอดชีวิตของเธอได้สร้างแรงบันดาลใจให้เธอทำเพื่อคนอื่นมากขึ้นในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ “เนื่องจากฉันเติบโตมากับชุมชนการเต้นรำ ฉันก็อยากจะช่วยเหลือพวกเขา นอกจากนี้ ไม่เพียงแต่ช่วยเหลือผู้คนในชุมชนเต้นรำเท่านั้น” แต่ยังรวมถึงคนอื่น ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือด้วย นางอนินดาจาติกล่าว

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button