ติดอันดับ

สหรัฐฯ เข้าร่วมกลุ่มปัญญาประดิษฐ์ของจี 7 เพื่อต่อต้านจีน

ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการระหว่างประเทศ เพื่อกำหนดแนวทางด้านจริยธรรมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์

นายไมเคิล คราตเซียส ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของทำเนียบขาว กล่าวว่า การสร้างหลักการประชาธิปไตยร่วมกันเพื่อต่อต้านบันทึกเกี่ยวกับ “เทคโนโลยีที่บิดเบือน” ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในลักษณะที่คุกคามเสรีภาพของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ

นายคราตเซียสกล่าวเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ว่า “บริษัทเทคโนโลยีของจีนกำลังพยายามกำหนดแนวทางของมาตรฐานสากลว่าด้วยการจดจำใบหน้าและการเฝ้าระวังที่สหประชาชาติ” (ภาพ: กล้องรักษาความปลอดภัยปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า จัดแสดงในนิทรรศการนานาชาติจีนครั้งที่ 14 ว่าด้วยความปลอดภัยและความมั่นคงของสาธารณชนในกรุงปักกิ่งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561)

กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือกลุ่มจี 7 ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยก้าวหน้าที่สุดของโลก ได้เปิดตัวกลุ่มพันธมิตรระดับโลกด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หลังจากการประชุมเสมือนจริงของรัฐมนตรีเทคโนโลยีแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม เป็นเวลาเกือบสองปีหลังจากที่ผู้นำของแคนาดาและฝรั่งเศสประกาศว่าจะจัดตั้งกลุ่ม เพื่อเป็นแนวทางในการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้อย่างมีความรับผิดชอบตามหลักการร่วมกันด้าน “สิทธิมนุษยชน การอยู่ร่วมกัน ความหลากหลาย นวัตกรรม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ”

คณะรัฐบาลของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คัดค้านแนวทางดังกล่าวโดยโต้แย้งว่าการมุ่งเน้นที่กฎระเบียบมากเกินไป จะเป็นอุปสรรคต่อนวัตกรรมของสหรัฐฯ นายคราตเซียสกล่าวว่า การเจรจาในช่วงปีที่ผ่านมาและการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของกลุ่มดังกล่าวทำให้สหรัฐฯ เข้าร่วม

นายคราตเซียสกล่าวอีกว่า “เราทำงานอย่างหนักเพื่อแสดงให้เห็นชัดเจนว่าจะไม่ใช่องค์กรที่มีการกำหนดมาตรฐานหรือกำหนดนโยบาย”

นางเค แมธีเซน รองศาสตราจารย์ด้านจริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์นในบอสตัน กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ มีความสำคัญเนื่องจากบริษัทเทคโนโลยีอเมริกันมีบทบาทมากทั่วโลก รวมทั้งประเทศแห่งนี้มีการสนับสนุนสิทธิมนุษยชนมาอย่างยาวนาน

นางแมธีเซนกล่าวอีกว่า “บริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐฯ อย่างไมโครซอฟต์ กูเกิล และแอปเปิล ล้วนกังวลเกี่ยวกับแนวทางที่ควรปฏิบัติตามในการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบ “จากบทบาทที่ปรากฏทั่วโลก ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ได้หมายความว่าสุดท้ายแล้วสหรัฐฯ จะไม่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบใด ๆ ที่พัฒนาโดยกลุ่มจี 7 ที่เหลือ”

สหรัฐฯ ผลักดันให้มีการตรวจสอบเครื่องมือเฝ้าระวังซึ่งใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้าช่วยที่สาธารณรัฐประชาชนจีนสร้างขึ้นอย่างละเอียด ทั้งยังปรับให้เหมาะกับสงครามการค้าที่กว้างขึ้น ซึ่งทั้งสองประเทศต่างแย่งชิงอำนาจในด้านเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 พรรคคอมมิวนิสต์จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ เพิกถอนมาตรการคว่ำบาตรการส่งออกรอบล่าสุดที่บังคับใช้กับบริษัทเทคโนโลยีจีน ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีบทบาทในการปราบปรามชาวมุสลิมในเขตปกครองตนเองซินเจียงทางภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button