ติดอันดับ

หุ้นส่วนอินโดแปซิฟิกรวมตัวกันเพื่อสนับสนุนการต่อสู้กับโควิด-19 ของประเทศหมู่เกาะ

แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนารุกคืบเข้ามายังประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกส่วนใหญ่แล้ว ซึ่งนั่นเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนาที่ประเทศที่ห่างไกลเหล่านั้นต้องการประวิงเวลาเผชิญหน้าออกไป โดยมีการสนับสนุนจากเหล่าหุ้นส่วนอินโดแปซิฟิก

ทั่วทั้งโลกมีเพียง 12 ประเทศเท่านั้นที่ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ซึ่งในจำนวนนี้มีประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกจำนวน 10 ประเทศด้วย ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เดอะซิดนีย์มอร์นิ่งเฮรัลด์ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การปิดพรมแดนอย่างรวดเร็วในภูมิภาคแปซิฟิกมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการยับยั้งการแพร่ระบาด

อย่างไรก็ตาม ความระมัดระวังยังคงเป็นมาตรการระดับชาติที่สำคัญ แม้ว่าระยะห่างระหว่างชุมชนบนเกาะจะเป็นปราการชั้นดีในการยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัส แต่ก็เป็นข้อจำกัดอย่างมากในการให้การดูแลด้านสุขภาพและบริการอื่น ๆ เช่นกัน

สหรัฐอเมริกาเป็นหัวหอกสำคัญที่พยายามช่วยเหลือด้านการบรรเทาทุกข์และให้การสนับสนุนในหมู่เกาะแปซิฟิก ดังที่ได้ดำเนินการมาแล้วทั่วโลกนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีน (ภาพ: เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ จากฝูงบินขนส่งทางอากาศที่ 535 ของฐานทัพร่วมเพิร์ลฮาร์เบอร์-ฮิกคัม รัฐฮาวาย จัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขึ้นเครื่องบิน ซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 เพื่อความพยายามบรรเทาทุกข์จากโควิด-19 ในหมู่เกาะมาเรียนา)

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ รายงานว่า สหรัฐฯ กำลังประสานงานกับออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน ตลอดจนประชาคมแปซิฟิก เช่น องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ ได้บริจาคเงิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 157 ล้านบาท) เพื่อการขนส่งเสบียงด้านมนุษยธรรม ด้านการแพทย์ และบุคลากรไปทางอากาศ เพื่อสนับสนุนเส้นทางมนุษยธรรมแปซิฟิกของที่ประชุมหมู่เกาะแปซิฟิกว่าด้วยโครงการริเริ่มด้านโควิด-19

ที่ประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก ซึ่งเป็นองค์กรด้านนโยบายการเมืองและเศรษฐกิจที่ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2514 โดยมีสมาชิก 18 ประเทศนั้น เป็นองค์กรที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของภูมิภาค

“ในช่วงเวลามืดมน ขณะที่เราต่อสู้กับสถานการณ์โควิด-19 และการพัดถล่มอย่างรุนแรงของพายุไซโคลนฮาโรลด์ ที่ประชุมหมู่เกาะแปซิฟิกเป็นศูนย์กลางการตอบสนองของภูมิภาคเรา ซึ่งทำหน้าที่เป็นเส้นทางเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนที่รับมือกับเรื่องเลวร้ายอย่างไวรัสโคโรนาและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในคราวเดียวกัน” นายโวเรเก ไบนิมารามา นายกรัฐมนตรีฟิจิ กล่าวเมื่อปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เดอะฟิจิไทมส์

สหรัฐฯ ได้มอบเงินช่วยเหลือเพื่อการบรรเทาทุกข์จากโควิด-19 มากกว่า 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.14 พันล้านบาท) แก่หมู่เกาะแปซิฟิก การให้เงินทุนสนับสนุนมีตั้งแต่การควบคุมและการป้องกันโรคในสถานบริการด้านการดูแลสุขภาพ ไปจนถึงการติดตามเส้นทางผู้ติดเชื้อและโครงการสุขาภิบาล องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ ยังได้บริจาคเครื่องช่วยหายใจใหม่จำนวนทั้งสิ้น 90 เครื่องให้แก่ฟิจิ คิริบาส นาอูรู และปาปัวนิวกินี

การสนับสนุนจากหุ้นส่วนอินโดแปซิฟิกอื่น ๆ ได้แก่

  • ออสเตรเลียให้บริการที่ปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลและอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ และบริการจัดการผู้ติดเชื้อในทั่วทั้งภูมิภาค
  • ญี่ปุ่นมอบเงินทุนสนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ การรณรงค์สร้างความตระหนักด้านสาธารณสุข และความเชี่ยวชาญทางเทคนิคให้แก่ปาปัวนิวกินี
  • นิวซีแลนด์จัดหาเครื่องช่วยหายใจ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล สถานที่กักตัว และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่น ๆ อีกทั้งยังจัดให้มีการเข้าถึงการตรวจหาโควิด-19 ฟรีแก่หมู่เกาะแปซิฟิก
  • เกาหลีใต้บริจาคชุดตรวจไวรัสโคโรนา เต็นท์คลินิกเคลื่อนที่ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล สถานีซักล้างแบบพกพา และตู้ความปลอดภัยทางชีวภาพให้แก่ฟิจิ
  • ไต้หวันมอบหน้ากากและกล้องตรวจจับความร้อนให้แก่หมู่เกาะมาร์แชลล์ นาอูรู ปาเลา และตูวาลู

นอกจากนี้ ยังมีความช่วยเหลือจากภายในประชาคมแปซิฟิกด้วย ได้แก่ สหพันธรัฐไมโครนีเซีย หมู่เกาะมาร์แชลล์ หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และปาเลาได้บริจาคชุดตรวจโควิด-19 หลายพันชุดให้แก่กวม

ทั้งนี้ การปิดเมืองเพื่อจำกัดการระบาดของไวรัสในภูมิภาคยังได้ทำลายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นเสาหลักของเศรษฐกิจในประเทศ หมู่เกาะแปซิฟิก “ได้รับความเสียหายจากผลกระทบในตอนท้ายของการระบาดใหญ่” นายเกร็กกอรี่ บี. โพลิง และนายอันเดรกา นาเทลกาวา จากสถาบันวิจัยนโยบายการต่างประเทศและยุทธศาสตร์เขียนในการแสดงความคิดเห็นให้แก่สถาบันวิจัยดังกล่าวซึ่งตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563

ประเทศหุ้นส่วนในอินโดแปซิฟิกยังช่วยบรรเทาการสูญเสียรายได้และรายได้ของรัฐบาลที่ลดลงแก่ประเทศหมู่เกาะต่าง ๆ

ในช่วงกลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ประกาศมอบเงินทุนสนับสนุนจำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 157 ล้านบาท) “เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพของภาคประชาสังคมในการจัดการผลกระทบที่ตามมาระลอกสองและสามจากโควิด-19 โดยการสนับสนุนชุมชนที่มีความเสี่ยงมากที่สุดของภูมิภาค”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button