ประเทืองปัญญาแผนก

เมืองต่าง ๆ ในเอเชียส่งเสริมให้สร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนา กับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

เขาอาจไม่เคยเดินทางไปยังเมืองนิวคลาร์ก แต่นายเอ็ดการ์ด ลาบิแทก คนขับรถแท็กซี่หวังว่ามหานครสีเขียว ยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติ และมีเทคโนโลยีสูงแห่งแรกของฟิลิปปินส์จะช่วยลดความตึงเครียดในกรุงมะนิลา ซึ่งหมายความว่าจะเสียเวลากับรถติดบนท้องถนนน้อยลงและมีเวลาอยู่กับลูก ๆ มากขึ้น ในช่วงบ่ายวันอาทิตย์ที่ร้อนอบอ้าว นายลาบิแทกในวัย 42 ปีที่ขับรถอยู่โอดครวญกับอีกกะหนึ่งของการทำงานที่หมดไปกับการค่อย ๆ ขยับไปข้างหน้าทีละนิดบนถนนที่มีชื่อเสียงด้านการจราจรที่คับคั่งในเมืองหลวงที่มีประชากร 13 ล้านคน “ความแออัด มลพิษ และการจราจร เป็นสิ่งที่ผู้คนพูดเกี่ยวกับกรุงมะนิลา” นายลาบิแทกกล่าวในขณะที่ชี้ให้ดูการจราจรที่ติดขัด “แต่โชคดีที่รัฐบาลมีแผนการ และประธานาธิบดีดูเตอร์เตก็เป็นคนที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้”

แผนการดังกล่าวคือเมืองนิวคลาร์กที่มีขนาด 9,450 เฮกตาร์ เจ้าหน้าที่รัฐกล่าวว่าเมื่อเสร็จสมบูรณ์ในอีก 25-30 ปีข้างหน้าจะมีขนาดทางกายภาพใหญ่กว่าเมืองแมนฮัตตันของรัฐนิวยอร์ก และคาดว่าจะมีจำนวนประชากรมากกว่า 1.2 ล้านคน เป้าหมายคือการสร้างเมืองที่ติดตั้ง

อุปกรณ์ในการรับมือกับสภาพอากาศรุนแรงในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาพดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนโดยการมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับธรรมชาติในการพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญเขตเมืองกล่าว
เมืองนิวคลาร์กสะท้อนแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นจากญี่ปุ่นและอินเดียไปจนถึงสหรัฐอเมริกา โดยพยายามที่จะท้าทายการวางผังเมืองตามแบบที่เป็นที่รวมตัวของรัฐบาล นักพัฒนา ธุรกิจและสาธารณะ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยืดหยุ่นสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย “วัตถุประสงค์ไม่ใช่เพียงแค่สร้างเมืองที่ยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติ แต่เป็นเมืองที่ประสบความสำเร็จ สร้างนวัตกรรมและมีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และยังมีความยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติด้วย” นายเบนจามิน เพรสตัน นักวิจัยที่แรนด์ คอร์ปอเรชัน ซึ่งเป็นคณะวิจัยระดับโลกกล่าว

เมืองนิวคลาร์กยังคงอยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่เจ้าหน้าที่กล่าวว่านายดูเตอร์เตกำลังเร่งติดตามโครงการนี้ในฐานะที่ฟิลิปปินส์เป็นเมืองที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียใน พ.ศ. 2560 โดยได้พยายามที่จะกระตุ้นการใช้จ่ายในด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างงานและดึงดูดบริษัทต่างชาติเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลจะเร่งสร้างเมืองนิวคลาร์กและจัดการกับจำนวนประชากร ความหนาแน่น และความแออัดที่เพิ่มสูงขึ้นของกรุงมะนิลา แต่รัฐบาลก็ต้องวางผังเมืองใหม่ด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในอดีต องค์การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดำเนินการโดยรัฐบาลกล่าว

“เราต้องสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาอย่างรวดเร็วซึ่งเพิ่มคุณค่าสูงสุดให้กับภาคเอกชนและปกป้องพื้นที่เปิด และทำให้เป็นเมืองที่สามารถเดินเท้าได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถฟื้นฟูได้เร็ว“ นายวินซ์ ไดซัน ประธานองค์การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งดูแลโครงการนี้กล่าว

แม้จะมีโครงสร้างพื้นฐานที่วางแผนไว้มากมาย แต่หนึ่งในสามของพื้นที่เมืองมูลค่า 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 4.62 แสนล้านบาท) เท่านั้นที่จะได้รับการพัฒนา โดยที่ดินสองในสามจะสงวนไว้สำหรับเป็นพื้นที่สีเขียวและพื้นที่การเกษตร รัฐบาลกล่าว โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัสในสหรัฐฯ และสิงคโปร์ที่อยู่ใกล้เคียงเกี่ยวกับวิธีการวางผังเมืองในลักษณะบูรณาการซึ่งการจัดการน้ำและพื้นที่สีเขียวได้รับการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับระบบเมือง นายแมทธิจิส บูว์ สถาปนิกชาวเนเธอร์แลนด์กล่าว

ตัวอย่างเช่นการมุ่งเน้นไปที่ธรรมชาติและจัดสรรพื้นที่เปิดโล่งมากมายตามแนวแม่น้ำ จะทำให้เมืองนิวคลาร์กสามารถได้รับประโยชน์นอกเหนือจากการปกป้องตัวเองจากน้ำท่วม นายบูว์ซึ่งทำงานในเรื่องการวางแผนแม่บทสำหรับเมืองร่วมกับรัฐบาลกล่าว

“การกำหนดพื้นที่สีเขียวในกำหนดการไม่เพียงแต่ช่วยในด้านการเก็บรักษาน้ำและการระบายน้ำ แต่สร้างพื้นที่ชุมชนและแนวทางการออกแบบถนนในลักษณะที่เป็นประโยชน์กับคนเดินเท้าและผู้ขี่จักรยาน ดังนั้น ความยืดหยุ่นทางสังคมจึงแข็งแกร่งขึ้นด้วย” นายบูว์กล่าว

นักเศรษฐศาสตร์ที่แรนด์ คอร์ปอเรชัน กำลังพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจจากการสร้างความยืดหยุ่น และกำลังพัฒนากรณีทางธุรกิจเพื่อพิสูจน์ว่าการวางผังเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ได้เป็นเพียงตัวเลือกสำหรับเศรษฐกิจที่มั่งคั่งเท่านั้น “เรากำลังมองเห็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางจำนวนเพิ่มมากขึ้นที่ตระหนักว่า การวางแผนและการลงทุนในพื้นที่สีเขียวในเมืองเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการพัฒนาและประหยัดค่าใช้จ่าย“ นางโอเอชา ทักโคเออดินแห่งธนาคารพัฒนาเอเชียซึ่งสนับสนุนโครงการเมืองนิวคลาร์กกล่าว

ผู้เชี่ยวชาญเขตเมืองกล่าวว่า เมืองนิวคลาร์กไม่เพียงแต่เป็นตัวอย่างที่สดใสสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแง่ของการปรับสมดุลการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วด้วยนโยบายสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ยังอาจนับเป็นจุดเปลี่ยนที่ใกล้ตัวมากขึ้น
เมืองนิวคลาร์ก “มีศักยภาพในการปลดปล่อยแรงกดดันออกจากกรุงมะนิลา เพื่อให้มะนิลายังสามารถลงทุนในการสร้างอนาคตที่ยืดหยุ่นมากขึ้น” นางลอเรน ซอร์คิน ผู้อำนวยการโครงการ 100 รีซิลเลียนต์ซิตี้ในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนโดยมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์กล่าว

กรุงมะนิลาเป็นหนึ่งในเมืองที่แออัดที่สุดในโลก โดยมีประชากร 14,500 คนต่อตารางกิโลเมตรซึ่งคิดเป็นจำนวนเกือบสามเท่าของกรุงลอนดอน ข้อมูลขององค์การสหประชาชาติระบุ โดยการศึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่นพบว่า การจราจรที่คับคั่งอาจทำให้กรุงมะนิลาสูญเสียผลผลิตมูลค่า 155 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 5.1 พันล้านบาท) ต่อวันภายใน พ.ศ. 2573 รอยเตอร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button