ติดอันดับ

ประเทศในเอเชียกลางเสียใจที่ยอมให้จีนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

ปฏิกิริยาต่อต้านการลงทุนในต่างประเทศและการขยายดินแดนของสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลกโดยในเอเชียกลางความไม่พอใจต่อการปรากฏตัวของจีนเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ

เห็นตัวอย่างได้จากการประท้วงต่อต้านจีนที่เกิดขึ้นช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาในคาซัคสถานเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงงานของจีนตามรายงานของหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ขณะเดียวกันในเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2562 ที่คีร์กีซสถานพลเมืองท้องถิ่นประมาณ500 คนได้เข้าไปยังสถานที่ก่อสร้างที่บริษัทเหมืองแร่ของจีนดำเนินการและต่อสู้กับแรงงานจีนรวมทั้งยึดอุปกรณ์การทำงานเนื่องจากมีการกล่าวหาว่าบริษัทเหมืองแร่ทองคำแห่งนี้ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและทำให้ปศุสัตว์ล้มตายโดยรายงานจากเรดิโอฟรียุโรประบุว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายสิบรายจากเหตุการณ์นี้(ภาพ: ประชาชนประท้วงการก่อสร้างโรงงานจีนในคาซัคสถานระหว่างการชุมนุมที่อัลมาตีประเทศคาซัคสถานเมื่อวันที่4 กันยายนพ.ศ. 2562)

รอยเตอร์รายงานว่านายสีจิ้นผิงประธานาธิบดีจีนกระตุ้นความรู้สึกต่อต้านจีนในเอเชียกลางในพ.ศ. 2560 ให้คุกรุ่นขึ้นด้วยการสั่งให้สร้าง”กำแพงเหล็กที่ยิ่งใหญ่” เพื่อกักกันความไม่สงบในเมืองซินเจียงประเทศจีน

รายงานจากรอยเตอร์ระบุว่ากลุ่มสิทธิมนุษยชนยืนยันว่าความไม่มีเสถียรภาพในซินเจียงเป็นการตอบโต้ต่อกิจกรรมการปราบปรามของจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชนกลุ่มน้อยชาวตุรกีคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุว่าจีนได้ปราบปรามกลุ่มต่างๆโดยกักตัวชาวมุสลิมจำนวน2 ล้านคนในค่ายกักกันในซินเจียงรวมถึงชาวอุยกูร์ชาวคาซัคสถานและชาวคีร์กีซสถาน

เอเชียกลางคือจุดเชื่อมโยงสำคัญในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนจีนพยายามสร้างและควบคุมเครือข่ายภาคพื้นดินและทะเลที่เชื่อมไปยังยุโรปและเอเชียเพื่อวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจการเมืองและอื่นๆผ่านโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

นักวิเคราะห์หลายคนกังวลว่าโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนในเอเชียกลางอาจมีวาระซ่อนเร้นเพื่อเป็นการขยายอาณาเขตของจีนในภูมิภาคดังกล่าวคาซัคสถานและทาจิกิสถานมีเขตชายแดนร่วมกันกับมณฑลซินเจียงของจีนกว่า3,200 กิโลเมตรซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนพยายามรักษาอำนาจในการควบคุมเอาไว้

นักวิเคราะห์แสดงความกังวลจากการที่จีนได้รับอิทธิพลจากทั่วโลกว่าอาจทำให้จีนแก้ไขข้อตกลงชายแดนปัจจุบันซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อปลายทศวรรษ1990 (พ.ศ. 2533 – 2542) กับคาซัคสถานทาจิกิสถานและคีร์กีซสถานเพื่อผลประโยชน์ของจีนเอง

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจีนได้เพิ่มการทำสัญญาเช่าพื้นที่การเกษตรในคาซัคสถานทาจิกิสถานและคีร์กีซสถานโดยจะใช้แรงงานชาวจีนทำงานซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจจากพลเมืองท้องถิ่นด้วย

นอกจากนี้เพื่อให้บรรลุโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางจีนจึงได้เลือกเป้าหมายเป็นประเทศที่อยู่ภายใต้ความตึงเครียดทางการเงินจาก68 ประเทศที่จีนให้กู้ยืมเงินมีถึง23 ประเทศที่อยู่ในความเสี่ยงหนี้สูงรวมถึงทาจิกิสถานและคีร์กีซสถานตามรายงานของเดอะวอชิงตันโพสต์จีนเป็นเจ้าหนี้ประมาณร้อยละ50 ของหนี้ต่างประเทศมูลค่า4 พันล้านเหรียญสหรัฐ(ประมาณ1.2 แสนล้านบาท) ของคีร์กีซสถานซึ่งถือเป็นจำนวนมากสำหรับประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อปีเพียง7 พันล้านเหรียญสหรัฐ(ประมาณ2.1 แสนล้านบาท) หนังสือพิมพ์ดังกล่าวรายงานอีกว่าจีนยังเป็นเจ้าหนี้เกือบครึ่งหนึ่งของหนี้ต่างประเทศมูลค่า2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ(8.7 หมื่นล้านบาท) ของทาจิกิสถาน

ขณะที่จีนเดินหน้าโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางในเอเชียกลาง”มีแนวโน้มว่าจีนจะหาสัมปทานเพิ่มเติมในการเข้าถึงที่ดินเพื่อทำการเกษตรและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในฐานะส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ระดับโลกด้านความมั่นคงทางทรัพยากรและอาหารนอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าจีนจะยังคงใช้โครงการเหล่านั้นเป็น’วาล์วระบาย’ สำหรับแรงงานของตนเองซึ่งหมายความว่าจะมีการอพยพแรงงานของจีนไปยังเอเชียกลางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนายคอนเนอร์ดิลลีนนักวิจัยและอดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียเขียนลงในบทความในเว็บไซต์คำวิจารณ์และการวิเคราะห์ที่ชื่อเดอะสแตรตเทอร์จิสต์ของสถาบันนโยบายเชิงยุทธศาสตร์แห่งออสเตรเลีย

โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางในเอเชียกลางของจีน”ทำให้จีนได้รับประโยชน์จากภูมิภาคนี้อย่างมีนัยสำคัญชัดเจนและการจัดซื้อที่ดินรวมทั้งการอพยพแรงงานที่เกี่ยวข้องเป็นการให้ยืม’อาณานิคมจอมปลอม’ โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมการร่วมทุนของจีนในเอเชียกลางยังแบกความเสี่ยงที่สำคัญจากการทุจริตเชิงสถาบันลัทธิอำนาจนิยมและความเป็นไปได้ทางการทหารอิสลามแต่จะเป็นอย่างไรหากว่าจีนรับความเสี่ยงเหล่านั้นอยู่แล้วเนื่องจากวางแผนโครงการจักรวรรดิในเอเชียกลางมาโดยตลอด”นี่คือคำถามจากนายดิลลีน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button