ติดอันดับ

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าจีนเป็นแหล่งรวมโรคระบาดที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์

ติดอันดับ | Mar 21, 2020:

นักประวัติศาสตร์ นักวิจัยทางชีวการแพทย์ และนักระบาดวิทยาระบุว่า นอกเหนือจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 ในปัจจุบันแล้ว การระบาดที่ร้ายแรงจำนวนมากมาจากประเทศจีน

นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า โรคระบาดใหญ่ที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นจากจีนอาจจะเป็นกาฬโรคหรือกาฬมรณะ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายทั้งในแอฟริกา เอเชีย และยุโรปตั้งแต่ พ.ศ. 1889 ถึง 1896 โดยคร่าชีวิตผู้คนไปตั้งแต่ 75 ถึง 200 ล้านคน ความเป็นจริงแล้ว คลื่นโรคระบาดทั้งสามระลอกใหญ่ที่สร้างความเสียหายทั่วโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 6, 14 และ 19 นั้นมีต้นกำเนิดมาจากจีน ทีมนักวิจัยที่นำโดยนายมาร์ค แอคท์แมน จากมหาวิทยาลัยคอร์กในไอร์แลนด์รายงานในวารสารเนเจอร์เจเนติก ใน พ.ศ. 2553 นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า กาฬโรค ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเยอซิเนีย แพสทิซ มีแนวโน้มว่าได้แพร่ระบาดข้ามทวีปผ่านหมัดบนหนูที่อยู่บนเรือพ่อค้า ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนรายงานว่า การระบาดใหญ่ที่เริ่มต้นขึ้นในประเทศจีนในช่วงประมาณ 100 ปีที่ผ่าน มาประกอบไปด้วยการระบาดของไข้หวัดใหญ่ใน พ.ศ. 2500 และน่าจะรวมถึงใน พ.ศ. 2461 เช่นเดียวกับการระบาดของไวรัสโคโรนาใน พ.ศ. 2545 และ 2562

การระบาดใน พ.ศ. 2500 – 2502 ซึ่งเรียกว่า ไข้หวัดใหญ่เอเชีย เพราะเกิดขึ้นในจีน ได้คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 2 ล้านคนทั่วโลกในระยะเวลาสองปี ไข้หวัดใหญ่เอเชีย ซึ่งเกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส เอช2เอ็น2 และเป็นไวรัสชนิดย่อยของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เริ่มขึ้นในมณฑลกุ้ยโจวใน พ.ศ. 2499 และระบาดไปยังสิงคโปร์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา ตามรายงานของเอ็มพีเอชออนไลน์ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลออนไลน์อิสระ

การระบาดของไข้หวัดใหญ่ พ.ศ. 2461 ซึ่งมักจะเรียกว่า “ไข้หวัดใหญ่สเปน” เนื่องจากการเซ็นเซอร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้จำกัดการรายงานที่อื่นนั้น อาจมีต้นกำเนิดจากในประเทศจีนในปีก่อนหน้านั้น ตามรายงานของผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่ง

ภาวะการระบาดใหญ่ใน พ.ศ. 2461 เป็นการระบาดที่ร้ายแรงที่สุดในศตวรรษ และเป็นหนึ่งในการระบาดที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยคร่าชีวิตผู้คนกว่า 20 ถึง 50 ล้านคนทั่วโลก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ ระบุว่า ผู้ติดเชื้อมีประมาณ 500 ล้านคนหรือเกือบร้อยละ 30 ของประชากรโลก ณ เวลานั้น

นายมาร์ค ฮัมฟรีย์ นักประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเมโมเรียลยูนิเวอร์ซิตี้ออฟนิวฟาวด์แลนด์ รายงานในวารสารวอร์อินฮิสทรี่ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ว่าการนำเข้าแรงงานจีนจำนวน 96,000 คนเพื่อทำงานเบื้องหลังแนวรบของอังกฤษและฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2461 อาจเป็นต้นกำเนิดที่แท้จริงของการระบาดในครั้งนั้น “เนื่องด้วยประชากรที่เคยอยู่โดดเดี่ยวเมื่อก่อนหน้านั้นได้ติดต่อกับอีกคนหนึ่งในสนามรบของยุโรป” คนงานจำนวนมากถูกส่งไปยังยุโรปผ่านทางแคนาดา ซึ่งมีอย่างน้อย 3,000 คนที่ได้รับการบันทึกไว้ระหว่างทางว่าเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจคล้ายไข้หวัดใหญ่

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจีนระบุว่า โรคทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของประเทศจีนเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 มีลักษณะเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่สเปน ซึ่งอาจอธิบายถึงสาเหตุที่ระดับภูมิคุ้มกันในหมู่ประชากรจีนสูงขึ้นใน พ.ศ. 2561 ตามรายงานของฮัมฟรีย์ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยชาวจีนบางคนได้โต้แย้งผลการวิจัยเหล่านี้

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าในประเทศจีนและนานาชาติต่างเห็นพ้องกันว่า โควิด-19 น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ป่าก่อนที่จะแพร่ระบาดไปสู่มนุษย์ และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะผ่านทางตลาดขายส่งอาหารกลางแจ้งในอู่ฮั่น ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลเจ้าหน้าที่จีนรายงานว่า กรณีกลุ่มแรกหลายกรณีมีความสัมพันธ์กับตลาดดังกล่าว ซึ่งถูกปิดลงตั้งแต่นั้น ตามรายงานของเว็บไซต์ vox.comสัตว์ เช่น ค้างคาว สัตว์เลื้อยคลาน หรือตัวนิ่ม มีแนวโน้มที่จะส่งผ่านไวรัสชนิดนี้ไปยังมนุษย์ในพื้นที่นั้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 แม้ว่าการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมจะยังไม่ยืนยันชนิดของสัตว์ที่เป็นต้นเหตุที่แน่นอน ผู้คนหลายสิบคนที่ติดเชื้อในช่วงแรกของการระบาดของไวรัสโคโรนาในปัจจุบัน คือคนที่ทำงานในตลาดจำหน่ายสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่แห่งนี้ (ภาพ: พนักงานทางการแพทย์ฆ่าเชื้อในห้องดูแลผู้ป่วยหนักในโรงพยาบาลอู่ฮั่นในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563

เมื่อการกลายพันธุ์แบบสุ่มเกิดขึ้นในไวรัส อาจเกิดสายพันธุ์ใหม่หรือไวรัสในประชากรสัตว์ที่สามารถทำให้มนุษย์ติดเชื้อ ซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นต้นกำเนิดของการระบาดของไข้หวัดใหญ่หลายครั้งและไวรัสโคโรนาในประวัติศาสตร์

ชะมด ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะคล้ายพังพอน และตัวนิ่ม ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินมดและมีเกล็ด ถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในหลายภูมิภาคของจีน เกล็ดของตัวนิ่มยังเชื่อกันว่ามีสรรพคุณทางยาอีกด้วย

เจ้าหน้าที่จีนจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีนระบุเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563 ว่า ทางศูนย์ได้แยกโควิด-19 ในตัวอย่างจากตลาดอู่ฮั่น ซึ่งเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นแหล่งที่มาของการระบาด ตามรายงานของซีเอ็นเอ็น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีนระบุว่า “เกือบ 36 ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดดังกล่าวประกอบไปด้วยกรดนิวคลีอิกของไวรัสโคโรนา และ 31 ตัวอย่างจากในจำนวนนี้เก็บมาจากตลาดส่วนที่ขายสัตว์ป่าโดยเฉพาะ” ตามรายงานของซีเอ็นเอ็น

สภาประชาชนแห่งชาติจีนได้สั่งห้ามการค้าและบริโภคสัตว์ป่าเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เพื่อป้องกันไวรัสอย่างโควิด-19 ไม่ให้แพร่จากสัตว์สู่คนและกลายเป็นโรคระบาดต่อไป ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัว ในช่วงปลายเดือนมกราคม จีนได้สั่งปิดตลาดค้าสัตว์ไปก่อนหน้านี้ รายงานของบิสซิเนสอินไซเดอร์ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวการเงิน รายงานว่า อุตสาหกรรมการทำฟาร์มสัตว์ป่าสร้างรายได้ 7.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.41 ล้านล้านบาท) ต่อปีในประเทศจีน

“ผู้คนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการบริโภคสัตว์ป่าและอันตรายซ่อนเร้นที่สัตว์เหล่านั้นนำมาสู่ความมั่นคงทางสาธารณสุข นับตั้งแต่การระบาดของไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19” นายจาง เทียเหวย โฆษกประจำสภาประชาชนจีนกล่าวกับรอยเตอร์เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากประกาศห้ามการค้าสัตว์ป่า ซึ่งประกาศขึ้นใน “ช่วงเวลาวิกฤตสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคระบาด” นายจางกล่าว

นายสี เจิ้นจง นักวิจัยระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยวอเทอร์ลู อธิบายกับเนชันแนลพับบลิกเรดิโอเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563 ว่า ตลาดดังกล่าวยังคงมีอยู่ในประเทศจีนแม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับโรคและสุขอนามัย เนื่องจากการรับประทานสัตว์ป่าที่หายากและมีราคาแพงถือเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง นอกจากนี้ สัตว์ป่ายังถือว่าเป็นสัตว์จากธรรมชาติและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า นายสีกล่าว และยังกล่าวเสริมอีกว่า แพทย์แผนจีนจำนวนมากยังส่งเสริมการบริโภคสัตว์ป่าเพื่อเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย

นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้ติดตามเชื้อไวรัสโคโรนาในชะมด ซึ่งทำให้เกิดการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ ซาร์ส ใน พ.ศ. 2545 – 2546 ซึ่งโดยทั่วไปแล้วยังถือว่าเป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก ตามรายงานของซีเอ็นเอ็น โรคซาร์สตรวจพบครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ในมณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ของจีน มีผู้ติดเชื้อซาร์สจำนวน 8,098 คนใน 26 ประเทศทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 774 คน ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button