เรื่องเด่น

ขยะ อวกาศ

การร่วมมือกันปกป้องโลกจากเศษซากในวงโคจร

เจ้าหน้าที่ เดอะวอทช์

นเคยจงใจทำลายดาวเทียมตรวจสภาพอากาศที่ไม่ใช้งานแล้วด้วยขีปนาวุธพิสัยกลางแบบปล่อยจากพื้น เพื่อทดสอบความสามารถด้านการต่อต้านดาว เทียมเมื่อ พ.ศ. 2550 การทดสอบดังกล่าวทำให้เกิด เศษซากที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10 เซนติเมตรกว่า 3,300 ชิ้น รายงานขององค์การอวกาศยุโรประบุว่า หากดาวเทียมทั่วไปที่โคจรรอบโลกหรือแม้กระทั่งสถานีอวกาศนานาชาติปะ ทะเข้ากับเศษชิ้นส่วนเหล่านี้ชิ้นใดชิ้นหนึ่ง จะทำให้เกิดความเสียหาย ร้ายแรงได้

นอกจากนี้ การทดสอบขีปนาวุธดังกล่าวยังก่อให้เกิดอนุภาคเศษ ซากมากกว่า 200,000 ชิ้นที่มีขนาดเล็กเพียง 1 เซนติเมตร แต่ใหญ่มากพอที่จะทำให้ยานอวกาศเสียหาย หรือเจาะทะลุเกราะป้องกัน ของสถานีอวกาศนานาชาติ แม้กระทั่งการชนกับอนุภาคที่มีขนาดเล็ก กว่า 1 มิลลิเมตร เช่น สะเก็ดสี ก็ทำลายระบบย่อยของดาวเทียมได้ เพราะอนุภาคเหล่านั้นเดินทางด้วยความเร็วมากกว่า 24,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในวงโคจร

นายนิโคลัส จอห์นสัน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการเศษซากในวงโคจรขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ นาซา ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2522 ณ ศูนย์อวกาศจอห์น สันที่เมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส อธิบายว่า “เศษซากทุกชิ้นอาจขัดขวางหรือยุติการทำงานของอากาศยานที่ปฏิบัติการอยู่ในวงโคจรระยะต่ำ” ซึ่งอยู่ที่ความสูงประมาณ 400 ถึง 2,000 กิโลเมตร หลังจากการทดสอบเมื่อ พ.ศ. 2550 นายจอห์นสันได้กล่าวกับ space.com ว่า “การทำลายดาวเทียมในครั้งนี้ได้สร้างชิ้นส่วนกระจัดกระจายจำนวนมากและร้ายแรงที่สุดในรอบ 50ปีของการปฏิบัติการทางอวกาศ”

ผู้ควบคุมการบินของ สถานีอวกาศนานา ชาติทำหน้าที่บังคับทิศทางการหลบหลีกเป็น ประจำ เพื่อไม่ให้เศษชิ้น ส่วนในอวกาศชนกับ สถานี ภาพนี้ประกอบ ด้วยภาพทิวทัศน์ยาม ค่ำคืนของสถานีอวกาศนานาชาติเหนือแสงไฟใน เมืองบนโลก และ แสงออโรร่าสีเขียวเรืองตามขอบนอกของชั้น บรรยากาศโลก นาซา

สองปีต่อมา ดาวเทียมรัสเซียน้ำหนัก 950 กิโลกรัมที่รู้จักกันในชื่อ คอสมอส-2251 ชนกับดาวเทียมพาณิชย์อีริเดียมของสหรัฐฯ ที่ทำงานอยู่ ซึ่งทำให้ดาวเทียมดังกล่าวถูกทำลายและเกิดชิ้นส่วน ขนาดใหญ่อีก 2,000 ชิ้น รวมถึงอนุภาคที่ขนาดเล็กกว่าอีก 100,000 ชิ้น ทั้งสองเหตุการณ์นี้ ทำให้จำนวนเศษซากในวงโคจรระยะต่ำเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 โดยในจำนวนอนุภาคที่เพิ่มขึ้นนี้มีหนึ่งในสามที่จะค้างอยู่ในวงโคจรไปอีก 20 ปี

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ภัยคุกคามจากเศษซากในวงโคจรที่อาจเกิดขึ้นกับดาวเทียมมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ องค์การอวกาศยุโรปประมาณการณ์ว่ามีขยะอวกาศขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10 เซนติเมตรมากถึง 34,000 ชิ้น วัตถุที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 1 ถึง 10 เซนติเมตร 900,000 ชิ้น และวัตถุที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 1 มิลลิเมตรถึง 1 เซนติเมตร 128 ล้านชิ้นโคจรอยู่รอบโลก รวมเป็นมวลรวมมากกว่า 8,400 เมตริกตัน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่า มวลโครงสร้างเหล็กของหอไอเฟล ตัวเลขดังกล่าวรวมถึงดาวเทียมมากกว่า 2,900 ดวงที่ไม่ได้ปฏิบัติการแล้วแต่ยังคงอยู่ในวงโคจร

เครือข่ายเฝ้าระวังทางอวกาศสหรัฐฯ นำโดยกองบัญชาการยุทธ ศาสตร์สหรัฐฯ อาศัยเครือข่ายพันธมิตรทั่วโลกในการระบุ ติดตาม และแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุอวกาศ เพื่อบรรเทาภัยคุกคามดังกล่าว เครือข่ายเฝ้าระวังทางอวกาศสหรัฐฯ ติดตามวัตถุที่มนุษย์ประดิษฐ์ มากกว่า 25,000 ชิ้นในวงโคจรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีขนาดประมาณลูก ซอฟต์บอลขึ้นไป โดยใช้ดาวเทียม เซ็นเซอร์ กล้องโทรทรรศน์ออปติคัล ระบบเรดาร์ และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ปฏิบัติการในระดับนานาชาติจำนวนมาก ทั้งยังเตือนผู้ประกอบการทั่วโลกเกี่ยวกับการปะทะที่กำลังจะ เกิด จากการให้ข้อมูลของนางไดอาน่า แม็คคิสซ็อก ผู้นำด้านอวกาศในกองบินควบคุมอวกาศที่ 18 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งทำหน้าที่ติด ตามเศษซากในอวกาศให้กับเครือข่ายเฝ้าระวังทางอวกาศสหรัฐฯ

ดังเห็นได้จากตัวอย่างใน พ.ศ. 2561 ซึ่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ บันทึกไว้ว่าอาจมีการชนกันเกิดขึ้นกับดาวเทียมที่ทำงานอยู่ได้ถึง 942,143 ครั้ง และอาจเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ถึง 6,469 ครั้ง ตามที่นางแม็คคิสซ็อก กล่าวกับนิตยสาร เดอะวอทช์ โดยผู้ประกอบการต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งดาวเทียมประมาณสองครั้งต่อสัปดาห์ตามข้อมูลดังกล่าว หนึ่งในภัยทางอวกาศที่ร้ายแรงที่สุดเมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดจากสถานีอวกาศเทียนกง-1 ที่ปลดระวางของจีน ตกลงสู่พื้นโลก อย่างควบคุมไม่ได้เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561 สร้างความหวาด กลัวแก่ประชาชนบนภาคพื้นดินก่อนที่จะลุกไหม้ไป โชคดีที่เศษซากจากสถานีอวกาศดังกล่าวตกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกไปทางตอนใต้ของฮา วายประมาณ 4,000 กิโลเมตร

วงโคจรที่แออัด

การจัดการเศษซากที่มนุษย์ประดิษฐ์และที่เกิดจากภารกิจด้านอวกาศมีความท้าทายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่ออวกาศกลายเป็นสถานที่ที่เข้าถึงได้ง่ายและเบียดเสียดไปด้วยความทะเยอทะยานที่เติบโตขึ้น ปัจจุบัน รัฐบาล 60 ประเทศใช้งานดาวเทียมอยู่มากกว่า 2,060 ดวง โดยมี 12 ประเทศและหน่วยงานปกครองอีกหนึ่งแห่งมีขีดความสามารถในการปล่อยจรวด ตามข้อมูลจากสหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้ ห่วงใย ซึ่งเป็นสมาคมวิทยาศาสตร์ไม่แสวงผลกำไรในสหรัฐฯ ผู้เชี่ยวชาญทำนายว่าจำนวนดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรอาจเพิ่มขึ้นมากกว่าสามเท่าในช่วงทศวรรษหน้า เนื่องจากปัจจุบันในแต่ละปีมีการ ส่งดาวเทียมที่มีมวลมากกว่า 50 กิโลกรัมเฉลี่ย 300 ดวงขึ้นสู่วงโคจร และคาดว่าจะมีอัตราเร่งมากขึ้น ตามเอกสารนโยบาย พ.ศ. 2561 ที่บริษัทการบินอวกาศตีพิมพ์ระบุว่า ภายในสองทศวรรษ จำนวนดาวเทียมที่โคจรรอบโลกอาจเพิ่มขึ้น 10 ถึง 16,000 เท่า ซึ่งทำให้จำนวนการแจ้ง เตือนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ระบบในอวกาศได้มอบความได้เปรียบทางเทคโนโลยี ยุทธวิธี และเศรษฐกิจ แก่ประเทศต่าง ๆ ที่มีขีดความสามารถเหล่านั้นใน ภาคการทหารและการค้า ดาวเทียมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเดินเรือการกำหนดเป้าหมายที่แม่นยำ การปฏิบัติการด้วยโดรน การสื่อสาร และการรับรู้สถานการณ์ตามเวลาจริงในสนามรบและอีกมากมาย บริษัทพาณิชย์บางแห่ง เช่น สเปซเอ็กซ์ และวันเว็บ วางแผนที่จะส่ง ดาวเทียมขนาดเล็กนับพันดวงขึ้นสู่วงโคจร

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การพึ่งพาดาวเทียมที่เพิ่มขึ้นของโลกเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสนับสนุนความร่วมมือและสร้างความเป็นพันธมิตร “จากการสร้างขีดความสามารถทางอวกาศที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกและผู้คนที่ ได้รับประโยชน์จากการใช้งานระบบเหล่านั้นมีจำนวนมากขึ้น ถือเป็นผล ประโยชน์ของเราทั้งปวงที่จะดำเนินงานร่วมกันเพื่อรับรองถึงความมั่น คง ความปลอดภัย และความยั่งยืนของอวกาศ” พล.อ.ต. นีนา เอ็ม. อาร์แมกโน ผู้อำนวยการกองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ฝ่ายแผนและนโยบายแห่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ กล่าวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 “มิติอวกาศเป็นทรัพยากรของโลกที่ต้องปกป้องและจัดการร่วม กันให้ดีที่สุด”

ความร่วมมือจากนานาชาติ

ขณะนี้ ประเทศต่าง ๆ ดำเนินงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถในการตรวจสอบ ตลอดจนเทคโนโลยีสำหรับควบคุมดูแลขยะอวกาศเพื่อให้มั่นใจถึงการปฏิบัติการอย่างปลอดภัยในอวกาศ กองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ได้ลงนามในข้อตกลง การเฝ้าระวังทางอวกาศกับหน่วยงาน 89 แห่ง โดยมี 14 ประเทศและหน่วยงานระหว่างรัฐบาลสองแห่งเพื่อ แบ่งปันข้อมูล ได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี อิสราเอล อิตาลี ญี่ปุ่น นอร์เวย์ เกาหลีใต้ สเปน สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักร ตลอดจนองค์การอวกาศยุโรป และองค์การยุโรปเพื่อการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมอุตุนิ ยมวิทยา นอกจากนี้ กองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ซึ่งดำเนินการตรวจสอบขยะอวกาศมาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 เมื่อโซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 ขึ้นสู่วงโคจร ยังแบ่งปันข้อมูลกับบริษัทดาวเทียมพาณิชย์อีกมาก กว่า 65 แห่ง และกำลังดำเนินงานเพื่อขยายขอบเขตเครือข่าย “ทุกคนบนโลกขอข้อมูลจากเราได้” นางแม็คคิสซ็อกกล่าวกับเดอะวอทช์

โครงการแบ่งปันการเฝ้าระวังทางอวกาศของกองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ แสดงข้อมูลการแจ้งเตือนดาวเทียมเกี่ยวกับการชนตลอดอายุการใช้งาน ศูนย์ปฏิบัติการร่วม ด้านอวกาศสามารถให้ข้อมูลล่วงหน้าแก่ผู้ประกอบการ ต่างชาติและการพาณิชย์ เพื่อป้องกันไม่ให้วัตถุอวกาศชนกับ
จรวดขนส่งและสัมภาระที่ปล่อยขึ้นในวงโคจรชั้นต้น นอกจากนี้ โครง การดังกล่าวยังจัดทำการประเมินดาวเทียมที่กลับเข้าสู่โลก และช่วย ติดตามภัยคุกคามจากดาวเคราะห์น้อยได้ เช่นที่เคยมีเหตุดาวเคราะห์น้อยกว้าง 45 เมตร ชื่อ 2012 ดีเอ14 พุ่งผ่านระหว่างโลกกับดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เครือข่ายเฝ้าระวังทางอวกาศสหรัฐฯ รวมถึงดาวเทียมเฝ้าระวัง พื้นที่ทางอวกาศ ซึ่งโคจรอยู่ที่ระดับ 628 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก และเซ็นเซอร์ที่ออสเตรเลีย แคนาดา นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร เป็นผู้ดำเนินการ ตลอดจนกล้องโทรทรรศน์เพื่อการเฝ้าระวังทางอว กาศซึ่งสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เป็นผู้พัฒนา มีการเคลื่อนย้ายกล้องโทรทรรศน์เพื่อการเฝ้าระวังทางอวกาศ ซึ่งสามารถตรวจจับวัตถุจาง ๆ ในวงโคจรค้างฟ้าที่ความสูง 35,400 กิโลเมตร จากนิวเม็กซิโกไปยังออสเตรเลีย เพื่อเพิ่มการตรวจจับและการติดตามการส่งวัตถุขึ้นสู่บรรยากาศในซีกโลกใต้ นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังได้ยกระดับเรดาร์แบบซีแบนด์ และเคลื่อนย้ายจาก สถานีอากาศแอนติกาในแคริบเบียนไปยังสถานีสื่อสารของกองทัพเรือ แฮโรลด์ อี. โฮลต์ ในเมืองเอ็กซ์มัธ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย คาดว่าเร ดาร์ดังกล่าวจะเริ่มปฏิบัติการได้ใน พ.ศ. 2562

ดาวเทียมรีมูฟเดอ บริส ถูกปล่อยจาก สถานีอวกาศนานา ชาติเพื่อทดสอบ เทคโนโลยีใหม่

นอกจากนี้ เครือข่ายเฝ้าระวังทางอวกาศสหรัฐฯยังมีเรดาร์ระบบรั้วอวกาศ ซึ่งเป็นระบบเฝ้าระวังทางอวกาศรุ่นที่สองที่ออกแบบมาเพื่อติดตามดาวเทียมและเศษซากในอวกาศในวงโคจรระยะต่ำ ซึ่งใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว เรดาร์แบบเอสแบนด์ขนาดใหญ่เครื่องแรก และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ กำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการที่ควาจาเลนอะ ทอลล์บนหมู่เกาะมาร์แชล และคาดว่าจะใช้งานได้ใน พ.ศ. 2562 โดยมีตัวเลือกสำหรับการสร้างสถานที่ตั้งเรดาร์อีกแห่งในรัฐเวสเทิร์นออส เตรเลีย ขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้มีการเตือนเกี่ยวกับเศษ ซากในอวกาศที่อาจชนกับดาวเทียมเร็วขึ้น และจะมีการติดตามและลงบันทึกจำนวนวัตถุได้มากขึ้น โดยอาจมากถึง 200,000 ชิ้น รวมถึงวัตถุที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 4 เซนติเมตร

นอกจากนี้ ประชาคมอวกาศนานาชาติยังจัดตั้งคณะกรรมการ ประสานงานด้านเศษซากในอวกาศระหว่างหน่วยงานใน พ.ศ. 2536 เพื่อ เป็นเวทีระหว่างประเทศของรัฐบาล สำหรับการประสานงาน ในระดับโลกด้านกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเศษซากจากสิ่ง ที่มนุษย์ประดิษฐ์และที่เกิดขึ้นเองในอวกาศ สมาชิกคณะกรรมการ ประสานงานด้านเศษซากในอวกาศระหว่างหน่วยงาน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเศษซาก ในอวกาศและผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ จากหน่วยงานด้านอวกาศ 13 แห่ง รวมถึงองค์การอวกาศแคนาดา องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน องค์การอวกาศยุโรป องค์การอว กาศอินเดียองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น สถาบันวิจัยอวกาศเกาหลี และนาซากองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ยังสนับสนุนความพยา ยามของคณะกรรมการประสานงานด้านเศษซากในอวกาศระหว่าง หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ข้างต้น โดยสำนักกิจการอวกาศส่วนนอกแห่งสหประชาชาติและคณะกรรมการการใช้ห้วงอวกาศอย่างสันติ ดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับเศษซากในอวกาศ

ประเทศต่าง ๆ กำลังก้าวขึ้นมามีส่วนร่วมในการจัดการกับขยะ อวกาศ เช่น ญี่ปุ่นจะเพิ่มหน่วยตรวจสอบอวกาศในกองกำลังป้อง กันตนเองภายใน พ.ศ. 2562 “ในเบื้องต้น กองกำลังป้องกันตนเองจะมีภารกิจตรวจสอบเศษซากอันตรายที่ลอยอยู่ในวงโคจรของโลก และป้องกันไม่ให้เศษซากในอวกาศชนกับดาวเทียม” ตามรายงานจากหนังสือพิมพ์เดอะ เจแปน ไทมส์ ญี่ปุ่นจะแบ่งปันข้อ มูลที่ได้รับจากหน่วยใหม่นี้กับกองทัพสหรัฐฯ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านอวกาศ หนังสือพิมพ์ดังกล่าวระบุ

เดอะวอทช์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ของกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นตอนเหนือ


การจัดการภัยคุกคาม

ประเทศต่าง ๆ ร่วมมือกันพัฒนาแนวทางในการกำจัดเศษซาก ในอวกาศจากวงโคจร โดยทดสอบระบบหลายระบบจากสถา นีอวกาศนานาชาติ สมาคมนักวิจัยนำโดยนายกูกลิเอลโม แอเกลียตตี ผู้อำนวยการศูนย์อวกาศเซอร์เรย์แห่งมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ ได้พัฒนาวิธีการที่มุ่งมั่นใช้เชือกลาก พุ่งฉมวก หรือใช้ตาข่ายคลุมขยะอวกาศ แล้วนำเศษซากดังกล่าวลงมาที่ระดับ 200 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวโลก เพื่อให้กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก และเผาไหม้ไปเองจนหมด มีการใช้งานดาวเทียมรีมูฟเดอบริส เพื่อทำ การทดลองระลอกแรกจากสถานีอวกาศนานาชาติในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยใช้แขนกลของโมดูลห้องทดลองของญี่ปุ่นเริ่มดำเนินการ ชุดการทดสอบ

“เราใช้เวลาหลายปีพัฒนาระบบกำจัดเศษซากต่อเนื่องแบบใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวหน้าในการรับมือกับปัญหาเศษซากในอวกาศที่เพิ่มมากขึ้นนี้” จากการระบุของนายนิโคลัส ชาร์มัสซี หัวหน้าระบบอวกาศแอร์บัส ซึ่ง พัฒนาเทคโนโลยีหลักสามอย่างบนดาวเทียมรีมูฟเดอบริส “เราจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมจากทั่วโลกต่อไป เพื่อใช้ความเชี่ยวชาญที่เรา มีช่วยแก้ปัญหานี้”

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศจากหลากหลายประเทศ ที่มีศักยภาพด้านอวกาศ ยังดำเนินงานตามแนวทางต่าง ๆ เพื่อ สร้างเลเซอร์พลังงานสูงที่กำจัดขยะอวกาศทุกขนาดได้ เริ่มแรกใน พ.ศ. 2558 นักวิจัยชาวญี่ปุ่นเสนอให้มุ่งเน้นที่การใช้เลเซอร์ขนาดเล็กในรูปลำแสง โดยติดตั้งไว้ที่โมดูลของญี่ปุ่นบนสถานีอวกาศนานา ชาติหรือที่ดาวเทียม เพื่อเล็งเป้าเศษซากอวกาศ นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยวิศวกรรมกองทัพอากาศของจีนในเมืองซีอาน มลฑลส่านซี เสนอ ให้ใช้เลเซอร์แบบยึดติดกับดาวเทียมเพื่อกำจัดเศษซากในวงโคจร รวมทั้งชิ้นส่วนที่กว้างน้อยกว่า 10 เซนติเมตร โดยทั้งสองฝ่ายตี พิมพ์วิธีการของตนเป็นบทความประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ลงในออปติก ซึ่งเป็นวารสารนานาชาติเกี่ยวกับทัศนศาสตร์ของแสงและ อิเล็กตรอน

ในขณะเดียวกัน เว็บไซต์ไลฟ์ไซแอนซ์รายงานในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ว่า พรีซิซัน อินส์ทรูเมนต์ ซิสเทมส์ ซึ่งเป็นสาขาการวิจัย และพัฒนาขององค์การอวกาศรัสเซีย มีแผนจะสร้างกล้องโทรทรรศน์ ออปติคัลขนาด 3 เมตรที่สามารถติดตามขยะอวกาศในวงโคจรและ กำจัดให้สิ้นซาก

การบรรเทาความเสี่ยงในอนาคต

ในอนาคตเมื่ออวกาศเริ่มแออัดมากขึ้น ขยะอวกาศอาจเป็นอันตรายยิ่งขึ้นเนื่องจากปฏิกิริยาเคสส์เลอร์ แนวคิดดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2521 เชื่อว่าเมื่อความหนาแน่นของวัตถุในอวกาศเพิ่มขึ้น การชนกัน ของวัตถุเหล่านั้นจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย การเกิดปรากฏการณ์เคสส์ เลอร์ในวงโคจรที่แออัดอธิบายว่า การชนหนึ่งครั้งจะทำไปสู่การชนต่อกันไปเรื่อย ๆ เกิดเป็นปฏิกิริยาการชนของขยะอวกาศแบบลูกโซ่ที่เป็น หายนะ ซึ่งอาจปิดเขตต่าง ๆ ในวงโคจรของโลกจนถึงการสัญจรของ ดาวเทียมไปทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศคิดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นในอีกหลายทศวรรษนี้ หรืออาจจะไม่มีวันเกิดขึ้นเลย “ผมไม่ได้บอกว่ามันจะไม่เกิดขึ้น และไม่ได้บอกว่าเราไม่ต้องทำตัวฉลาด และจัดการกับปัญหานั้น” นายเจสซี กอสส์เนอร์ วิศวกรกลศาสตร์วงโคจรซึ่งสอนอยู่ที่โรงเรียนปฏิบัติการด้านอวกาศขั้นสูงของกองทัพอากาศ สหรัฐฯ กล่าวกับเว็บไซต์บิสซิเนสอินไซเดอร์ “แต่ผมคิดว่าจะไม่มีทาง กลายเป็นปัญหาที่จัดการไม่ได้ในเร็ว ๆ นี้”

นายกอสส์เนอร์และผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ อีกหลายคนคิดว่าการค้นหา ติดตาม และแจ้งเตือนกลุ่มต่าง ๆ เกี่ยวกับการชนที่อาจเกิดขึ้น ยังคง เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการจัดการกับเศษซากในอวกาศ “สิ่ง ที่ต้องทำคือการจับตาและหลีกเลี่ยงการชนด้วยดาวเทียมที่เราควบคุม อยู่ในขณะนี้” นายกอสส์เนอร์กล่าว “การชนกลายเป็นปัญหาที่สำคัญมากไม่เพียงกับดาวเทียมเอง แต่รวมถึงเศษซากที่จะเกิดขึ้นจากการชน” ซึ่งในตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์อวกาศบางคนยืนกรานว่า อนุภาคที่เล็กที่สุด ซึ่งไม่สามารถติดตามได้อาจสร้างความเสียหายได้มากที่สุด

เศษซากในอวกาศทุกชนิดจะเป็นความท้าทายอย่างต่อเนื่องสำ หรับประชาคมนานาชาติอย่างแน่นอน เมื่อความทะเยอทะยานและการ พึ่งพาอวกาศเพิ่มมากขึ้น “อวกาศกำลังจะกลายเป็นพื้นที่เปราะบาง เราจึงต้องคิดหาทางบรรเทาความเสี่ยงและภัยคุกคามเหล่านั้น” นายเอลบริดจ์ โคลบี นักวิจัยอาวุโสแห่งศูนย์เพื่อความมั่นคงอเมริกันใหม่ กล่าวกับหนังสือพิมพ์เดอะ วอชิงตัน โพสต์ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ปัจจุบันนายโคลบีดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงกลาโหม ฝ่ายการพัฒนายุทธศาสตร์และกองทัพที่กระทรวงกลา โหมสหรัฐฯ

นายโดนัลด์ เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯประกาศเมื่อเดือนมิถุ นายน พ.ศ. 2561 ว่ากองทัพอวกาศใหม่ของสหรัฐฯ จะพร้อมรับมือกับ ความท้าทายดังกล่าว นอกจากนี้ การถ่ายโอนความรับผิดชอบด้านการ เฝ้าระวังทางอวกาศไปยังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ของนายทรัมป์ ยังมีความคืบหน้าอีกด้วย พล.อ.อ. จอห์น ไฮเทน ซึ่งปัจจุบันดำรงตำ แหน่งหัวหน้ากองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ กล่าวให้คำแนะนำแก่ คณะกรรมาธิการกิจการทหารของรัฐสภาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ว่าภารกิจการเฝ้าระวังทางอวกาศภายในกระทรวงกลาโหมจะดำเนินต่อไปด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ ไม่ว่าจะมีการจัดโครงสร้าง การบัญชาการอวกาศใหม่อย่างไรก็ตาม “สิ่งนั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง … เพราะเราต้องมีข้อมูลดังกล่าวเพื่อปกป้องตัวเองจากภัยคุกคามที่ อาจเกิดขึ้น”

ซึ่งการไม่ดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้เกิดการสูญเสียอย่างมหาศาล “ทุก ๆ วัน เราใช้และพึ่งพาบริการต่าง ๆ จากดาวเทียม โดยไม่ได้ตระหนักเลยว่ามีความเปราะบางมากเพียงใด” ดร. ฮิวจ์ ลูอิส หัวหน้าฝ่ายวิจัยอวกาศยานศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตันกล่าวกับยูเคไวร์ด เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 “นี่ไม่ใช่แค่เรื่องที่ขยะอวกาศอาจทำให้ดาวเทียมเสียหายหรือถูกทำลายในวันนี้พรุ่งนี้ แต่เป็นเรื่องที่ว่าการกระทำของคนรุ่นเราอาจส่งผลกับความใฝ่ฝันและความทะเยอทะยานของคนรุ่น อนาคตที่จะทำงานและอาศัยอยู่ในอวกาศ”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button