ติดอันดับ

ผู้นำกองทัพในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกจัดการกับความท้าทายด้านความมั่นคงในระดับภูมิภาค

กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิก

ผู้นำกองทัพอาวุโสจาก 29 ประเทศเข้าร่วมการประชุมผู้นำด้านกลาโหมในอินโดแปซิฟิกประจำปีแบบเสมือนจริง เมื่อวันที่ 24 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การประชุมซึ่งจัดโดยกองทัพสาธารณรัฐฟิจิและกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิก เป็นเวทีให้ผู้นำทางทหารจากทั่วภูมิภาคหารือเกี่ยวกับความท้าทายด้านความมั่นคงที่มีร่วมกันในวันนี้และในอนาคต

หัวข้อของการประชุมประจำ พ.ศ. 2563 คือ “การสร้างความก้าวหน้าให้กับอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง” (ภาพ: ดร. แอชลีย์ เจ. เทลลิส นักวิชาการอาวุโสของมูลนิธิคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (ซ้าย) และ พล.ร.อ. ฟิลิป เอส. เดวิดสัน ผู้บัญชาการกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิก (ขวา) ฟังนายมาร์ค ที. เอสเปอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในระหว่างการประชุมผู้นำด้านกลาโหมเมื่อวันที่ 24 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ในรัฐฮาวาย)

“สภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงที่เติบโตขึ้นในภูมิภาค ณ ตอนนี้เรียกร้องให้เราร่วมกันสร้างความเชื่อมั่นและความแข็งแกร่งให้มากยิ่งกว่าที่เคย เพื่อเดินหน้าแนวคิดอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างสำหรับทุกประเทศ” พล.ร.อ. ฟิลิป เอส. เดวิดสัน ผู้บัญชาการกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิก กล่าว “ในฐานะประเทศในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ไม่ว่าประชากร พื้นที่ ที่ดิน ความเจริญทางเศรษฐกิจ หรือความแข็งแกร่งทางทหารจะเป็นอย่างไร เราทุกคนมีสิทธิ์ในการก่อร่างสร้างระบบสากลนี้”

นายแฟรงค์ ไบนิมารามา นายกรัฐมนตรีฟิจิ กล่าวเปิดการประชุม และนายมาร์ค เอสเปอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวปราศรัย

วิทยากรและหัวข้ออื่น ๆ ได้แก่ พล.ร.ท. โจโรม อดัมส์ เจ้ากรมการแพทย์ทหารสหรัฐฯ ในหัวข้อผลกระทบของโควิด-19 ต่อความมั่นคงของชาติ, นายคริสเทียโน อมอน ประธานบริษัทควอลคอมม์ ในหัวข้อผลกระทบเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ 5 จีต่อความมั่นคงของชาติ, นายสตีเฟน ฮาร์เปอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีแคนาดา ในหัวข้อบทบาทของพหุภาคีนิยมในการสร้างความก้าวหน้าให้อินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง และแถลงการณ์ของ พล.อ. มาร์ค มิลลีย์ จากกองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประธานคณะเสนาธิการร่วมของสหรัฐฯ

ประเทศทั้ง 29 แห่งที่เข้าร่วมถือเป็นจำนวนที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์การประชุม 22 ปี

“เราต้องบรรลุวิธีการที่มีประสิทธิภาพร่วมกันเพื่อดำเนินแนวคิดอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างให้ก้าวหน้าต่อไป” พล.ร.อ. เดวิดสัน กล่าว “เพื่อรักษากฎหมาย กฎระเบียบ และบรรทัดฐานระหว่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมกรอบความมั่นคงในภูมิภาคที่ครอบคลุม แม้ว่าจะมีความท้าทายเพิ่มมากขึ้นในอินโดแปซิฟิกก็ตาม”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button