ติดอันดับ

การปฏิรูปผลักดันเกาหลีใต้ขึ้นเป็นผู้ส่งออกทางกลาโหม 10 อันดับแรก

ฟีลิกซ์ คิม

การปฏิรูปช่วยให้เกาหลีใต้บรรลุเป้าหมายการเป็นผู้ส่งออกทางกลาโหมรายใหญ่ เนื่องด้วยความพยายามของรัฐบาลที่จะเพิ่มความโปร่งใส ความเชี่ยวชาญ และการพัฒนาจึงได้ยกระดับเกาหลีใต้ขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกอาวุธ 10 อันดับแรก

นายซอ อุก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญกับ “การดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบ” เป็นเวลา 18 เดือนในโครงการปฏิรูปกลาโหม 2.0 โดยดำเนิน “การวิจัยและพัฒนาที่ท้าทายและมีนวัตกรรม โครงสร้างอุตสาหกรรมประเภทการส่งออก และธุรกิจกลาโหมที่น่าเชื่อถืออย่างสำเร็จลุล่วงผ่านการปฏิรูป” นายอุกได้กล่าวแสดงความคิดเห็นในการประชุมทบทวนการปฏิรูปกลาโหม 2.0 และการส่งเสริมนวัตกรรมอัจฉริยะทางกลาโหม ซึ่งจัดขึ้นทางออนไลน์โดยกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563

กระทรวงกลาโหมได้ปราบปรามการทุจริตและการติดสินบนเพื่อปรับปรุงความโปร่งใสในกระบวนการจัดหาทางกลาโหม ดร. คิม แจยอป นักวิจัยอาวุโสแห่งสถาบันภาคพื้นแปซิฟิกเพื่อการศึกษาเชิงกลยุทธ์กล่าวกับ ฟอรัม

นายคิมกล่าวเสริมว่า กระทรวงกลาโหมได้ขยายบทบาทของพลเรือนในการกำหนดนโยบายทางกลาโหม และ “ลดการพึ่งพานายทหารที่ทำงานอยู่” ซึ่งได้พัฒนาความเชี่ยวชาญในฝั่งรัฐบาลให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากจะเป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมกลาโหม

นายคิมกล่าวอธิบายว่า ด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อ “เสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพพื้นเมืองของเทคโนโลยีป้องกันประเทศที่สำคัญ รวมถึงวัสดุและส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง” กระทรวงกลาโหม “เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมทั้งอุดช่องโหว่และการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ”

การปฏิรูปเหล่านี้ช่วยลดการพึ่งพากลุ่มบริษัทโดยการมีส่วนร่วมกับบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางซึ่งมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยี เช่น ยานพาหนะไร้คนขับ ปัญญาประดิษฐ์ และซอฟต์แวร์ข้อมูลขนาดใหญ่ นายคิมกล่าว

ความพยายามที่จะประสานงานดังกล่าวช่วยให้เกาหลีใต้ขึ้นเป็นผู้ส่งออกทางกลาโหมรายใหญ่อันดับ 10 ของโลกในระยะเวลา 5 ปีโดยเริ่มต้นใน พ.ศ. 2558 อินโดแปซิฟิกถือเป็นตลาดที่สำคัญซึ่งมีผู้ซื้อในอินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย นอกจากนี้ เกาหลีใต้ยังส่งออกไปยังยุโรป รวมถึงเอสโตเนีย ฟินแลนด์ และนอร์เวย์

นายคิมกล่าวว่า “ประเทศเหล่านี้ต้องเผชิญภัยคุกคามจากจีนและรัสเซีย ประเทศดังกล่าวจึงจำเป็นต้องใช้ระบบอาวุธที่ผ่านการพิสูจน์ทางเทคนิคที่มีราคาประหยัด รวมถึงระยะเวลาแนะนำที่ไม่นานมาก ด้วยเหตุนี้ จึงมีการแนะนำเรือรบและปืนใหญ่ที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองของเกาหลีใต้ให้แก่ประเทศเหล่านั้น”

นายคิมกล่าวเสริมว่า ในฐานะผู้ส่งออกทางกลาโหมไปยังประเทศในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก เกาหลีใต้ต้องเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นเป็นสองเท่าต่อการแสดงออกของรัฐบาลจีนในภูมิภาคดังกล่าว ซึ่งจะเป็นทางเลือกสำหรับผู้จัดหาด้านกลาโหมของจีน และช่วยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถยับยั้งภัยคุกคามจากรัฐบาลจีนได้

การส่งออกทางกลาโหมของเกาหลีใต้ที่น่าจับตามองที่สุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาคือปืนใหญ่ฮาวอิตเซอร์ เค9 ธันเดอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ซึ่งผลิตโดยบริษัทฮันวา ดีเฟนซ์คอร์ปอเรชัน และตระกูลเคเอไอ ที-50 โกลเดน อีเกิลของผู้ฝึกสอน และเครื่องบินรบน้ำหนักเบา (ภาพ) ตามรายงานของนิตยสารดีเฟนซ์นิวส์

ฟีลิกซ์ คิม เป็นผู้สื่อข่าวสมทบของ ฟอรัม รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button