กระบอกเสียงแผนก

อีก 50 ปีข้างหน้า ของสมาคมประชาชาติ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดร.วิเวียน บาลากริชนัน

มาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) มาถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อวันนี้ และไม่ใช่แค่เพราะสมาคมมีอายุ 50 ปี แต่เป็นเพราะโลกในภาพรวมได้เปลี่ยนไป และเรากำลังอาศัยอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน

ความสมดุลด้านภูมิยุทธศาสตร์ได้เปลี่ยนไปอย่างมาก ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติว่าคน 2 พันล้านคนสามารถเข้าถึงโลกออนไลน์และเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจโลกในเวลาเดียวกัน ไม่เคยมีมาก่อนว่าคนหลายร้อยล้านคนได้หลุดพ้นจากความยากจนและเข้าสู่กลุ่มชนชั้นกลางที่กำลังขยายตัว เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ในประเทศจีน และใน พ.ศ. 2534 ในประเทศอินเดีย ประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวก็ต้องหมายถึงอิทธิพลทางการทูตและทางการทหารที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยว่า ความสมดุลทางภูมิยุทธศาสตร์รวมถึงข้อสันนิษฐานและสมมติฐานจำนวนมากที่เราเคยเห็นเป็นของตาย ก็อาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป

ดร.วิเวียน บาลากริชนัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ กล่าวในคำปาฐกถาที่การประชุมสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) คร้งที่ 15
รอยเตอร์

สถาบันทางเศรษฐกิจและการเมืองกำลังถูกตั้งคำถามอย่างไม่เคยมาก่อน และงานในปัจจุบันก็เสี่ยงต่อการล้าสมัย ความท้าทายที่แท้จริงไม่ใช่การสร้างกำแพงหรือการ กระจายแบ่งปันความมั่งคั่งที่สะสมมาแต่อดีต แต่ความท้าทายที่แท้จริงคือการรับประกันว่าผู้คนจะมีทักษะที่ถูกต้องสำหรับงานใหม่ และทุกคนสามารถเข้าถึงและรู้จักวิธีการทำงานแบบใหม่เพื่อให้กลุ่มชนชั้นกลางใหม่สามารถขยายตัวและไม่มีใครถูกทิ้งอยู่เบื้องหลัง

ระเบียบโลกปัจจุบันกำลังถูกแต่ทรงโดยการเกิดของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ อีกทั้งยังมีความท้าทายข้ามพรมแดน ซึ่งรวมถึงการก่อการร้าย อาชญากรรมไซเบอร์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในพรมแดนทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน และไม่ได้เกิดขึ้นภายในแนวคิดปกติของรัฐชาติแบบเวสต์ฟาเลีย วิธีเดียวที่จะจัดการกับภัยคุกคามข้ามพรมแดนระดับโลกนี้คือการสร้างฉันทามติและการดำเนินการระดับโลก ไม่ว่าจะจัดการกับปัญหาเรื่องไซเบอร์ สภาพอากาศหรือการก่อการร้าย สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือกรณีการกลับประเทศภูมิลำเนาของนักรบจากอิรักและซีเรีย ซึ่งเป็นที่ที่ไอซิส [รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย] กำลังเสียพื้นที่ เราเห็นนักรบกำลังกลับมาเพิ่มขึ้นในมาราวีที่อยู่ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ และยังมีแหล่งเพาะผู้ก่อการร้าย

อื่น ๆ ในภูมิภาคของเรา ใกล้บ้านเราเข้ามา เรายังเคยเห็นชาวสิงคโปร์ในวิดีโอชวนเชื่อให้เข้าร่วมขบวนการของไอซิส ข้อกังวลของเราเกี่ยวกับปัญหาในรัฐยะไข่ก็ยังเชื่อมโยงกับความวิตกกังวลว่า ที่พื้นที่นั้นจะกลายเป็นพื้นที่หลบภัยหรือพื้นที่บ่มเพาะอีกแห่งหนึ่งสำหรับพวกแนวคิดสุดโต่งและผู้ก่อการร้าย ดังนั้น นัยในที่นี้ก็คือปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถได้รับการแก้ไขเพียงในระดับท้องถิ่นอย่างเดียว และไม่มีประเทศใดเพียงประเทศเดียวที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้เพียงลำพัง ยังต้องมีความพยายามส่วนรวมในการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ กระบวนการพหุภาคีระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายทะเล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การดูแลมรดกทางธรรมชาติของมวลมนุษยชาติ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้น เราต้องการแนวทางแบบนี้ กล่าวคือ การเคารพกันและกันในระดับพหุภาคี การพึ่งพาอาศัยและความร่วมมือกัน

เหนือกาลเวลา

ท้ายที่สุด อาเซียนก็ต้องจัดการกับความท้าทายภายในของตนเอง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศมีความหลากหลายทั้งในแง่ระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ในความเป็นจริง ข้าพเจ้าคิดว่ากลุ่มประเทศนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุดในโลก เรามี 10 ประเทศที่แตกต่างกันมากทั้งในเรื่องขนาด ประชากร และศาสนา มีระบบการเมืองที่เริ่มตั้งแต่กษัตราธิปไตยแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนถึงประชาธิปไตย และการปกครองโดยทหาร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เชื่อมมือเข้าด้วยกันในลักษณะ “แบบอาเซียน” ที่พิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียนที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฟิลิปปินส์ ณ​ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ จากด้านซ้าย นายอนิฟาห์ อามัน จากมาเลเซีย นายจ่อ ติน จากพม่า นายดอน ปรมัตถ์วินัย จากไทย นายฝ่าม บิ่งห์ มิงห์ จากเวียดนาม นายอลัน ปีเตอร์ กาเยตาโน จากฟิลิปปินส์ ดร.วิเวียน บาลากริชนันจากสิงคโปร์ เปฮิน ดาโต๊ะ ลิม จ๊อก เซง จากบรูไน นายปรัก สุคน จากกัมพูชา นางเรตโน มาร์ซุดี จากอินโดนีเซีย นายสะเหลิมไซ กมมะสิด จากลาว และเลขาธิการอาเซียน นายเล เลือง มิญ
ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

หลายคนได้เคยตั้งคำถามเกี่ยวกับการที่อาเซียนชอบใช้ฉันทามติและการแสวงหาฉันทามติ และสงสัยว่าการใช้ฉันทามติเป็นความผิดปกติหรือเป็นการตั้งใจให้เป็นเช่นนั้น ในความเป็นจริงแล้ว มันคือความตั้งใจให้เป็นเช่นนั้น วิธีการออกแบบมาเช่นนี้ก็เป็นเพราะความหลากหลายภายในอาเซียน และฉันทามติก็เป็นวิธีการให้องค์กรสามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยวิธีการนี้จะทำให้มั่นใจได้ว่าสมาชิกทุกประเทศไม่ว่าจะมีขนาดเท่าไร การเมืองและระดับการพัฒนาเป็นอย่างไร ก็จะมีเสียงเท่ากับประเทศอื่น หรือถ้ามองในทางกลับกันก็คือ สมาชิกทุกประเทศมีสิทธิยับยั้ง

ฉันทามติบีบให้เรามีมุมมองกระจ่างในระยะยาวเกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติของเรากับผลประโยชน์ของภูมิภาคซึ่งยิ่งใหญ่กว่าในระยะยาวเช่นกัน ในแง่หนึ่ง กระบวนการบรรลุฉันทามติซึ่งช้ากว่าและยุ่งยากกว่านั้น ทำให้เราสามารถเข้าถึงทางออกที่ยั่งยืนได้มากกว่า เพราะเราทราบว่าเมื่อเราได้ลงนามแล้ว ทุกฝ่ายได้ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน ได้คิดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นหมดแล้ว และได้ตกลงยอมรับที่จะสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่ม ฉันทามติเป็นสิ่งที่อาเซียนตั้งใจใช้ และเป็นรากฐานของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียน อย่างไรก็ดี คำถามที่สำคัญมากก็คือ เมื่อใดก็ตามที่เกิดเหตุการณ์และปัญหาขึ้น ประเทศสมาชิกจะสามารถยอมลดผลประโยชน์ของตนได้มากสุดเท่าใดเมื่อต้องมองภาพกว้างของผลประโยชน์ของภูมิภาคในระยะยาว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย นางซุชมา สวาราจ (ขวา) ต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ ดร. วิเวียน บาลากริชนัน ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย
ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

แม้เราจะต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายทั้งจากภายในและภายนอก ข้าพเจ้าก็ยังมองโลกในแง่ดีว่า อนาคตของเรายังคงสว่างไสวอยู่ในอีก 50 ปีข้างหน้า

และเราก็ควรระลึกว่า ประเทศสมาชิกทั้งห้าที่ได้ก่อตั้งอาเซียนคือประเทศที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ ด้วยการรวมตัวกันและการอยู่ร่วมกันโดยสันติในช่วงสองสามทศวรรษแรกที่ต้องเผชิญวิกฤต รวมถึงเวลาในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนในประชากร และในสร้างระบบเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง รวมถึงระบบการค้าและการเปิดเสรี เป็นสิ่งที่ทำแล้วส่งผลดี ในความเป็นจริงแล้ว เราทำสิ่งที่เหนือกาลเวลาในขณะนั้น ในวันนี้ เราเรียกสิ่งนี้ว่า โลกาภิวัตน์ ในวันนี้ เกือบทุกภูมิภาคในโลกตั้งอยู่บนพื้นฐานดังกล่าว แต่ดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ก่อนหน้านี้ก็คือ ยังมีคำถามเกี่ยวกับข้อจำกัดของระบบโลกาภิวัตน์ เราต้องให้ความดีความชอบกับอาเซียนในฐานะที่เป็นผู้ป้องกันมิให้เก


ความมุ่งมั่นของสิงคโปร์ในโอกาสดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน*

มุ่งเน้นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

เราหวังที่จะจัดตั้งเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน ซึ่งจะเชื่อมโยงผู้คนและระบบเศรษฐกิจแบบไร้รอยต่อ และจะช่วยกระตุ้นแนวคิดและหนทางแก้ไขปัญหาให้ไหลเวียนทั่วทั้งภูมิภาค

สร้างความยืดหยุ่น

เราหวังที่จะสร้างและส่งเสริมความยืดหยุ่นโดยรวมเพื่อสู้กับภัยคุกคามร่วมกัน อาทิ การก่อการร้าย ลัทธิสุดโต่งและอาชญากรรมข้ามชาติ เราต้องการเพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ซึ่งต้องดำเนินการโดยเร็ว เพราะเราจะไม่สามารถมีโลกที่อัจฉริยะมากขึ้น ไม่สามารถมีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่สามารถมีธุรกรรมดิจิทัลไร้รอยต่อได้ หากเราไม่มีความมั่นคงทางไซเบอร์ เราต้องมีความมั่นคงทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งเพื่อให้สามารถรับรองและสร้างโอกาสให้กับประชาชนและธุรกิจของเรา เรากำลังทำงานเพื่อให้อาเซียนสามารถบรรลุสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของอาเซียน ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมหลักนิติธรรมของภูมิภาค

ลงทุนในประชากร

ประชากรของอาเซียนร้อยละหกสิบจาก 628 ล้านคนอายุน้อยกว่า 35 ปี เมื่อสักครู่ข้าพเจ้าอ้างอิงถึงประเด็นการขาดแคลนประชากรซึ่งเกิดชึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและในบางพื้นที่ของยุโรป การที่อาเซียนยังมีประชากรอายุน้อยและเรายังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลจากส่วนแบ่งประชากรของเราถือเป็นแหล่งที่มาของโอกาสอันใหญ่หลวง แต่ก็ยังมีข้อแม้ว่า ประชากรอายุน้อยจะเป็นโอกาสอันใหญ่หลวงและแรงบันดาลใจหากเรารับประกันว่าพวกเขาจะมีทักษะที่เหมาะสมและรัฐบาลได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยใหม่ล่าสุด และระบบสังคม การเมืองและเศรษฐกิจของเราเอื้อให้ประชากรของเรามีโอกาสที่ยุติธรรม หากเราสามารถไปถึงจุดนั้นได้ ชาวอาเซียนอายุน้อยที่มีจำนวนมากกว่ากว่าประชากรในยุโรป ในภูมิภาคที่มีสันติภาพและที่เชื่อมโยงกับเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เอเชียใต้ รวมถึงอินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จนถึงแปซิฟิก เราก็จะอยู่ในศูนย์กลางของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด

ส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ

เราต้องการให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากขึ้นในความเจริญรุ่งเรืองที่มีมาโดยต่อเนื่องของภูมิภาคของเรา เมื่อเราพบกับประเทศมหาอำนาจ ข้าพเจ้ามักจะขีดเส้นระหว่างเรากับเขาไว้ดังนี้ ความสำเร็จของอาเซียนเป็นผลประโยชน์ของคุณเองในระยะยาว เพราะท้ายที่สุด อาเซียนจะเป็นหุ้นส่วนการค้าที่ใหญ่ที่สุด อาเซียนจะเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ของคุณสำหรับการลงทุน คำสำคัญหรือแนวคิดสำคัญเบื้องหลังก็คือ การพึ่งพาอาศัยกัน เราเชื่อว่าวิธีบรรลุสันติภาพคือการส่งเสริมการพึ่งพาอาศัยกัน และก็บอกทุกคนว่าเราจะได้ประโยชน์มากขึ้นหากเราทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นโดยการลงทุนในกันและกัน การค้าขายระหว่างกัน มันคือผลสัมฤทธิ์แบบทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ เพราะในทางตรงกันข้ามจะเป็นการแบ่งแยกโลกให้เป็นกลุ่มที่เป็นคู่แข่งกัน เป็นการเน้นการพึ่งพาอาศัยกันแบบน้อยมาก เป็นการแข่งขันที่มีผู้แพ้และผู้ชนะ และท้ายที่สุดก็คือสงครามผ่านตัวแทน ดังนั้น การพึ่งพาอาศัยกันด้านเศรษฐกิจและการเมืองเป็นสูตรสำหรับการมีสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของเรา

โดยเราจะเพิ่มความพยายามเพื่อให้สามารถบรรลุความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นความตกลงการค้าเสรีที่จะรวมประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และหุ้นส่วนทั้งหกของอาเซียนที่เรามีความตกลงการค้าเสรีด้วยแล้ว ประเทศทั้งหกได้แก่ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีและญี่ปุ่น หากเรารวมทุกประเทศดังกล่าวเข้าด้วยกัน จะมีค่ามากกว่าร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั่วโลกแลประมาณร้อยละ 40 ของประชากรโลก และแน่นอนอยู่แล้วว่า เป้าหมายในระยะยาวของเราคือการบรรลุพื้นที่การค้าเสรีในเอเชียแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก สำหรับเราแล้ว ทั้งสองเป็นเพียงเส้นทางที่จะนำเราไปสู่จุดหมายที่สำคัญกว่า

เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

เราจะสนับสนุนโอกาสทางธุรกิจในภูมิภาคโดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง ด้วยการจัดให้มี การออกใบรับรองด้วยตนเองในระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน ข้าพเจ้าต้องเสริมด้วยว่า ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ณ กรุงมะนิลาครั้งที่ผ่านมา อาเซียนและจีนได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าได้เริ่มเจรจาประมวลกฎการปฏิบัติในทะเลจีนใต้แล้ว ทุกฝ่ายรอคอยเรื่องนี้มานานแล้ว ปฏิญญาแนวปฏิบัติได้รับการลงนามเมื่อ พ.ศ. 2545 ซึ่งนานมาแล้ว นี่คือสัญญาณที่ดีมาก เป็นสัญลักษณ์ว่าทั้งจีนและประเทศสมาชิกอาเซียนต้องการบรรลุสันติภาพและเสถียรภาพ และยังต้องการรับประกันว่าทะเลจีนใต้จะเป็นทะเลแห่งความสงบ เรื่องนี้สำคัญมากเพราะเส้นทางเดินเรือในทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางหลักสำหรับการค้าเสรี และการค้าเสรีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคของเรา

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button