ความท้าทายใน พ.ศ. 2564 มีมากกว่าการฟื้นตัวจากไวรัสโคโรนา

เจ้าหน้าที่ ฟอรัม

ในขณะที่การต่อสู้กับการระบาดทั่วโลกยังคงดำเนินต่อมาจนถึง พ.ศ. 2564 ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ภูมิภาคอินโดแปซิฟิกอาจคาดการณ์ได้ว่าจะเผชิญกับความท้าทายด้านความมั่นคงอื่น ๆ ทั้งใหม่และเก่าในปีนี้

สาธารณรัฐประชาชนจีนที่รุกรานอย่างไม่หยุดยั้งจะยังคงแสดงให้เห็นถึงความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ เช่นเดียวกับเกาหลีเหนือที่คาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งปฏิเสธการปลดอาวุธนิวเคลียร์จนถึงขณะนี้

“ต้น พ.ศ. 2564 จะเป็นช่วงเวลาที่ไม่เคยมีมาก่อน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และทั่วโลกจะยังคงเผชิญกับการระบาดของโรคและวิกฤตเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามต่าง ๆ เช่น วิกฤตสภาพภูมิอากาศ และความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นในจีน” นายไมเคิล ฟัชส์ นักวิชาการอาวุโสของศูนย์เพื่อความก้าวหน้าของอเมริกา และนายฮานึล ลี ผู้ช่วยวิจัยด้านนโยบายเอเชีย ร่วมกับทีมนโยบายความมั่นคงแห่งชาติและนโยบายระหว่างประเทศของศูนย์ ได้เขียนไว้ในบทวิเคราะห์ของศูนย์

การเข้ารับตำแหน่งของนายโจ ไบเดน ในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 20 มกราคม อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในนโยบายของสหรัฐฯ ที่เสนอทรัพยากรเพิ่มเติมให้กับพันธมิตรและหุ้นส่วนของสหรัฐฯ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้และความท้าทายอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าไม่มีแนวโน้มที่รัฐบาลของนายไบเดนจะขัดขวางความพยายามของจีนในการแข่งขันเพื่อการมีอำนาจเหนือกว่า

“จีนอาจพยายามข่มขู่เพื่อนบ้านที่ต่ำกว่าเกณฑ์การแทรกแซงของสหรัฐฯ และตัดสินผิดว่าเกณฑ์นั้นอยู่ที่ใด หรือประเมินความตั้งใจของสหรัฐฯ ต่ำไป” ในการตอบสนองต่อการรับรู้ภัยคุกคามต่อทรัพย์สิน นายเดวิด กอมเพิร์ท อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ กล่าวกับหนังสือพิมพ์ออนไลน์เอเชียไทมส์

การปฏิบัติการในพื้นที่สีเทาดังกล่าวที่มีการยั่วยุเกิดขึ้น โดยปราศจากการกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งทางอาวุธ และเป็นสถานการณ์ที่ไม่แน่ชัดว่าสงบสุขหรือมีสงคราม เป็นความท้าทายใหม่ต่อกองทัพและรัฐบาลในอินโดแปซิฟิก

“ขณะที่สงครามเต็มรูปแบบยังคงไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่ประเทศที่มีอำนาจก็มีแนวโน้มที่จะใช้ประโยชน์จากพื้นที่สีเทาซึ่งอยู่ในสภาวะก้ำกึ่งระหว่างสงครามกับสันติภาพต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่าสมดุลของกองทัพยังคงอยู่ในเกณฑ์อันน่าพอใจ” สถาบันวิเทศสัมพันธ์แห่งออสเตรเลียระบุ “สำหรับรัฐที่ไม่คุ้นเคยกับสงครามในรูปแบบนี้ ความท้าทายคือการเตรียมรับมือกับการรุกรานอย่างมีชั้นเชิง ซึ่งผู้รุกรานจะใช้มาตรการต่อต้านการเข้าถึงที่ไม่ใช่ทางทหารมากขึ้นเรื่อย ๆ ความจำเป็นในเวลานี้คือการให้รัฐที่ปฏิบัติตามกฎหมายดำเนินการต่อไป เพื่อธำรงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยตามกฎระเบียบในกลุ่มชนชาวเอเชีย”

อีกหนึ่งสงครามรูปแบบใหม่ที่แพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคและทั่วโลกคือ โดรนติดอาวุธ กองทัพต่าง ๆ กำลังเดินหน้าทำงานเพื่อการใช้โดรนที่ปลอดภัยและเป็นอิสระในทุกพื้นที่ การขาดกรอบทางกฎหมายที่ห้ามไม่ให้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวผ่านทางหุ่นยนต์ภาคพื้นดินและใต้ทะเลอาจเร่งให้เกิดการนำไปใช้เช่นนั้นได้ ตามรายงานของนิตยสารข่าวออนไลน์เดอะดิโพลแมต

“แต่การนำหุ่นยนต์มาใช้ในสงครามโดยรวมเป็นกระบวนการที่ไม่เสถียร หากโดรนทางอากาศที่ติดอาวุธกลายเป็นเรื่องธรรมดา เราจะไม่สามารถกล่าวเช่นนี้กับหุ่นยนต์ภาคพื้นดินหรือหุ่นยนต์ทางเรือที่ติดอาวุธ” ตามรายงานของเดอะดิโพลแมต “เรื่องนี้มีเหตุผลทางเทคนิคที่ดี กล่าวคือ การใช้งานทางภาคพื้นดินที่ปลอดภัยและเป็นอิสระนั้นยากกว่าในอากาศมาก”

นอกจากนี้ การวิเคราะห์ของเดอะดิโพลแมตยังเตือนถึงการเจาะระบบที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งคล้ายกับการโจมตีสหรัฐฯ ทางไซเบอร์ของโซลาร์วินด์ที่รัฐให้การสนับสนุน โดยรัสเซียถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุ

“การเจาะระบบเป็นเรื่องยากที่จะคุ้มกัน รายละเอียดต่าง ๆ เป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว และยากที่จะอธิบายเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ซึ่งแน่นอนว่าทั้งแฮกเกอร์และฝ่ายที่ถูกเจาะระบบไม่มีความกระตือรือร้นที่จะเสนอความคิดเห็น” ตามรายงานของเดอะดิโพลแมต “แม้ว่าใน พ.ศ. 2564 มีแนวโน้มที่จะเห็นการเปิดเผยเกี่ยวกับการเจาะระบบต่อสาธารณะ ซึ่งมีขอบเขตและขนาดเท่ากันหรือมากกว่าโซลาร์วินด์ แต่การเจาะระบบก็ไม่น่าจะได้รับความคุ้มครองที่เพียงพอ”

 

ภาพจาก: ไอสต็อก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button