ติดอันดับ

เครื่องบินทิ้งระเบิดแสดงขีดความสามารถแบบไดนามิกกับยูเอสเอส โรนัลด์ เรแกน

เครื่องบินทิ้งระเบิดบี-1บี แลนเซอร์ (ในภาพ) ขึ้นบินจากภาคพื้นทวีปสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เพื่อทำการฝึกร่วมกับอากาศยานลำอื่นและกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตียูเอสเอส โรนัลด์ เรแกน

การแสดงขีดความสามารถครั้งนี้มีอากาศยานจากทั่วอินโดแปซิฟิกและเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ เข้าร่วม โดยการฝึกครั้งนี้ประกอบด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-1 อีกสองลำซึ่งขณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยทิ้งระเบิดเฉพาะกิจที่กวม เครื่องบินขับไล่เอฟ-22 สองลำในพื้นที่สำหรับการฝึกจากแลงลีย์ รัฐเวอร์จิเนีย และอากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐฯ ของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตียูเอสเอส โรนัลด์ เรแกน ปฏิบัติการนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเครื่องบินทิ้งระเบิดแลนเซอร์บินขึ้นจากเอลส์เวิร์ท รัฐเซาท์ดาโคตา เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน และดำเนินต่อจนถึงวันถัดมา ซึ่งในวันนั้นทีมเครื่องบินทิ้งระเบิดได้เข้าร่วมกับอากาศยานและเรือของกองทัพเรือ รวมทั้งอากาศยานของกองทัพอากาศสหรัฐฯ กิจกรรมนี้สิ้นสุดลงโดยที่เครื่องบินทิ้งระเบิดแลนเซอร์บินไปทางใต้เพื่อทำการฝึกเพิ่มเติมก่อนที่จะกลับไปยังเอลส์เวิร์ท ซึ่งใช้เวลามากกว่า 23 ชั่วโมงหลังขึ้นบิน

ปฏิบัติการร่วมกับเรือยูเอสเอส โรนัลด์ เรแกน ครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลายประการเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องต่อพันธมิตรและหุ้นส่วนในภูมิภาค การฝึกดังกล่าวประกอบด้วยลำดับกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งออกแบบมาเพื่อรับรองถึงความพร้อมและการประสานเวลาและจังหวะอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยมีขีดความสามารถของกองทัพอากาศและกองทัพเรือรวมอยู่ด้วย การผสมผสานดังกล่าวจำเป็นต้องมีผู้นำและบุคลากรที่มีความสามารถในทุกระดับ “ในมหาสมุทรแปซิฟิกแห่งนี้ กองกำลังของเรามีทหารอากาศที่มีทักษะและความสามารถอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งพวกเขามีความสามารถในการบรรลุภารกิจนี้” น.ต. เพรสตัน คาฮิกินากล่าว

พล.อ.อ. เคนเนธ วิลส์บาค ผู้บัญชาการกองทัพอากาศแปซิฟิกได้เน้นย้ำถึงคุณค่าของการฝึกร่วมกันในหลายขีดความสามารถ “จุดแข็งเฉพาะตัวของเราในฐานะกองทัพอากาศคือความสามารถในการสร้างการดำเนินการแบบผสานรวมกับเพื่อนร่วมทีมรวมทั้งพันธมิตรและหุ้นส่วนของเรา เพื่อท้าทายคู่แข่งในเวลาและสถานที่ที่เราเลือก” พล.อ.อ. วิลส์บาคกล่าว “ภารกิจแสนยานุภาพทางอากาศซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมของเราในการส่งมอบตัวเลือกเชิงรุกที่ปรับเปลี่ยนได้ เพื่อส่งกองกำลังไปสนับสนุนภารกิจของเราได้อย่างรวดเร็วเพื่อรับรองถึงอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง

การบูรณาการอากาศยานกับเรือจากหลายสถานที่เป็นการสาธิตล่าสุดของแนวคิดการใช้กองกำลังแบบไดนามิก ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านกลาโหมแห่งชาติของสหรัฐฯ โดยรับรองถึงความสามารถในการคาดการณ์ทางยุทธศาสตร์พร้อมทั้งรักษาภาวะที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ในเชิงปฏิบัติการ

นอกจากนี้ ผู้นำกองทัพเรือสหรัฐฯ ยังส่งเสริมความสามารถในการประสานข้อมูลในลักษณะที่คาดการณ์ไม่ได้ “การฝึกเช่นนี้เป็นการสาธิตและเสริมสร้างความสามารถของเราในการมุ่งเน้นและผสานรวมขีดความสามารถของกองกำลังร่วม เพื่อรับมือกับความท้าทายทางทะเลและเหตุการณ์ไม่คาดคิด” น.ท. โจชัว ฟาแกน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการทางอากาศกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 5 กล่าว

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button