ติดอันดับ

อินเดียและเยอรมนีกระชับความร่วมมือด้วยข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหม

มันดีปซิงห์

เยอรมนีและอินเดียได้เพิ่มองค์ประกอบในความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ด้านกลาโหมให้แข็งแกร่งขึ้นด้วยการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหมที่ได้รับความคาดหวังสูงเมื่อนางนีร์มาลาสิทธารามันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอินเดียเข้าพบนางเออร์ซูลาฟอนแดร์เลเยินรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเยอรมนีณกรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่12 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2562

การประชุมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการไปเยือนประเทศเยอรมนีเป็นเวลาสองวันของนางสิธารามันซึ่งได้พบกับเหล่าผู้นำด้านอุตสาหกรรมกลาโหมและกล่าวสุนทรพจน์ที่สภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเยอรมนี

ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการขนานนามว่าเป็นการดำเนินการจัดการเสริมสร้างความร่วมมือด้านกลาโหมและด้านอุตสาหกรรมกลาโหมและสัญญาว่าจะ”กระชับความร่วมมือระหว่างกองทัพรวมถึงอุตสาหกรรมกลาโหมและการประสานด้านการวิจัยและพัฒนา” รายงานในคำแถลงการณ์ของกระทรวงกลาโหมอินเดียระบุ(ภาพ: นางนีร์มาลาสิทธารามันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอินเดีย(ซ้าย) จับมือกับนางเออร์ซูลาฟอนแดร์เลเยินรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเยอรมนี)

แถลงการณ์ระบุเพิ่มเติมว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทั้งสองบรรยายถึงความสัมพันธ์ด้านกลาโหมในระดับทวิภาคีว่าเป็น”แง่มุมที่สำคัญ” ของความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างอินเดียกับเยอรมนีซึ่งสอดคล้องกับแถลงการณ์จากกระทรวงกลาโหมของเยอรมนี

“ทั้งสองประเทศประสานความร่วมมือทางยุทธศาสตร์มานานเกือบ20 ปีและได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง” แถลงการณ์ของเยอรมนีระบุ”นอกเหนือจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั่วไปในหัวข้อต่างๆเช่นนโยบายด้านไซเบอร์และการต่อสู้กับการก่อการร้ายแล้วความร่วมมือในด้านนโยบายความมั่นคงยังทวีความเข้มข้นควบคู่ไปกับภารกิจขององค์การสหประชาชาติเช่นในเลบานอนเซาท์ซูดานลิเบียหรือซาฮาราตะวันตกที่มีทหารจากเยอรมนีและอินเดียเข้าร่วม”

รัฐบาลเยอรมนีและอินเดียได้จัดตั้งความร่วมมือทางยุทธศาสตร์โดยรับเอาวาระเพื่อความร่วมมือระหว่างอินเดียกับเยอรมนีในศตวรรษที่21 มาใช้เมื่อเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2543 มีการลงนามในปฏิญญาร่วมว่าด้วยเจตจำนงในความร่วมมือระหว่างเยอรมนีและอินเดียด้านนโยบายไซเบอร์เมื่อเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2560 ซึ่งจัดให้มีการปรึกษาหารือทางไซเบอร์ประจำปีระหว่างอินเดียกับเยอรมนีอย่างเป็นทางการในพ.ศ. 2560 รัฐบาลของทั้งสองประเทศยังตกลงจัดประชุมคณะทำงานร่วมในการต่อต้านการก่อการร้ายเป็นประจำ

ในการพบกับบรรดานักอุตสาหกรรมชาวเยอรมันนั้นนางสิธารามันมาพร้อมกับเหล่าผู้นำของบริษัทด้านกลาโหมของอินเดียเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมรายงานนางสิธารามันเรียกร้องให้ทั้งสองกลุ่มขยายความร่วมมือในการผลิตทางด้านกลาโหมภายใต้กรอบความคิดของโครงการที่มีชื่อว่า”เมคอินอินเดีย” ซึ่งเริ่มดำเนินการโดยนายนเรนทระโมทีนายกรัฐมนตรีอินเดียในพ.ศ. 2557 เพื่อสนับสนุนการผลิตและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอินเดีย

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับนักอุตสาหกรรมทั้งสองกลุ่มคือความต้องการปรับปรุงกองทัพอินเดียให้ทันสมัยซึ่งรวมถึงเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อนไม่ใช้อากาศจากภายนอกหกลำซึ่งกระทรวงกลาโหมอินเดียอนุมัติให้จัดซื้อในช่วงต้นพ.ศ. 2562 การจัดซื้อดังกล่าวมีมูลค่าโดยประมาณมากกว่า5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ(ประมาณ1.74 แสนล้านบาท) แม้บริษัททิสเซ่นครุปป์มารีนซิสเท็มส์ของเยอรมนีดูจะเป็นตัวเลือกผู้จัดจำหน่ายหลักแต่ยังมีผู้จัดจำหน่ายในสวีเดนฝรั่งเศสและรัสเซียที่อยู่ระหว่างการพิจารณาด้วย

ระบบขับเคลื่อนไม่ใช้อากาศจากภายนอกเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าอยู่ใต้น้ำได้เป็นเวลาสองสัปดาห์เมื่อเทียบกับเรือที่อยู่ใต้น้ำได้เพียง48 ชั่วโมงด้วยกรอบความคิด”เมคอินอินเดีย” การผลิตส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องดำเนินการที่อู่ต่อเรือในอินเดีย

ในการเจรจาที่สภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเยอรมนีนางสิธารามันกล่าวเกี่ยวกับสิ่งที่กระทรวงกลาโหมอินเดียมีส่วนร่วมและให้ความสำคัญ”โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนสภาพแวดล้อมที่มั่นคงมีเสถียรภาพและสงบสุขรวมทั้งทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นสำหรับทุกคน” และเน้นย้ำถึงความจำเป็นของอินเดียและเยอรมนี”ในการสร้างจุดร่วมของการประเมินในประเด็นทางยุทธศาสตร์และทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างระเบียบของโลกที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์” กระทรวงกลาโหมอินเดียระบุ

นายมันดีปซิงห์เป็นผู้สื่อข่าวสมทบของฟอรัมรายงานจากกรุงนิวเดลีประเทศอินเดีย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button