ข่าวผู้ก่อการร้ายแผนก

อินโดนีเซีย เพิ่มความเข้มงวดกับ กฎหมายการก่อการร้าย หลังเกิดเหตุโจมตีโดยใช้เด็กเป็นผู้ลงมือ

เรื่องและภาพโดย ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

ฐสภาอินโดนีเซียอนุมัติเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ว่าด้วยการยืดเวลาการกักขัง และการให้ทหารเข้ามามีส่วนร่วมในปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย สิ่งที่กระตุ้นให้สมาชิกสภานิติบัญญัติดำเนินการดังกล่าว คือการวางระเบิดที่มีเด็กเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะผู้กระทำผิด

กลุ่มปกป้องสิทธิโจมตีการแก้ไขข้อกฎหมายบางข้อว่า กว้างหรือคลุมเครือเกินไป และเตือนว่าไม่ควรรีบประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว ขอบข่ายสำหรับการให้กองทัพเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายนั้นยังเป็นที่ถกเถียง เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนท่าทีจากที่เคยกันทหารออกจากพื้นที่ภายใต้อำนาจพลเรือนเป็นเวลาถึงสองทศวรรษ

นายโจโค วิโดโด ประธานาธิบดี ขู่ว่าจะกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงตามกฤษฎีกาพิเศษ หากรัฐสภาไม่รีบอนุมัติ มีการยื่นเสนอการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกหลังการวางระเบิดพลีชีพและการใช้อาวุธปืนโจมตีในกรุงจาการ์ตา เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 แต่ไม่ได้รับความสนใจจากสภานิติบัญญัติ

ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ตำรวจวิสามัญผู้ก่อการร้ายอิสลามที่ต้องสงสัย 14 รายและจับกุมได้ 60 ราย หลังจากการวางระเบิดพลีชีพที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นในเดือนดังกล่าวที่ซูราบายา เมืองใหญ่อันดับสองของอินโดนีเซีย ครอบครัวหัวรุนแรงพร้อมด้วยเด็ก ๆ ซึ่งคนที่มีอายุน้อยที่สุดมีอายุเพียง 7 ปี ดำเนินการโจมตีดังกล่าว

การวางระเบิดพลีชีพสร้างความหวาดกลัวแก่อินโดนีเซียซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 ราย รวมถึงสมาชิกครอบครัว 13 คนที่เป็นผู้ลงมือ ผู้กระทำผิดรายสำคัญเป็นผู้นำหน่วยซูราบายาของเครือข่ายการก่อการร้ายอินโดนีเซีย ซึ่งภักดีต่อรัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (ไอซิส)

หน่วยตำรวจระเบิดตรวจสอบซากรถจักรยานยนต์ในสถานที่เกิดเหตุระเบิดภายนอกโบสถ์ในซูราบายา

กฎหมายใหม่เพิ่มระยะเวลากักกันสูงสุดสามเท่าเป็นเวลา 21 วันโดยไม่ตั้งข้อหากับกลุ่มติดอาวุธต้องสงสัย และเพิ่มระยะเวลากักกันที่อนุญาตทั้งหมดประมาณสองเท่า ตั้งแต่การจับกุมไปจนถึงการพิจารณาคดีในศาลเป็นวลามากกว่าสองปี

บทความจำนวนมากกล่าวถึงช่องโหว่ในกฎหมายเดิมตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ซึ่งให้มูลเหตุทางกฎหมายมากขึ้นในการดำเนินคดีกับบุคคล เช่น นักบวชหัวรุนแรงที่กระตุ้นให้เกิดการโจมตี หรือชาวอินโดนีเซียที่เดินทางไปต่างประเทศเพื่อเข้าร่วมไอซิส

คำจำกัดความของการกระทำอันเป็นการก่อการร้ายและภัยคุกคามถูกขยายเพิ่มออกไปเพื่อรวมถึงแรงจูงใจทางอุดมการณ์ การเมือง และการสร้างความวุ่นวายต่อความมั่นคง ผู้บัญญัติกฎหมายบางรายกล่าวว่า การทำเช่นนี้จะป้องกันไม่ให้มีการใช้กฎหมายในทางที่ผิด

จะมีการกำหนดนิยามของการมีส่วนร่วมของกองทัพในปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายในภายหลังโดยระเบียบของประธานาธิบดี

นายมูฮัมมัด ซยาฟี ประธานคณะกรรมการรัฐสภาผู้ตรวจสอบกฎหมายใหม่กล่าวว่า การรวมกองทัพเข้าไว้ด้วยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงความสามารถของตำรวจในการปราบปรามกลุ่มหัวรุนแรงและเครือข่ายหัวรุนแรงในอินโดนีเซีย

อินโดนีเซียเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยหลังจากขับไล่จอมเผด็จการซูฮาร์โตใน พ.ศ. 2541 และบทบาทของกองทัพซึ่งสำราญกับการยึดอำนาจ ลดทอนเหลือเพียงทำหน้าที่ในการป้องกันประเทศ

ปัจจุบัน ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายของอินโดนีเซียนำโดยหน่วยตำรวจชั้นยอด เดนซุส 88 จัดตั้งขึ้นภายหลังเหตุการณ์ระเบิดที่ไนท์คลับในบาหลีเมื่อ พ.ศ. 2545 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 202 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา หน่วยตำรวจดังกล่าวระบุว่าได้สกัดกั้นแผนการก่อการร้ายได้มากถึง 23 ครั้ง และจับกุมกลุ่มผู้ก่อการร้ายต้องสงสัยได้กว่า 360 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button