ข่าวรอบโลกแผนก

อาร์กติก: นักวิทยาศาสตร์เยือนดินแดนน้ำแข็งเพื่อ ศึกษาวัฏจักรแห่งขั้วโลก

นั กวิทยาศาสตร์จาก 19 ประเทศ ซึ่งรวมถึงจีน ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ได้ดำเนินการสำรวจมูลค่า 158 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5.14 พันล้านบาท) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 เพื่อทำงานร่วมกันในภูมิภาคหนึ่งที่ไม่เหมาะสำหรับอยู่อาศัยที่สุดในโลก เรือฝ่าน้ำแข็ง อาร์วี โพลาร์สเทิร์น ของเยอรมนีที่บรรทุกอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เต็มลำ (ภาพ) ออกจากท่าเรือทรุมเซอทางตอนเหนือของนอร์เวย์ มาพร้อมกับเรือรัสเซียเพื่อค้นหาแพน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่พอสมควรในอาร์กติกเพื่อที่จะตั้งฐาน

เมื่อกลางวันสั้นลงและทะเลกลายเป็นน้ำแข็ง โพลาร์สเทิร์นจะค่อย ๆ ล่องไปยังขั้วโลกเหนือขณะที่ทีมนักวิทยาศาสตร์หลายสิบคนซึ่งมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน จะใช้เวลาครั้งละสองเดือนเพื่อดำเนินการวิจัยดินแดนน้ำแข็งนี้

นางสเตฟานี อาร์นดท์ นักฟิสิกส์น้ำแข็งทะเลกล่าวว่า ความมืดจะเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด “ทุกคนกังวลเกี่ยวกับความหนาวเย็น แต่ในแง่ของจิตวิทยา การมองไม่เห็นอะไรเลยและการรู้ว่ามีหมีขั้วโลกอยู่ข้างนอกนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรประมาท” นางอาร์นดท์กล่าว

เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเผชิญกับเรื่องดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในหอสังเกตการณ์ลอยตัวแบบสหสาขาวิชาเพื่อการศึกษาสภาพภูมิอากาศอาร์กติก จึงได้เข้าร่วมการฝึกอบรมอาวุธปืน

นางอาร์นดท์ ซึ่งจะเข้าร่วมภารกิจในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 กล่าวว่า ข้อได้เปรียบของหอสังเกตการณ์ลอยตัวแบบสหสาขาวิชาเพื่อการศึกษาสภาพภูมิอากาศอาร์กติกคือ นักวิจัยจะสังเกตกระบวนการทางอาร์กติกได้ตลอดทั้งวงจรตามฤดูกาล นาง อาร์นดท์กล่าวว่า “สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือการเปลี่ยนผ่านจากฤดูหนาวไปสู่ฤดูใบไม้ผลิ” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่น้ำแข็งมักจะหนาเกินไปสำหรับเรือที่จะไปถึงใจกลางอาร์กติก

การบันทึกการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่น ขนาด และชนิดของหิมะจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจการไหลของพลังงานได้ดีขึ้น พลังงานจากแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายและอุณหภูมิของมหาสมุทร ซึ่งมีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำแข็งทะเลที่ละลายจากด้านล่าง การทำความเข้าใจกระบวนการที่ซับซ้อนดังกล่าวมีความสำคัญต่อแบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการทำนายสภาพอากาศและสภาพภูมิอากาศ ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button