เรื่องเด่น

โครงการ ชิปไรเดอร์

หน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกา ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสงครามเพื่ออินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง

น.ต. วอร์เรน เอ็น. ไรท์ ร.น./หน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกา

ความพยายามของโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติ การสงครามของทีมประเทศในภูมิภาคของกองบัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นอินโดแปซิฟิก ประเทศแนวร่วม และพันธมิตรผูกพันธ์กับภูมิภาคอินโดแปซิฟิกมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ โครงการความร่วมมือด้านความ มั่นคงในเขตปฏิบัติการสงครามเป็นเหมือนการทูตทหารที่สามารถสร้าง ผลกระทบเชิงบวกในความสัมพันธ์ทางการเมืองในภูมิภาค เพื่อต่อต้าน อิทธิพลภายนอกที่เป็นอันตรายและเพื่อเพิ่มเสถียรภาพและความมั่นคง

ผ่านโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสง คราม ผู้ใต้บังคับบัญชาของกองบัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นอินโดแปซิ ฟิกสั่งการให้ทำการฝึกเตรียมความพร้อมทางทหารและการบรรเทาภัยพิบัติและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เพื่อนำรัฐบาลของภูมิภาคมารวมกันในการทำกิจกรรมที่ให้ประโยชน์ร่วมกัน โครงการความ ร่วมมือ ด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสงครามยังสนับสนุนวิสัย ทัศน์ของ พลเรือเอก ฟิลิป เอส. เดวิดสัน ในด้านอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง นั่นคือ “ทุกประเทศควรมีความพอใจกับการเข้าถึงทะเลและ เส้นทางบินอย่างอิสระที่ประเทศและเศรษฐกิจของเราพึ่งพา”

ร.ท. นาตาลี สปริทเซอร์ ร.น. จากกองทัพเรือสหรัฐฯ ทำการตรวจสุขภาพในระหว่างความร่วมมือแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ในรัฐชุก สหพันธรัฐไมโครนีเซีย การฝึกอบรมนี้เป็นภารกิจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมด้านความช่วยเหลือและการบรรเทาภัยพิบัติแบบพหุชาติที่ใหญ่ที่สุดประจำปีซึ่งจัดขึ้นในอินโดแปซิฟิก จ.อ. ท’เรล มอร์ร‘ส/กองทัพเรือสหรัฐฯ

ข้อตกลงทวิภาคี

โครงการความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางทะเลของหน่วยยามฝั่ง สหรัฐฯ คือโครงการชิปไรเดอร์ ซึ่งเติบโตขึ้นทุกปีงบประมาณของกอง บัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นอินโดแปซิฟิก ในโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสงคราม หน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกาใช้ข้อ ตกลงการบังคับใช้กฎหมายประมงทวิภาคี 11 ฉบับกับประเทศทั่วภูมิ ภาคหมู่เกาะแปซิฟิกเป็นประจำ ข้อตกลงเหล่านี้ช่วยให้เรือของหน่วย ยามฝั่ง สหรัฐอเมริกา เรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ และเจ้าหน้าที่ผู้บังคับ ใช้กฎหมายของหน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกา ดำเนินการร่วมกันกับประ เทศที่เป็น เจ้าของอาณาเขตเพื่อปกป้องทรัพยากรในภูมิภาคที่สำคัญ เช่นเดียวกับโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสงครามที่จัดทำขึ้นโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการชิปไรเดอร์ของหน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกา สนับสนุนอธิปไตยของประเทศเจ้าของอาณา เขตโดยการเปิดโอกาสให้พันธมิตรหมู่เกาะแปซิฟิกบังคับใช้กฎหมาย และระเบียบของตนไปพร้อมกับการปกป้องทรัพยากรโครงการความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางทะเลของหน่วยยามฝั่ง สหรัฐฯ คือโครงการชิปไรเดอร์ ซึ่งเติบโตขึ้นทุกปีงบประมาณของกอง บัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นอินโดแปซิฟิก ในโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสงคราม หน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกาใช้ข้อ ตกลงการบังคับใช้กฎหมายประมงทวิภาคี 11 ฉบับกับประเทศทั่วภูมิ ภาคหมู่เกาะแปซิฟิกเป็นประจำ ข้อตกลงเหล่านี้ช่วยให้เรือของหน่วย ยามฝั่ง สหรัฐอเมริกา เรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ และเจ้าหน้าที่ผู้บังคับ ใช้กฎหมายของหน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกา ดำเนินการร่วมกันกับประ เทศที่เป็น เจ้าของอาณาเขตเพื่อปกป้องทรัพยากรในภูมิภาคที่สำคัญ เช่นเดียวกับโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสงครามที่จัดทำขึ้นโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการชิปไรเดอร์ของหน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกา สนับสนุนอธิปไตยของประเทศเจ้าของอาณา เขตโดยการเปิดโอกาสให้พันธมิตรหมู่เกาะแปซิฟิกบังคับใช้กฎหมาย และระเบียบของตนไปพร้อมกับการปกป้องทรัพยากร

โครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสงครามของกองบัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นอินโดแปซิฟิกมุ่งมั่นที่จะบรรลุความ สมดุลในภูมิภาคผ่านกิจกรรมและการฝึกอบรมที่พัฒนาและใช้ประโยชน์จากความสามารถระดับมืออาชีพที่หลากหลายของกองทัพของภูมิภาค ตั้งแต่ระดับสูงอย่างออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ไปจนถึงประเทศที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน เช่น ฟิจิ ฟิลิปปินส์ และเวียด นาม ไปจนถึงประเทศที่ความสามารถยังคงด้อยพัฒนาเนื่องจากข้อจำกัดด้านทรัพยากร เช่น สหพันธรัฐไมโครนีเซีย คิริบาตี และหมู่เกาะ มาร์แชล ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับพันธมิตรเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อปัจจัยศักยภาพที่แตกต่างกันและเพื่อช่วยปรับปรุงความสามารถที่แตกต่างกันให้ดีขึ้น

โครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสงครามของกองบัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นดินโดแปซิฟิกยังคงเป็นรากฐานสำคัญของการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯกับพันธมิตรหมู่เกาะแปซิฟิก โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การสร้างศักยภาพในด้านการดำเนินงานและสถาบัน ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของพันธมิตรนอกจากนี้ ยังเปิดช่องให้มีกรอบการทำงานที่พันธมิตรในภูมิภาคมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างหน่วยงาน กิจกรรมเหล่านี้ช่วยเติมเต็ม และเสริมสร้างโครงการหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ อื่น ๆ เช่น ของกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงมหาดไทย

ร.อ. จอร์น กามารา ร.น. จากกองทัพเรือเปรูทำการตรวจสุขภาพในระหว่างความร่วมมือแปซิฟิก พ.ศ. 2562 จ.อ. ท’เรล มอร์ร‘ส/กองทัพเรือสหรัฐฯ

ปกป้องการค้า

การรักษาความปลอดภัยเส้นทางคมนาคมหลักทางทะเลสำหรับการพาณิชย์ระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสหรัฐฯ มาโดยตลอด เพื่อรับรองการเชื่อมโยงแปซิ ฟิกกับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ภูมิภาคหมู่เกาะ แปซิฟิกครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอินโด แปซิฟิก และประเทศในภูมิภาคนี้มีความพอใจกับการแบ่งปันความสำคัญของมูลค่าทางเศรษฐกิจของอาณาเขตทางทะเลของ ตน เศรษฐกิจนี้ยังคงมีความหลากหลาย โดยบางประเทศอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและประสบความสำเร็จในการจัด การสินทรัพย์เหล่านี้ และมีประเทศอื่น ๆ ที่ ขาดความสามารถในการประสบความสำ
เร็จด้วยตนเอง ปัญหาด้านความมั่นคง ของประเทศเหล่านี้ยังมีความแตกต่าง กันอีกด้วย ในภูมิภาคที่มีความตื่นตัวสูงนี้ ประเทศมหาอำนาจที่กำลังเติบโต เช่น จีน และอินเดียกำลังหารืออย่างเปิดเผยเกี่ยวกับเป้าหมายทางการค้าและความมั่นคง โดยตระหนักว่าเพื่อให้แน่ใจว่ามี การหารืออย่างเปิดเผย จำเป็นต้องมีความมั่นคง แนวทางการมีส่วนร่วมของประเทศเหล่านี้ในภูมิภาคล้วนมีความแตกต่างเช่นกัน บางประเทศ ชอบข้อตกลงตามการควบคุมทรัพยากรและอาณาเขต ในขณะที่บางประเทศตกลงยอมรับการเข้าถึงและความร่วมมือในอนาคต

สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เริ่มดำเนินการสองโครงการในภูมิภาคหมู่ เกาะแปซิฟิก ได้แก่ การสร้างกองกำลังกองทัพเรือ ยามฝั่ง และเรือประมง เชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าประเทศอื่น ๆ และสอดแทรกเข้าไปในแผนหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน จากนั้นสร้างเส้นทางสาขาต่าง ๆ เชิงพา
ณิชย์เพื่อเชื่อมโยงจีนผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับหมู่เกาะแปซิฟิก

โครงการริเริ่มของจีนดูเหมือนว่าจะมุ่งเป้าไปที่ความได้เปรียบทาง ภูมิศาสตร์ที่สหรัฐฯ ได้รับจากข้อตกลงทวิภาคี นั่นคือสถานที่ตั้งของ สามอาณาเขตของสหรัฐฯ และความร่วมมือด้านเสรีภาพกับสหพันธ รัฐไมโครนีเซีย หมู่เกาะมาร์แชล และปาเลา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่เอื้อ อำนวยต่อบทบาททางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้

กิจกรรมของจีนมุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยนดุลยภาพทางภูมิยุทธศาสตร์ โดยการบ่อนทำลายความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ กับพันธมิตรและแนวร่วม เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และฟิจิ โดยให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาตามเป้าหมายแต่ฉ้อฉลแก่ประเทศแนวร่วมในหมู่เกาะแปซิฟิก

สหรัฐฯ กำลังร่วมมือกับแนวร่วมระดับภูมิภาค เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เพื่อรักษาเสถียรภาพภูมิภาค และร่วมมือกับประเทศ แนวร่วมขนาดเล็ก เช่น ฟิจิและปาเลาเพื่อเสริมสร้างความพร้อมรับมือ วิธีที่ดีที่สุด ในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้คือการก้าวข้ามรัฐและส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับผู้คน และการผสมผสานวัฒนธรรมของสัง คมผ่านการมีส่วนร่วมด้านความมั่นคงระหว่างรัฐบาลและโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสงคราม

ในพื้นที่ทางทะเลนั้น หน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกาเป็นตัวเลือกแนวร่วมหน่วยงานที่ดีที่สุดจากหลายหน่วยในหมู่เกาะแปซิฟิก กองทัพเรือสหรัฐฯ เป็นกองกำลังที่เหนือกว่าโดยแสดง ถึงอำนาจอธิปไตยของสหรัฐฯ และ เสรีภาพในการเดินเรือทั่วแปซิฟิก กองกำลังของสหรัฐฯ เหล่านี้ยังดำเนินการบังคับใช้กฎหมายทางทะเลและการปกป้องสิ่งแวดล้อมอีกด้วย แนวร่วมของสหรัฐฯ หลายรายจะไม่มี หรือจำเป็นต้องมีกองกำลังดังกล่าว

สมาชิกของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ และกรมประมงเครือรัฐออส เตรเลียเข้าปะทะเรือประมงต้องสงสัยในการข้ามอาณาเขตมายังแปซิฟิกตะวันตก พ.จ.ต. ซาร่า มุยร์/หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ

ความร่วมมือด้านความมั่นคง

จุดมุ่งหมายของโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสง ครามของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ คือการ สร้างความปลอดภัยและความมั่นคง ทางทะเลโดยการเพิ่มความตระหนัก ทางทะเล ศักยภาพในการตอบสนองวิธีการป้องกันและโครงสร้างพื้นฐาน การกำกับดูแล จากโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสงคราม หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ และแนวร่วมระหว่างหน่วยงานดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร หมู่เกาะแปซิฟิกและองค์กรภาครัฐ/เอกชนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของประเทศพันธมิตรในการรักษาความมั่นคงทางทะเลภาย ในน่านน้ำ ทะเลในอาณาเขต และเขตเศรษฐกิจพิเศษของตน

หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ยังมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องโดยใช้ทีมฝึกอบรมเคลื่อนที่ วิทยากรระหว่างหน่วยงาน และวิทยากรระหว่างประเทศทำ งานจากเขตยามชายฝั่งที่ 14 กองอำนวยการวิเทศสัมพันธ์และนโยบายต่างประเทศ กองเรือแปซิฟิกกองทัพเรือสหรัฐฯ และพันธมิตรกองกำ ลังรักษาชายฝั่งเนวาดา ดังที่กล่าวไปข้างต้น กิจกรรมการสร้างศักย ภาพของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ช่วยเติมเต็มโครงการของกระทรวงการต่างประเทศ และวางแผนร่วมกับทีมในประเทศของสถานทูตสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร เป้าหมายคือการพัฒนาเจ้าหน้าที่มืออาชีพที่มีวินัย มีความสามารถ และมีความรับผิดชอบต่อหน่วยงานพลเรือน และมุ่ง มั่นต่อความเป็นอยู่ของประเทศชาติและประชาชน

ความสัมพันธ์เป็นกุญแจสำคัญในการต่อต้านการรุกรานและการบีบบังคับในภูมิภาค โครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสงครามอย่างโครงการชิปไรเดอร์ของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ สร้างความ สัมพันธ์ที่ยั่งยืนขณะที่ดำเนินการร่วมกับพันธมิตรของเรา โดยที่พันธมิตร สามารถดำเนินการอย่างอิสระเพื่อรักษาอธิปไตยของ ตนไปพร้อมกัน นับตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ข้อตกลงชิปไรเดอร์ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายทางทะเลทวิภาคีเหล่านี้ ได้รับเรือและโรงเก็บอากาศยาน ของสหรัฐฯ รวมถึงทักษะความรู้ของผู้บังคับใช้กฎหมายทางทะเล เพื่อ ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่หมู่เกาะแปซิฟิกในการใช้อำนาจบังคับใช้กฎหมาย

ข้อตกลงเหล่านี้ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนของบังคับใช้กฎหมายทางทะเล โดยปรับปรุงความร่วมมือการประสานงานและการทำงานร่วมกัน และสร้างศักยภาพของผู้บังคับใช้กฎหมายทางทะเลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการต่อกรกับการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม รวมทั้งกิจกรรม ที่ผิดกฎหมายอื่น ๆ นอกจากนี้ ข้อตกลงดังกล่าวยังอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายของประเทศพันธมิตรขึ้นเรือและอากาศยานของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ และกองทัพเรือสหรัฐฯ รวม ทั้งอนุญาตให้พาหนะข้างต้นช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายของประเทศเจ้าของอาณาเขตในการเฝ้าระวังทางทะเล และการขึ้นลงยานพาหนะ

โดยทั่วไปแล้ว เรือ อากาศยาน และทีมผู้บังคับใช้กฎหมายทาง ทะเลของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ดำเนินการตามข้อตกลงชิปไรเดอร์ อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือสหรัฐฯ และเรือกับอากาศยานของประเทศเจ้าของอาณาเขตก็เข้าร่วมด้วยเช่นกัน เช่น การสนับสนุนของกองเรือแปซิฟิกในการปฏิบัติการชิปไรเดอร์ร่วมในโครงการความมั่นคงทาง ทะเลโอเชียเนีย

โครงการชิปไรเดอร์ของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ยังคงเป็นวิธีการที่มีนวัตกรรมและความร่วมมือในการมีอิทธิพลต่อภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ ทุกครั้งที่นำข้อตกลงชิปไรเดอร์ทวิภาคีใหม่มาใช้กับพันธมิตรหมู่ เกาะแปซิฟิก หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ก็ช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพ ในภูมิภาค

ทีมขึ้นสำรวจเรือร่วมรอการอนุญาตให้ไปยังเรือประมง (ไม่มีภาพ) ในเขต
เศรษฐกิจพิเศษของปาเลาตามข้อตกลงชิปไรเดอร์ทวิภาคี
พ.จ.ต. ซาร่า มุยร์/หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ

ความมุ่งมั่นที่ล้ำลึก

การมีส่วนร่วมอีกครั้งกับพันธมิตรหมู่เกาะแปซิฟิกเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสหรัฐฯ และพันธมิตรในการต่อต้านอิทธิพลของจีนที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคหมู่เกาะแปซิฟิก โครงการชิปไรเดอร์ของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ สอดคล้องกันอย่างลงตัวกับการช่วยตอบสนองความต้องการในการประสานงานกับ โครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงในเขตปฏิบัติการสงครามอื่น ๆ ของกองบัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นอินโดแปซิฟิก

สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นข้อตกลงทวิภาคี 11 ฉบับระหว่างสหรัฐฯ และประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกต่าง ๆ แท้จริงแล้วเป็นรากฐานของความร่วมมือในภูมิภาค การลงทุนในทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและทางทะเลร่วมกัน ข้อตกลงที่โปร่งใสระหว่างประเทศที่มีความสนใจร่วมกันในความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเล และความมุ่งมั่นในการค้าที่เป็นธรรมและมีผลประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกันตลอดทั่วทั้งแปซิฟิกกลางและใต้

สหรัฐฯ ยืนหยัดอย่างมั่นคงกับพันธมิตรของตนเเพื่อรับรองถึงอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างกับทุกประเทศ เมื่อมีการแสดงความสนใจในโครงการชิปไรเดอร์เพิ่มมากขึ้น หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ก็อยู่ในตำแหน่งที่พิเศษในการอำนวยความสะดวกเพื่อการเพิ่มเสถียรภาพและความมั่นคง ของพันธมิตรของสหรัฐฯ ในการสนับสนุนภารกิจของกองบัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นอินโดแปซิฟิกโดยตรง


ข้อตกลงชิปไรเดอร์ของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ

องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ

หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ใช้ข้อตกลงชิปไรเดอร์ว่าด้วย การบังคับใช้กฎหมายประมงทวิภาคี 16 ฉบับกับประเทศในแปซิฟิกตะวันออกและในแอฟริกาตะ วันตก ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ฟิจิกลายเป็นประเทศล่าสุดที่ลงนามในข้อตกลงชิปไรเดอร์ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่กลาโหมและผู้บังคับใช้กฎหมายของประเทศพันธมิตรสามารถขึ้นเรือของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ และกองทัพเรือสหรัฐฯ เพื่อสังเกตการณ์ ป้องกัน ขึ้นเรือ และค้นหาเรือต้องสงสัยว่ากระทำผิดกฎหรือข้อบังคับในเขตเศรษฐกิจพิเศษของตน หรือในเขตทะเลลึก

ข้อตกลงชิปไรเดอร์ช่วยแก้ปัญหาช่องโหว่ของการบังคับใช้กฎหมายทางทะเลโดยปรับปรุงความร่วมมือ การประสานงานและการทำงาน ร่วมกัน และสร้างศักยภาพของผู้บังคับใช้กฎหมายทางทะเลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการต่อกรกับการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และกิจกรรมที่ผิดกฎหมายอื่น ๆ ข้อตกลงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเติมเต็มและส่งเสริมการจัดการที่มีกับพันธมิตรอย่าง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และฝรั่งเศส

เช่น เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายของฟิจิสามารถทำงานในหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ และกองทัพเรือสหรัฐฯ ในฐานะ “ชิปไรเดอร์” ภาคกิจต่าง ๆ ประกอบไปด้วยการแทรกแซงเรือ ต้องสงสัยที่อาจเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ผิดกฎ หมาย เช่น การทำประมงและการลักลอบนำเข้าที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการค้าสารเสพติดที่ผิดกฎหมาย ในช่วงหกปีที่ผ่านมา หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ และกองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ช่วยประเทศเจ้าของอา ณาเขตขึ้นตรวจค้นเรือ 103 ลำ ระบุการกระทำผิด 33 ครั้ง ตามรายงานของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯพ.ศ. 2561

ข้อตกลงชิปไรเดอร์การบังคับใช้กฎหมายทางทะเลแบบทวิภาคีส่งเสริมอธิปไตยของประเทศเจ้าของอาณาเขต โดยการช่วยให้ประเทศเจ้าของอาณา เขตบังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับของตน การนำข้อตกลงชิปไรเดอร์มาใช้ระหว่างประเทศอื่น ๆ และในภูมิภาคอื่น ๆ อาจช่วยเสริมสร้างความพยายามในการบังคับใช้กฎหมายทาง ทะเลทั่วโลก

สหรัฐฯ ได้ลงนามในข้อตกลง ชิปไรเดอร์ทวิภาคีเรื่องการต่อต้าน การทำประมงในทะเลลึกด้วยแห ลอยกับจีน ข้อตกลงชิปไรเดอร์ ทวิภาคีห้าฉบับกับประเทศแอฟริกา ตะวันตก นั่นคือ กาบูเวร์ดี แกมเบีย กานาเซียร์ราลีโอน และเซเนกัล และข้อตกลงชิปไรเดอร์ ทวิภาคีถาวร11 ฉบับกับ ประเทศหมู่เกาะแปซิ ฟิกซึ่งประกอบ ไปด้วยหมู่เกาะคุก ฟิจิ คิริบาตี หมู่เกาะมาร์แชลล์ ไมโครนีเซีย ปาเลา นาอูรู ซามัว ตองงา ตูวาลู และวานูอาตู

ปฏิบัติการชิปไรเดอร์ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายการประมงแบบร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องและ เป็นสากลได้ดำเนินการโดยหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ตลอดช่วง 23 ปีที่ผ่านมากับจีน และ 9 ปีกับแอฟริกาตะวันตกและประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก

ข้อตกลงชิปไรเดอร์เป็นวิธีการที่มีนวัตกรรมและ ความร่วมมือเพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยในมหาสมุทรของโลกอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประ เทศที่สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อตกลงชิปไรเดอร์สามารถติดต่อหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ หรือสถาน เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาในประเทศของตนได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button