สื่อและวิทยาการแผนก

การคาดการณ์ ถึง สมรภูมิรบในอนาคต

อุปกรณ์ทำลายโดรน

พรรคนาวิกโยธินสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการใช้อาวุธโจมตีด้วยพลังงานโดยตรงรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณาการแบบเบาของนาวิกโยธิน เพื่อจัดการกับอากาศยานไร้คนขับของอิหร่านเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งบินเข้ามาในระยะ 1,000 เมตรของเรือโจมตีของกองทัพเรือสหรัฐฯ และไม่สนใจคำเตือน ระบบป้องกันภัยทางอากาศดังกล่าวได้รับการออกแบบมาให้ระเบิดสัญญาณวิทยุเพื่อรบกวนการสื่อสารระหว่างโดรนกับฐานทัพ แต่ในการใช้งานนี้ระบบจะเผาไหม้วงจรของโดรน ตามรายงานของสื่อต่าง ๆ

“ระบบนี้ไม่แตกต่างจากอุปกรณ์ช็อตโดรนที่คุณสามารถซื้อหาได้ตามร้านค้า” นายไบรอัน คลาร์ก อดีตผู้ช่วยพิเศษของหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการกองทัพเรือกล่าวกับนิตยสารไวร์ด “ระบบนี้แค่มีพลังสูงกว่า และทำงานในช่วงความถี่ที่กว้างขึ้น คุณสามารถมีพลังมากในช่วงความถี่ขนาดเล็กหรือปริมาณพลังงานน้อยในช่วงความถี่ขนาดใหญ่”

ระบบป้องกันภัยทางอากาศดังกล่าวประกอบด้วยยานพาหนะสำหรับทุกสภาพภูมิประเทศของบริษัทโพลาริส ที่ชื่อว่าเอ็มอาร์แซดอาร์ ส่วนแรกทำหน้าที่เป็นหน่วยบัญชาการ ส่วนที่สองติดตั้งด้วยเซ็นเซอร์และตัวรบกวนสัญญาณ ผู้ปฏิบัติงานสามารถตีความข้อมูลเซ็นเซอร์ที่เก็บรวบรวมโดยเอ็มอาร์แซดอาร์ แล้วตัดสินใจที่จะระเบิดคลื่นความถี่วิทยุเพื่อทำลายการสื่อสารระหว่างโดรนและฐานของโดรนดังกล่าว

กองทัพสหรัฐฯ กำลังทดสอบระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่สามารถรบกวนโดรนและขีปนาวุธปล่อยบิน เช่น ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ทดสอบเครื่องตอบโต้คลื่นไมโครเวฟกำลังสูงทางยุทธวิธีหรือ ทอร์ ซึ่งในที่สุดก็สามารถทำลายฝูงโดรนได้ด้วยการระเบิดเพียงครั้งเดียว

ระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณาการแบบเบาของนาวิกโยธินที่ได้รับการพิสูจน์ทางการรบ มีข้อได้เปรียบเหนือขีดความสามารถก่อนหน้านี้แล้ว อาวุธคลื่นวิทยุมีราคาต่ำกว่าปืนใหญ่และไม่ต้องใช้การเล็งเป้าที่แม่นยำหรือการมองเห็นด้วยแสงเหมือนอย่างอาวุธเลเซอร์ นายคลาร์กกล่าว

เครื่องบินขับไล่ล่องหน เอฟ-22 แร็ปเตอร์ ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ สองลำพร้อมด้วยคุณสมบัติของเครื่องบินรุ่นที่ห้า บินใกล้ฐานทัพอากาศแอนเดอร์เซน ใกล้กับอกาโฟกูมัส เกาะกวม รอยเตอร์/กองทัพอากาศสหรัฐฯ/จ.ส.อ. เควิน เจ. กรูเอนวัล

นักรบสงครามปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์เอาชนะปรมาจารย์หมากรุก นักวางแผนการทหาร และแม้แต่นักบินมนุษย์ในการจำลองการต่อสู้ระยะประชิดของเครื่องบินขับไล่

“ระบบปัญญาประดิษฐ์สามารถทำงานได้ดีกว่านักบินทหารที่มีประสบการณ์ในการต่อสู้ทางอากาศแบบจำลอง” นายเคนเนท เพน จากวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน กล่าวกับนิตยสารดิอีโคโนมิสต์ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562

อย่างไรก็ตาม สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ต้องการยกระดับปัญญาประดิษฐ์ในห้องนักบินขึ้นไปอีกขั้น โดยการฝึกนักรบสงครามให้ไว้ใจคอมพิวเตอร์ในแบบเดียวกับที่พวกเขาไว้ใจมนุษย์คนอื่น ๆ ด้วยโครงการวิวัฒนาการการต่อสู้ทางอากาศ สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมต้องการผลักดันนักบินสหรัฐฯ ให้ไว้ใจปัญญาประดิษฐ์ ในการปฏิบัติการของนักบินเครื่องบินขับไล่ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ในภาพยนตร์อย่างท็อปกัน “ภาพยนตร์ได้สร้างการต่อสู้ของเครื่องบินขับไล่ให้เป็นจุดสูงสุดของความคิดสร้างสรรค์และวิสัยทัศน์ของมนุษย์ แต่ในความเป็นจริงแล้วการต่อสู้ของเครื่องบินขับไล่เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ค่อนข้างง่าย” น.ท. แดน จาวอร์เซ็ก ผู้จัดการโครงการวิวัฒนาการการต่อสู้ทางอากาศของสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหม กล่าวในการประชุมเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ตามรายงานของเว็บไซต์เฟดสกู๊ป นั่นเป็นเหตุผลที่สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมมองว่า การต่อสู้ระยะประชิดของเครื่องบินขับไล่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างความไว้วางใจ

“การสามารถไว้ใจระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งสำคัญในขณะที่เราก้าวไปสู่อนาคตของการทำสงครามที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มการต่อสู้แบบมีคนขับควบคู่ไปกับระบบไร้คนขับ” น.ท. จาวอร์เซ็ก กล่าวในแถลงการณ์ของสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหม “เราคิดถึงอนาคตที่ปัญญาประดิษฐ์จัดการกับการโจมตีแบบเสี้ยววินาทีในระหว่างการต่อสู้กันของเครื่องบินในระยะที่มองเห็น ทำให้นักบินมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่พวกเขากำกับระบบไร้คนขับจำนวนมากให้เป็นโครงข่ายที่มีผลกระทบในการต่อสู้อย่างล้นหลาม”

ด้วยวิธีนี้ โครงการวิวัฒนาการการต่อสู้ทางอากาศจะช่วยกองทัพสหรัฐฯ ฝึกฝนนักบินให้เป็นผู้จัดการการรบ และเปลี่ยนจากระบบที่ใช้คนเป็นหลักเป็นระบบที่ผสมระหว่างใช้คนกับที่ไม่ใช้คนที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ซึ่งสามารถพัฒนา นำไปใช้งาน และยกระดับได้อย่างรวดเร็วเพื่อจัดการกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนไป

การต่อสู้ระยะประชิดของเครื่องบินขับไล่ แม้ว่าจะไม่เป็นเส้นตรงในเชิงพฤติกรรม แต่ก็นำเสนอวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้ภายในขีดจำกัดของพลวัตการบิน ทำให้เหมาะสำหรับการทำงานแบบอัตโนมัติทางยุทธวิธีขั้นสูง เช่นเดียวกับการฝึกซ้อมรบของนักบินที่เป็นมนุษย์ การขยายประสิทธิภาพการทำงานของปัญญาประดิษฐ์จะได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดโดยนักบินผู้ฝึกสอนเครื่องบินขับไล่ในอากาศยานอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยพัฒนายุทธวิธีร่วมกับเทคโนโลยี

“มีเพียงหลังจากนักบินที่เป็นมนุษย์มีความเชื่อมั่นว่าอัลกอริทึมของปัญญาประดิษฐ์มีความน่าเชื่อถือในการจัดการกับพฤติกรรมที่มีขอบเขต โปร่งใส และคาดเดาได้เท่านั้น ที่จะทำให้สถานการณ์การมีส่วนร่วมต่อเนื่องเพิ่มขึ้นในความยากและความเป็นจริง” น.ท. จาวอร์เซ็กกล่าว เจ้าหน้าที่ ฟอรัม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button