ติดอันดับ

รายงานระบุว่า การกระทำของจีนเป็นบ่อนทำลายหลักนิติธรรมในทะเลจีนใต้

รายงานประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ที่เผยแพร่โดยสถาบันบรูกกิงส์ระบุว่า พฤติกรรมอุกอาจของสาธารณรัฐประชาชนจีนในทะเลจีนใต้ส่งผลให้กฎหมายทะเลนานาชาติอ่อนแอลง

“พฤติกรรมนี้ทำร้ายทุกประเทศรวมทั้งจีนเอง ซึ่งมีความสนใจในการสร้างความมั่นใจว่าการแข่งขันอยู่ในกรอบกฎหมายสากล โดยจะช่วยส่งเสริมเสถียรภาพและลดความเสี่ยงของความขัดแย้ง” เขียนโดย ดร. ลินน์ คูค นักวิจัยอาวุโสจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และนักวิชาการอาวุโสจากที่ประชุมแชงกรีล่าไดอะล็อกเพื่อความมั่นคงในเอเชียแปซิฟิก กล่าวกับสถาบันเพื่อการศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ ดร. คูคเขียนรายงานให้สถาบันบรูกกิงส์ในชื่อ “วิธีการที่การกระทำของจีนในทะเลจีนใต้เป็นการบ่อนทำลายหลักนิติธรรม” (https://www.brookings.edu/wp-content/uploads/2019/11/FP_20191118_china_scs_law_kuok.pdf)

อธิบายถึงความพยายามของจีนที่จะแสวงหาการอ้างสิทธิทางอาณาเขตและทางทะเล และการควบคุมภูมิประเทศต่าง ๆ รวมถึงการบุกรุกเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศชายฝั่ง การเพิ่มกำลังทหาร และความพยายามปฏิเสธเสรีภาพในการเดินเรือของสหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ ผ่านน่านน้ำที่มีข้อพิพาท (ภาพ: เครื่องบินขับไล่เอฟ/เอ-18 ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ลงจอดบนเรือยูเอสเอส คาร์ล วินสัน เรือบรรทุกอากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐฯ หลังจากการลาดตระเวนทะเลจีนใต้ที่เป็นข้อพิพาท)

“การยืนกรานของจีนในการปฏิบัติต่อพื้นที่น่านน้ำสากลที่กว้างใหญ่ว่าเป็นอาณาเขตหรือน่านน้ำภายในของตน ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ในทะเลจีนใต้” ดร. คูคกล่าว

เช่น เมื่อสหราชอาณาจักรคัดค้านเส้นฐานตรงที่ผิดกฎหมายของจีนรอบหมู่เกาะพาราเซลในเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 จีนได้แย้งว่าเรือของอังกฤษ “ละเมิดอำนาจอธิปไตยของจีน” จากนั้น ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 เมื่อเรือรบฝรั่งเศสแล่นผ่านช่องแคบไต้หวัน จีนกล่าวหาว่า “เข้าสู่น่านน้ำจีนอย่างผิดกฎหมาย”

“หากทุกอย่างที่จีนทำเป็นการตักเตือนด้วยวาจา นั่นคงไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่พฤติกรรมของจีนมุทะลุมากขึ้นในช่วงหลัง จากการที่กองทัพเรือของจีนไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความประพฤติตามที่ตกลงกับสหรัฐฯ จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อเหตุการณ์และความขัดแย้ง” ดร. คูค กล่าว

แม้จีนพยายามบ่อนทำลายหลักนิติธรรมอย่างต่อเนื่อง แต่ความพยายามร่วมกันของประเทศอื่น ๆ ในการรักษาหลักนิติธรรมนั้นยังคงเหนือกว่า

“จีนยังไม่ได้รับชัยชนะในทะเลจีนใต้” ดร. คูคสรุป ดร. คูคแนะนำให้ประเทศต่าง ๆ แสดงถึงสิทธิและเสรีภาพทางทะเลต่อไป เพื่อตอบโต้กลยุทธ์ของจีน ดร. คูคยังสนับสนุนสหรัฐฯ ให้จัดการฝึกซ้อมทวิภาคีและพหุภาคีในภูมิภาคนี้ร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วนต่อไป รวมถึงสื่อสารให้จีนรู้ว่าสิ่งก่อสร้างบนสันดอนสกาโบโรห์จะมีผลกระทบร้ายแรงตามมา

“เรื่องทะเลจีนใต้ไม่อาจมองแยกทีละเรื่องได้ และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีจุดยืนอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับภูมิทัศน์เชิงกลยุทธ์และเชิงเศรษฐกิจที่กว้างขึ้น” ดร. คูคกล่าว

การอ้างสิทธิทางอาณาเขตและทางทะเลในทะเลจีนใต้ ประกอบด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์หลายประการ ได้แก่ หมู่เกาะปราตัส หมู่เกาะพาราเซลล์ อ่าวแมคเคิลสฟิลด์ สันดอนสกาโบโรห์ และหมู่เกาะสแปรตลี

บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และเวียดนามล้วนมีข้อพิพาทเรื่องพื้นที่ทับซ้อนกับจีนในทะเลจีนใต้ สหรัฐฯ ไม่ได้อ้างสิทธิ์ในน่านน้ำทะเลจีนใต้ แต่ยังคงแสดงตนหนักแน่น ทั้งยังเดินเรือทางทหารของตนสองครั้งในน่านน้ำที่มีข้อพิพาทในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ดร. คูคสนับสนุนให้สหรัฐฯ ดำเนินการดังกล่าวต่อไป นอกจากนี้ ยังดูหมิ่นผู้ที่ให้ความสำคัญกับจีนมากเกินไป โดยกล่าวว่าจีนขึ้นหลังเสือแล้วลงไม่ได้

“ขอโต้แย้งนี้ไม่ถูกต้อง” ดร. คูคเขียน “อีกทั้งยังเป็นอันตรายด้วย การทำเช่นนี้อาจเป็นการเติมเต็มความต้องการของตนเอง จีนมีข้อได้เปรียบ แต่ด้วยการยืนยันสิทธิเสรีภาพทางทะเล สหรัฐฯ และพันธมิตรตอบโต้ความพยายามของรัฐบาลจีนในการยืนยันการควบคุมน่านน้ำทะเลจีนใต้ได้สำเร็จ”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button