นวัตกรรมแผนก

นิวเคลียร์สามเหล่า ที่ใช้งานได้จริง

ขีดความสามารถเชิงยุทธศาสตร์ในการยับยั้งนิวเคลียร์ยืนหยัดเพื่อปกป้องสหรัฐฯ และพันธมิตร

เจ้าหน้าที่ ฟอรัม

สหรัฐอเมริกาได้พัฒนาโครงสร้างเชิงยุทธศาสตร์ของนิวเคลียร์สามเหล่าของตนในช่วงสงครามเย็น โครงสร้างกำลังทหารสามเหล่าได้รวมระบบขีปนาวุธและเครื่องบินทิ้งระเบิดของกองบัญชาการยุทธศาสตร์ทางอากาศสหรัฐฯ เข้ากับกองเรือดำน้ำติดขีปนาวุธทิ้งตัวของกองทัพเรือสหรัฐฯ เมื่อมีการจัดตั้งกองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 เป้าหมายหลักของหน่วยงานนี้จึงกลายเป็นการจัดการรายวันและเตรียมความพร้อมให้แก่การปฏิบัติภารกิจของขีดความสามารถดังกล่าว

จากที่มีการพัฒนาในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์นี้ยังคงทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ป้องปรามการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ให้แก่ชาติของเราและพันธมิตร การทดสอบหลายครั้งที่มีการประสานงานกันในวันที่ 3 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นเครื่องยืนยันถึงพลังของนิวเคลียร์สามเหล่าและแสดงให้เห็นถึงวิธีการทดสอบที่มีความรับผิดชอบ

การทดสอบเหล่านี้ ได้แก่ การขึ้นบินของเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกล บี-52เอช สตราโตฟอร์เทรส ของหน่วยทิ้งระเบิดเฉพาะกิจ และการทดสอบปล่อยขีปนาวุธทิ้งตัวข้ามทวีป รวมถึงขีปนาวุธทิ้งตัวติดเรือดำน้ำสองลูก ระบบอาวุธที่ใช้ในการสาธิตมีต้นกำเนิดในยุคสงครามเย็น โดยนำเข้ามาใช้งานจริงในช่วงระหว่างทศวรรษ 1960 (พ.ศ. 2503-2512) ถึง 1980 (พ.ศ. 2523-2532)

ภาพจำลองเครื่องบินทิ้งระเบิดยุคใหม่บี-21 ไรเดอร์ กองทัพอากาศสหรัฐฯ

ในการไปเยือนกองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ในส่วนศูนย์บัญชาการและควบคุม นายมาร์ค เอสเปอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของภารกิจของกองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ “ลำดับความสำคัญสูงสุดของเราคือการทำให้แน่ใจว่าเรามีการป้องปรามเชิงยุทธศาสตร์ที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และน่าเชื่อถือ” นายเอสเปอร์กล่าว “ซึ่งนั่นหมายรวมถึงทุกส่วนของอาวุธสามเหล่า การบัญชาการนิวเคลียร์ การควบคุมและการสื่อสาร รวมทั้งการบัญชาการที่มีประสิทธิภาพอย่างมากภายใต้การนำของผู้บัญชาการที่มีประสิทธิภาพสูง”

ความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องของการป้องปรามอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ จำเป็นต้องมีหลายส่วนที่ทำงานสอดประสานกันเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงของชาติ สิ่งสำคัญที่สุดในภารกิจนี้คือผู้เชี่ยวชาญอาสาสมัครทั้งหมดที่บำรุงรักษาและใช้ขีดความสามารถเหล่านี้ทุกวัน

ยุทธนาวีใน พ.ศ. 2131 ระหว่างสเปนกับอังกฤษแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของบุคลากรที่ผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดีและมีความพร้อม กองเรือของอังกฤษที่ได้รับการฝึกมาดีกว่าเอาชนะกองเรือรบของสเปนที่มีขนาดขนาดใหญ่กว่ามากได้ ปัจจัยสำคัญในชัยชนะครั้งนั้นคืออังกฤษฝึกและเตรียมความพร้อมให้กองเรืออยู่เสมอ ในขณะที่เรือแล่นอยู่ในทะเลตลอดเวลา กะลาสีอังกฤษมีความเฉียบแหลม พร้อมรับมือกับทุกสิ่งในทะเล รวมถึงทุกสิ่งที่ศัตรูระดมเข้ามา

กองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ยึดมั่นในหลักการฝึกซ้อมและความพร้อมที่ไม่ตกยุคนี้ผ่านการทดสอบระบบอาวุธ การฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการใช้งานเชิงปฏิบัติการของนิวเคลียร์สามเหล่า

การเตรียมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบอาวุธให้พร้อมใช้งานตามที่กำหนดคือส่วนที่สองของการรักษาท่าทีการป้องปราม การมีกองกำลังเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาโดยเฉพาะช่วยให้มั่นใจได้ว่าอากาศยาน ขีปนาวุธ เรือดำน้ำ อาวุธปืนที่เกี่ยวข้อง และการสนับสนุนขีดความสามารถในการบังคับบัญชาและควบคุมจะอยู่ในสมรรถนะสูงสุดเมื่อมีคำสั่งให้ใช้งาน สิ่งนี้เริ่มต้นจากหน่วยภาคสนาม และได้รับการสนับสนุนโดยการบำรุงรักษาในระดับคลังสรรพาวุธที่มีการทำความสะอาดโดยละเอียดและการปรับปรุงใหม่ตามกำหนดเวลาระยะหลายปี เครื่องบินทิ้งระเบิดเชิงยุทธศาสตร์ บี-52 ซึ่งเป็นหัวหอกของระบบอาวุธป้องปรามนิวเคลียร์ เป็นตัวอย่างที่ดีของการบำรุงรักษาและการปรับปรุงใหม่ตามระเบียบการ โดยเครื่องบินบี-52เอช ได้รับการปรับปรุงให้ทันต่อปัจจุบันผ่านการยกระดับระบบหลายอย่างและการปรับปรุงเชิงโครงสร้างในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการเสริมอายุการใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้อากาศยานยุคเก่าในทศวรรษ 1960 (พ.ศ. 2503-2512) ใช้งานได้ในเชิงปฏิบัติการจนถึงทศวรรษ 2050 (พ.ศ. 2593-2602)

เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบมีคนขับ ซึ่งเป็นด้านหนึ่งของนิวเคลียร์สามเหล่าและประจำการมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง มีทางเลือกใช้งานสองทาง นั่นคือ เครื่องบินบี-52เอช สตราโตฟอร์เทรส และ บี-2 สปิริต ซึ่งประจำการในช่วงต้นทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533-2543) บริษัทนอร์ทรอป กรัมแมน คอร์ปอเรชั่น กำลังพัฒนาเครื่องบินบี-21 ไรเดอร์ ซึ่งเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดยุคใหม่ โดยใช้การออกแบบและประสบการณ์การปฏิบัติการของเครื่องบินบี-2 รวมถึงเทคโนโลยีเกิดใหม่ คาดว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-21 จะเข้าประจำการใน พ.ศ. 2568

นายมาร์ค ที. เอสเปอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ฟังการบรรยายสรุปที่กองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ในระหว่างการกำหนดเป้าหมายกองรบของกองบัญชาการที่ฐานทัพอากาศอัฟฟุต รัฐเนแบรสกา จ.อ. เอียน โฮชแลนเดอร์/กองทัพอากาศสหรัฐฯ

ขีปนาวุธทิ้งตัวข้ามทวีปคือด้านที่สองของนิวเคลียร์สามเหล่า กองกำลังขีปนาวุธทิ้งตัวข้ามทวีปประกอบไปด้วย ขีปนาวุธแอลจีเอ็ม-30จี มินิทแมน ทรี ที่นำมาใช้ในงานปฏิบัติการใน พ.ศ. ๒๕๑๓ และเช่นเดียวกับ บี-52เอช ขีปนาวุธนี้ได้รับการบำรุงรักษาต่าง ๆ ผ่านโครงการเสริมอายุการใช้งานเพื่อรับรองประสิทธิภาพไปจนถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 21 สิ่งที่จะเข้ามาแทนที่ขีปนาวุธมินิท
แมน ทรี กำลังได้รับการพัฒนาโดยระบบอวกาศของบริษัทนอร์ทรอป กรัมแมน ภายใต้โครงการการป้องปรามเชิงยุทธศาสตร์ภาคพื้นดิน และมีกำหนดเข้าประจำการใน พ.ศ. ๒๕๗๒ ความพยายามในการพัฒนาและการจัดหาของโครงการการป้องปรามเชิงยุทธศาสตร์ภาคพื้นดินนี้ แสดงถึงการจัดสรรงบประมาณอย่างมีนัยสำคัญต่อขีดความสามารถขีปนาวุธทิ้งตัวข้ามทวีปทั้งหมด

ด้านที่สามของนิวเคลียร์สามเหล่าคือกองเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธทิ้งตัวพลังงานนิวเคลียร์ เรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธทิ้งตัวพลังงานนิวเคลียร์ชั้นโอไฮโอ ซึ่งเข้าประจำการใน พ.ศ. 2524 จะยิงขีปนาวุธทิ้งตัวติดเรือดำน้ำ ไทรเดนท์ ทู ดี-5 สิ่งที่จะเข้ามาแทนที่เรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธทิ้งตัวอยู่ในระหว่างการพัฒนาโดยบริษัทอิเล็กทริกโบ๊ตและนิวพอร์ท นิวส์ ชิบบิลดิ้ง เรือชั้นโคลัมเบียมีแผนจะเข้าประจำการใน พ.ศ. 2574 และจะยิงขีปนาวุธทิ้งตัวติดเรือดำน้ำ ไทรเดนท์ ทู
ดี-5 จากโครงการยืดอายุการใช้งานเพื่อลดความเสี่ยงของโครงการทดแทน

แต่ละด้านของนิวเคลียร์สามเหล่า และการสนับสนุนการบัญชาการ ระบบประสาทการควบคุมและการสื่อสารเกี่ยวกับนิวเคลียร์ ได้รับการกระตุ้นใหม่หรือมีกำหนดสำหรับการกระตุ้นใหม่แบบยุคใหม่ ส่วนประกอบหนึ่งของการกระตุ้น
การบัญชาการ การควบคุม และการสื่อสารของนิวเคลียร์คือมิลสตาร์ยุคใหม่ ซึ่งเป็นการยกระดับอย่างมีนัยสำคัญด้านความสามารถการสื่อสารกับกองกำลังนิวเคลียร์ภาคสนามของกองบัญชาการ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 กองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ย้ายการจัดการรายวันของกองกำลังนิวเคลียร์สหรัฐฯ ไปยังศูนย์บัญชาการและควบคุมที่ทันสมัย ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้บทเรียนหลายอย่างที่ได้รับจากศูนย์ปฏิบัติการระดับโลกแห่งเดิม ซึ่งเปิดขึ้นภายใต้การสนับสนุนจากกองบัญชาการยุทธศาสตร์ทางอากาศ

แม้จะจัดตั้งขึ้นในช่วงสงครามเย็น แต่นิวเคลียร์สามเหล่าของสหรัฐฯ ยังคงเป็นการป้องปรามที่สำคัญเพื่อป้องกันการกระทำอันเป็นมหันตภัยโดยศัตรูของเราในศตวรรษที่ 21 สหรัฐฯ ยังรักษาและฝึกอบรมกองกำลังนิวเคลียร์สามเหล่า และดำเนินการพัฒนาเชิงเทคโนโลยีและโครงการต่อไป เพื่อให้ขีดความสามารถที่สำคัญนี้อยู่ในดุลยภาพ เตรียมพร้อม และเกี่ยวเนื่องกับการรักษาวัตถุประสงค์ความมั่นคงของชาติในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button