เรื่องเด่น

เศรษฐศาสตร์ กลาโหม

ถึงเวลาเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เพื่อรับมือกับการแข่งขันเชิงกลยุทธ์

ดร. อัลเฟรด โอห์เลอร์ส/ศูนย์เอเชียแปซิฟิก แดเนียล เค. อิโนะอุเอะ เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคง

ภาพโดย เอเอฟพี/เก็ตตี้อิมเมจ

คำจำกัดความของเศรษฐศาสตร์กลาโหมไม่ควรหยุดยั้งไว้ที่แนวคิดของการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรงบประมาณอีกต่อไป ท่ามกลางลำดับความสำคัญด้านกลาโหมที่ไม่ได้น้อยหน้ากัน ในยุคของการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ ถึงเวลาแล้วที่จะก้าวผ่านกรอบงานตายตัวที่เน้นตัวเลือกภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ประเทศที่มีความคิดเห็นตรงกันควรเปิดรับกรอบความคิดที่กว้างและไม่หยุดนิ่งมากขึ้น ซึ่งเน้นย้ำความสอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์และการใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์และจุดแข็งทางเศรษฐกิจที่พัฒนาไปเรื่อย ๆ พร้อมกับการจัดการช่องโหว่ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่ง

โดยหัวข้อนี้ไม่ได้พิจารณาผ่านมุมมองการเพิ่มประสิทธิภาพงบประมาณเพียงอย่างเดียวเสมอไป เมื่อมองย้อนไปครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 และอาจกระทั่งสงครามเย็น กรอบแนวคิดกว้าง ๆ เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์กลาโหมได้เข้ามามีบทบาทในตอนนั้น ขณะที่เศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองเป็นเรื่องที่หาได้ยาก แต่น้อยครั้งนักที่ระดับการมาบรรจบกันและการบูรณาการผ่านกระแสเศรษฐกิจ การเงิน และเทคโนโลยีจะเข้าใกล้ระดับที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน แม้กระทั่งในช่วงปี พ.ศ. 2493 – 2518 การจัดให้การดำรงอยู่ของเศรษฐกิจ “ระดับชาติ” เป็นหน่วยที่ค่อนข้างแยกส่วนและเป็นอิสระก็ยังคงเป็นเรื่องสมเหตุสมผล โดยมีชั้นป้องกันหลายระดับที่ปกป้องประเทศจากการพัฒนาจากภายนอก เมื่อนักเศรษฐศาสตร์กล่าวถึงการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ ก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ที่จะนึกถึงสิ่งต่าง ๆ ในฐานะประเทศหนึ่งที่ต่อสู้กับประเทศหนึ่ง โดยใช้สินทรัพย์และจุดแข็งของชาติเป็นหลัก ในการแข่งขันโดยรวมเพื่อชิงความเหนือกว่า ในรูปแบบนี้ เศรษฐศาสตร์กลาโหมจึงเป็นเรื่องของการเตรียมความพร้อมที่สำคัญด้านเศรษฐกิจระดับชาติเพื่อเอาชนะศัตรู

พนักงานธนาคารนับธนบัตร 100 หยวน (ประมาณ 450 บาท) และธนบัตร 100 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,200 บาท)

การสิ้นสุดสงครามเย็นทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป ในช่วงเวลาที่มีมหาอำนาจขั้วเดียว ผู้ดูแลงบประมาณไม่ได้เล็งเห็นถึงการแข่งขันเชิงกลยุทธ์และบทบาทของเศรษฐกิจในการแข่งขันนั้น โดยขณะที่เกิดการอภิปรายกรณีการใช้เงินปันผลเพื่อสันติภาพ การอภิปรายทางการเงินกลับให้ความสำคัญที่ขนาดของงบประมาณด้านกลาโหมแทน ด้วยการรุกคืบที่เพิ่มขึ้นไปยังการรักษาสันติภาพระหว่างประเทศและภารกิจอื่น ๆ การวิเคราะห์เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนงบประมาณด้านกลาโหมเพื่อให้ภารกิจใหม่เหล่านี้สำเร็จลุล่วงจึงมีความสำคัญมากขึ้น ในสภาพการณ์นี้ เศรษฐศาสตร์กลาโหมเป็นที่เข้าใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ในฐานะพื้นที่แจ้งข้อมูลการอภิปรายในระดับมหภาค เกี่ยวกับการตัดสินใจด้านงบประมาณและการจัดสรรด้านกลาโหมที่เหมาะสม แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับที่เป็นจุลภาคมากขึ้น จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการงบประมาณด้านกลาโหม ท่ามกลางลำดับความสำคัญอื่น ๆ ที่ต่างไม่ได้น้อยหน้ากัน เหตุโศกนาฏกรรมในวันที่ 9 กันยายน และสงครามที่ตามมาจากการก่อการร้ายยิ่งเน้นให้เห็นถึงแนวโน้มเหล่านี้ ด้วยความต้องการที่เร่งด่วนและไม่น้อยหน้ากันเหล่านี้ การใช้จ่ายด้านกลาโหมในระดับที่เหมาะสมควรเป็นเช่นไร แล้วสัดส่วนการใช้จ่ายที่เหมาะสมในภารกิจด้านมนุษยธรรม การสนับสนุนการรักษาสันติภาพ การสร้างชาติ การต่อต้านการก่อการร้าย และข้อกำหนดอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วนคือเท่าใด

ต้องมีการอภิปรายที่แตกต่างออกไปเกิดขึ้นหลังสิ้นสุดสงครามเย็น ปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์กำลังเกิดขึ้น และยุคดังกล่าวมีเหตุการณ์กระแสทางเศรษฐกิจ การเงิน และเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเปิดสู่อิทธิพลภายนอกของเศรษฐกิจระดับชาติที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ระดับการป้องกันถูกกะเทาะออกอย่างต่อเนื่อง สถาบันเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศปีเตอร์สัน นิยามคำว่า โลกาภิวัตน์ ว่าเป็น “การพึ่งพาอาศัยกันที่เพิ่มขึ้นในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และประชากรโลก ซึ่งเกิดขึ้นโดยการค้าขายข้ามพรมแดนทั้งสินค้าและบริการ เทคโนโลยี รวมถึงกระแสการลงทุน ผู้คน และสารสนเทศ” ในระดับที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ลองพิจารณาชื่อบริษัทขนาดใหญ่ เช่น แอปเปิล แอมะซอน และวอลมาร์ท

หนึ่งในสัญลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการสิ้นสุดสงครามเย็น คือการรื้อถอนกำแพงเบอร์ลินในเยอรมนี การสิ้นสุดสงครามเย็นยังนำไปสู่ยุคของการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ เชื่อมโยงเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ที่เคยเป็นปรปักษ์เข้าด้วยกัน

อันที่จริง การปฏิวัติด้านเทคโนโลยี การขนส่ง และโลจิสติกส์ ล้วนส่งผลให้แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจระดับประเทศกลายเป็นเรื่องพ้นสมัย หากจะมีช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตั้งคำถามว่า การแข่งขันเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเศรษฐศาสตร์กลาโหมคือผลโดยตรงที่จะตามมา จะมีลักษณะเช่นไรในอนาคต นี่ก็อาจเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมนั้น ประเทศต่าง ๆ แข่งขันกันอย่างมีกลยุทธ์ได้อย่างไร เมื่ออำนาจทางเศรษฐกิจระดับประเทศมีรูปแบบที่แตกต่างในเชิงคุณภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ และประเทศเหล่านั้นพัฒนาวิธีคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์กลาโหม ในการจัดแจงอำนาจดังกล่าวเพื่อความได้เปรียบเด็ดขาดในการแข่งขันอย่างไร

โอกาสนั้นสูญเสียไปหลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น แต่ตอนนี้โลกยืนอยู่บนธรณีประตูสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ สิ่งที่เคยดูเหมือนเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตกำลังเตรียมพร้อมที่จะปฏิวัติวิถีชีวิตของเรา พันธมิตรในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกและทั่วโลกกำลังดำเนินการเพื่อก้าวให้ทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เร่งจังหวะขึ้นในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเงิน และเทคโนโลยี ประเทศพันธมิตรควรทบทวนถึงอุปสรรคในภายหน้า เมื่อหันมาให้ความสำคัญกับการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ ดังที่ นายจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงเคยกล่าวไว้ว่า “บรรดาชนชั้นทำงานที่คิดว่าอิทธิพลทางปัญญาใด ๆ ไม่ค่อยส่งผลต่อตนเองเท่าใดนัก มักตกเป็นทาสของนักเศรษฐศาสตร์ที่ตกยุคไปแล้ว”

ดังนั้น วิสัยทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนสำหรับเศรษฐศาสตร์กลาโหมจะมีลักษณะอย่างไร บางทีสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็นอาจมีคำบอกใบ้ให้ สำหรับสหรัฐอเมริกา สองเหตุการณ์นี้ใกล้เคียงที่สุดที่จะแสดงถึงความท้าทายเชิงอัตถิภาวนิยม การตอบสนองความท้าทายเหล่านี้ต้องใช้ความพยายามเหลือล้นในการวางแผน การประสานงาน และการระดมกำลังเพื่อปกป้องประเทศ กรอบการวิเคราะห์ที่สำคัญคือตัวชี้แนะความพยายามเหล่านี้ ซึ่งตระหนักถึงบทบาทสำคัญของน้ำหนักทางเศรษฐกิจในการปรึกษาหารือถึงความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทบทวนการอภิปราย กรอบงาน กรอบแนวคิด และรูปแบบการคิดที่กว้างขึ้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจให้มุ่งจัดแจงน้ำหนักทางเศรษฐกิจนั้น เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

ห้องซื้อขายหุ้นที่ธนาคารเคอีบี ฮานา ในกรุงโซล เกาหลีใต้ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจโลกระหว่างประเทศต่าง ๆ

การอภิปรายเหล่านั้นควรเกิดขึ้นอย่างระมัดระวัง และระแวดระวังถึงความจริงที่ว่าวัตถุเหล่านี้อาจถ่ายโอนไม่ได้เสมอไปในความท้าทายปัจจุบันและสภาวการณ์ของอนาคต เช่นว่า มีบริบทแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เศรษฐกิจมักได้รับการบูรณาการอย่างลึกซึ้ง แม้ในหมู่คู่ต่อสู้ก็ตาม ซึ่งตรงข้ามกับมุมมองแบบโดดเดี่ยวในอดีต ฐานอำนาจเปลี่ยนแปลงไป โดยมีศูนย์กลางในภาคอุตสาหกรรมน้อยลง แต่เชื่อมโยงมากขึ้นกับเทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่เป็นนามธรรม สุดท้าย แต่สำคัญไม่แพ้กัน ในขณะนี้ศูนย์กลางอำนาจทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับรัฐน้อยลง โดยไปพึ่งพิงปัจจัยหลากหลายที่ไม่ใช่ภาครัฐมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทั่วทั้งเศรษฐกิจแห่งต่าง ๆ อันที่จริง ปัจจัยนี้กลับยิ่งมีความซับซ้อนมากกว่าเพราะลักษณะที่เป็นสากล ซึ่งหมายถึงภารกิจสำคัญของการทำงานกับพันธมิตรและหุ้นส่วนในการสร้างกรอบความคิดใหม่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์กลาโหม ตอนนี้ เมื่อคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดแล้ว ประชาชาติพันธมิตรจะรวมสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างไร โดยทำให้เกิดผลรวมของภาคส่วน ผู้มีบทบาท จุดแข็ง และความสามารถที่มากกว่าสิ่งใดทั้งหมด เพื่อสาดส่องอิทธิพลที่สร้างผลอย่างใหญ่หลวง นี่น่าจะเป็นความท้าทายของเศรษฐศาสตร์กลาโหมอย่างแน่นอน

การแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์กลาโหมนี้อาจทำให้บางฝ่ายรู้สึกอึดอัด นี่ฟังดูน่าสงสัยเหมือนกับว่าเป็นเศรษฐกิจในช่วงสงครามที่ควบคุมโดยรัฐไม่ใช่หรือ เราแค่เลียนแบบระบบเศรษฐกิจแบบบังคับอย่างที่ฝ่ายตรงข้ามจำนวนมากทำกันไม่ใช่หรือ ข้อสงวนเหล่านี้กำหนดขึ้นอย่างดีและต้องมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสมดุลในอนาคตข้างหน้า หุ้นส่วนและพันธมิตรต้องยึดมั่นในค่านิยมเสรีและประชาธิปไตยของตนเองในการให้คำนิยามใหม่ครั้งนี้ โดยรักษาความมุ่งมั่นปกครองด้วยหลักนิติธรรมในบริบทระดับชาติและระดับนานาชาติ ในการดำเนินการดังกล่าว นี่อาจเป็นหนึ่งของการมีส่วนร่วมที่สำคัญมากกว่าที่การให้คำนิยามใหม่ของเศรษฐศาสตร์กลาโหมอาจนำไปสู่การแข่งขันเชิงกลยุทธ์ มุมมองเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์กลาโหมนี้ที่ว่า มีการสร้างกรอบความคิดให้เป็นเครื่องมือในการจัดการงบประมาณน้อยลง แต่เป็นแรงดึงดูดทางเศรษฐกิจที่ได้รับการสนับสนุนจากอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยมากขึ้น เสนอประเด็นที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความแตกต่างต่อทางเลือกต่าง ๆ บนพื้นฐานอำนาจเผด็จการที่เปราะบางมากขึ้น ในฐานะเครื่องมือในการจัดแจงอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อความได้เปรียบอย่างเด็ดขาดในการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ในปัจจุบันของเรา มุมมองที่ปรับปรุงใหม่ของเศรษฐศาสตร์กลาโหมจะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการปกป้องอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง

ดร. อัลเฟรด โอห์เลอร์ส เป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐกิจที่ศูนย์เอเชียแปซิฟิก แดเนียล เค. อิโนะอุเอะ เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคง ผู้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะแปซิฟิก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button