ประเทืองปัญญาแผนก

ฟอสซิลบางส่วน ของไดโนเสาร์ขนาดเท่า ไก่งวงถูกพบในออสเตรเลีย

ในหินทรายถัดจากรอยน้ำขึ้นที่ขอบของช่องแคบบาสทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย นักวิทยาศาสตร์ได้ขุดพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์สองขาที่กินพืช ขนาดประมาณไก่งวง ที่ดูเหมือนจะถูกแม่น้ำสายโบราณขนาดใหญ่และมีพลังพัดหายไป

เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 นักบรรพชีวินวิทยากล่าวว่า โครงกระดูกส่วนหนึ่งของสัตว์ที่ก่อนหน้าที่ไม่รู้ชนิด ชื่อว่า ไดลูไวเคอร์ซอร์ พิเคอริงไจ อาศัยอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 113 ล้านปีที่แล้ว ข้อมูลดังกล่าวบอกเราเกี่ยวกับประเภทของไดโนเสาร์ระหว่างช่วงครีเทเชียส (ยุคไดโนเสาร์สูญพันธ์) ที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียตอนที่ยังมีพรมแดนติดกับแอนตาร์ติกา

“กระดูกไดโนเสาร์จากออสเตรเลียหายากมาก” นายแมทธิว เฮอร์น นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยควีนสแลนด์กล่าว โดยให้ข้อสังเกตว่าไดลูไวเคอร์ซอร์เพิ่มจำนวนไดโนเสาร์ที่ค้นพบในออสเตรเลียเป็น 19นักวิทยาศาสตร์พบซากของไดลูไวเคอร์ ซอร์ในบรรดากองไม้ของต้นไม้ฟอสซิลที่ดูเหมือนถูกพัดมาจากแม่น้ำในระหว่างอุทกภัยเช่นกัน สถานที่ค้นพบตั้งอยู่ทางตอนใต้ของชายฝั่งของรัฐวิคตอเรีย ประมาณ 170 กิโลเมตรจากนครเมลเบิร์น

ไดลูไวเคอร์ซอร์มีความยาวประมาณ 2.3 เมตร นายเฮอร์นกล่าวว่า “ขนาดความกว้างนั้นใกล้เคียงกับไก่งวงเลี้ยงขนาดใหญ่ แต่แน่นอนว่าความยาวนั้นมากกว่าไก่งวงเพราะมันมีหาง” ซากดึกดำบรรพ์ที่พบประกอบด้วยหางในสภาพเกือบสมบูรณ์ ขาขวาส่วนล่าง และเท้าขวาเกือบทั้งหมด

ไดลูไวเคอร์ซอร์อาศัยอยู่กับไดโนเสาร์กินสัตว์อื่น มีความยาวประมาณ 6 เมตร เช่นเดียวกับไดโนเสาร์มีกระดอง เต่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเท่าหนูผี และสัตว์เลื้อยคลานบินได้ที่เรียกว่าเทอร์โรซอร์ ไดลูไวเคอร์ซอร์เป็นสมาชิกของไดโนเสาร์กลุ่มที่เรียกว่า ออร์นิโธพ็อด คล้ายกับไดโนเสาร์อีกพันธุ์หนึ่งที่กินพืชและมีสองขาที่เรียกว่า ลีเอลไลนาซอรา ที่อาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยมีการขุดพบซากประมาณ 15 กิโลเมตรห่างออกไปจากจุดดังกล่าว นายเฮอร์นกล่าว

ไดโนเสาร์ทั้งสองชนิดน่าจะเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกันในแง่นิเวศวิทยา และกินพืชต่างชนิดกัน ลีเอลไลนาซอรามีลำตัวเพรียวบางกว่าเล็กน้อย มีหางยาวกว่าและน่าจะเป็นนักวิ่งที่คล่องตัวกว่า

“การเปรียบเทียบน่าจะทำได้ระหว่างจิงโจ้กับวัลลาบี (จิงโจ้ขนาดเล็ก) ซึ่งพบได้ในออสเตรเลียในปัจจุบัน โดยสัตว์ทั้งสองจะอยู่ในที่ที่ต่างกัน ตั้งแต่ที่ราบเปิดโล่งไปจนถึงที่อยู่ในป่าทึบ” นายเฮอร์นกล่าว

ไดลูไวเคอร์ซอร์ใช้ชีวิตอยู่ในที่ราบลุ่มหุบเขาที่เต็มไปด้วยป่าระหว่างออสเตรเลียและแอนตาร์ติกา ซึ่งอยู่ติดกันจนกระทั่งเมื่อ 45 ล้านปีที่ผ่านมา

“กรรมการยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ” นายเฮอร์นกล่าว “บางคนคิดว่าภูมิอากาศหนาวเย็นด้วยน้ำแข็งฤดูหนาว ในขณะที่คนอื่นคิดว่าภูมิอากาศน่าจะอุ่นกว่าหรือไม่หนาวมาก”

ชื่อตระกูลไดลูไวเคอร์ซอร์ มีความหมายว่า ”นักวิ่งน้ำท่วม” ชื่อวงศ์ของมันคือพิเคอริงไจ ซึ่งตั้งเพื่อเป็นเกียรติแด่นายเดวิด พิเคอริง นักบรรพชีวินวิทยา

งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ เพียร์เจ รอยเตอร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button