วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมแผนก

สาว พบ หนุ่ม

เทศกาลจับคู่ของชาวเผ่าไต้หวันเป็นการเฉลิมฉลองประเพณี

งานใหญ่สุดท้ายระหว่างเทศกาลเก็บเกี่ยวประจำปีในชุมชนของชาวเผ่าพื้นเมืองอามิสเป็นที่รู้จักในชื่อ “คืนแห่งคู่รัก” ซึ่งชาวอามิสเป็นกลุ่มชาวเผ่าพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดา 16 กลุ่มที่ได้รับการรับรองในไต้หวัน

หมู่บ้านมาต้าเอียนเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านธรรมดาที่ไม่สูงมากตามถนนหนทางที่คดเคี้ยวไปมาใกล้ ๆ กับแนวชายฝั่งตะวันออกที่ขรุขระ โดยตั้งอยู่ในหุบเขาระหว่างทิวเขาสองแนว

ปกติแล้ว เทศกาลเก็บเกี่ยวมีขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนและสิงหาคม โดยหมู่บ้านแต่ละแห่งจะจัดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของชนเผ่าอามิส ในมาต้าเอียน งานดังกล่าวจบลงด้วยการที่สาวโสดเลือกชายโสดมาเป็นคู่ของเธอ

ธรรมเนียมดังกล่าวมีมาหลายศตวรรษ สะท้อนถึงระบอบที่ผู้หญิงเป็นผู้นำ กล่าวคือ ผู้หญิงจะเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ
ซึ่งรวมถึงเรื่องการเงิน และเมื่อผู้ชายแต่งงาน ก็จะเข้าไปอยู่ในครอบครัวผู้หญิง

ขณะที่ผู้ชายร้องเพลงและเต้นระบำ ผู้หญิงก็จะเคลื่อนไปอยู่ด้านหลังของคนที่เธอสนใจ และกระตุกดึงถุงผ้าหลากสีที่พาดอยู่บนบ่าของผู้ชายที่เธอหมายปอง

ผู้ชายจะเบ่งและอวดกล้ามของตนเพื่อจุดประกายความสนใจ โดยชายที่มีเป็นที่สนใจมากที่สุดก็จะมีผู้หญิงหลายคนต่อแถวอยู่ด้านหลัง หากผู้ชายตอบสนองความสนใจของผู้หญิงคนใด ก็จะให้ถุงผ้าดังกล่าวซึ่งเรียกว่าอาลูโฟให้กับผู้หญิงคนนั้น ซึ่งก็จะถือเป็นจุดเริ่มต้นของการคบหากัน

ในอดีต จารีตนี้ก็อาจนำไปสู่การสมรส และแม้ในปัจจุบันก็เป็นตัวจุดประกายให้หญิงและชายเริ่มคบหากัน แต่ก็เป็นโอกาสของสมาชิกชุมชนอามิสผู้ทำงานในเมืองต่าง ๆ ที่จะได้กลับบ้านและสังสรรค์กัน

นางสาวเจิ้ง ยิ่งซวน อายุ 20 ปีต้น ๆ กล่าวว่า “คืนแห่งคู่รักเป็นค่ำคืนของการหาเพื่อน”

นางสาวเจิ้งได้กลับไปยังหมู่บ้านจากเมืองฮัวเหลียนที่เธออาศัยอยู่ในปัจจุบันซึ่งอยู่ในระยะขับรถหนึ่งชั่วโมง โดยเธอได้แต่งตัวในชุดพื้นเมืองสีแดงที่ประดับโดยลูกปัดสีเขียวพร้อมกับถุงอาลูโฟที่เต็มไปด้วยเลื่อมแวววาว เมื่อถูกถามว่าเธอคาดหวังที่จะพบคู่รักในงานนี้หรือไม่ เธอตอบอย่างเขินอายว่า “ก็อาจเป็นได้”

มาต้าเอียนเป็นหนึ่งในชุมชนอามิสที่ใหญ่ที่สุด โดยเป็นภูมิลำเนาของประชากร 500 คนที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและเด็ก
“เราชอบความรู้สึกที่ทุกคนกลับมาอยู่ด้วยกันและเชื่อมโยงกันอีกครั้ง สำหรับเราแล้ว สิ่งนี้สำคัญที่สุด” นายเหลี่ยว ชิงตุง วัย 28 ปี และปัจจุบันอาศัยอยู่ในเมืองหลวงกรุงไทเปกล่าว

ในเทศกาลเก็บเกี่ยวทุกครั้ง ผู้คนเป็นร้อยที่ได้ย้ายออกไปเพื่อทำงานหรือเรียนหนังสือก็จะกลับบ้านเพื่อเข้าร่วมงาน ชุมชนพื้นเมืองซึ่งยังคงถูกกีดกันทางสังคมในไต้หวัน ได้เห็นวัฒนธรรมของตนเลือนลางไปตั้งแต่มีคนอพยพมาที่เกาะจากจีนแผ่นดินใหญ่หลายศตวรรษที่ผ่านมา

ตั้งแต่ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจในไต้หวันเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 รัฐบาลของเธอได้สนับสนุนให้ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิเพิ่มขึ้น และยังส่งเสริมการอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมของชนเผ่าอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ชนพื้นเมืองบางกลุ่มได้วิจารณ์ประธานาธิบดีไช่ว่ายังไม่ได้มีมาตรการเพียงพอ และไม่เห็นด้วยกับทางการเกี่ยวกับนโยบายการครอบครองพื้นที่ และเรียกร้องให้ส่งมอบพื้นที่ของบรรพบุรุษคืน

ในมาต้าเอียน ขนบธรรมเนียมนี้ยังคงปรากฏอยู่อย่างมีชีวิตชีวา

นางลาเหมิน ปาไน อายุ 41 ปี ผู้ใช้ชื่อแบบชาวเผ่ากล่าวว่า งานจับคู่ยังคงมีความหมายสำหรับเธอแม้เธอจะไม่ได้เป็นโสดแล้ว นางลาเหมินมีกระเป๋าผ้าจากคู่รักหลายใบซึ่งได้มาจาก งานเก็บเกี่ยวในอดีต แต่เธอใช้ชีวิตคู่กับคู่รักที่รักกันมานานแล้วในกรุงไทเป

นางลาเหมินกับคู่รักของเธอมาจากหมู่บ้านนี้ทั้งคู่ และนางลาเหมินก็ยังคงเข้าร่วมพิธีเลือกคู่และเลือกเขาอีกครั้ง “ปกติแล้วเราทำงานหนักทั้งสองคน” นางลาเหมินกล่าว “จึงจำเป็นที่เราต้องจุดประกายไฟขึ้นอีกครั้ง”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button