ข่าวผู้ก่อการร้ายแผนก

การต่อต้านภัยร้าย เข้าสู่การยกระดับ

ญี่ปุ่นระงับการดำเนินการเครื่องปฏิกรณ์เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งด้านกลาโหม

สาธารณูปโภคของญี่ปุ่นต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงหลายร้อยล้านดอลลาร์ใน พ.ศ. 2563 เนื่องจากการซื้อก๊าซธรรมชาติเหลวและถ่านหินเพิ่มเติม ขณะที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ดำเนินการอยู่เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศต้องหยุดเดินเครื่องเพื่อยกระดับความปลอดภัยตามคำสั่งของรัฐบาล

นักวิเคราะห์คาดว่า เครื่องปฏิกรณ์ที่ดำเนินการอยู่จำนวน 4 ใน 9 เครื่องของญี่ปุ่นจะหยุดดำเนินการชั่วคราว ขณะที่สาธารณูปโภคจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายใต้ระเบียบการต่อต้านการก่อการร้ายที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งนำมาใช้ภายหลังภัยพิบัติฟุกุชิมะใน พ.ศ. 2554 โดยโรงไฟฟ้าคิวชูและโรงไฟฟ้าคันไซเป็นหนึ่งในสาธารณูปโภคที่ได้รับคำสั่งให้สร้างห้องควบคุมฉุกเฉินนอกสถานที่ เพื่อใช้เป็นฐานสำรองที่สามารถทำให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เย็นลงและป้องกันการหลอมละลายในกรณีที่มีการโจมตีจากผู้ก่อการร้าย

โรงไฟฟ้าคิวชูที่ผลิตไฟฟ้าให้แก่ทางตอนใต้ของเกาะหลักสี่แห่งของญี่ปุ่นกล่าวว่า เครื่องปฏิกรณ์เซ็นไดหมายเลข 1
จะปิดทำการตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคมถึงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.
2563 ส่วนเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 2 จะหยุดเดินเครื่องตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564 โรงไฟฟ้าดังกล่าวได้ประมาณการว่า การระงับหน่วยผลิตไฟฟ้าขนาด 890 เมกะวัตต์ทั้งสองแห่งจะเพิ่มต้นทุนรายเดือนเป็น 8 พันล้านเยน (ประมาณ 2.4 พันล้านบาท) จากการซื้อเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ก๊าซธรรมชาติเหลวและถ่านหิน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าแห่งแรกจะกลับมาดำเนินการใหม่ภายใต้กฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นหลังจากภัยพิบัติเมื่อ พ.ศ. 2554 ซึ่งนำไปสู่การปิดตัวของอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น

ผู้ควบคุมตรวจดูเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้าเซ็นไดของเกาะคิวชูในประเทศญี่ปุ่น

“เราวางแผนที่จะใช้ประโยชน์จากโรงไฟฟ้าถ่านหินมัตสึอุระหมายเลข 2 ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ ที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อทดแทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” หนึ่งในผู้บริหารของโรงไฟฟ้าคิวชูกล่าวในการแถลงข่าวผลประกอบการเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 พร้อมกล่าวอีกว่า การผสมเชื้อเพลิงทดแทนที่แม่นยำนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงอุปสงค์และราคาเชื้อเพลิงด้วย

หน่วยงานกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นได้บังคับใช้กำหนดเวลาในการดำเนินการตามมาตรการรักษาความปลอดภัยใหม่อย่างเคร่งครัด โดยปฏิเสธคำร้องขอจากโรงไฟฟ้าคิวชูในการขยายกำหนดเวลาใน พ.ศ. 2562 ซึ่งทำให้โรงไฟฟ้าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการตัดสินใจหยุดดำเนินการชั่วคราว

ขณะที่โรงไฟฟ้าคันไซผู้ผลิตไฟฟ้าให้แก่โอซาก้า เกียวโต และเขตอุตสาหกรรมโดยรอบ มีกำหนดเวลาสำหรับการสร้างฐานสำรองที่เครื่องปฏิกรณ์ทาคาฮามะหมายเลข 3 และหมายเลข 4 ในเดือนสิงหาคมและตุลาคม พ.ศ. 2563 ตามลำดับ โฆษกของโรงไฟฟ้าคันไซกล่าวว่า บริษัทกำลังพยายามเร่งการก่อสร้าง แต่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า โรงไฟฟ้าจะต้องระงับการดำเนินการที่เตาปฏิกรณ์เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดเวลา

นางลูซี่ คัลเลน หัวหน้านักวิเคราะห์ที่บริษัทวู้ด แม็กเคนซี คาดการณ์ว่า โรงไฟฟ้าคันไซจะปิดเครื่องปฏิกรณ์ทาคาฮามะทั้งสองเครื่องใน พ.ศ. 2563 และคาดว่าจะมีการใช้ทั้งถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติเหลว และแม้กระทั่งน้ำมัน เพื่อชดเชยการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ที่สูญเสียไป หากมีกำลังการผลิตทั้งถ่านหินและก๊าซ ตัวเลือกที่มาทดแทนพลังงานนิวเคลียร์จะขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของเชื้อเพลิงที่ใกล้เคียงกัน นางคัลเลนกล่าว “เมื่อมีปริมาณก๊าซธรรมชาติเหลวตามที่ตกลงไว้ในสัญญา เราคาดว่าโรงไฟฟ้าเหล่านั้นจะใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องมีจุดการขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวเพิ่มเติม แสดงว่าโดยทั่วไปแล้วถ่านหินมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า” นางคัลเลนกล่าว

ทั้งนี้ ผลกระทบใน พ.ศ. 2563 อาจเพียงพอที่จะช่วยทำให้แนวโน้มการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวและถ่านหินของญี่ปุ่นลดลง นางคัลเลนคาดการณ์ว่า การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวของญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2562 จะลดลงร้อยละ 5 จาก พ.ศ. 2561 เหลือเป็นประมาณ 78 ล้านเมตริกตัน แต่คาดว่าความต้องการก๊าซธรรมชาติเหลวจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 79 ล้านเมตริกตันใน พ.ศ. 2563 เนื่องจากการปิดเครื่องปฏิกรณ์ทั้งสี่เครื่อง

ขณะที่คาดว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งสี่เครื่องที่เซ็นไดและทาคาฮามะจะระงับการดำเนินการ จะไม่มีการเริ่มต้นดำเนินการเครื่องใดอีกครั้งภายใน พ.ศ. 2563″ นายทาเคโอะ คิกคาวะ ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาด้านพลังงานแห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โตเกียว กล่าว “การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวและถ่านหินของญี่ปุ่นอาจเพิ่มขึ้นในปีถัดไป เนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ดำเนินการอยู่ลดลงจาก 9 เหลือ 5 เครื่องและไม่มีเครื่องปฏิกรณ์ใหม่ใดที่เริ่มดำเนินการอีกครั้ง” นายทาเคโอะกล่าว รอยเตอร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button